Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรับผิดกระทำละเมิดด้วยตนเอง, นายธวัลรัตน์ นามศิริ 64012310061 LW เลขที่…
ความรับผิดกระทำละเมิดด้วยตนเอง
ความหมายของการกระทำ
การกระทำ หมายถึง ความเคลื่อนไหวของบุคคลโดยรู้สึกในความเคลื่อนไหวของตนและหมายถึงการงดเว้นหรือละเว้นไม่กระทำตามหน้าที่ที่ต้องกระทำ
ผู้เยาว์และบุคคลวิกลจริต
มาตรา429 วางหลักไว้ว่า บุคคลแม้ไร้ความสามารถเพราะเหตุเป็นผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริตคยังต้องรับผิดในผลที่ตนทำละเมิด (แต่การกระทำนั้นต้องมีความเคลื่อนไหวโดยรู้สำนึก ถ้ากระทำไปโดยไม่รู้สำนึกก็ไม่เป็นความผิด)
การงดเว้นไม่กระทำ
การกระทำตามมาตรา420 ไม่ได้หมายความ แต่เพียงการจะทำในทางเคลื่อนไหวอิริยาบถเท่านั้นแต่ยังหมายถึงการงดเว้นการกระทำอีกด้วย
เช่น
หน้าที่ตามสัญญา เช่นมีสัญญาจ้างแพทย์รักษาโรคแต่แพทย์ไม่ยอมรักษาเป็นผลให้เกิดความเสียหายแก่ตัวเขาเป็นการงดเว้น
หน้าที่เกิดจากความสัมพันธ์ เช่นผู้คนเคยมาเยี่ยมเจ้าของบ้านก็ต้องจัดเก้าอี้ที่แขกจะนั่งให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยไม่ชำรุดเพื่อต้อนรับแขก
หน้าที่ตามกฎหมาย เช่นสามีภรรยามีหน้าที่ต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูบุตร
การกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ
จงใจ หมายถึง รู้สำนึกถึงการกระทำและผลเสียหายของการกระทำ
เช่น
แต่ถ้ามีการเข้าใจผิดในข้อเท็จจริงก็ไม่เป็นจงใจ
เช่น หนังสือของ ก. และของ ข. วางอยู่ใกล้ชิดกัน ก. เผลอหยิบเอาหนังสือของ ข. ไปเป็นของตน ดังนี้ มิได้กระทำโดยจงใจ
ยกแก้วน้ำขึ้นราดบนศรีษะของ ข. ดังนี้ ย่อมเป็นการที่ ก. ทำไปโดยรู้สำนึกถึงผลเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ ข. จากการกระทำของตน
ประมาทเลินเล่อ หมายถึง ไม่จงใจ แต่ไม่ใช้ความระมัดระวังตามสมควรที่จะใช้
เช่น
เช่น ก. ถือแก้วน้ำอยู่แล้ววิ่งมาหา ข. ระหว่างนั้นน้ำเกิดไปหกใส่ศรีษะของ ค. ที่นั่งอยู่ ดังนี้ ย่อมเป็นการที่ ก. ทำไปโดยประมาทเลินเล่อคือ ก. ไม่ใช้ความระมัดระวังเหมือนวิญญูชนทั่วไป
การกระทำโดยผิดกฎหมาย
การกระทำโดยผิดกฎหมาย มีความหมายกว้างไม่ใช่มั้ยแต่เพียงฝ่าฝืนกฎหมายที่บัญญัติไว้โดยชัดเจน แต่หมายรวมถึงการกระทำโดยไม่มีสิทธิ์หรือข้อแก้ตัวตามกฎหมาย
การใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น(ม.421)
เช่น เจ้าหน้าที่ตำรวจจับผู้ต้องหาว่ากระทำความผิด แต่แกล้งไปจับในเวลาที่กำลังอยู่ในวงสังคม โดยที่สามารถจับในที่อื่นได้แต่ไม่จับในที่นั้น ด้วยเหตุนี้จึงเป็นกระทำผิดตาม ม.421 คือการใช้สิทธิ์ให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น
ความยินยอมไม่เป็นละเมิด
บุคคลซึ่งยอมต่อการกระทำจะฟ้องคดีเกี่ยวกับการกระทำมิได้ความยินยอมทำให้ไม่มีการละเมิดเกิดขึ้น
ฎ.714/2512 โจทก์ยินยอมให้จำเลยกับพวกเปิดคันดินกั้นน้ำในครองซึ่งเป็นทางน้ำสาธารณะหรือทำให้คันดินไม่อยู่ในสภาพกักเก็บน้ำและระบายน้ำเข้านาโจทก์ได้แม้ทำให้ข้าวในนาโจทย์หายก็ไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์
การกระทำฝ่าฝืนบทบังคับแห่งกฎหมาย(ม.422)
ฎ.1169-1170/2509 การที่รถยนต์จำเลยเลนเข้าไปชนรถยนต์โจทย์ทางด้านขวาของถนนเบื้องต้นศาลสันนิษฐานตามกฎ หมายว่ารถยนต์จำเลยเป็นผู้ผิด จำเลยมีหน้าที่ต้องนำสืบหักล้างว่าจำเลยมิใช่เป็นผู้ผิด
การกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น
ความเสียหายแก่ผู้อื่นหมายถึงความเสียหายที่เกิดแก่สิทธิของผู้อื่น
แยกพิจารณา
ลักษณะแห่งสิทธิ
สิทธิคือประโยชน์ที่บุคคลมีอยู่ และบุคคนอื่นมีหน้าที่ต้องเคารพ
เช่น สิทธิที่จะใช้ที่หรือทางสาธารณะ สิทธิที่จะใช้น้ำจากทางน้ำสาธารณะ เมื่อมีผู้ใดมาขัดขวางกีดขวางย่อมเป็นละเมิด
มีความเสียหายต่อสิทธิ
เช่น ข.ใช้ก้อนหินขว้างปาบ้านของ ง.ถูกกระเบื้องมุงหลังคาแต่ไม่แตก ก็จำเป็นต้องซ่อมแซมเปลี่ยนใหม่ บุคคลธรรมดาจะคิดว่าเมื่อหลังคาของ ง.ไม่แตก ก.ไม่มีความผิดนั้น ในสายตาของกฎหมายนั้นย่อมถือว่าเกิดความเสียหายแก่ ง. แล้ว ส่วนจะคำนวณเป็นตัวเงินได้หรือไม่นั้น ย่อมเป็นอีกเรื่องหนึ่ง
ความเสียหายที่คำนวณเป็นตัวเงินได้และไม่อาจคำนวณเป็นตัวเงินได้
ก.ถูกลักพาตัวแล้วหลบหนีออกมา ต้องเสียค่าพาหนะในการหลบหนีกลับบ้านย่อมเป็นความเสียหายที่คำนวณเป็นตัวเงินได้
ก. ด่าประมาท ข. ย่อมเป็นความเสียหายอันคำนวณเป็นตัวเงินไม่ได้
ความเสียหายนั้นเป็นผลมาจากการกระทำของผู้ทำความเสียหาย
ทฤษฎีความเท่ากันแห่งเหตุหรือทฤษฎีเงื่อนไขเงื่อนไข คือเหตุของการกระทำมีน้ำหนักเท่ากัน
Ex.ก.ทำร้ายร่างกาย ข. โดยเตะที่ท้องเบาๆแต่ปรากฏว่า ข. มีโรคร้ายประจำตัว ซึ่งถ้าหากถูกกระทบกระเทือนอย่างแรง ข. ถ้าอยากตายได้ แต่ ก. ไม่ทราบมาก่อน ข.ถึงแก่ความตาย ดังนี้ ความตายของ ข.เป็นผลมาจากการกระทำของ ก. แม้ ก. จะไม่รู้ว่า ข.มีโรคดังว่านั้น คิดแต่เพียงว่าอาจได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย แต่ ก.ก็ต้องรับผิดในความตายของ ข.
ทฤษฎีมูลเหตุเหมาะสม คือความรับผิดของผู้กระทำเฉพาะเหตุที่กระทำ
Ex.เช่น ปติชนอย่าง ก. ย่อมไม่ทราบว่า ข. มีโรคร้ายประจำตัวถ้าทำร้ายเช่นนั้นอาจได้รับอันตรายถึงตายได้ ก. จึงต้องรับผิด ในกรณีที่ ข. ได้รับบาดเจ็บอย่างธรรมดาเท่านั้นไม่ต้องรับผิดในความตายของ ข.
นายธวัลรัตน์ นามศิริ 64012310061 LW เลขที่.19 วิชาละกฎหมายละเมิด
จัดทำโดย