Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรับผิดกระทำละเมิดด้วยตนเอง, นางสาวชนิดา วะสีแดง รหัสนิสิต 64012310219…
ความรับผิดกระทำละเมิดด้วยตนเอง
การกระทำใดจะเป็นละเมิดประกอบด้วยหลัก 4 ประการ
1.บุคคลกระทำโดยจงใจ หรือ ประมาทเลินเล่อ
ประมาทเลินเล่อ คือ การกระทำโดยไม่จงใจ แต่กระทำโดยปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่
จงใจ คือ การกระทำโดยรู้สำนึกถึงผลเสียหายที่จะเกิดขึ้นจากการกระทำของตน
2.กระทำต่อผู้อื่นโดยผิดกฎหมาย
อาจผิดต่อกฎหมายอาญา กฎหมายแพ่ง รัฐธรรมนูญ
ล่วงสิทธิผิดต่อบุคคลอื่น หรืออาจเป็นการฝ่าฝืนไม่ทำหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด รวมถึงผิดระเบียบต่างๆ ก็ถือว่าเป็นการผิดกฎหมาย แต่หากการกระทำนั้นไม่ผิดกฎหมายก็ไม่เป็นละเมิด
แต่หากการกระทำนั้นไม่ผิดกฎหมายก็ไม่เป็นละเมิด
การทำละเมิดต้องเป็นการทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมาย
3.ทำให้บุคคลอื่นเสียหาย
ความเสียหายนั้นจะเป็นความเสียหายที่เกิดแก่
ชีวิต
ร่างกาย
สิทธิ
ทรัพย์สิน
อนามัย
เสรีภาพ
4.ผลที่เกิดขึ้นสัมพันธ์กับการกระทำ
บุคคลจะได้รับความผิดก็ต่อเมื่อ เขาได้กระทำอันเป็นความผิดทางกฎหมาย
ตัวอย่างการกระทำความผิด
เช่นนายมานะไปเที่ยวที่ภูทับเบิกกับนายมานพและนายมานะได้นำพลุเพื่อไปจุดฉลองเนื่องในวันปีใหม่แต่นายมานพได้ห้ามปรามแล่วว่าอย่าจุดเพราะผู้คนชุกชุมมากมันอันตรายแต่นายมานะไม่ฟังเเละได้จุดพลุไปโดนตานายเเม้นซึ่งเป็นนักท่องเที่ยวจนได้รับบาดเจ็บ การกระทำของนายมานะถือว่ากระทำโดยประมาทเลินเล่อกระทำโดยผิดกฎหมายมีความเสียหายต่อร่างกายนายแม้นจึงต้องรับผิด
ความหมาย
การทำละเมิด คือการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อต่อบุคคลภายนอกโดยผิดกฎหมายเป็นเหตุให้เขา (ผู้ถูกกระทำ)เสียหายแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดีทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดีกฎหมายถือว่าผู้นั้นทำละเมิดจะต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการละเมิดนั้น
การรับผิด
เป็นความผูกพันธ์ทางกฎหมายที่ต้องชำระหนี้หรือค่าสินไหมทดแทนหรือกระทำการหรืองดเว้นการกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง
นางสาวชนิดา วะสีแดง รหัสนิสิต 64012310219 เลขที่ 82 กลุ่มที่ 2