Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
วัตถุแห่งหนี้, เมื่อเกิดหนี้ขี้น เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี…
วัตถุแห่งหนี้
-
ชนิดของวัตถุแห่งหนี้
วัตถุแห่งหนี้ 3 ประการ
-
หนี้งดเว้นกระทำการ
(มาตรา 194 ประกอบมาตรา 213 วรรค 3)
คือหนี้งดเว้นกระทำการเป็นหนี้ซึ่งลูกหนี้มีความผูกพันว่าจะไม่กระทำการบางอย่าง
-
วัตถุแห่งหนี้ อยู่ในขั้นผล คือ
เกิดหนี้ขึ้นแล้ว วัตถุแห่งหนี้มี
อยู่ในมูลหนี้ทุกชนิดวัตถุแห่งหนี้หมายถึงสิ่งที่ลูกหนี้จะต้องปฏิบัติในการชำละหนี้มีอยู่ 3 ประการ
:warning:วัตถุแห่งหนี้ แตกต่างจากวัตถุประสงค์แห่งนิติกรรม :warning:
-
-
เมื่อเกิดหนี้ขี้น เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้ เว้น :warning: แต่หนี้นั้นจะเป็นหนี้ขาดอายุความ หนี้ขาดหลักฐานหรือหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยที่จะชำระ (มาตรา 219 วรรคแรก) :warning:
-
ตัวอย่าง
ฎีกาที่ 599/2535 จำเลยยืมปุ๋ยและของอื่นไปจากโจทก์เพื่อใช้ในการทำใบยาสูบจำเลยจะทำใบยาสูบเองหรือไม่ไม่ใช่ข้อสำคัญแม้การให้ยืมสิ่งของดังกล่าวเพื่อใช้ในฤดูกาลทำใบสัญญายืมสิ่งของดังกล่าวจะไม่ได้กำหนดเวลาคืนสิ่งของไว้ แต่ตามพฤติการณ์ยาสูบเมื่อสิ้นฤดูกาลแล้วก็ต้องส่งคืนหากใช้ไม่หมดส่วนที่ใช้ไปแล้วไม่อาจส่งคืนได้ก็ต้องใช้ราคาดังนี้เป็นกรณีที่ไม่ได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ตามวันแห่งปฏิทินเป็นเพียงอนุมานจากพฤติการณ์การที่จำเลยไม่ส่งคืนของที่ยืมเมื่อสิ้นระยะเวลาที่อนุมานจากพฤติการณ์ได้นั้นก็ยังไม่ตกเป็นผู้ผิดนัด แต่ต่อมาเมื่อโจทก์มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยคืนของที่ยืมภายในวันที่กำหนดจำเลยไม่คืนจึงตกเป็นผู้ผิดนัดนับ แต่วันถัดจากวันที่กำหนดนั้น
:warning:กรณีที่มีการกำหนดเวลาไว้ตามวันปฏิทิน แต่พอถึงเวลานั้นกลับมีการผ่อนผันให้มีการปฏิบัติการชำระหนี้ช้าโดยเจ้าหนี้ก็ยอมรับมาเรื่อย ๆ เท่ากับไม่สนใจที่จะถือเอากำหนดเวลาเป็นสำคัญจึงกลายเป็นหนี้ที่ไม่มีกำหนดเวลาตามปฏิทินไปกรณีนี้ลูกหนี้จะตกเป็นผู้ผิดนัดเมื่อเจ้าหนี้ต้องเตือนก่อน
:warning:กรณีที่นี่มีกำหนดเวลาชำระหนี้เป็นคราวๆเป็นงวดๆตามวันปฏิทินถ้าผิดนัดงวดใดงวดหนึ่งก็ถือว่าผิดนัดทุกงวดไม่ว่าจะมีข้อตกลงกันเช่นนั้นหรือไม่
ตัวอย่าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10625/2555 โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้จากการใช้บัตรเครดิตแล้วผิดนัดไม่ชำระหนี้ จำเลยมิได้ให้การปฏิเสธว่ามิได้ผิดนัด คงให้การแต่เพียงว่าสัญญาบัตรเครดิตระหว่างโจทก์กับจำเลยยังคงมีผลบังคับ เนื่องจากโจทก์มิได้มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้และบอกเลิกสัญญา โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง แต่การเลิกสัญญากับการผิดนัดเป็นคนละเรื่องคนละกรณีกัน กล่าวคือ หนี้ที่เกิดจากมูลสัญญา เมื่อลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิที่จะบังคับชำระหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 213 หรืออาจใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตาม มาตรา 386 ถึง มาตรา 388 ก็ได้ แล้วแต่เจ้าหนี้จะเลือก หาได้หมายความว่าหากโจทก์ไม่ได้บอกเลิกสัญญาแล้วจำเลยมีสิทธิไม่ต้องชำระหนี้ที่ค้างชำระแก่โจทก์ไม่ ดังนั้น เมื่อหนี้ที่โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยชำระหนี้มีกำหนดเวลาแน่นอนตามวันแห่งปฏิทิน การที่จำเลยมิได้ชำระตามกำหนดเวลาดังกล่าว จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดโดยมิพักต้องเตือนหรือบอกกล่าวอีกตาม ป.พ.พ. มาตรา 204 วรรคสอง อันเป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกให้จำเลยชำระหนี้ดังกล่าวโดยไม่ต้องบอกกล่าวก่อนฟ้อง
ตัวอย่าง
นายก. ยืมกล้องถ่ายรูปนายข. โดยจะคืนให้วันที่ 28 ธันวาคม 2555.
วันที่ 28 นายก. ไม่คืนกล้องให้นายข.
วันที่ 29 มีคนขโมยกล้องไปจากนายก. ทั้งที่นายก. ดูแลอย่างดีแล้ว
วันที่ 29 แผ่นดินไหวทําให้กล้องตกได้รับความเสียหาย
วันที่ 29 แผ่นดินไหวทำให้กล้องตกได้รับความเสียหายซึ่งบ้านของนายข. ก็แผ่นดินไหวเช่นเดียวกันและบ้านของนายข. ก็พังเสียหายทั้งหลัง