Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรับผิดของบุคคล ในการกระทำของตนเอง - Coggle Diagram
ความรับผิดของบุคคล
ในการกระทำของตนเอง
ความหมายของการกระทำ
ความเคลื่อนไหวในอิริยาบถ โดยรู้สำนึกในความเคลื่อนไหว
แยกพิจารณาการกระทำตามมาตรา 420
ผู้ใด คือ ผู้ที่จะต้องรับผิด จะต้องเป็นมนุษย์ ก็ต้องมีการกระทำของบุคคลผู้ต้องรับผิดด้วย
ผู้เยาว์และบุคคลวิกลจริตตามมาตรา 429
ผู้เยาว์ หรือบุคคลวิกลจริตที่ไม่รู้สำนึกในความเคลื่อนไหวของตน ก็ย่อมไม่ถือว่ามีการกระทำ เมื่อเป็นเช้นนี้ก้ไม่ถือว่า ผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริตที่ว่านั้น ได้กระทำละเมิดอันจรับผิดตามมาตรา 420 และมาตรา 429 แต่ประการใด
การกระทำ คือ ความเคลื่อนไหวในอิริยาบถ โดยรู้สำนึกในความเคลื่อนไหว
การงดเว้นไม่กระทำ
1.หน้าที่ตามกฎหมาย
สามีภริยามีหน้าที่ต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกัน บุตรจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา
2.หน้าที่ตามสัญญา
หน้าที่ตามกฎหมาย เพราะ สัญญาที่ใช้บังคับกันได้ย่อมเป็นกฎหมายระหว่างคู่สัญญา
สัญญาจ้างแพทย์รักษาโรค แพทย์ไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ ไม่ยอมรักษา ย่อมเป็นการงดเว้นทำให้เกิดความเสียหายแก่ตัวเขา จึงเป็นทั้งผิดสัญญาและละเมิด
3.หน้าที่เกิดจากความสัมพันธ์ทางข้อเท็จจริง ที่มีอยู่ระหว่างผู้เสียหายหรือเป็นผลมาจากฐานะทางข้อเท็จซึ่งผู้งดเว้นได้ก่อนั้น
แพทย์ประจำโรงพยาบาลระหว่างเดินทางกลับ เห็นผู้เจ็บป่วยก็เข้าช่วยเหลือ อันมิใช่หน้าที่ตามกฎหมายหรือตามสัญญา หากงดเว้นไม่ทำหน้าที่ต่อให้ตลอดก็ย่อมเป็นการงดเว้น
มีสำนึกในการกระทำ คือ ถ้าหากบุคคลมีความเคลื่อนไหวโดยรู้สำนึกในความเคลื่อนไหวของตนด้วยแล้ว ก็ย่อมถือได้ว่าบุคคลมีการกระทำ
กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ตามมาตรา 420
1.จงใจ หมายถึง รู้สำนึกถึงผลเสียหาย จงใจนั้นไม่เพียงแต่รู้สำนึกถึงความเคลื่อนไหวของตนเท่านั้น แต่ยังต้องรู้สำนักถึงถึงผลดสียหายที่จะเกิดจากการกระทำของตนอีกด้วย
เช่น เจ นำไม้มาตีแขนของ เค ดังนี้ ย่อมเป็นการที่ เจ กระทำไปโดยรู้สำนึกถึงผลเสียหายที่จะเกิดแก่ เค จากการกระทำของตน
การกระทำผิดหลงหรือพลั้งพลาดหรือเข้าใจโดยสุจริต คือ การเข้าใจผิดในข้อเท็จจริงไม่เป็นจงใจ เช่น โทรศัพท์ของที่และพี วางอยู่ใกล้กัน ที เผลอหยิบเอาโทรศัพท์ พี ไปเป็นของตน ดังนี้ ที มิได้กระทำโดยจงใจ
การที่รู้สำนักในผลเสียหายจากการกระทำของตนเท่านั้น ก็เป็นจงใจแล้ว ไม่ต้องคำนึงถึงผลเสียเสียหายที่เกิด
จงใจ ไม่ต้องคำนึงถึงผลเสียหายที่จะเกิดขึ้น แต่เจตนาเป็นการกระทำ จงใจในทางแพ่ง รู้นึกในการกระทำ ขณะเดียวกันประสงค์ต่อผลหรือ เล็งเห็นผลของกระทำนั้นด้วย
2.ประมาณเลินเล่อ หมายถึง ไม่จงใจ แต่ไม่ใช้ความระมัดระวังตามสมควรที่จะใช้
ทำต่อบุคคลอื่น ตามมาตรา 420 มิได้หมายความแต่เพียงการกระทำในทางเคลื่อนไหวอิริยาบถ ยังหมายถึง การงดเว้นไม่กระทำแต่ต้องเป็นการงดเว้นหรือละเว้นไม่กระทำการที่มีหน้าที่ต้องทำ
การกระทำการที่มีหน้าที่ต้องทำ
หน้าที่ตามกฎหมาย เช่น สามีภริยามีหน้าที่ต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดู(มาตรา 1461) บุตรจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา(มาตรา 1563)
หน้าที่ตามสัญญา เช่น รับจ้างคอยช่วยเหลือผู้ที่หัดว่ายน้ำแต่ไม่ช่วยเหลือ ตามหน้าที่จนผู้ว่าจ้างจมน้ำ สำลักน้ำ
การใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น เพื่อความมุ่งหมายให้แตกต่างไปจากความมุ่งหมายที่ก่อตั้งสิทธินั้น มาตรา 421 “การใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นนั้น ท่านว่าเป็นการอันมิชอบด้วยกฎหมาย” โดยการใช้สิทธินั้นต้องกระทำโดยสุจริต
เช่น ฎ.1982/2518 จำเลยเก็บสินค้าในตึกของจำเลยมีน้ำหนักเกินอัตราที่นั้น พื้นคอนกรีดชั้นล่างจะรับได้ ทำให้พื้นคอนกรีตยุบลงต่ำลง เป็นเหตุให้ตึกของโจทก์ซึ่งอยู่ใกล้ชิดกันทรุด พื้นคอนกรีต คาน และผนังตึกของโจทก์แตกร้าว ตึกของโจทก์เอนเอียงไปทางตึกจำเลย เป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะเกิดความเสียหายแต่โจทก์
การกระทำโดยผิดกฎหมาย
โดยผิดกฎหมายมาตรา 420 มีความหมายว่า”มิชอบดวยกฎหมาย” แต่ความรับผิดฐานละเมิดไม่จำต้องมีกฎหมายบัญญัติโดยชัดแจ้งว่าการกระทำอันใด ถือว่าว่าเป็นการกระทำผิดกฎหมาย ถ้าได้กรทำโดยไม่มีสิทธิหรือข้อแก้ตัวตามกฎหมายให้ได้แล้ว ก็ถือว่าเป็นการกระทำโดยผิดกฎหมาย เช่น ง ตกลงยืมรถจักรยานยนต์จาก น มาใช้เป็นส่วนตัว ง ย่อมมีสิทธิใช้รถยนต์ได้ตามสัญญายืม
1.การใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดความหมายเสียหายแก่บุคคลอื่น
การใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดเสียหายแก่บุคคลอื่นตาม มาตรา 421 นั้น ข้อสำคัญจึงอยู่ที่การใช้ หากใช่เกี่ยวกับตัวสิทธินั่นเองไม่ สิทธินั้นมีอยู่แล้ว แต่ใช้ไม่ถูกต้องหรือผิดกาลเทศะ จึงเกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น
กรณีที่ผู้ทำความเสียหายมีสิทธิตามกฎหมายเสียหาย เช่น เขียว ต้องการที่จะซื้อสวนแตงโมของ แดง แต่แดง ไม่ยอมขายให้ เขียวจึงวางเพลิงเผาส่วนแตงโมของเขียว
ความยินยอมไม่ทำให้เป็นละเมิด ทำให้ผู้กระทำไม่ต้องรับผิดฐานละเมิด เพราะไม่เป็นการกระทำโดยผิดกฎหมาย เช่น ฎ.714/2512 โจทก์ยินยอมให้จำเลยกับพวกเปิดคันดินกันน้ำในคลอง ซึ่งเป็นทางน้ำสาธารณะหรือทำให้คันดินไม่อยู๋ในสภาพกักน้ำและระยะน้ำเข้าโจทก์เสียหายก็ไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์
2.การกระทำฝ่าฝืนบทบังคับแห่งกฎหมาย
มาตรา 422 บัญญัติว่า”ถ้าความเสียหายเกิดแก่การฝ่าฝืนบทบังคับแห่งกฎหมายใด อันมีที่ประสงค์เมื่อปกป้องบุคคลอื่นๆ ผู้ใดทำการฝ่าฝืนเช่นนั้น ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้นั้นเป็นผู้ผิด” เช่น การที่รถจักรยานยนต์ของเหลืองแล่นเข้าไปชนรถยนต์ของเขียว ทางด้านซ้ายของถนน เบื้องต้น ศาลศันนิษฐานตามกฎหมายว่ารถยนต์เหลืองเป็นผู้ผิด เหลืองมีหน้าที่ต้องนำสืบหักล้างว่า เหลืองมิใช่เป็นผู้ผิด
การกระทำที่ก่อให้เกิดวามสียหายแก่บุคคลอื่น
จะต้องเสียหายเกิดขึ้น เมื่อยังไม่เกิดความเสียหายก็ยังเป็นละเมิด
1.มีความเสียหายเกิดขึ้น
เช่น นายม่วง ใช้มือสะอาดตีมือนายเทา ไม่มีอะไรเปรอะเปื้อนร่างกาย ของนายเทา ความคิดเห็นของคนทั่วไปอาจเห็นว่าไม่เกิดความเสียหายแก่นายเทาแต่ในทางกฎหมายย่อมถือว่าเกิดความเสียหายแก่นายเทา
2.ลักษณะแห่งสิทธิ
สิทธิ คือ ประโยชน์ที่บุคคลมีอยู่และบุคคลอื่นมีหน้าที่ต้องเคารพ เช่น สิทธิของผู้เช่าซื้อ แม้จะชำระค่าเช่าซื้อไม่ครบถ้วน หากมีผู้ใดมากระทำละเมิดในทรัพย์ที่เช่าซื้อมาก็มีอนาจฟ้องฐานละเมิดได้
3.ความเสียหายที่คำนวณเป็นตัวเงินได้และไม่อาจคำนวณเป็นตัวเงินได้
เช่น พิมด่าหมิ่นประมาท นี ย่อมเป็นความเสียหายอันคำนวณเป็นตัวเงินไม่ได้ นอกจากความเสียหายในมูลละเมิดนั้นจะต้องเป็นความเสียหายที่แน่นอน
ความเสียหายนั้นเป็นผลมาจากการกระทำของผู้ทำความเสียหาย
ความสัมพันธ์ระหว่างเหตุผลกับผล ไม่มีหลักแน่นอนที่จะปรับแก่กรณีต่างๆได้ทั่วไปทุกกรณี
ทฤษฎีที่ถือว่าสำคัญอยู่ 2 ทฤษฎี
1.ทฤษฎีความเท่าเทียมกันแห่งเหตุหรือทฤษฎ๊เงื่อนไข ถ้าไม่มีการกระทำดังที่คือ กล่าวหาแล้ว ผลจะไม่เกิดขึ้นเช่นนั้นจะไม่มีความเสียหายดังที่กล่าวอ้าง
เช่น จีนทำร้ายร่างกาย ปลา โดยตบศีรษะเบาๆ แต่ปรากฏว่า ปลา มีโรคประจำตัว ซึ่งถ้าหากถูกกระทบกระเทือนที่ศรีษะอย่างแรง ปลา อาจตายได้แต่จีนไม่ทราบมาก่อน ปลา ถึงแก่ความตาย ดังนี้ ความตายของปลา เป็นผลมาจากการกระทำของ จีน แม้จีน จะไม่รู้ว่า ปลา เป็นโรคดังว่านั้น คิดแต่เพียงว่าปลา อาจได้รับบาดเจ็บเล็กน้อยเท่านั้น แต่ จีน ก็ต้องรับผิดในความตายของปลา
2.ทฤษฎีมูลเหตุหมาะสมรับผิดเฉพาะแต่เหตุที่ตามปกติย่อมก่อให้เกิดผลเช่นว่านั้น ที่ผู้กระทำจะต้องรับผิดชอบ
เช่น จีน ไม่ทราบว่า ปลามีโรคประจำตัว ถ้าทำร้ายเช่นนั้น ปลา อาจได้รับอันตรายถึงตายได้ จีนจึงต้องรับผิดเฉพาะในกรณีที่ ปลา ได้รับบาดเจ็บอย่างธรรมดา ไม่ต้องรับผิดในความตายของปลา
ละเมิดโดยการหมิ่นประมาท
การกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลาย ตามมาตรา 423 กล่าว คือ พูดเอง ไขข่าว คือ พูดข่าวจากคนอื่น
การกล่าวหรือไขข่าวนี้ไม่จำกัดว่าต้องทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ
ข้อความที่กล่าวหรือไขข่าวนั้นต้องเป็นข้อความที่ฝ่าฝืนความจริง
ข้อความที่กล่าวหรือไขข่าวนั้นจะต้องเป็นที่เสียหายแก่ชื่อเสียงหรือเกียรติคุณของผู้อื่น
เสียหายแก่ทางทำมาหากินได้หรือทางเจริญอย่างอื่นของเขา
เช่น ฎ.939-940/2478 ห้างหุ้นส่วนยังไม่เลิกกันจำเลยซึ่งเป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งประกาศทางหนังสือพิมพ์ว่าเลิกกันแล้วทำให้โจทก์ซึ่งเป็นหุ้นส่วนอีกคนหนึ่งเสียหาย จำเลยต้องรับผิดชอบตามมาตรา 423
การพิพากษาคดี
ตามมาตรา 424 นี้หมายความว่า บุคคลถูกฟ้องคดีส่วนแพ่งและคดีส่วนอาญาในเรื่องเดียวกันการพิพากษาคดีส่วนแพ่งนั้น ศาลจำต้องคือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีในส่วนอาญา เมื่อข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาคดีส่วนอาญายุติแล้ว การวินิจฉัยความรับผิดส่วนทางแพ่งต้องเป็นไปตามกฎหมายแพ่ง
เช่น ฎ.1229/2498 ศาลพิพากษายกฟ้องคดีอาญาเพราะจำเลยไม่มีเจตนาบุกรุกที่ดิน ไม่ได้ชี้ส่าเป็นที่ดินของใคร โจทกืยกฟ้องคดีแพ่งให้ศาลวินิจฉัยแสดงกรรมสิทธิ์ห้ามมิให้จำเลยเกี่ยวข้องได้
การร่วมกันทำละเมิด
ตามมาตรา 432 การร่วมกันทำละเมิดเป็นเรื่องที่บุคคลหลายคนร่วมกันทำละเมิดไม่ใช่เรื่องใช้บุคคล เป็นเครื่องมือกระทำละเมิด
เช่น นก วาน ไก่ ให้เอาห่อยาเสพติดไปส่งให้ เป็ด โดยที่ ไก่ ไม่ทราบว่าเป็นห่อยาเสพติด ไก่โดนตำรวจจับ ดังนี้ เป็นเรื่องที่ นก กระทำละเมิดตามกฎหมาย มาตรา 420 โดยใช้ ไก่เป็นเครื่องมือ ไก่มิได้กระละเมิดด้วย แม้ ไก่ จะมีการกระทำ แต่ก็มิได้รู้ว่าจะเกิดความเสียหายแก่ เป็ด จึงไม่จงใจและไม่มีเจตนาหรือมุ่งหมายร่วมกับ นก แต่ประการใด ไม่ใช่กรณีที่ นก กระทำละเมิดร่วมกับ ไก่ ไม่อาจบังคับได้ตามมาตรา 432 นี้
1.ลักษณะการร่วมทำละเมิด
มีเจตนาหรือความมุ่งหมายกันและจะต้องมีการกระทำร่วมกันเพื่อความมุ่งหมายร่วมกันด้วย ต้องมีทั้งเจตนาหรือความมุ่งหมายร่วมกันและการกระทำร่วมกัน เช่น ฎ.905/2480 หลายคนต่างเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ก็ไม่เป็นการทำละเมิด
2,ความรับผิดระหว่างผู้ร่วมทำละเมิด
การกระทำมิได้ดูผลแห่งความเสียหายว่าแยกกันได้หรือไม่ แม้หากจะไม่รู้ว่าในระหว่างผู้ที่ร่วมกันทำละเมิดนั้น ผู้ใดทำอะไรลงไปบ้างหรือใครคือผู้ทำให้เสียหายมากน้อยเพียงใด ทุกๆคน ก็ต้องรับผิดร่วมกันในผลแห่งละเมิดนั้นเต็มจำนวนของความเสียหาย
เช่น ก จ้าง ข และ ค ไปทำร้ายโดยชกต่อย ง นั้น แม้ ก จะ มิได้เป็นผู้ชกต่อยเอง ก ก็ต้องรับผิดในการที่ ข และ ค ให้ชกต่อย ง ร่วมกับ ข และ ค ด้วยเช่นเดียวกัน