Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรับผิดเพื่อละเมิดโดยการกระทำของตนเอง - Coggle Diagram
ความรับผิดเพื่อละเมิดโดยการกระทำของตนเอง
ความหมายของละเมิดในมาตรา ๔๒๐
(1)การกระทำ
อันเป็นละเมิดการกระทำให้เกิดเสียหายต่อบุคคลอื่นโดยไม่มีสิทธิ
1.1 “ผู้ใด” ต้องเป็นมนุษย์ บุคคลธรรมดา
นิติบุคคล ผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถ
คนเสมือนไร้ความสามารถ คนวิกลจริต
1.2 “การกระทำ” การเคลื่อนไหวร่างกายโดยรู้สำนึก
1.3 “การงดเว้นไม่กระทำการ” คือ
การงดเว้นไม่เคลื่อนไหวร่างกายภายใต้บังคับจิตใจ
(2)โดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ
2.1 “การกระทำโดยจงใจ” คือ การกระทำโดยรู้สำนึกถึงการกระทำว่าจะเป็นผลเสียหายต่อบุคคลอื่น
2.2 “ประมาทเลินเล่อ” การกระทำโดยไม่จงใจ แต่กระทำโดยขาดความระมัดระวัง
ตัวอย่างเช่น บุคคลทั่วไปไม่ขับรถเร็วในขณะฝนตกมองไม่เห็นทาง ผู้ใดขับรถเร็วในภาวะเช่นนั้นย่อมแสดงว่าประมาท
(3) โดยผิดกฎหมาย
โดยผิดกฎหมาย คือ กระทำลงโดยไม่มีอำนาจหรือไม่มีสิทธิหรือทำโดยมิชอบด้วยกฎหมาย แม้ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้ว่ากระทำเช่นนั้นเป็นความผิด ถ้าผู้กระทำได้ทำต่อบุคคลอื่นจนเขาเสียหายโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ การะกระทำนั้นก็เป็นละเมิดได้
ตัวอย่างเช่น ก.จงใจขึ้นไปนั่งบนหน้าหม้อรถยนต์ของ ข. แม้ความเสียหายไม่เกิดขึ้นจนเห็นประจักษ์
แต่การกระทำของ ก. ก็เป็นละเมิดได้
(4) มีความเสียหาย
การกระทำให้เกิดเสียหายต่อชีวิต ร่างกายทรัพย์สินก็ล้วนเป็นการกระทำต่อ “สิทธิ” ของบุคคลอื่นทั้งสิ้น
การวิเคราะห์ตามหลักการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ความเสียหายดังกล่าวต้องแน่นอนพอที่จะเป็นมูลให้เกิดการชดใช้ทดแทนกันได้ มิใช่ความเสียหายที่คาดหมายว่าจะเกิดหรือน่าจะเกิด
ตัวอย่างเช่น ผู้เช่าไม่ส่งมอบที่เช่าคืนย่อมเป็นละเมิด ผู้ให้เช่าควรได้ค่าเสียหายเท่ากับค่าเช่า ส่วนที่ผู้ให้เช่าคาดหมายว่าจะใช้สถานที่ฉายภาพยนตร์ได้ประโยชน์วันละ 2,000บาท แต่จะต้องดัดแปลงสถานที่และขออนุญาตก่อน ซึ่งผู้ให้เช่าก็ยังไม่ได้ขอนั้นเป็นการเสียหายไกลกว่าเหตุ ผู้เช่าไม่ต้องรับผิด
(5) มีความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำและผล
การจะต้องรับผิดในผลแห่งการกระทำจำเป็นต้องมีหลักในการพิสูจน์ถึงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุกับผลของการกระทำ
5.1 ทฤษฎีเงื่อนไขหรือทฤษฎีผลโดยตรง
ไม่มีการกระทำอันใดอันหนึ่งผลย่อมไม่เกิดขึ้น ถ้ามีการกระทำหลายอย่างอันเป็นเหตุแห่งผล
ก็ถือว่า เหตุทุกเหตุมีน้ำหนักเท่ากันที่จะก่อให้เกิดผลอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้น
ตัวอย่างเช่น ก.ผลักข.ล้มลง ขณะล้มลงนั้นศีรษะของข.ฟาดพื้นทำให้ข.ถึงแก่ความตาย ก.ต้องรับผิดในความตายของ ข.
5.2 ทฤษฎีมูลเหตุเหมาะสมหรือทฤษฎีผลธรรมดา
การกระทำที่เป็นเหตุสำคัญซึ่งจะส่งผลตามธรรมดาหรือเป็นเหตุเหมาะสมที่จะส่งผลให้เกิดขึ้นเท่านั้นที่ถือได้ว่าเป็นเหตุที่จะต้องรับผิด
ตัวอย่างเช่น ถ้าก.ผลักข.ล้มลงข.ถึงแก่ความตายเพราะกระโหลกศีรษะของข.บางกว่าปกติ เมื่อศีรษะกระทบพื้นจึงแตกและถึงแก่ความตาย ก.ก็ไม่ต้องรับผิดในผลแห่งความตายของข. แต่ต้องรับผิดเเต่เฉพาะผลธรรมดาอันอาจเกิดขึ้นได้จากการกระทำของก.กล่าวคือ อาจเป็นความรับผิดแค่ทำร้ายร่างกายข.
5.3 ศาลไทยใช้หลักใดในการวินิจฉัยความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำและผล
ศาลไทยใช้ทฤษฎีผลโดยตรงในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำและผลในคดีละเมิดไม่ว่าจงใจละมิดหรือประมาทเลินเล่อ
5.4 ทฤษฎีเงื่อนไขจะใช้ได้หรือไม่ในกรณีที่มีเหตุแทรกแซง
มีการกระทำอันเป็นเหตุให้เกิดผลเสียหายขึ้นหลังจากการกระทำอันแรกได้สิ้นสุดลงแล้ว การกระทำที่ถือว่าเป็นเหตุอันใหม่ที่เกิดขึ้นภายหลังนั้นผู้กระทำ
คนหลังต้องรับผิดตามทฤษฎีเงื่อนไข
การใช้สิทธิไม่สุจริต เป็นการกระทำละเมิด
(1) เหตุผลและที่มาของบทบัญญัติมาตรา ๔๒๑
1.1 “ใช้สิทธิ”คือมีสิทธิซึ่งกฎหมายรับรองให้อำนาจไว้ เมื่อผู้กระทำมีสิทธิแล้วได้ใช้อำนาจหรือใช้สิทธินั้นโดยมุ่งหมายจะให้เกิดเสียหายแก่บุคคลอื่นแม้ทำได้โดยมีสิทธิที่กฎหมายรับรองคือมีอำนาจตามกฎหมาย แต่ถ้ามุ่งให้เกิดเสียหายแต่อย่างเดียวแล้ว เป็นการกระทำที่กฎหมายไม่อาจยอมรับได้และเป็นละเมิด
เพราะไม่ต้องการให้มีการใช้อำนาจตามกฎหมายรังแกกัน
1.1.1ขอบเขตเเห่งสิทธิ การที่กฎหมายรับรองและคุ้มครองให้ว่ามีกว้างแคบอย่างไร
1.1.2ใช้สิทธิในขอบเขตแต่มุ่งต่อผลคือให้เกิดเสียหายต่อบุคคลอื่น
อันถือว่าใช้สิทธินั้นโดยไม่สุจริต
ตัวอย่างเช่น จับในขณะที่อยู่ในการประชุมต่อหน้าธารกำนัลหรือจับแล้วใส่กุญแจมือให้เดินรอบตลาด ดังนี้ก็เป็นการใช้อำนาจที่มีอยู่ตามกฎหมาย
แต่มุ่งหมายให้เขาเสียหายกลายเป็นใช้สิทธิโดยไม่สุจริตได้
(2) แนวพิจารณาในศาลต่างประเทศ
2.1 การกระทำโดยตั้งใจให้เกิดเสียหาย
2.2 การกระทำดังกล่าวขาดประโยชน์ที่เหมาะสม
2.3 ผู้กระทำมีทางเลือกอื่นที่จะไม่เป็นอันตรายหรือไม่
2.4 พิเคราะห์ว่าระหว่างการกระทำโดยใช้สิทธิเช่นนั้นกับ
การไม่กระทำอย่างไหนจะก่อให้เกิดประโยชน์มากกว่าจะเสียหาย
2.5 ผู้กระทำไม่คำนึงถึงขอบเขตวัตถุประสงค์แห่งสิทธิ
2.6 ความรับผิดโดยทั่วไปตามหลักเรื่องละเมิดโดยมีการพิสูจน์ความผิด
การกระทำอันฝ่าฝืนบทกฎหมายอันประสงค์ปกป้องบุคคลอื่นเป็นละเมิด
บทบัญญัติมาตรา ๔๒๒ ลำพังไม่เป็นความผิดละเมิดในตัวเองแต่ต้องมีข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบความรับผิดตามมาตรา๔๒๐ประกอบด้วย
จึงจะเป็นความผิดละเมิดที่ต้องมีการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
บทกฎหมายที่กำหนดหน้าที่ของบุคคลทั่วไปไว้ในการที่จะต้องกระทำหรืองดเว้นกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใด เพื่อป้องกันความเสียหายต่อสาธารณชน
ตัวอย่างเช่น ต้องขออนุญาตผลิตอาหาร ยา หรือวัตถุอันตรายก่อนลงมือผลิตผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตาม สันนิษฐานได้ว่าจงใจทำผิด
ความเสียหายต่อชื่อเสียง
(1)ละมิดตามมาตรา๔๒๐แตกต่างกับมาตรา๔๒๓อย่างไร
มาตรา๔๒๓ มีการกำหาดลักษณะเฉพาะมากกว่าการกระอันเป็นละเมิดต่อสิทธิหรือในชื่อของบุคคลตามหลักทั่วไปในมาตรา๔๒๐ ถ้าการกระทำของจำเลยมีลักษณะเป็น การกล่าวหรืไขข่าวแพร่หลาย ซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนต่อความเป็นจริงแล้วทำให้ผู้อื่นเสียหายต่อชื่อเสียงก็เป็นกรณีที่ต้องปรับบทตามาตรา๔๒๓แต่หากเป็นการกระทำให้ชื่อเสียงของผู้อื่นเสียหายโดยประการอื่นก็เป็นละเมิดตามาตรา ๔๒๐
(2)องค์ประกอบความผิดตามมาตรา ๔๒๓
ไขข่าวแพร่หลาย ต้องเป็นการกระทำโดยวิธีใดๆก็ตามซึ่งสามารถเเสดงข้อความใดๆให้บุคคลที่สามได้ทราบ เช่น แจกใบปลิว ส่งไปลงหนังสือพิมพ์
การกระทำต้องทำลงโดย ฝ่าฝืนต่อความจริง
เป็นองค์ประกอบความรับผิดที่ทำให้ความเป็นละเมิด
ความเสียหายต้องเป็นเรื่องเสียหายต่อชื่อเสียงเกียรติคุณ
หรือทางทำมาหาได้หรือทางเจริญของผู้อื่น
ตัวอย่างเช่น ก.กล่าวต่อหน้าที่ประชุมว่า ข.ยักยอกเงินของราชการ ทั้งที่ความจริงข.เป็นข้าราชการดีเด่นที่สุจริตในหน้าที่ตลอดมา เป็นเหตุให้ข.ถูกสอบสอนและได้รับความอับอายเสียชื่อเสียง
(3)ข้อยกเว้นตามมาตรา๔๒๓วรรคสอง
ใช้เฉพาะกรณีส่งข่าวสาส์น แต่จะเป็นข้อยกเว้นความรับผิดได้ก็ต่อเมื่อผู้รับข่าวและผู้ส่งข่าวต้องมีทางได้เสียโดยชอบในการส่งและรับข่าวนั้น เช่น เป็นผู้รับประโยชน์ด้วยกัน เป็นคนในครอบครัวเดียวกัน
การพิพากษาคดีละเมิดซึ่งมีมูลความผิดอาญาอยู่ด้วย
ศาลในคดีแพ่งไม่จำต้องอาศัยหลักเกณฑ์อย่างเดียวกันกับการพิจารณาโทษทางอาญา เพราะเกณฑ์ที่จะถือเป็นความผิดอาญาและเอาโทษทางอาญาได้นั้นแตกต่างกันกับเกณฑ์ความรับผิดในทางละเมิด การฟ้องคดีอาญาศาลอาจพิพากษายกฟ้องได้เพราะเหตุผลบางประการซึ่งไม่เป็นเหตุยกฟ้องในทางแพ่ง
ตัวอย่างเช่น นายจ้างของคนขับรถที่ถูกฟ้องคดีอาญาตกลงยอมรับข้อเท็จจริงตามคดีอาญา ศาลถือข้อเท็จจริงตามคดีอาญานั้นแต่ความรับผิดทางแพ่งต้องเป็นไปตามกฎหมายแพ่ง ศาลลงโทษจำคุกคนขับรถทั้งสองฝ่ายที่ชนกันให้จำคุกคนละ๕ปีเท่ากัน จะถือว่าทั้งสองฝ่ายประมาทเท่ากันในความรับผิดทางแพ่งด้วยไม่ได้ ศาลกำหนดให้จำเลยรับผิด ๓ ใน ๕ ก็ได้
การทำละเมิดร่วมกัน
การมุ่งหมายที่จะร่วมกันกระทำต่อบุคคลอื่นให้เขาเสียหาย แต่ต้องเป็นความเสียหายเนื่องมาจากการร่วมกันกระทำนั้นคือมีความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำและผล
ต้องอาศัยข้อเท็จจริงภายใน คือ ความคิดที่จะกระทำร่วมกันโดยมุ่งหมายให้เกิดความเสียหายชนิดที่เรียกว่า เจตนาร่วม
ตัวอย่างเช่น ก.ข.ค.ง. ร่วมกันมุ่งหมายให้จ. เสียหายโดยการผลักล้มลงหัวกระแทกพื้นจนเสียชีวิตการกระทำของ ก.ข.ค.ง.จึงเป็นการกระทำละเมิดร่วมกัน