Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
วัตถุแห่งหนี้ [แบ่งออกเป็น3ประเภท และ “หน้าที่ในการชำระหนี้” - Coggle…
วัตถุแห่งหนี้
[แบ่งออกเป็น3ประเภท
และ
“หน้าที่ในการชำระหนี้”
1.วัตถุแห่งหนี้ประเภทกระทำการ
หมายถึง การกระทำทั้งหลายที่ลูกหนี้มีความผูกพันจะต้องกระทำเพื่อการ ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ ลูกหนี้มีสิทธิ์เคลื่อนไหวร่างกายในสิ่งที่ตกลงกันไว้ เช่น การรับจ้างตัดเสื้อผ้า ถือว่าเป็นหนี้ที่ต้องกระทำการ
1.1หน้าที่ชำระหนี้ให้ถูกต้อง
เมื่อมีหนี้แล้วลูกหนี้ก็มีหน้าที่ต้องชำระหนี้ให้ต้องตามความประสงค์แห่งหนี้นั้น ดังที่มาตรา 215 บัญญัติไว้ว่า “เมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ให้ต้องตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้ไซร้ เจ้าหนี้จะเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การนั้นก็ได้”
1.วัตถุแห่งหนี้
วัตถุแห่งหนี้ มองทางด้านลูกหนี้ก็คือสิ่งที่ลูกหนี้จะต้องดำเนินการในการปฏิบัติการชำระหนี้ตามมาตรา 208 และถ้าหากมองจากฝ่ายเจ้าหนี้ก็คือสิ่งที่เจ้าหนี้อาจเรียกร้องเอาจากลูกหนี้ได้
วัตถุแห่งหนี้ที่แบ่งออกเป็น3อย่างนี้ถือกันมาตั้งแต่สมัยโรมันและประมวลกฎหมายแพ่งของฝรั่งเศสก็ได้นำมาบัญญัติไว้เป็น3อย่างเช่นกันแต่บางท่านก็อาจเห็นว่าอาจถือว่ามีเพียง2อย่างเท่านั้นคือหนี้กระทำการกับหนี้งดเว้นกระทำการโดยรวมหนีเส่งมอบทรัพย์สินว่าเป็นการกระทำอย่างหนึ่งด้วยก็ได้
2.วัตถุแห่งหนี้กับวัตถุที่ประสงค์แห่งนิติกรรม
วัตถุแห่งหนี้กับวัตถุที่ประสงค์แห่งนิติกรรมอาจมีความใกล้เคียงกันอยู่เช่นทำสัญญาซื้อขายม้ากันหนึ่งตัว วัตถุประสงค์ของนิติกรรมคือการโอนกรรมสิทธิ์ในม้าจากผู้ขายไปยังผู้ซื้อในขณะที่เมือนิติกรรมการซื้อขายเกิดแล้ววัตถุแห่งหนี้ในเรื่องนี้ก็คือการส่งมอบม้าให้แก่ผู้ซื้อและผู้ซื้อก็มีหนี้วัตถุแห่งหนี้เป็นการส่งมอบ (เงิน)
3.ทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งหนี้
คำว่า ทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งหนี้ที่มีการบัญญัติไว้ในมาตรา195ว่า “เมื่อทรัพย์ซึ่งเป็นวัตถุแห่งหนี้นั้นได้ระบุไว้แต่เพียงเป็นประเภท และถ้าตามสภาพแห่งนิติกรรม หรือตามเจตนาของคู่กรณี ไม่อาจจะกำหนดได้ว่าทรัพย์นั้นจะพึงเป็นชนิดอย่างไรไซร้ ท่านว่าลูกหนี้จะต้องส่งมอบทรัพย์ชนิดปานกลาง ถ้าลูกหนี้ได้กระทำการอันตนจะพึงต้องทำเพื่อส่งมอบทรัพย์สิ่งนั้นทุกประการแล้วก็ดีหรือถ้าลูกหนี้ได้เลือกกำหนดทรัพย์ที่จะส่งมอบแล้วด้วยความยินยอมของเจ้าหนี้ก็ดี ท่านว่าทรัพย์นั้นจึงเป็นวัตถุแห่งหนี้จำเดิมแต่เวลานั้นไป”
4.กรณีวัตถุแห่งหนี้ซึ่งเลือกชำระได้
หนี้ที่เกิดจากมูลแห่งหนี้ต่างๆไม่ว่าจะเกิดจากสัญญา หรือหนี้ที่เกิดจากละเมิดก็อาจมีหน้าที่มีวัตถุแห่งหนี้เป็นอย่างเดียวที่เรียกว่าเป็นหนี้เดี่ยว (simple obligation) เช่น กู้ยืมเงินกันไปก็มีหนี้ทีาต้องชำระเงินกู้คืน ซื้อขายสินค้าที่ไม่มึข้อกำหนดของสัญญาอย่างอื่นก็มีเพียงหนี้ส่งมอบสินค้าและหนี้ชำระราคา เป็นต้น
หนี้ที่เป็นหนี้ผสม (composite obligation) นี้อาจเป็นหนี้ที่เลือกชำระได้ (alternative obligation) ก็ได้ ซึ่งหมายถึงหนี้ที่มีวัตถุหลายอย่างแต่ไม่ต้องทำทุกอย่าง ตัวอย่างเช่น ยืมสตางค์เขามา 2000 บาท เจ้าของเงินเขาบอกว่าจะนำเงินมาคืนเขา2000บาท หรือถ้าสุนัขออกลูกจะเอาลูกสุนัข1ตัวมาให้เขาแทนก็ได้ อย่างนี้จะเห็นได้ว่าวัตถุแห่งหนี้มี2อย่าง คือ ส่งมอบเงิน2000บาทเพื่อชำระหนี้ หรือส่งมอบลูกสุนัข1ตัวก็ได้ เป็นการเลือหทำเพียงอย่างเดียวเท่านั้นไม่ต้องทำทั้งสองอย่าง
2.วัตถุแห่งหนี้ประเภทงดเว้นกระทำการ
หมายถึง หนี้ที่ลูกหนี้มีความผูกพันว่าไม่จะกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใด เช่น ลูกจ้างตกลงกับนายจ้างว่าหลังจากที่ลูกจ้างออกจากงานไปแล้วลูกจ้างจะไม่ประกอบกิจการนั้นแข่งขันกับนายจ้างในท้องที่เดียวกัน
3.วัตถุแห่งหนี้ประเภทการส่งมอบทรัพย์
หมายถึง หนี้ที่ลูกหนี้จะต้องส่งมอบทรัพย์อย่างใดอย่างหนึ่งให้แก่เจ้าหนี้ ซึ่งอาจเป็นการโอนกรรมสิทธิ์ หรือส่งมอบการครอบครองในทรัพย์นั้น วัตถุแห่งหนี้ประเภทนี้ในกฏหมายฝรั่งเศสเรียกว่า “doner” ซึ่งศาตราจารย์โสภณ รัตนากร เรียกว่า “หนี้โอนทรัพย์สิน” ซึ่งรวมถึงการส่งมอบทรัพย์สินในกรณีที่ไม่มีการโอนกรรมสิทธิ์หรือโอนทรัพย์สินอื่นในทรัพย์ด้วย และในความหมายกว้างรวมถึงการให้ใช้หรือการให้ครอบครองทรัพย์สินด้วย การโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินย่อมหมายถึงการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์และการส่งมอบทรัพย์ด้วย แต่ในบางกรณี อาจเป็นเพียวการส่งมอบทรัพย์เท่านั้น เช่น ในการซื้อขายทรัยพ์เฉพาะสิ่ง ซึ่งเป็นสังหาริมทรัพย์ โดยผลของกฏหมาย กรรมสิทธิ์ในทรัพย์ย่อมโอนไปยังผู้ซื้อทันทีที่สัญญาซื้อขายมีผล ผู้ขายย่อมมีหน้าที่ส่งมอบเท่านั้นแต่ถ้าเป็นการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งต้องมีการทำสัญญาเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อหน่วยงานเจ้าหน้าที่ด้วย กรรมสิทธิ์ยังจะโอนไปยังผู้ซื้อ ผู้ขายก็มีหนี้ทั้งการโอนกรรมสิทธิ์ และการส่งมอบทรัพย์สินนั้นด้วย
1.2กำหนดเวลาชำระหนี้
กำหนดเวลาชำระหนี้เป็นสิ่งสำคัญในการชำระหนี้ของลูกหนี้ เพราะหากลูกหนี้ไม่รู้กำหนดเวลาชำระหนี้ของตนแล้ว ก็อาจไม่ต้องชำระหนี้ตามความประสงค์อันแท้จริงของมูลหนี้ได้ เวลาก็เป็นสาระสำคัญในความประสงค์ของหนี้นั้น หากลูกหนี้ชำระผิดไปจากกำหนดเวลาชำระหนี้ แม้จะเป็นการชำระก่อนกำหนดเจ้าหนี้ก็อาจปฏิเสธไม่รับชำระหนี้ได้ และหากเกินกำหนดที่จะต้องชำระแล้วก็อาจทำให้ลูกหนี้กลายเป็นผู้ผิดนัด ซึ่งถ้าหากมีความเสียหายเกิดขึ้นลูกหนี้ก็ต้องรับผิดและในกรณีที่กำหนดเวลาชำระหนี้เป็นสาระสำคัญก็อาจมีผลถึงขั้นที่อาจเป็นเหตุให้บอกเลิกสัญญาได้ (มาตรา388)หรือเป็นเหตุที่เจ้าหนี้จะบอกปัดไม่รับชำระหนี้ได้ (มาตรา216) ในทางกลับกันของเจ้าหนี้ก็ถือเป็นสาระสำคัญเพราะการจะเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้นั้น หนี้ต้องถึงกำหนดชำระ ถ้าหนี้ยังไม่ถึงกำหนดคือมีเงื่อนเวลาเป็นประโยชน์แก่ลูกหนี้อยู่เจ้าหนี้ก็ไม่มีสิทธิ์จะเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้
1.หนี้ที่มิได้กำหนดเวลาชำระหนี้
บางกรณีหนี้หลายอย่างก็อาจไม่ได้กำหนดเวลาไว้ แต่หนี้ที่มิได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้นี้ มิได้หมายความว่าลูกหนี้จะไม่ต้องชำระ กฏหมายได้กำหนดหลักเกณฑ์ไว้ในมาตรา203วรรคแรกว่า “ถ้าเวลาอันจะพึงชำระหนี้มิได้กำหนดลงไว้ หรือจะอนุมานจากพฤติการทั้งปวงก็ไม่ได้ไซร้ ท่านว่าเจ้าหนี้ย่อมจะชำระหนี้ได้โดยพลัน และฝ่ายลูกหนี้ก็ย่อมจะชำระหนี้ของตนได้โดยพลันดุจกัน” การอนุมานจากพฤติการณ์ว่าเจ้าหนี้และลูกหนี้มีการตกลงชำระกันเมื่อใดนี้จะต้องดูประกอบกันหลายอย่าง เช่น วัตถุประสงค์ของการทำสัญญา เหตุการณ์ที่ทำให้มีการทำสัญญากับประเพณีการทางค้า หรือการปฏิบัติระหว่างคู่กรณีและอื่นๆ
2.หนี้ที่มีกำหนดเวลาชำระ
หนี้ที่มีกำหนดเวลาชำระหนี้นี้อาจเป็นหนี้ที่กำหนดเวลาชำระไว้โดยชัดเเจ้ง เช่น กำหนดตามวันแห่งปฏิทิน หรือกำหนดตามข้อเท็จจริง เช่น ยืมเสื้อครุยเพื่อไปรับปริญญาจะส่งคืนเมื่อรับปริญญาเสร็จ ก็ถือเป็นการกำหนดโดยชัดแจ้งคือมีการตกลงกันระหว่างคู่กรณีที่ก่อหนี้ขึ้นก็ได้ หรืออาจกำหนดโดยชัดแจ้งโดยบทบัญญัติของกฏหมาย เช่นหนี้ละเมิด ซึ่งมาตรา206
ให้ถือว่าผิดนัดมาแต่เวลาทำละเมิด ก็แสดงว่า กฏหมายกำหนดต้องให้ชดใช้ทันทีที่ทำละเมิด ก็ถือว่าเป็นหนี้ที่กำหนดชัดแจ้งหรืออาจเป็นกำหนดเวลาชำระหนี้โดยปริยาย
(1) กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้แต่เป็นที่สงสัย
กรณีมาตรา203วรรคสอง บัญญัติว่า “ถ้าได้กำหนดเวลาไว้ แต่หากกรณีเป็นที่สงสัย ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเจ้าหนี้จะเรียกชำระหนี้ก่อนถึงเวลานั้นหาได้ไม่ แต่ฝ่ายลูกหนี้จะชำระหนี้ก่อนกำหนดนั้นก็ได้ การที่กฏหมายบัญญัติไว้ว่า “ถ้าได้กำหนดเวลาไว้ แต่หากกรณีเป็นที่สงสัย” นั้น ศาสตราจารย์ ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช เห็นว่า “ที่ว่า หากกรณีเป็นที่สงสัยนั้น ไม่ได้หมายความว่าสงสัยในการกำหนดเวลาในการชำระหนี้ เพราะวันเดือนปี หรือกำหนดอื่นอันพึงเป็นเวลาที่จะชำระหนี้ได้กำหนดกันไว้แล้วไม่อาจเป็นที่สงสัยได้ ข้อที่เกิดเป็นกรณีอันสงสัยก็คือเจ้าหนี้จะเรียกให้ชำรำหนี้ก่อนกำหนดได้หรือไม่ หรืออีกนัยหนึ่งเกิดสงสัยกันขึ้นว่าประโยชน์แห่งเวลาได้แก่ฝ่ายเจ้าหนี้ไม่ใช่แก่ฝ่ายลูกหนี้ และเจ้าหนี้จะเอาชำระหนี้ก่อนกำหนดนั้น ดังนี้ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า เจ้าหนี้จะเรียกให้ชำระหนี้ก่อนกำหนดหาได้ไม่ แต่ในอุทาหรณ์ของกรมร่างกฎหมายให้ตัวอย่างสำหรับกรณีนี้ว่า “ก. ให้ ข. ยืมขันใบหนึ่งไปใช้ในงานมงคลสมรสบุตรสาวของ ข.เผอิญการสมรสต้องเลื่อนไป 1 เดือน ก.ไม่อาจเรียกร้องขันเงินคืนก่อนเสร็จการสมรส เว้นแต่ ก.จะพิสูจน์ได้ว่า ข.มิได้มีเจตนาจะเอาขันนั้นไว้เกินกว่า15วัน แต่ถึงอย่างไรก็ดี ข.อาจคืนขันก่อนการทำมงคลสมรสได้
2.กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ไม่เป็นที่สงสัย
กำหนดเวลาชำระหนี้ที่ลูกหนี้และเจ้าหนี้ตกลงกำหนดกันไว้นั้นเมื่อไม่เป็นที่สงสัยก็ยังอาจแบ่งออกได้เป็น2อย่าง ซึ่ง มีผลบังคับในทางกฏหมายแตกต่างกันคือ
1.กำหนดเวลาชำระหนี้ตามปฏิทิน
กรณีนี้เป็นการกำหนดเวลาชำระหนี้โดยชัดแจ้งตามวันแห่งปฏิทิน ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 204 วรรคสองว่า “ถ้าได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ตามวันแห่งปฏิทิน..” เช่น กำหนดชำระหนี้ในวันที่10สิงหาคม กำหนดชำระหนี้ในวันสงกรานต์ เป็นต้น แม้กฏหมายจะใช้คำที่มีความหมาย แคบว่าวันแห่งปฏิทิน แต่นักกฎหมายส่วนใหญ่ เห็นว่าต้องหมายความกว้างถึงการกำหนดตามเวลาแห่งปฏิทิน คืออาจเป็นวัน เป็นเดือน หรือเป็นปีปฏิทินก็ได้ ตัวบทฉบับภาษาอังกฤษใช้คำว่า If a time by the calendar is fixed for the performance ซึ่งมีความหมายกว้าง แปลความถึงการกำหนดเป็นเดือน เป็นปีด้วย เช่น กำหนดว่า 2เดือน นับแต่ทำสัญญาหรือ1ปี นับแต่ทำสัญญา ก็อยู่ในความหมายนี้ด้วย
1.3การผิดนัดไม่ชำระหนี้
การผิดนัดเป็นผลในทางกฏหมาย ที่กฏหมายได้กำหนดเงื่อนไขเอาไว้อย่างชัดเจนว่ากรณีเช่นใดจึงจะผิดนัดตามกฏหมาย ซึ่งอาจต่างจากความเข้าใจของคนโดยทั่วไปได้มาก เช่น ยืมกระบือของเขาไปเพื่อไถนาโดยจะคืนเมื่อสิ้นสุดฤดูทำนา ปรากฏว่าแม้จะสิ้นสุดฤดูกาลทำนาแล้วลูกหนี้ก็ยังไม่นำกระบือไปคืน จนถึงฤดูทำนาไปใหม่อีกหลายครั้ง ลูกหนี้ก็ยังไม่นำกระบือไปคืนเช่นนี้ ความเข้าใจของคนทั่วไปก็เห็นว่าลูกหนี้น่าผิดนัดแล้ว ซึ่งต่างจากผลในทางกฏหมาย ซึ่งถือว่าลูกหนี้ยังไม่ผิดนัด เพราะลูกหนี้ยังไม่เตือนให้ลูกหนี้ชำระหนี้ ดังนั้นในส่วนนี้จึงจะได้กล่าวถึงการผิดนัด ข้อยกเว้นที่ทำให้ไม่ผิดนัด และผลของการผิดนัด
1.การผิดนัด(ลูกหนี้)
การผิดนัดนั้นต้องเป็นผลในทางกฏหมายที่มีความสำคัญต่อลูกหนี้และเจ้าหนี้ ทำให้ลูกหนี้มีความรับผิดบางอย่างเพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกัน ก็ก่อให้เกิดสิทธิบางอย่างกับเจ้าหนี้เช่นกัน การผิดนัดมีกฎหมายกำหนดไว้ในลักษณะต่างๆ กัน ทั้งที่มีความสัมพันธ์กับกำหนดเวลาชำระหนี้และในกรณีละเมิดก็มีกำหนดไว้โดยกฏหมายด้วย
1.ลูกหนี้ผิดนัดโดยต้องตักเตือนก่อน
เมื่อมีกำหนดเวลาชำระหนี้แล้ว ลูกหนี้ก็ต้องชำระหนี้ตามกำหนดนั้น แต่การที่ลูกหนี้ยังไม่ชำระหนี้นั้น ในบางกรณีกฎหมายยังไม่ถือว่าลูกหนี้ผิดนัด ในหนี้บางประเภทนั้น กฎหมายกำหนดให้เจ้าหนี้ต้องเตือนลูกหนี้ก่อนลูกหนี้จึงจะผิดนัด คือการผิดนัดเกิดจากการกระทำของเจ้าหนี้เพื่อให้ครบเงื่อนไขตามกฎหมาย หนี้ประเภทที่เจ้าหนี้ต้องเตือนลูกหนี้จึงจะผิดนัดได้แก่หนี้ 2 กรณีคือ
(1)หนี้ที่กำหนดเวลาชำระหนี้มิใช่วันแห่งปฎิทิน
(2)หนี้ที่ไม่มีกำหนดชำระหนี้
2.ลูกหนี้ผิดนัดโดยเจ้าหนี้ไม่ตักเตือน
หนี้ทั้งสองประเภทดังกล่าวแล้วนั้น ลูกหนี้จะผิดนัดได้ก็ต่อเมื่อเจ้าหนี้ได้เตือนให้ลูกหนี้ชำระหนี้แล้ว แต่หนี้บางประเภทลูกหนี้ผิดนัดโดยเจ้าหนี้ไม่ต้องเตือนเลย หนี้กลุ่มนี้มี2ประเภทคือ
(1)หนี้ที่มีกำหนดชำระตามวันแห่งปฏิทินหรือหนี้ที่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าก่อนการชำระหนี้ ซึ่งอาจคำนวณนับได้ตามวันแห่งปฏิทิน
(2)หนี้ละเมิด
3.กำหนดชำระหนี้กับการผิดนัด
เมื่อได้ศึกษาษาถึงกำหนดเวลาในการชำระหนี้และการผิดนัดแล้ว จะเห็นได้ว่ากำหนดเวลาชำระหนี้ก็ดี การไม่ชำระหนี้ก็ดี การผิดนัดก็ดี มีความเกี่ยวพันกันอย่างมากการไม่ชำระหนี้เป็นข้อเท็จจริง ส่วนการผิดนัดเป็นข้อกฎหมาย คือเป็นเรื่องของการไม่ชำระหนี้ซึ่งเกิดผลบางประการทางกฏหมายการที่ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ลูกหนี้อาจยังไม่ผิดนัดก็ได้ การผิดนัดบางกรณีต้องมีการกระทำของเจ้าหนี้ ที่กฏหมายฝรั่งเศสเรียกว่า”การทำให้ลูกหนี้ผิดนัด(mise en demeure)” แต่ในระบบกฎหมายอื่นเมื่อมีกำหนดเวลาชำระหนี้แล้วหาจำต้องให้เจ้าหนี้กระทำให้ลูกหนี้ผิดนัดอีกไม่ การทำให้ลูกหนี้ผิดนัดในกฎหมายไทยคือ การเตือนให้ลูกหนี้ชำระหนี้ภายหลังจากหนี้กำหนดถึงการชำระแล้วตามมาตรา204 แม้หนี้จะถึงกำหนดชำระแล้วลูกหนี้ยังไม่ชำระหนี้ แต่ถ้าเจ้าหนี้ยังไม่เตือนให้ลูกหนี้ชำระหนี้แล้วลูกหนี้ก็ยังไม่ผิดนัด ส่วนกรณีที่กำหนดชำระหนี้ตามวันแห่งปฏิทินนั้น ถ้าถึงกำหนดกำหนดชำระแล้วลูกหนี้ยังไม่ชำระลูกหนี้จะผิดนัดทันที แต่ทั้งสองกรณีนี้หนี้ต้องถึงกำหนดชำระทั้งสิ้น ถ้าหนี้ไม่ถึงกำหนดชำระแล้วลูกหนี้จะผิดนัดไม่ได้เลย
4.กรณีไม่ถือว่าลูกหนี้ผิดนัด
ปกติเมื่อหนี้ถึงเวลากำหนดชำระและเจ้าหนี้ได้ให้คำเตือนลูกหนี้แล้วลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ลูกหนี้ก็ต้องตกเป็นผู้ผิดนัด หรือในกรณีที่ไม่ต้องเตือน เช่น การชำระหนี้ที่กำหนดเวลาไว้ตามวันแห่งปฏิทิน เมื่อถึงกำหนดแล้วลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ ลูกหนี้ก็ตกเป็นผู้ผิดนัด แต่ในบางกรณีการที่ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้นั้นไม่ใช่ความผิดของลูกหนี้ จะให้ลูกหนี้ต้องรับผิดก็จะไม่เป็นธรรมแก่ลูกหนี้ กฎหมายจึงได้บัญญัติเป็นข้อยกเว้นไว้ไม่ให้ถือว่าลูกหนี้ผิดนัดถ้าการชำระหนี้นั้นไม่ใช่ความผิดของลูกหนี้ ดังบัญญัติไว้ในมาตรา205ว่า “ตราบใดการชำระหนี้นั้นยังมิได้กระทำลง เพราะพฤติการอันใดอันหนึ่งซึ่งลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบ ตราบนั้นลูกหนี้ยังหาได้ชื่อว่าผิดนัดไม่”
2.ผลการผิดนัดของลูกหนี้
เมื่อหนี้ถึงกำหนดการชำระและลูกหนี้มีหน้าที่ชำระหนี้ตามมาตรา203 และมาตรา204แล้ว หากลูกหนี้ไม่อาจอ้างเหตุผลยกเว้นความรับผิดตามมาตรา 205ได้ หรือเป็นกรณีหนี้ละเมิด ลูกหนี้ก็ต้องผิดนัดตามมาตรา206 เมื่อลูกหนี้ผิดนัดแล้วก็มีผลตามมาจากการผิดนัดชำระหนี้นอกจากหน้าที่ที่ต้องชำระที่มีอยู่ที่เดิม โดยผลของการที่ผิดนัดที่สำคัญคือ
1.ลูกหนี้ต้องรับผิดในความเสียหายอันเกิดแต่การผิดนัด
2.เจ้าหนี้อาจไม่รับชำระหนี้
3.ลูกหนี้ต้องรับผิดในความเสียหายอันเกิดระหว่างผิดนัดเพิ่มขึ้น
(1) ลูกหนี้ต้องรับผิดในความเสียหายอันเกิดแต่การผิดนัด
การที่ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ตามกำหนดและตกเป็นผู้ผิดนัดนั้น ก็ถือว่าเป็นการที่ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ให้ต้องตามประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้ด้วย ดังนั้นเมื่อการชำระหนี้ล่าช้าเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าหนี้ เจ้าหนี้อาจเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนได้ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 215 ว่า “เมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ให้ต้องตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้ไซร้เจ้าหนี้จะเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อคงามเสียหายอันเกิดแต่การนั้นก็ได้”
(2)เจ้าหนี้ไม่อาจชำระหนี้
เวลาในการชำระหนี้นั้น แม้จะเป็นส่วนหนึ่งของการชำระหนี้ที่ลูกหนี้จะต้องชำระให้ถูกต้องในเรื่องของเวลาซึ่งเป็นความประสงค์แห่งมูลหนี้อย่างหนึ่งดังได้กล่าวแล้ว แต่เวลาในการชำระหนี้นั้นปกติแล้วก็ไม่ใช่สาระสำคัญถึงขนาดที่จะทำให้เจ้าหนี้มีสิทธิ์ปฏิเสธไม่ชำระหนี้ได้เสมอไป แม้แต่ในเรื่องการผิดนัดในบางกรณี แม้ลูกหนี้จะไม่ชำระหนี้ตามเวลาที่กำหนดก็ยังหาได้ทำให้ลูกหนี้ผิดนัดเสมอไป
นอกจากกำหนดเวลาชำระหนี้จะเป็นสาระสำคัญมาแต่แรกด้วยการตกลงหรือโดยสวัสดิภาพ ดังกล่าวมาก่อนนี้แล้ว แต่แม้เวลาชำระหนี้จะไม่เป็นสาระสำคัญมาแต่แรก เจ้าหนี้ก็อาจบอกกล่าวให้เวลาชำระหนี้เป็นสาระสำคัญได้ดังบัญญัติในมาตรา387ว่า “ถ้าคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งไม่ชำระหนี้ อีกฝ่ายหนึ่งจะกำหนดระยะเวลาพอสมควร แล้วบอกกล่าวให้ฝ่ายนั้นชำระหนี้ภายในระยะเวลานั้นก็ได้ ถ้าและฝ่ายนั้นไม่ชำระหนี้ภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ให้ไซร้อีกฝ่ายหนึ่งจะยกเลิกสัญญาเสียก็ได้” ทั้งนี้ก็เพราะลูกหนี้มีหน้าที่จะต้องชำระหนี้ตามเวลากำหนดอยู่แล้ว ถ้าลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ กฎหมายจึงยอมให้เจ้าหนี้บอกกล่าวให้อีกฝ่ายหนึ่งชำระหนี้ด้วยกำหนดเวลาพอสมควร ถ้าลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ อีกฝ่ายก็มีสิทธิจะบอกปัดไม่ยอมชำระหนี้นั่นเอง
(3)ลูกหนี้ต้องรับผิดในความเสียหายอันเกิดระหว่างผิดนัดเพิ่มขึ้น
นอกจากความรับผิดในความเสียหายที่เกิดจากการผิดนัดการชำระหนี้ดังได้กล่าวมาแล้วซึ่งเป็นความเสียหายจากการผิดนัดโดยตรงแล้ว เมื่อลูกหนี้ผิดนัดลูกหนี้ยังอาจต้องรับผิดในความเสียหายในความประมาทเลินเล่อ และการที่การชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยเพราะอุบัติเหตุอันเกิดขึ้นในระหว่างผิดนัดด้วย ดังบัญญัติในมาตรา217ว่า “ลูกหนี้จะต้องรับผิดชอบในความเสียหายบรรดาที่เกิดแต่ความประมาทเลินเล่อในระหว่างเวลาที่ตนผิดนัด ทั้งจะต้องรับผิดชอบในการที่การชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยเพราะอุบัติเหตุอันเกิดขึ้นในระหว่างเวลาที่ผิดนัดนั้นด้วย เว้นแต่ความเสียหายนั้น ถึงแม้ว่าตนจะได้ชำระหนี้สินทันเวลากำหนดก็คงจะต้องเกิดมีอยู่นั่นเอง”
ความรับผิดของลูกหนี้ในกรณีนี้ ต่างกับใน2กรณีแรก ในมาตรา215 และมาตรา216 คือในมาตรา217นี้ มิใช่เป็นความเสียหายเกิดจากการผิดนัดแต่เป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นในระหว่างผิดนัดเท่านั้นมิใช่เหตุโดยตรงมาจากการผิดนัดแต่เป็นเพราะลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ตามหน้าที่ของตนที่จะต้องชำระหนี้ตามกำหนดเมื่อไม่ชำระหนี้และลูกหนี้ต้องตกเป็นผู้ผิดนัดแล้ว เกิดการเสียหาย หรือสูญหายขึ้นแก่ทรัพย์นั้นไม่ว่าจะด้วยความประมาทเลินเล่อของลูกหนี้ หรือเพราะอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในระหว่างผิดนั้นลูกหนี้ก็ต้องรับผิด เพราะหากลูกหนี้ขำระหนี้ตามกำหนด ทรัพย์สินนั้นไปอยู่ในความครอบของเจ้าหนี้ความเสียนั้นก็คงไม่เกิดขึ้น ดังนั้นกฎหมายจึงยอมให้ลูกหนี้พิสูจน์ได้ว่าแม้ตนจะได้ชำระหนี้ทันเวลากำหนดตามความเสียหายนั้นก็จะต้องเกิดมีอยู่นั่นเอง ลูกหนี้จึงจะไม่ต้องรับผิด ความเสียหายในเรื่องนี้เกิดจาก 2 สาเหตุ คือ ความประมาทเลินเล่อของลูกหนี้อย่างหนึ่ง และเกิดจากอุบัติเหตุอีกอย่างหนึ่ง
คำว่า การโอนกรรมสิทธิ์ การโอนทรัพย์สินและการส่งมอบทรัพย์สินนี้มีความหมายที่ไม่ตรงกันทีเดียว จะเห็นได้ว่าการโอนกรรมสิทธิ์นั้นมุ่งถึงการเปลี่ยนแปลงจากคนนึงไปยังอีกคนนึง ในบางกรณีก็อาจแยกกันเด็ดขาดในเรื่องส่งมอบทรัพย์สิน ซึ่งมีได้ทั้งในกรณีอสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์ เช่น กรณีสัญญาซื้อขายสังหาริมทรัพย์ซึ่งเมื่อสัญญาซื้อขายเกิดขึ้นแล้ว กฏหมายมาตรา458 ได้กำหนดว่า “กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ซื้อขายย่อมโอนไปยังผู้ซื้อตั้งแต่เมื่อได้ตกลงซื้อขายกัน”
ดังนั้นผู้ขายจึงเหลือเพียงหน้าที่ส่งมอบทรัพเท่านั้น แต่กรณีการซื้อขายซึ่งต้องไปจดทะเบียนซื้อขายนั้นจดทะเบียนซื้อขาย น่าจะถือเป็นขั้นตอนของการเกิดสัญญาเท่านั้นจึงน่าจะยังไม่มีหนี้