Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรับผิดเพื่อละเมิดในการ กระทำของตนเอง, นางสาวอารีนัตน์ …
ความรับผิดเพื่อละเมิดในการ
กระทำของตนเอง
การกระทำ
มาตรา 420
องค์ประกอบ 1.ผู้ใด(บุคคลเท่านั้น) 2.กระทำต่อบุคคล (กกท.โดยรู้สำนึก) 3.จงใจหรือประมาทเลินเล่อ 4.ทำโดยผิด กม.
Ex.เเดงเป็นเพื่อนดำเเต่เกิดไม่พอใจกัน เเดงจึงเอาปืนยิงดำและไม่ว่าเดงจะถึงเเก่ความตายหรือได้รับบาดเจ็บก็ตามเเดงก็ได้กระทำละเมิดต่อเเดง
ผู้เยาว์ และบุคคลวิกลจริต
ม.429 ความรับผิดในการกระทำละเมิดผู้เยาว์ และบุคคลวิกลจริต
Ex.ด.ช.เเดงอายุ 5 ปี ใช้มีดเเทงดำซึ่งเป็นเพื่อนของตน
การงดเว้นไม่กระทำ
มีหน้าที่ไม่กระทำแต่ไปงดเว้นไม่กระทำ
1.หน้าที่ตามกฎหมาย Ex. แดงมีหน้าที่ให้นมบุตร แต่แดงที่มีหน้าที่ให้นมบุตรแต่แดงงดเว้นไม่กระทำ จนทำให้บุตรเสียชีวิต
2.หน้าที่ตามสัญญา Ex. ดำกับแดงทำสัญญาว่าห้ามนำวัตถุไวไฟเข้ามาภายในบ้านต่อมาแดงนั้นได้นำวัตถุไวไฟเข้าไปไว้บ้าน การกระทำของแดงทำผิดสัญญา ย่อมถือเป็นการละเมิด
3.หน้าที่เกิดจากความสัมพันธ์ทางข้อเท็จจริงที่มีอยู่ระหว่างผู้งดเว้นกับผู้เสียหายหรือเป็นผลมาจากฐานะทางข้อเท็จจริงซึ่งผู้งดเว้นได้ก่อขึ้น Ex.แดงเป็นแพทย์ประจำโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง แดงได้เลิกงานระหว่างทางกลับบ้านพบผู้เจ็บป่วยบนท้องถนน แดงจึงรีบเข้าไปช่วยเหลือ
การกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ มาตรา 420
จงใจ คือ รู้สำนึกถึงผลเสียหาย ผู้กระทำเหตุจูงใจไม่จำเป็นต้องนึกถึงผลเสียหาที่จะเกิดขึ้น
Ex. ดำหยิบมีดปอกผลไม้แทงแดง ดังนี้ย่อมเป็นการที่ดำ กระทำไปโดยสำนึกผลเสียหายที่จะเกิดแก่แดงจากการกระทำของตน
ประมาทเลินเล่อ คือ ไม่จงใจ
Ex. ดำขับรถยนต์ด้วยความเร็วสูง ระหว่างทางเจอนักเรียนกำลังจะข้ามถนนบนทางม้าลาย ทำใหแดงได้ชนนักเรียนได้รับบาดเจ็บสาหัส การกระทำของแดงไม่ได้ใช้ความระมัดระวังโดยชะลอความเร็ว และการใช้ความเร็วของรถในการขับขี่ จึงเป็นการประมาทของดำ
กระทำโดยผิดกฎหมาย
1.ใช้สิทธิที่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย (มาตรา 421)
Ex.เอกเป็นเจ้าของที่ดินนำแผ่นเหล็กปิดกั้นบ้านของตน ทำให้โทซึ่งเป็นเพื่อบ้านที่อาศัยอยู่ข้างเอกการที่เอกกระทำเช่นนี้เป็นเหตุให้ปิดกั้นแสงแดดและทางลมของบริเวณบ้านของโท การกระทำของเอกซึ่งใช้สทธิมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นถือเป็นการละเมิด
คำยินยอมไม่ทำให้เป็นละเมิด : ผู้กระทำไม่ต้องรับผิดฐานละเมิดเพราะไม่เป็นการกระทำโดยผิดกฎหมาย
Ex.ดำยินยอมให้แดงตัดต้นไม้ขนาดใหญ่ในหมู่บ้านเนื่องจากต้นไม้ใหญ่สูงท่วมสายไฟ แม้ทำให้กำแพงบ้านของดำเพื่อนบ้านเสียหายก็ไม่เป็นละเมิดต่อดำ
2.การกระทำฝ่าฝืนบทบังคับแห่งกฎหมาย (มาตรา
422)
ความเสียหายเกิดจากฝ่าฝืนบทบังคับแห่งกฎหมาย
ผู้ใดฝ่าฝืนสันนิษฐานว่าเป็น “ผู้ผิด”
Ex.ขาวขับรถด้วยความเร็วสูงโดยขับรถยนต์ผิดทางเป็นการประมาทเลินเล่อ
การกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น
1.มีความเสียหายต่อสิทธิ ต่อร่างกายหรือทรัพย์สิน
Ex. ก.กล่าวหา ว่า ข.เป็นสตรีที่สำส่อนในสังคมชั้นสูงย่อมเป็นความเสียหายแก่ ข.
2.ลักษณะแห่งสิทธิ
สิทธิ หมายถึงอำนาจหรือประโยชน์ที่กฎหมายรับรองและคุ้มครองที่มีรุปร่างและไม่มีรูปร่างไว้
Ex.ตรีมีสิทธิที่จะใช้น้ำจากสาธารณะ แต่โทมาขัดขวางไม่ให้ใช้น้ำ การกระทำของโทย่อมเป็นละเมิด
3.ความเสียหายที่คำนวณเป็นเงินได้ และไม่อาจคำนวณเป็นตัวเงินได้
คำนวณเป็นเงินได้ Ex.แดงขับรถยนต์ขนกำแพงบ้านของดำทำให้กำเพงได้รับความเสียหาย ย่อมเป็นการความเสียหายอันคำนวณเป็นเงินได้
ไม่อาจคำนวณเป็นตัวเงินได้ Ex. ก.ด่าหมิ่นประมาท ค. ย่อมเป็นความเสียหายอันคำนวณเป็นตัวเงินไม่ได้
เงินไม่ได้ความเสียหายนั้นเป็นผลมาจากการกระทไของผู้ทำความเสียหาย
1.ทฤษฎีความเท่าเทียมกันแห่งเหตุหรือทฤษฎีเงื่อนไข
ถ้าไม่มีการกระทำดังที่ถูกกล่าวหา ผลจะไม่เกิด แต่ถ้ามีการกระทำที่ถูกกล่าวหาผู้นั้นต้องรับผิดถือว่าเหตุทุก ๆ เหตุมีน้ำหนักเท่ากัน
Ex. เอกทำร้ายร่างกาย โทโดยเตะที่องเบาๆแต่ปรากฏว่า โทมีโรคประจำตัว ซึ่งถ้าหากกระทบกระเทือนอย่างแรง โทอาจตายได้แต่เอกไม่รู้ว่ามาก่อน โทถึงแก่ความตายดังนี้ ความตายโทเป็นผลมาการกระทำของเอกแม้เอกไม่รู้ว่าโทเป็นโรคดังกล่าวคิดแค่เพียงว่าโทอาจได้รับบาดเจ็บเล็กน้อยเท่านั้นแต่เอกก็ต้องรับผิดในความตายของโท
ทฤษฎีมูลเหตุเหมาะสม
ผู้ที่ได้กระทำความผิดการใดๆแล้วรับเฉพาะเหตุที่ตามปกติย่อมให้เกิดผล
Ex.จากตัวอย่างข้างต้นปกติชนเอกย่อมไม่ทราบว่าโทมีโรคประจำตัวถ้าทำร้ายเช่นนั้นโทอาจได้รับอันตรายถึงตายได้ เอกจึงต้องรับผิดเฉพาะในกรณีที่โทได้รับบบาดเจ็บอย่างธรรมดาเท่านั้นไม่ต้องรับผิดในความตายของโท
ละเมิดโดยหมิ่นประมาท
มาตรา 423 วรรค 1 หมิ่นประมาททางเเพ่ง
1.กล่าว ไขข่าว แพร่หลายฝ่าฝืนต่อกฎหมาย
2.เสียหายแก่ ชื่อเสียง เกียรติคุณ ทางทำมาหากิน ทางเจริญของเขา 3. แม้มิได้รู้ความจริงแต่หากควรจะรู้ได้ ผู้นั้นต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมแทน
Ex. .เอกเคยทำงานที่บริษัทโทแต่ลาออกจากงานเอกไปสมัครงานที่บริษัทตรีบริษัทตรีสอบถามเกี่ยวกับประวัติและความประพฤติของเอกไปยังบริษัทโท บริษัท โทตอบไปว่าเอกลาออกจากงานเพราะเอาทรัพย์สินของบริษัทโทไปเป็นประโยชน์ส่วนตัวดังนี้แม้การสอบสวนของบริษัทโทยังไม่แน่ชัดว่าเอกเอาไป เเต่ถ้าบริษัทโทรู้ดีีกว่า เอกมิได้เอาทรัพย์สินบริษัทโทไปเพราะจากรายงานการสอบสวนของคณะกรรมการที่บริษัทโทตั้งขึ้นสอบสวนได้ความดังนี้เเต่บริษัทโทต้องการจะกลั่นเเกล้งเอกมิให้ได้เข้าทำงานที่บริษัทตรีดังนี้บริษัทโทต้องรับผิดต่อเอกตามมาตรา ม.423วรรคหนึ่ง
มาตรา 423 วรรค 2
1.ผู้ส่งข่าว-ส่งข่าว ไม่ได้รู้จริง 2.มีทางได้เสียโดยชอบ ไม่ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหม
Ex.เอกเคยทำงานที่บริษัทโทแต่ลาออกจากงานเอกไปสมัครงานที่บริษัทตรีบริษัทตรีสอบถามเกี่ยวกับประวัติและความประพฤติของเอกไปยังบริษัทโท บริษัท โทตอบไปว่าเอกลาออกจากงานเพราะเอาทรัพย์สินของบริษัทโทไปเป็นประโยชน์ส่วนตัวดังนี้แม้การสอบสวนของบริษัทโทยังไม่แน่ชัดว่าเอกเอาไปแต่บริษัทโทเข้าใจสุจริตว่าเอกเอาไปแม้บริษัทโทควรจะรู้ว่าเอกไม่ได้เอาไปจึงบอกไปยังบริษัทตรี ดังกล่าวดังนี้บริษัทโทกับบริษัทตรีมีส่วนได้เสียในการบอกและการรับข้อความไม่ต้องรรับผิดตาม ม.423 ว.2
การพิพากษาคดี
บุคคลถูกฟ้องคดีทั้งส่วนคดีแพ่ง + อาญา ในเรื่องเดียวกัน
Ex. ฎ.1229/2498 ศาลพิพากษายกฟ้องคดีอาญาเพราะจำเลยไม่มีเจตนาบุกรุกที่ดิน ไม่ได้ชี้ว่าเป็นที่ดินของใคร โจทก์ฟ้องคดีแพ่งให้ศาลวินิจฉัยแสดงกรรมสิทธิ์ห้ามมิให้จำเลยเกี่ยวข้องได้
การร่วมกันทำละเมิด
1.ลักษณะการร่วมกันทำละเมิด
ร่วมกันกระทำต้องมีเจตนา เพื่อความมุ่งหมายร่วมกัน
มาตรา 432 วรรค 1 ร่วมทำละเมิด ร่วมรับผิดค่าสินไหมทดเเทน
Ex.ก.วาน ข.ให้เอาห่อวัตถุระเบิดไปส่งให้ ค. ข. รับมอบไปแล้วเกิดความสงสัยว่าเหตุใดห่อจึงหนักผิดธรรมดาจึงมาไต่ถาม ก. ก.ก็บอกความจริงให้ทราบ ข.ก็รับคำว่ายินดีจะนำไปมอบให้ ค.และนำไปมอบแก่ ค.จนเกิดระเบิดขึ้น ดังนี้ ย่อมถือว่า ก.และข.มีเจตนาความมุ่งหมายและการกระทำร่วมกัน เป็นการกระทำละเมิดร่วมกันต่อ ค.
มาตรา432 วรรค 2 บุคคลยุยงส่งเสริม/ช่วยเหลือในการกระทำละเมิด
Ex.ก.จ้าง ข.และ ค.ไปชกต่อย ง.ขณะที่ ข.และ ค.ร่วมกันชกต่อย ง.อยู่นั้น จ.มาพบการทำร้ายเข้าโยบังเอิญจึงส่งไม้ให้ ข. ตี ง. ซึ่ง ค. เห็นเข้าก็ร้องสั่งให้ ข.เร่งตี ง. ด้วย อันเป็นการที่ ข.และ ค. ร่วนกันทำละเมิดต่อ ง. ดังรี้ ก.ก็ดี จ.ก็ดี มิได้ร่วมกับ ข. ค. กระทำละเมิดต่อ ง. แต่ ก.เป็นผู้ยุยงส่งเสริม และ จ.เป็นผู้ช่วยเหลือในการกระทำละเมิดต่อ ง.ตามม.432 ว.2
2.ความรับผิดระหว่างผู้ร่วมกันทำละเมิด
มาตรา 423 วรรค 3 ความรับผิดในการกระทำร่วมกัน
นางสาวอารีนัตน์ เทวะสิงห์ 64012310447 ลำดับ 96 กลุ่ม 1