Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรับผิดกระทำละเมิดด้วยตนเอง, กระทำโดยผิดกฎหมาย (ตามมาตรา 420),…
ความรับผิดกระทำละเมิดด้วยตนเอง
ความรับผิดเพื่อละเมิดของบุคคลในการกระทำของตน
กระทำโดยผิดกฎหมาย
(ตามมาตรา 420)
ทำต่อบุคคลอื่น ให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี
ทำต่อบุคคลอื่น
คือ ทำต่อสิทธิของบุคคล
ตัวอย่าง
ก. จองตั๋วไปดูภาพยนตร์ ณ โรงภาพยนตร์แห่งหนึ่ง แต่ยังไม่ทันเข้าไปนั่ง ณ ที่จองไว้ ข. ก็เข้าไปนั่งที่ ก. จองไว้เสียก่อน โดย ก. ไม่อนุญาต โดยที่ ข. ก็รู้ว่าเป็นที่นั่งที่ ก. จองไว้แล้ว ดังนี้ ข. กระทำละเมิดต่อ ก. หรือไม่
การที่ ก. จองตั๋ว เขา้ดูภ าพยนตร์ เป็นการได้สิทธิในที่นั้งที่จองไว ้ การที่ ข. เข้าไปนั่ง โดย ก. ไม่อนุญาต และรู้ว่าเป็นที่ของ ก. จองไว้ เป็นการที่ ข. กระทำละเมิดต่อ ก.
การใช้สิทธิซึ่งมแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นมิชอบด้วยกฎหมาย (ตามมาตรา 421)
กระทำโดยไม่มีสิทธิหรือข้อแก้ตัวตามกฎหมาย
หรือกระทำฝ่าฝืนบทบังคับกฎหมาย
การกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ
(ตามมาตรา 420)
การกระทำ
การงดเว้นหรือละเว้นไม่กระทำการตามหน้าที่ที่ต้องกระทำ
ความเคลื่อนไหวในอิริยาบถโดยรู้สำนึกในความเคลื่อนไหวนั้น
จงใจ กระทำโดยรู้สำนึก และรู้ถึงผลเสียหายที่จะเกิดจากการกระทำของตน
ประมาทเลินเล่อ เป็นการกระทำที่มิใช่จงใจ
เป็นการกระทำโดยปราศจากความระมัดระวัง
ความเสียหายนัั้นเป็นผลมาจากการกระทำของผู้กระทำความเสียหาย
ทฤษฎีความเท่ากันแห่งเหตุหรือทฤษฎีเงื่อนไข
ถ้าไม่มีการกระทำนั้น ผลก็ยังเกิดอยู่ดี
ถือว่า ผลไม่ได้เกิดจากการกระทำนั้น
ตัวอย่าง
ฎีกาที่ ๑๑๕๐/๒๕๕๙“ จำเลยใช้ไม้พายตีผู้ตายซึ่งนั่งเรือลำเดียวกันมาเรือล่มผู้ตายจมน้ำตาย จำเลยจะต้องรับผิดเฉพาะผลที่ดีหรือผลที่ผู้ตายจมน้ำตายด้วย
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ผู้ตายกับจำเลยไม่มีสาเหตุกันมาก่อนนอกจากนั้นก็ยังร่วมวงเสพสุราและเล่นลิเกด้วยกันเลิกแล้วจำเลยพายเรือไปส่งผู้ตาย แต่บังเอิญเถียงกันขึ้นระหว่างทางจำเลยจึงใช้พายที่มีบาดแผลเพียงฟกช้ำเท่านั้นซึ่งโดยปกติแล้วบาดแผลเท่าไม่ถึงแก่ความตายจำเลยไม่ควรมีความผิดฐานฆ่าคนโดยเจตนา แต่การตายของผู้ตายเกิดจากจำเลยทำร้ายผู้ตายถูกที่บริเวณหน้าจึงไม่อาจเอาตัวรอดจากเรือล่มมาได้จำเลยมีความผิดฐานฆ่าคนตายโดยไม่มีเจตนาคดีนี้ชี้ให้เห็นว่าถ้าจำเลยไม่มีผู้ตายเรือก็ไม่ล่มแล้วผู้ตายก็ไม่จมน้ำตายการตายเป็นผลโดยตรงจากการตีจำเลยจึงต้องรับผิดในผลของการนั้น
ทฤษฎีมูลเหตุเหมาะสม
เหตุที่ตามธรรมดาย่อมทำให้เกิดผลเช่นนั้นได้เท่านั้น
ตัวอย่าง
กาฎีกาที่ ๑๔๓๖/๒๕๑๑ เมื่อคดีฟังได้ว่าจำเลยขับรถด้วยความประมาทแม้ผู้ตายจะกระโดดลงจากรถก่อนหาก แต่ในระยะกระชั้นชิดกับภยันตรายที่จะเกิดขึ้นและในที่สุดก็ได้เกิดขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงภยันตรายเฉพาะหน้านั้นก็ยังต้องถือว่าการกระทำของผู้ตายเป็นผลอันเกิดใกล้ชิดและเนื่องมาจากเหตุขับรถประมาทของจำเลยจำเลยจึงต้องรับผิดฐานทำให้คนตายโดยประมาท
ผลธรรมดา หมายถึง ผลที่ผู้กระทำสามารถ “คาดเห็น"คาดเป็นไปได้ของผลนั้น ใช้มาตรฐานของวิญญูชนเป็นหลัก
วิญญูชนคาดหมายได้ : ต้องรับผิดในผลนั้น
แต่ถ้าคาดหมายไม่ได้ : ไม่ต้องรับผิดในผลนั้น
และ “ความเสียหายต้องไม่ไกลเกินกว่าเหตุ”
การกระทำก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น
สิทธิ
อำนาจตามกฎหมายที่บุคคลได้รับจากกฎหมายใดกฎหมายหนึ่ง เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของตนเอง
สิทธิที่คุมครอง ชีวิต ร่างกาย อนามัย เสรีภาพ ทรัพย์สิน ชื่อเสียง วัตถุไม่มีรู้ร่าง เช่น ภาพยนต์ วิดีโอ เพลง