Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
วัตถุแห่งหนี้ มีได้ 3 อย่าง - Coggle Diagram
วัตถุแห่งหนี้
มีได้ 3 อย่าง
คือสิ่งที่ลูกหนี้จะต้องดำเนินการในการปฏิบัติการชำระหนี้ตามมาตรา 208
ถือกันมาตั้งแต่สมัยโรมันและประมวลกฎหมายแพ่งของฝรั่งเศสก็ได้นำมาบัญญัติไว้เป็น3อย่างเช่นกันแต่บางท่านก็อาจจะเห็นว่าอาจถือว่ามีเพียง 2 อย่างเท่านั้น คือหนี้กระทำการกับหนี้งดเว้นกระทำการโดยรวมมีส่งมอบทรัพย์สินว่าเป็นการกระทำการอย่างหนึ่งด้วยก็ได้
1.หนี้กระทำการ เป็นหนี้ที่ลูกหนี้ต้องไปทำการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างแก่เจ้าหนี้เช่นไปสร้างให้ไปวาดรูปให้ตามสัญญาจ้างทำของไปทำงานต่างๆให้แก่นายจ้างตามสัญญาจ้าง
หนี้กระทำการนั้น อาจมีได้ทั้งที่ลูกหนี้อาจเพียงแต่รับผิดชอบในการจัดกระทำการอันนั้นโดยลูกหนี้ไม่ต้องกระทำการด้วยตนเองก็ได้
เช่น หนี้ตามสัญญารับจ้างสร้างบ้านลูกหนี้ซึ่งเป็นผู้รับเหมามาก็มิได้ลงมือสร้างด้วยตนเองเพียงแต่ไปจัดหาคนงานนายช่างมาทำงานให้เสร็จตามสัญญาเท่านั้นก็ได้
เช่น ขุดดิน ทำบัญชี
ทำงานบ้าน
แต่อาจมีหนี้ก็ทำการอีกประเภทหนึ่งที่ลูกหนี้ต้องกระทำการนั้นด้วยตัวลูกหนี้เองจะด้วยสภาพของสัญญาด้วยสภาพของหนี้หรือด้วยความตกลงของคู่กรณีก็ตาม
เช่นสัญญาจ้างแรงงานลูกจ้างก็ต้องไปทำการงานด้วยตนเอง
บางกรณีสภาพของหนี้นั้นอาจไม่จำเป็นที่ลูกหนี้ต้องกระทำด้วยตนเองเสมอไปแต่เป็นเจตนาของคู่กรณีที่ตกลงกันกำหนดให้ลูกหนี้กระทำการนั้นด้วยตัวเองเช่นสัญญาจ้างร้านเฟอร์นิเจอร์ให้ต่อตู้ให้
หนี้ก็ทำการที่การชำระหนี้เป็นเรื่องที่ลูกหนี้ต้องทำเฉพาะตัวนี้ ถือว่าเป็นหนี้ส่วนตัวและไม่ตกเป็นมรดกแก่ทายาทลูกหนี้แต่ทางด้านเจ้าหนี้นั้นสิทธิอาจตกไปยังทายาทได้เว้นแต่จะตกลงกันเป็นอย่างอื่นและหนี้ประเภทนี้หากลูกหนี้กลายเป็นคนไม่สามารถจะชำระหนี้ได้ก็ถือว่าชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยซึ่งทำให้ลูกหนี้หลุดพ้นจากการชำระหนี้นั้น
ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 219 วรรคสอง
"ถ้าภายหลังที่ได้ก่อหนี้ขึ้นแล้วนั้นลูกหนี้กลายเป็นคนไม่สามารถจะชำระหนี้ได้ไซร้ท่านให้ถือเสมือนว่าเป็นพฤติการณ์ที่ทำให้การชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัยฉะนั้น "
ตัวอย่างเช่น ทำสัญญาจ้างจิตรกรฝีมือดีมาว่ารูปเหมือนของตนเองแต่ก่อนจะวาดรูปจิตกรเกิดประสบอุบัติเหตุกลายเป็นอัมพาตไม่สามารถวาดรูปต่อไปได้เช่นนี้กฎหมายถือว่าเป็นบริการที่ทำให้การชำระหนี้ด้วยการกระทำนั้นตกเป็นอันพ้นวิสัย
2.หนี้งดเว้นกระทำการ วัตถุแห่งหนี้นั้นอาจกำหนดให้ลูกหนี้ต้องไม่กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใด ตามที่ตกลงกันไว้ก็ได้ในมาตรา 213 วรรค 3 วิธีการบังคับชำระหนี้ที่บัญญัติไว้ว่า"ส่วนหนี้ซึ่งมีวัตถุ เป็นอันจะงดเว้นการอันใดเจ้าหนี้จะเรียกร้องให้ รื้อถอนที่ได้กระทำลงแล้วนั้นโดยให้ลูกหนี้เสียค่าใช้จ่ายและให้จัดการอันควรเพื่อกาลภายภาคหน้าด้วยก็ได้"้
ตัวอย่างเช่น ทำสัญญาเช่าที่ดินเขาสร้างอาคารพาณิชย์เพื่อทำการค้าขายเจ้าของที่ดินไม่ต้องการให้อาคารพาณิชย์ที่จะสร้างขึ้นบังวิวทิวทัศน์ของบ้านต้นจึงตกลงห้ามสร้างอาคารสูงเกิน 2 ชั้นถ้าผู้เช่าสร้างอาคารสูงเกินกว่าที่ตกลงไว้ผู้เช่าซึ่งเป็นลูกหนี้ก็ฝ่าฝืนในหน้าที่การชำระหนี้และอาจถูกบังคับให้รื้อถอนการที่ได้ทำตรงนั้น
ตามมาตรา 213 วรรค 3
แต่หนี้งดเว้นกระทำการนั้นแท้จริงแล้วไม่ใช่มีแต่เฉพาะเรื่องการก่อสร้างขนาดมีหนี้ก็ทำการบางอย่างได้อีกมากมายเช่นสัญญาเช่าอาจมีข้อตกลงห้ามผู้นำเช่าวัสดุที่ติดไฟได้ง่ายเข้ามาไว้ในอาคาร
วัตถุแห่งหนี้เป็นการงดเว้นกระทำการนี้ต้องเป็นกรณีที่ลูกหนี้มีหน้าที่ทางหนี้ไม่ใช่หน้าที่งบลงทุนทั่วไปหรืออาจจะกล่าวว่าหนี้งดเว้นกระทำการในที่นี้ต้องหมายถึงหนี้ที่อาจบังคับกันได้ตามมาตรา 213 วรรค 3 คือสามารถสั่งให้รื้อถอนการที่จะทำการลงแล้วหรือสั่งให้จัดอันควรเพื่อกาลภายภาคหน้า
เช่น สั่งห้ามล่วงหน้าได้เพราะโดยปกติกฎหมายรับรอง สิทธิต่างๆไว้เช่น สิทธิในชีวิตร่างกายสิทธิในทรัพย์สินสิทธิในชื่อเสียงหากใครมาล่วงละเมิดสิทธิเหล่านี้ก็ต้องรับผิดฐานละเมิดต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแต่หน้าที่งดเว้นเหล่านี้เป็นหน้าที่ทั่วไปไม่ใช่หน้าที่ที่ถึงขนาดเป็นหนี้ที่จะไปเรียกร้องให้ศาลสั่งห้ามใครไว้ก่อนเพียงแต่เกรงว่าเขาจะมาทำร้ายจะไปฟ้องขอให้ศาลสั่งห้ามไว้ล่วงหน้าไม่ได้
หนี้งดเว้นการกระทำนี้เป็นการบังคับให้ลูกหนี้ต้องไม่กระทำการบางอย่างอาจมีปัญหาในการพัฒนาว่าจะขัดกับหลักเสรีภาพหรือไม่ทำนองเดียวกันกับหนี้กระทำการคือการบังคับให้โลกนี้ต้องทำหรืองดเว้นกระทำนั้นย่อมขัดกับเสรีภาพของลูกหนี้
เมื่อมีความผูกพันกลับทางหนี้แล้วกฎหมายกำหนดทางแก้ไว้ดังปรากฏในมาตรา 213 ในส่วนของความผูกพันทางกฎหมายนี้ก็มีผู้เห็นว่าหนี้งดเว้นกระทำการมีความเกี่ยวข้องกับสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ดังนั้นหนี้ชนิดนี้ถ้าไม่มีข้อจำกัดในเรื่องเวลาหรือสถานที่อาจขัดต่อหลักเสรีภาพของบุคคลหรืออาจขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีมีผลให้สัญญาที่ก่อหนี้เป็นโมฆะก็ได้
3.หนี้ส่งมอบทรัพย์สิน วัตถุแห่งหนี้เป็นการส่งมอบทรัพย์สินนั้นหมายถึงหนี้ที่ลูกหนี้มีหน้าที่ต้องส่งมอบทรัพย์สินแก่เจ้าหนี้
ตัวอย่างเช่น สัญญาซื้อขายก๋วยเตี๋ยวฝ่ายผู้ซื้อก็มีหน้าที่ต้องส่งมอบทรัพย์สินคือราคาก๋วยเตี๋ยวแก่คนขายในขณะที่คนขายก็มีหน้าที่ต้องส่งมอบทรัพย์สินคือก๋วยเตี๋ยวแก่ผู้ซื้อ
คำว่าการโอนกรรมสิทธิ์การโอนทรัพย์สินและการส่งมอบทรัพย์สินมีความหมายที่ไม่ตรงกันดังจะเห็นว่าการโอนทรัพย์สินนั้นมุ่งถึงการเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์จากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่ง
“กฎหมายมาตรา 458 ได้กำหนดว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ซื้อขายย่อมโอนไปยังผู้ซื้อตั้งแต่เมื่อได้ตกลงซื้อขายกัน”
โดยการโอนกรรมสิทธิ์มุ่งถึงผลทางกฎหมาย แต่การส่งมอบทรัพย์เป็นกระบวนการหรือการกระทำทางกายภาพซึ่งไม่เกี่ยวกับเรื่องกรรมสิทธิ์เลยก็ได้เช่นสัญญาเช่าทรัพย์ผู้เช่าก็มีหน้าที่ส่งมอบทรัพย์ให้ให้ผู้เช่าได้ใช้สอยการส่งมอบทรัพย์เป็นส่วนหนึ่งของการแบ่งโอนทรัพยสิทธิเพราะในเรื่องสิทธิทางหนี้นี้เจ้าหนี้มีเพียง”สิทธิเรียกร้อง”ให้ลูกหนี้ปฏิบัติการชำระหนี้เท่านั้น
หากลูกหนี้ไม่ยอมส่งมอบ
เจ้าหนี้ก็ต้องไปร้องขอต่อศาลให้บังคับตามมาตรา 213 เจ้าหนี้หามีสิทธิที่จะบังคับด้วยอำนาจของตนเองไม่ ต่างจากกรณีที่เจ้าหน้าที่มีทรัพยสิทธิแล้วเจ้าของทรัพย์สินย่อมมีสิทธิตามเอาคืนจากผู้ที่ไม่มีสิทธิที่จะยึดหน่วงทรัพย์สินไว้ด้วยตนเองตามมาตรา 1336 การส่งมอบทรัพย์สินนั้นจึงเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดสิทธิเหนือทรัพย์หรือทรัพยสิทธิโดยสมบูรณ์
แต่ถ้าหากถือเอาการโอนกรรมสิทธิ์กับการส่งมอบทรัพย์ร่วมกันเป็นการโอนทรัพย์สินแล้วหนี้ตามสัญญาจะซื้อขายก็อาจเป็นหนี้โอนทรัพย์ไป
วิธีการในการส่งมอบทรัพย์นั้นย่อมขึ้นอยู่กับสภาพของทรัพย์นั้นเพราะทรัพย์บางชนิดก็มีขนาดเล็กที่สามารถนำมาส่งให้กับเจ้าหนี้ได้แต่ทรัพย์บางชนิดเป็นของมีขนาดใหญ่โตไม่อาจเคลื่อนย้ายได้ง่ายเช่น ที่ดินบ้าน ช่องเรือนโรง ดังนั้นทรัพย์จึงกำหนดไว้อย่างกว้างดังที่มาตรา 462 กำหนดว่า “การส่งมอบนั้นจะทำอย่างหนึ่งอย่างใดก็ได้สุดแต่ว่าเป็นผลให้ทรัพย์นั้นไปอยู่ในเงื้อมมือของผู้ซื้อ” เช่น การส่งมอบรถยนต์ก็อาจเพียงแต่มอบกุญแจรถทำให้ผู้มอบสามารถครอบครองรถได้
วัตถุแห่งหนี้ที่เป็นการส่งมอบทรัพย์สินก็มีทรัพย์สินที่ลูกหนี้ต้องส่งมอบทรัพย์ที่ลูกหนี้มีหน้าที่ส่งมอบจะต้องเป็นทรัพย์ที่มีรูปร่างและทรัพย์นี้จะเป็นทรัพย์เฉพาะสิ่งเช่นรถยนต์คันใดคันหนึ่งโดยเฉพาะ ม้าชื่อลิ่วลม สุนัขชื่อ ติ๊กต๊อก ก็ได้หรือจะเป็นทรัพย์ทั่วๆไปที่ไม่เป็นทรัพย์เฉพาะสิ่งเช่นข้าวสารน้ำตาลทรัพย์สินที่ลูกหนี้ต้องส่งมอบนี้ กฎหมายเรียกว่า
"ทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งหนี้ "
วัตถุแห่งหนี้กับวัตถุที่ประสงค์แห่งนิติกรรม
วัตถุแห่งหนี้กับวัตถุที่ประสงค์แห่งนิติกรรมอาจจะมีความใกล้เคียงกันอยู่
ตัวอย่างเช่น ทำสัญญาซื้อขายม้ากัน 1 ตัว วัตถุประสงค์ของนิติกรรมคือการโอนกรรมสิทธิ์ในมาจากผู้ขายไปยังผู้ซื้อในขณะที่เมื่อนิติกรรมการซื้อขายเกิดและวัตถุแห่งหนี้ในเรื่องนี้ก็คือการส่งมอบมาให้แก่ผู้ซื้อและผู้ซื้อก็มีหน้าที่มีวัตถุแห่งหนี้เป็นการส่งมอบ(เงิน)
หรือในสัญญาจ้างต่อเรือวัตถุประสงค์ของสัญญาก็คือการให้ผู้รับจ้างต่อเรือให้เมื่อสัญญาจ้างเกิดแล้วหนี้ของฝ่ายผู้รับจ้างก็คือมีวัตถุแห่งหนี้เป็นการกระทำการ(ต่อเรือ)ส่วนผู้ว่าจ้างก็มีหน้าที่ส่งมอบทรัพย์(ค่าจ้าง)
จะเห็นได้ว่าวัตถุแห่งหนี้กับวัตถุที่ประสงค์แห่งนิติกรรมนั้นไม่ได้มีส่วนคล้ายคลึงเกี่ยวข้องกันแต่ก็มีความแตกต่างกันหลายประการ คือ
1 วัตถุประสงค์ของนิติกรรมนั้น
2 วัตถุประสงค์ของนิติกรรมนั้นก็มีเฉพาะในนิติกรรมเท่านั้น
3 วัตถุประสงค์ของนิติกรรมนั้นไม่ได้มีจำกัด
ทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งหนี้ คำว่าทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งหนี้ที่มีการบัญญัติไว้ในมาตรา195 ว่า
“เมื่อทรัพย์ซึ่งเป็นวัตถุแห่งหนี้นั้นได้ระบุไว้แต่เพียงเป็นประเภท และถ้าตามสภาพแห่งนิติกรรมหรือตามเจตนาของคู่กรณีไม่อาจจะกำหนดได้ว่าทรัพย์นั้นจะพึงเป็นชนิดอย่างไรไซร้ ท่านว่าลูกหนี้จะต้องส่งมอบทรัพย์ชนิดปานกลาง
ถ้าลูกหนี้ได้กระทำการอันตนจะพึงต้องทำเพื่อส่งมอบทรัพย์สิ่งนั้นทุกประการแล้วก็ดีหรือ ถ้าลูกหนี้ได้เลือกกำหนดทรัพย์ที่จะส่งมอบแล้วด้วยความยินยอมของเจ้าหนี้ก็ดีท่านว่าทรัพย์นั้นจึงเป็นวัตถุแห่งหนี้จำเดิมแต่เวลานั้นไป”
บทบัญญัติดังกล่าวนี้ได้บัญญัติไว้ทำนองเดียวกับมาตรา 227 ที่ใช้คำว่า “ทรัพย์หรือสิทธิอันเป็นวัตถุแห่งหนี้และมาตรา 231 ก็ใช้คำว่าทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งหนี้”
แล้วก็อาจเข้าใจไว้ด้วยว่าวัตถุแห่งหนี้คือตัวทรัพย์นั้นซึ่งตัวทรัพย์นั้นไม่อาจเป็นวัตถุแห่งหนี้ได้เพราะวัตถุแห่งหนี้คือการส่งมอบทรัพย์ทรัพย์จึงเป็นส่วนประกอบอย่างหนึ่งในการชำระหนี้เพราะสิทธิเรียกร้องในทางหนี้นั้นไม่ได้ก่อให้เกิดทรัพยสิทธิแต่มีเพียงบุคคลสิทธิที่จะเรียกร้องให้ลูกหนี้ส่งมอบทรัพย์ให้เท่านั้นหากลูกหนี้ไม่ส่งมอบตัวเจ้าหนี้ก็ชอบที่จะไปร้องขอต่อศาลตามมาตรา 213 เจ้าหนี้จะไปบังคับแก่ทรัพย์นั้นด้วยอำนาจของตนมิได้ดังนั้นทรัพย์เป็นวัตถุแห่งหนี้ไม่ได้
ทรัพย์ที่ลูกหนี้จะต้องส่งมอบนี้เมื่อคำนึงถึงสถานะของทรัพย์นั้นจึงมี 2 ส่วนคือ ส่วนคือกรณีทรัพย์ที่จะต้องส่งมอบเป็นทรัพย์สินทั่วไปอย่างหนึ่ง และเป็นเงินตราอีกอย่างหนึ่ง
1.ทรัพย์สินที่จะส่งมอบเป็นทรัพย์สินทั่วไป ทรัพย์สินที่จะส่งมอบทรัพย์สินทั่วไปอาจเป็นได้ทั้งสังหาริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์และจะเป็นทรัพย์เฉพาะสิ่งหรือไม่ใช่ทรัพย์เฉพาะสิ่งก็ได้
และน่าจะเป็นทรัพย์ในอนาคตคือในขณะที่เกิดหนี้กันนั้นลูกหนี้ยังไม่มีทรัพย์นั้นอยู่เลยก็ได้
2 more items...
2.ทรัพย์ที่จะส่งมอบเป็นเงินตรา
ทรัพย์ที่ลูกหนี้จะต้องส่งมอบหรือทรัพย์ที่เป็นวัตถุแห่งการชำระหนี้นั้นนอกจากทรัพย์ทั่วๆไปอย่างอื่นแล้วเงินตราก็เป็นทรัพย์ที่ลูกหนี้จะต้องส่งมอบอย่างหนึ่ง
เงินตรานั้นมีลักษณะพิเศษกว่าทรัพย์สินอื่นอยู่หลายประการโดยทั้งธรรมชาติของการใช้สอยและการกำหนดโดยกฎหมายที่เห็นได้ชัดเจน
ประการแรกก็คือเงินตรานั้นมีมูลค่าอยู่ที่ราคาที่ตราไว้มีได้อยู่ที่คุณภาพความใหม่เก่า
เช่นธนบัตรราคา 1000 บาทมูลค่า 1000 บาทตามราคาที่ตราไว้
ประการที่ 2 เงินตรานั้นโดยสภาพแล้วไม่มีการชำระหนี้ด้วยเงินตราจะกลายเป็นพ้นวิสัยไปได้เพราะการชำระหนี้ด้วยเงินตรานั้นจะเอาเงินตราฉบับใดมาชำระก็ได้
ประการที่ 3 หนี้เงินนั้นมีดอกเบี้ยได้กฎหมายได้กำหนดดอกเบี้ยให้ในกรณีหนี้เงินไว้หลายกรณีเช่นการกู้ยืมเงินก็มีดอกเบี้ยได้โดยความตกลงของคู่กรณี
ประการที่ 4 เงินตรานั้นมีความหมายแตกต่างกันในตัวเงินตราเพราะมีค่าเป็นเครื่องมือในการแลกเปลี่ยนมีค่ามีราคาตามที่กำหนดไว้
1.กรณีหนี้เงินได้แสดงไว้เป็นเงินต่างประเทศ
มาตรา 196
1 more item...
2.กรณีเงินตราที่จะพึงส่งใช้เป็นอันยกเลิกไม่ใช้แล้ว เงินตราชนิดต่างๆนั้นอาจมีการเปลี่ยนแปลงบางชนิดอาจยกเลิก
ตัวอย่างเช่นประเทศไทยในอดีตใช้เงินพดด้วงใช้เงินอัฐเป็นเงินตราหรือสมัยโบราณก็ใช้อีแปะหรือเบี้ยเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนแปลงปัจจุบันเงินตราหลังนั้นยกเลิกไปหมดแล้ว
กรณีวัตถุแห่งหนี้ซึ่งเลือกชำระได้หนี้ที่เกิดจากมูลแห่งหนี้ต่างๆไม่ว่าจะเกิดจากสัญญาหรือหนี้เกิดจากละเมิดก็อาจมีหนี้ที่มีวัตถุแห่งหนี้เป็นอย่างเดียวที่เรียกว่าเป็นหนี้เดียว
เช่นกู้ยืมกันไปก็มีหน้าที่ต้องชำระเงินกู้คืน
ซื้อขายสินค้าที่ไม่มีข้อกำหนดของสัญญาอย่างอื่นก็มีเพียงหนี้ส่งมอบสินค้าและหนี้ชำระราคาเป็นต้น
แต่บางกรณีก็อาจมีหนี้หลายอย่างที่เรียกว่าหนี้ผสม
เช่นตามสัญญาเช่าผู้ให้เช่าอาจมีหนี้ส่งมอบทรัพย์สินที่ให้เช่า หนี้กระทำการคือต้องซ่อมแซมทรัพย์สินที่ให้เช่าถ้าเป็นการซ่อมแซมใหญ่และ มีหนี้งดเว้นคือต้องไม่กระทำการอันเป็นการรบกวนการครอบครองทรัพย์ของผู้เช่าในขณะที่ผู้เช่าก็มีหนี้กระทำการคือดูแลรักษาทรัพย์สินที่เช่าและบำรุงรักษาทั้งซ่อมแซมเล็กน้อยตามมาตรา 553หนี้งดเว้นกระทำการคือต้องไม่นำทรัพย์สินที่เช่าไปใช้เพื่อการอย่างอื่นนอกจากที่ใช้กันตามประเพณีนิยมปกติหรือตามที่กำหนดไว้ในสัญญาตามมาตรา 552
ผลของการเลือกและกรณีที่การชำระหนี้บางอย่างตกเป็นพ้นวิสัยไว้ในมาตรา 198-202
1 สิทธิในการเลือก
จากบทบัญญัติดังกล่าวอาจแบ่งสิทธิในการเลือกออกได้เป็น 4 กรณีดังนี้
4 more items...
2.วิธีการเลือกกฎหมายได้กำหนดวิธีการเลือกไว้โดยแยกเป็น 2 กรณีคือ
1.กรณีฝ่ายลูกหนี้หรือเจ้าหนี้เป็นผู้มีสิทธิเลือก
2.กรณีบุคคลภายนอกเป็นผู้มีสิทธิเลือกตามมาตรา 201 วรรคแรก
3.ระยะเวลาในการเลือก ระยะเวลาในการเลือกนั้นมีบัญญัติไว้ในมาตรา 200
ระยะเวลาในการเลือกตามบทบัญญัติมาตรา 200 อาจจะได้เป็น 2 กรณีคือ
1 more item...
4.ผลของการเลือก การเลือกนั้นกฎหมายกำหนดให้แสดงเจตนาต่อคู่กรณีอีกฝ่ายดังกล่าวแล้วการใช้สิทธิเลือกนั้นก็เป็นการแสดงเจตนาที่มีผลในทางกฎหมายดังนั้นการจะเกิดผลของการเลือกก็หมายถึงว่าการเลือกนั้นมีผลแล้วตามหลักการแสดงเจตนาในมาตรา 168 และมาตรา 169
5.กรณีชำระหนี้บางอย่างเป็นพ้นวิสัยในระหว่างที่หนี้เกิดขึ้นและหนี้นั้นมีการอันพึงต้องทำเพื่อชำระหนี้มีหลายอย่างแต่ลูกหนี้ต้องทำเพียงบางอย่างคือกรณีมีการเลือกชำระหนี้
1 more item...
1.2กำหนดเวลาชำระหนี้
กำหนดเวลาชำระหนี้เป็นสิ่งสำคัญในการชำระหนี้ของลูกหนี้เพราะหากลูกหนี้ไม่รู้กำหนดเวลาชำระหนี้ของตนแล้วก็ไม่อาจชำระหนี้ให้ต้องตามความประสงค์อันแท้จริงของมูลหนี้ได้
กำหนดเวลาชำระหนี้นั้นอาจแบ่งได้เป็น 2 กรณี
1.หนี้ที่ไม่ได้กำหนดเวลาชำระหนี้บางกรณีหนี้หลายอย่างก็อาจไม่ได้กำหนดเวลาไว้แต่หนี้ที่ไม่ได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้นี้ไม่ได้หมายความว่าลูกหนี้จะไม่ต้องชำระกฎหมายได้กำหนดหลักเกณฑ์ไว้ในมาตรา 203 วรรคแรก
ตัวอย่างเช่นยืมที่รดน้ำสังข์เพื่อไปใช้ในวันแต่งงานโดยไม่ได้ตกลงกันว่าจะคืนเมื่อไหร่แต่ก็อนุมานจากพฤติการณ์ได้ว่าเมื่อเป็นการยืมไปใช้ในวันแต่งงานก็ต้องชำระเมื่อหลังจากแต่งงานเสร็จแล้ว
หนี้ที่มีการกำหนดเวลาชำระ
หนี้ที่มีการกำหนดเวลาชำระหนี้เป็นหนี้ที่กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้โดยแจ้ง
เช่นกำหนดตามวันแห่งปฏิทินหรือกำหนดตามข้อเท็จจริง
1 more item...
การพิจารณาถึงกำหนดเวลาชำระหนี้จึงจะแยกพิจารณาเป็น 2 กรณีคือกำหนดเวลาชำระหนี้ไว้เป็นที่สงสัยกับกำหนดเวลาชำระหนี้ไว้กรณีที่ไม่สงสัย
2 more items...
1.3 การผิดนัดไม่ชำระหนี้
การผิดนัดเป็นผลในทางกฎหมายที่กฎหมายได้กำหนดเงื่อนไขเอาไว้อย่างชัดเจนว่ากรณีเช่นใดจึงจะผิดนัดตามกฎหมายซึ่งอาจต่างจากความเข้าใจของคนทั่วไปได้มาก
เช่นยืมกระบือของเขาไปเพื่อไถนาโดยตกลงว่าจะส่งคืนเมื่อสิ้นฤดูทำนาปรากฏว่าแม้จะสิ้นฤดูทำนาแล้วลูกหนี้ก็ยังไม่นำกระบือไปคืนจนถึงฤดูทำนาใหม่อีกหลายครั้งลูกหนี้ก็ยังไม่นำกระบือไปคืนเช่นนี้ความเข้าใจของคนทั่วไปก็เห็นว่าลูกหนี้น่าจะผิดนัดแล้วซึ่งต่างจากผลในทางกฎหมายซึ่งถือว่าลูกหนี้ยังไม่ผิดนัดเพราะเจ้าหนี้ยังไม่ได้เตือนให้ลูกหนี้ชำระหนี้
ดังนั้นในส่วนนี้จึงได้กล่าวถึงการผิดนัดข้อยกเว้นที่ทำให้ไม่ผิดนัดและผลของการผิดนัด
1.การผิดนัด การผิดนัดนั้นเป็นผลในทางกฎหมายที่มีความสำคัญต่อลูกหนี้และเจ้าหนี้ทำให้ลูกหนี้มีความรับผิดบางอย่างเพิ่มขึ้นในขณะเดียวกันก็ก่อให้เกิดสิทธิบางอย่างแก่เจ้าหนี้เช่นกัน
อาจแยกพิจารณาได้เป็น 2 กรณีคือ
1.ลูกหนี้ผิดนัดโดยต้องเตือนก่อน
เ เมื่อมีการกำหนดชำระหนี้แล้วลูกหนี้ก็ต้องชำระหนี้ตามกำหนดนั้นแต่การที่ลูกหนี้ยังไม่ชำระหนี้นั้นในบางกรณีกฎหมายยังไม่ถือว่าลูกหนี้ผิดนัด
3 more items...
(3)กำหนดชำระหนี้กับการผิดนัด
เมื่อได้ศึกษาถึงกำหนดเวลาในการชำระหนี้แล้วการผิดนัดจะเห็นได้ว่ากำหนดเวลาชำระหนี้ก็ดี การว่าชำระหนี้ก็ดี การผิดนัดก็ดี มีความเกี่ยวพันกันอย่างมากการไม่ชำระหนี้เป็นข้อเท็จจริงส่วนการผิดนัดเป็นข้อกฎหมายคือเป็นเรื่องของการไม่ชำระหนี้ซึ่งเกิดผลบางประการทางกฎหมายการที่ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ลูกหนี้อาจยังไม่ผิดนัดก็ได้การผิดนัดบางกรณีต้องมีการกระทำของเจ้าหนี้ที่กฎหมายฝรั่งเศสเรียกว่า
“การทำให้ลูกหนี้ผิดนัด”
ดังนั้นจะเห็นได้ว่ากำหนดเวลาชำระหนี้และการผิดนัดนั้นไม่เหมือนกันแต่ก็มีความเกี่ยวข้องกันอย่างใกล้ชิดและความต่างและความเหมือนของกำหนดเวลาชำระหนี้กับความผิดนัดดังนี้
3 more items...
(4)กรณีที่ไม่ถือว่าลูกหนี้ผิดนัด ปกติเมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระและเจ้าหนี้ได้ให้คำเตือนลูกหนี้แล้วลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ลูกหนี้ก็ต้องตกเป็นผู้ผิดนัด หรือในกรณีที่ไม่ต้องเตือน เช่นการชำระหนี้ที่กำหนดเวลาไว้ตามวันแห่งปฏิทินเมื่อถึงกำหนดแล้วลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ลูกหนี้ก็ตกเป็นผู้ผิดนัดแต่บางกรณีการที่ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้นั้นไม่ใช่ความผิดของลูกหนี้จะให้ลูกหนี้ต้องรับผิดก็จะไม่เป็นธรรมแก่ลูกหนี้กฎหมายจึงได้ไม่อยากเป็นข้อยกเว้นไว้ไม่ให้ถือว่าลูกหนี้ผิดนัดถ้าการที่ยังไม่ชำระหนี้นั้นไม่ใช่ความผิดของลูกหนี้ดังบัญญัติไว้ในมาตรา 205 ว่า “ตราบใดการชำระหนี้นั้นยังมิได้กระทำลง เพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบ ตราบนั้นลูกหนี้ก็ยังหาได้ชื่อว่าผิดนัดไม่”
พฤติการณ์ซึ่งลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบนี้อาจมีที่มาจากหลายสาเหตุด้วยกันเป็นต้นว่า
1 more item...
2.เหตุเกิดจากบุคคลภายนอก บางครั้งการชำระหนี้ยังไม่ได้กระทำลงนั้นเป็นพฤติการณ์ที่โทษลูกหนี้ไม่ได้เพราะเป็นเหตุเกิดจากบุคคลภายนอกซึ่งเป็นเรื่องนอกอำนาจของลูกหนี้ที่จะป้องกันได้
ตัวอย่างเช่น ตกลงกันทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินโดยตกลงกันว่าลูกหนี้จะรังวัดแบ่งแยกที่ดินที่จะซื้อขายและไปโอนให้แก่ผู้ซื้อในเวลาที่กำหนดปรากฏว่า ลูกหนี้ได้พยายามดำเนินการเพื่อรังวัดแบ่งแยกที่ดินตามสัญญาตามความสามารถแล้วแต่รังวัดแบ่งแยกไม่สำเร็จเพราะเจ้าพนักงานที่ดินไม่อาจดำเนินการได้ทัน
ถือว่าลูกหนี้ไม่ผิดนัด
3.เกิดจากภัยธรรมชาติการที่ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ได้ทันตามกำหนดมีสาเหตุมาจากภัยธรรมชาติที่ลูกหนี้ไม่อาจคาดการณ์และไม่อาจป้องกันได้ก็ถือเป็นพฤติการณ์ที่ลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบเช่นกัน
เช่น รังวัดแบ่งแยกให้ไม่ทัน เพราะน้ำท่วมรังวัดไม่ได้จึงไม่สามารถโอนที่ดินได้ตามกำหนดก็ถือว่าลูกหนี้ไม่ผิดนัด
2) ผลของการผิดนัดของลูกหนี้
เมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระแล้วลูกหนี้มีหน้าที่ชำระหนี้ตามมาตรา 203 และมาตรา 204 แล้วหากลูกหนี้ไม่อาจอ้างเหตุยกเว้นความรับผิดตามมาตรา 205 ได้หรือเป็นกรณีหนี้ละเมิดลูกหนี้ก็ต้องผิดนัดตามมาตรา 206 เมื่อลูกหนี้ผิดนัดแล้วก็มีผลตามมาจากการผิดนัดชำระหนี้นอกจากหน้าที่ที่ต้องชำระหนี้ที่มีอยู่เดิม
โดยผลของการผิดนัดที่สำคัญคือ
1 more item...