Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรับผิดกระทำละเมิดด้วยตนเอง - Coggle Diagram
ความรับผิดกระทำละเมิดด้วยตนเอง
ความหมายของการกระทำ
คำว่า ผู้ใด มีความหมายเป็นเรื่องแรกว่าจะถือว่าเป็นการกระทำละเมิดได้นั้นต้องเป็นการกระทำของมนุษย์หาใช่ของสัตว์ไม่ เพราะสัตว์ไม่ใช่มนุษย์มิใช่บุคคลสัตว์ จะก่อการกระทำละเมิดหาได้ไม่
ตัวอย่าง เด็กที่ไร้เดียงสาซึ่งย่อมไม่รู้ว่าตนได้ทำอะไรลงไปเช่นเด็กทารกที่นอนอยู่ในเบาะ
มาตรา 420 บัญญัติไว้ว่า ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลอรเลอร์ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิ์อย่างหนึ่งอย่างใดก็ดีท่านว่าผู้นั้นทำละเมิดจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น
มาตรา 429 บัญญัติไว้ว่าบุคคลใดแม้ไร้ความสามารถเพราะเหตุเป็นผู้เยาหรือวิกลจริตก็ต้องรับผิดในผลที่ตนทำละเมิด
เมื่อคำว่าผู้ใดหมายถึงมนุษย์แล้วจึงรวมถึงบุคคลทุกชนิดไม่ว่าบุคคลที่บรรลุนิติภาวะแล้วหรือผู้เยาว์ บุคคลวิกลจริต
คำว่า ผู้ใด นี้อาจเป็นได้ทั้งบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล
การกระทำหมายถึงการกระทำหมายถึงความเคลื่อนไหวในอิริยาบถโดยรู้สำนึก โดยรู้สำนึกในความเคลื่อนไหว
เช่น นกเขียนหนังสือ ดังนี้ย่อมเป็นการกระทำของนกเพราะนกรู้สำนึกในการเคลื่อนไหวของตนเองที่เขียนหนังสือ
การงดเว้นไม่กระทำ
คำว่า “ การกระทำ ”ตามว่ามาตรา 420 มิได้หมายความแต่เพียงการกระทำในการเคลื่อนไหวอิริยาบถเท่านั้นยังหมายถึงการงดเว้นไม่กระทำอีกด้วยแต่ต้องงดเว้นหรือละเว้นไม่กระทำการที่มีหน้าที่ต้องทำ
แยกพิจารณาได้ดังนี้
1.หน้าที่ตามกฏหมาย ex.ฎ.881/2495
2.หน้าที่ตามสัญญา
3.หน้าที่เกิดจากความสัมพันธ์ทางข้อเท็จจริงที่มีอยู่ระหว่างผู้งดเว้นกับผู้เสียหายหรือเป็นผลมาจากฐานะทางข้อเท็จจริงซึ่งผู้งดเว้นได้ก่อขึ้น
อุทาหรณ์กรณีการงดเว้นกระทำการเป็นละเมิด ex. ฎ 1201/2502
อุทาหรณ์กรณีการงดเว้นกระทำจึงไม่เป็นละเมิด ex.ฎ.857/2512
การกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ
หลักเกณฑ์ ตามมาตรา 420 อีกข้อหนึ่ง คือ โดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ซึ่งจะแยกพิจารณาเป็น 2 กรณี
จงใจ หมายถึง รู้สึกสำนึกว่าจะเกิดผลเสียหายแก่บุคคลอื่นจากการ
กระทำของตนนั้นฉะนั้นการกระทำโดยผิดหลงอยู่ทั้งชาติหรือการเข้าใจโดยสุจริตคือการเข้าใจผิดในข้อเท็จจริงจึงไม่เป็นจงใจ
ex. ฎ .1053/2521
อุทาหรณ์ :นายดำชกต่อยกับนายแดงโดยคิดจะให้นายแดงเพียงคิ้วแตกโลหิตไหลบังเอิญนายแดงล้มลงศรีษะฟาดกับกำแพงศีรษะแตกสลบไปดังนี้ก็เป็นการที่นายดำทำร้ายร่างกายนายแดงโดยจงใจ
ประมาทเลินเล่อ หมายถึงไม่จงใจแต่ไม่ใช้ความระมัดระวังตามสมควรที่จะใช้รวมถึงในลักษณะที่บุคคลผู้มีความระมัดระวังจะไม่กระทำด้วยถ้าหากเป็นกรณีที่เป็นการจงใจก็ย่อมบังคับกันในลักษณะที่เป็นการจงใจอยู่แล้ว
อุทาหรณ์ : ฎ .608/ 2521
อุทาหรณ์ : ฎ.769/2510
อุทาหรณ์ : ฎ .755/2472
การใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น
การใช้สิทธินั้นอาจถือว่าเป็นการอันมิชอบด้วยกฎหมายได้ เพราะสิทธิต่างๆ ได้ก่อตั้งขึ้นโดยมีความมุ่งหมายบางอย่างโดยเฉพาะและสิทธิได้สิทธิหนึ่งย่อมจะสิ้นสภาพจากการเป็นสิทธิทันที
มาตรา 421บัญญัติว่าการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นนั้นท่านว่าเป็นการอันมิชอบด้วยกฏหมาย
มาตรา 421 นี้ เป็นบทบัญญัติถึงผลอันสืบเนื่องมาจากมาตรา 5 อันเป็นหลักทั่วไปซึ่งบัญญัติว่าในการใช้สิทธิบุคคลต้องทำการโดยสุจริต
อุทาหรณ์ : ฎ. 1982 / 2518
การกระทำโดยผิดกฎหมาย
ที่ว่า “ โดยผิดกฎหมาย ” นั้นกรณี กรณีเห็นได้ชัดคือกฎหมายอาญาบัญญัติว่าการกระทำอันใดเป็นความผิดดังนี้ก็ย่อมเป็นการกระทำผิดกฏหมายอย่างไม่มีปัญหา
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 ผู้ใดทำร้ายผู้อื่น จนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจของผู้อื่นนั้น ผู้นั้นกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
แต่ความรับผิดฐานละเมิดไม่จำต้องมีกฎหมายบัญญัติโดยชัดแจ้งว่าการกระทำอันใดถือเป็นการกระทำผิดกฎหมายคำว่าโดยผิดกฎหมายตามมาตรา 420 มีความหมายแต่เพียงมิชอบด้วยกฏหมายดังเช่นที่บัญญัติไว้ในมาตรา 421
ดังกล่าว มาข้างต้นจึงหมายความว่าถ้ากระทำโดยมีสิทธิ
ตามกฏหมายคือผู้กระทำมีอำนาจทำได้แม้จะเกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นก็ไม่เป็นผิดกฎหมายเช่น
ผิดสิทธิของบิดามารดาที่จะทำโทษบุตรตามสมควรเพื่อการกล่าวสั่งสอนตามมาตรา 1567 (2)
2.ครู ครูบาอาจารย์ที่จะทำโทษ 10 ตามสมควร
การใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น
เมื่อมีสิทธิแล้วมิได้หมายความว่าจะใช้อย่างไรก็ได้ตามใจชอบ การใช้สิทธิอาจถือว่าเป็นการอันมิชอบด้วยกฏหมายได้
มาตรา 421 บัญญัติว่า การใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดเสียหายแก่บุคคลอื่นนั้น ท่านว่าเป็นการอันมิชอบด้วยกฎหมาย
ที่มาตรา 421 บัญญัติว่า การใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดเสียหายแก่บุคคลอื่น คำว่า “ใช้สิทธิ” ในมาตรานี้จึง หมายถึงกรณีที่ผู้ทำความเสียหายมีสิทธิตามกฏหมายเสียก่อนถ้าเป็นการกระทำโดยไม่มีสิทธิหรือ ทำเกินกว่าสิทธิที่มีอยู่
ตามกฏหมายต้องพิจารณาตามมาตรา 420 อันเป็นหลักทั่วไป
ตัวอย่าง. นายแดงชกต่อยนายดำพี่น้องกันโดยที่นายดำไม่ยินยอม
อุทาหรณ์ : ฎ.910/2490
การกระทำฝ่าฝืนบทบังคับแห่งกฎหมาย
มาตรา422 บัญญัติว่า ถ้าความเสียหายเกิดแต่การฝ่าฝืนบทบังคับแห่งกฎหมายใดอันมีที่ประสงค์เพื่อปกป้องบุคคลอื่นๆ ผู้ใดทำการฝ่าฝืนเช่นนั้นท่านว่าให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้นั้นเป็นผู้ผิด
พึ่งสังเกตว่าแม้จะมีบทบัญญัติมาตรา 422 ดังกล่าวหลักเกณฑ์ในมาตรา 420 ที่ว่ามีการกระทำโดยผิดกฎหมายจงใจหรือประมาทเลินเล่อเป็นอันสันนิษฐานได้ตามมาตรา 422 นี้แต่หลักเกณฑ์ประการอื่นคือมีความเสียหายเป็นผลเนื่องจากการกระทำฝ่าฝืนกฎหมายนั้นยังต้องพิสูจน์ให้ได้ความต่อไปเพียงแต่กรณีมาตรา 422 นี้กฎหมายสันนิษฐานว่าฝ่ายที่ฝ่าฝืนกฎหมายเป็นผู้ผิด
อุทาหรณ์ . ฎ.1169-1170/2509
การกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น
1.มีความเสียหายต่อสิทธิ
ไม่เกิดความเสียหายแต่ละเมิดสิทธิ
เช่น นายดำ ใช้น้ำฉีดใส่พื้นบ้านนายฟ้า เพื่อทำความสะอาดให้ โดยที่นายฟ้าไม่ยินยอม
2.ลักษณะแห่งสิทธิ
สิทธิคืออะไรนั้นอาจกล่าวได้ว่าสิทธิคือประโยชน์ที่บุคคลมีอยู่และบุคคลอื่นมีหน้าที่ต้องเคารพ
จะเห็นได้ว่าตามบทบัญญัติมาตรา 420 ที่กล่าวถึงชีวิตร่างกาย อนามัย เสรีภาพ ทรัพย์สิน หมายถึงสิ่งต่างๆเหล่านี้ย่อมมีวัตถุแห่งสิทธิซึ่งไม่หมายเฉพาะสิ่งที่เป็นตัวตนเท่านั้นแต่หมายถึงสิ่งที่ไม่เป็นตัวตนซึ่งไม่สามารถสัมผัสแตะต้องได้ด้วยเช่น ชื่อเสียง เป็นต้น
อุทหรณ์ .สิทธิที่จะใช้ที่หรือสาธารณะ ผู้ใดมากีดขวางย่อมเป็นละเมิด (ฎ.1095/2500)
ความเสียหายที่คำนวณเป็นตัวเงินได้และไม่อาจคำนวณเป็นตัวเงินได้
ตัวอย่าง. นายเหลืองทำร้ายร่างกายนายเขียว นายเขียวต้องเสียค่าภาชนะในการไปโรงพยาบาลตลอดจนค่ารักษาพยาบาลหรือการที่ได้เขียวทำงานไม่ได้เป็นการสูญเสียความสามารถประกอบการทำงานในภายภาคหน้าตามมาตรา 444 ดังนี้เป็นความเสียหายที่คำนวณตัวเงินได้แต่เมื่อบาดแผลหายแล้วมีรอยแผลอยู่ยอมเป็นความเสียหายอันคำนวณเป็นตัวเงินไม่ได้ตามมาตรา 446
ความเสีความเสียหายนั้นเป็นผลมาจากการกระทำของผู้ทำความเสียหาย
ตามหลักเรียกว่า ความสัมพันธ์ระหว่างเหตุกับผล หรือ ระหว่างความผิดกับความเสียหาย ไม่มีหลักแน่นอนที่จะปรับแก้กรณีต่างๆได้ทั่วไปทุกกรณี
ทฤษฎีความเท่ากันแห่งเหตุหรือทฤษฎีเงื่อนไข
ตัวอย่าง. การที่นายเหลืองทำร้ายร่างกายนายฟ้าโดยที่ตีท้องเบาๆแต่ปรากฏว่านายฟ้ามีโรคประจำตัวซึ่งถ้าหากถูกกระทบกระเทือนอย่างแรงนายฟ้าอาจตายได้ แต่นายเหลืองไม่ทราบมาก่อน นายฟ้าถึงแก่ความตาย ดังนั้นความตายของนายฟ้าเป็นผลมาจากการกระทำของนายเหลืองแม้นายเหลืองจะไม่รู้ว่านายฟ้าเป็นโรคดังกล่าวนั้นคิดแต่เพียงว่านายฟ้าอาจได้รับบาดเจ็บเล็กน้อยเท่านั้นแต่ในเหลืองก็ต้องรับผิดในความตายของนายฟ้า
ทฤษฎีมูลเหตุเหมาะสม
ถือว่าในบรรดาเหตุทั้งหลายที่ก่อให้เกิดผลขึ้นนั้นในแง่ความรับผิดของผู้กระทำการใดๆแล้วเฉพาะแต่เหตุที่ตามปกติย่อมก่อให้เกิดผลเช่นว่านั้นที่ผู้กระทำจะต้องรับผิด
ตัวอย่าง . ปกติปกติชนอย่างนายดำย่อมไม่ทราบว่านายแดงมีโรคประจำตัวถ้าทำร้ายเช่นนั้นนายแดงจะได้รับอันตรายถึงตายได้นายดำจึงต้องรับผิดเฉพาะในกรณีที่นายแดงได้รับบาดเจ็บอย่างธรรมดาเท่านั้นไม่ต้องรับผิดในความตายของนายแดง