Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
วัตถุแห่งหนี้ - Coggle Diagram
วัตถุแห่งหนี้
วัตถุแห่งหนี้ตามบทบัญญัติกฏหมายที่ต่างฝ่ายต่างต้องชำระหนี้ให้กันนั้น มีอยู่ทั้งหมด 3อย่าง คือ
1).หนี้กระทำการ
2.)หนี้งดเว้นกระทำการ 3.)หนี้จากการส่งมอบทรัพย์สิน
ซึ่งทั้ง3ประเภทนี้มีความหมายที่แตกต่างกัน ดังนี้
1.)หนี้กระทำการ
เป็นหนี้ที่ลูกหนี้ต้องไปกระทำการอันใดอันหนึ่งหรือต้องทำอะไรสักอย่างที่เจ้าหนี้มีการจ้างหรือมีวัตถุประสงค์ต้อิงการความช่วยเหลือจากลูกหนี้ในหลายกรณี เช่น นายโดนัทต้องการจะให้นายพายุไปสร้างอาคารที่พักชั่วคราว นายพายุนั้นต้องไปสร้างที่พักชั่วคราวตามที่ได้ตกลงกับนายโดนัทไว้ และสามารถเอาเพื่อนๆในทีมของนายพายุมาช่วยสร้างอาคารที่พักร่วมกันได้ นายพายุไม่จำเป็นต้องชำระหนี้แค่คนเดียว สามารถให้บุคคลภายนอกมากระทำการร่วมชำระหนี้กันได้
แต่ถ้ามีสภาพแห่งหนี้ หรือมีคุณสมบัติข้อยกเว้น ตัวลูกหนี้ต้องชำระหนี้ด้วยตัวเองเท่านั้น เช่น มูมู่มีงานปาร์ตี้คาราโอเกะจะจ้างโดนัทมาร้องเพลง โดนัทจะต้องมาชำระหนี้ด้วยการมาร้องเพลงด้วยตัวของโดนัทเองเท่านั้น ไม่สามารถให้บุคคลท่านอื่นหรือคนที่หน้าเหมือนโดนัทนั้นมาแทนเพื่อชำระหนี้ได้่
ถ้าโดนัทไม่มาร้องเพลงให้กับมูมู่ตามสัญญาโดนัทต้องรับผิดและชดใช้ค่าเสียหายตามสัญญาการชำระหนี้อันเป็นพ้นวิสัย ตามมาตรา218วรรค1
แต่ถ้าโดนัทรถล้มเกิดอุบัติเหตุ ไม่สามารถมาร้องเพลงให้กับมูมู่ในงานปาร์ตี้ได้ โดนัทจะหลุดพ้นการชำระหนี้จากมู่มู่อันเป็นพ้นวิสัยทันที ไม่ต้องรับผิดในการปฏิบัติการชำระหนี้ตามมาตรา219วรรค1
่เป็นการเคลื่อนไหวในการปฏิบัติการชำระหนี้ รู้สำนึกในการกระทำการชำระหนี้โดยมีความผูกพัน เช่น ลักษณะแรงงานทำมันสำปะหลัง ก็ต้องช่วยกันขุดดิน เพาะปลูกตัวมัน ช่วยกันเพาะปลูกที่ของมันสำปะหลัง เปิดบัญชีธนาคาร ก็ต้องเตรียมเอกสารช่วยกัน เป็นต้น
2.)หนี้งดเว้นกระทำการ
คือการชำระหนี้ัที่ไม่มีการเคลื่อนไหว หรือไม่ได้ทำอะไร แต่มีข้อกำหนดและคุณสมบัติที่ต้องงดเว้น จึงเกิดหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนด
เช่น อาจารย์กับนายสมพงษ์ตกลงกันว่าจะไม่สร้างสนามเปตองขั้นบ้านกันและกัน เพราะทำให้ไปมาหาสู่กันลำบาก จึงทำสัญญากัน จึงเกิดหน้าที่ที่ต้องงดเว้น กล่าวคือ จะไม่สร้างสนามเปตองเพื่อขั้นเวลาไปมานั้นเอง แต่ถ้านายสมพงษ์สร้างสนามเปตองจนอาจารย์มาเห็น สัญญาที่ตกลงไว้ นายสมพงษ์ก็ฝ่าฝืนหน้าที่ในการชำระหนี้ และอาจจะต้องยกเลิกสัญญานั้นที่ได้กระทำลงไปตามมาตรา213วรรค3
หนี้งดเว้นกระทำการนี้ต้องเป็นหน้าที่ที่เกิดขึ้นทางหนี้เท่านั้น ไม่ใช่แค่หน้าที่ทั่วไป กล่าวคือ ต้องเป็นหน้าที่ที่กำลังบังคับกันอยู่และมีการทำสัญญาต่างๆมาอย่างชัดเจน สามารถฟ้องร้องหรือบังคับให้ชำระหนี้ที่งดเว้นหรือรื้อถอนตามกำหนดได้ ตามมาตรา213วรรค3 เช่น การสั่งห้ามล่วงหน้าได้ เพราะมีการรับรองทางกฏหมายไว้ ทั้งสิทธิในชีวิต ร่างกาย ชื่อเสียง สิทธิเหล่านี้ย่อมเกิดหน้าที่ที่จะไม่ให้บุคคลท่านไหนมาละเมิด หากใครมาล่วงละเมิดสิทธิที่กำหนด ก็ต้องรับผิดฐานละเมิด ตามมาตรา420 ต้องชดใช้ค่าเสียหายหรือสินไหมทดแทน
หนี้งดเว้นกระทำการ ยังเป็นการที่ลูกหนี้ไม่ควรกระทำการบางอย่างหรือบางกรณีที่ขัดกับหลักเสรีภาพ จะไม่ขัดกับหลักเสรีภาพก็ต่อเมื่อมีวันเวลาตามปฏิทันได้กำหนดไว้ดังกล่าว เช่น ลิงเปิดร้านซักผ้า หลานชายจะเปิดร้านซักผ้าแข่ง ถือว่าขัดกับเสรีภาพ และขัดกับวัตถุประสงค์ที่งดเว้นไม่ควรไปเปิดแข่ง จึงถือว่าเป็นโมฆะถือว่าไม่ได้เกิดขึ้น ตามมาตรา150
เว้นแต่ว่าหลานชายจะมาบอกกล่าวและตกลงกับลิง ว่าจะมาเปิดร้านซักผ้า ในวันที่2สิงหาคม2565 ตรงข้างๆร้านลิง แบบนี้จึงจะถือว่าไม่ขัดกับเสรีภาพ
-
ขนมเป็นลูกหนี้ในการชำระราคารถจักรยานยนต์ให้กับโต ที่เป็นเจ้าหนี้ในเรื่องสิทธิเรียกร้องการชำระหนี้หากขนมไม่ปฎิบัติการชำระหนี้
นาย นรบดี นรชาญ
รหัสนิสิต:64012310276 เลขที่:83
กฏหมายลักษณะหนี้ กลุ่มเรียนที่2
ภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา2565
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
เช่น ขนมจะซื้อรถจักรยานยนต์จากโต ได้มีการตกลงทำสัญญาซื้อขายและตกลงการชำระหนี้ว่าจะชำระหนี้ในวันที่2สิงหาคม2565
ส่วนโตก็เป็นลูกหนี้ในการส่งมอบหรือโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินให้กับขนมในการชำระหนี้ กรณีนี้ขนมก็เป็นเจ้าหนี้ในเรื่องสิทธิเรียกร้องทรัพย์สินจากโตได้ในวันเวลาที่ตกลงกันดังกล่าว
ทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งหนี้ ตามบทบัญญัติมาตรา195เมื่อทรัพย์ซึ่งเป็นวัตถุแห่งหนี้นั้นได้ระบุไว้แต่เพียงเป็นประเภท และถ้าตามสภาพแห่งนิติกรรม หรือตามเจตนาของคู่กรณีไม่อาจจะกำหนดได้ว่าทรัพย์นั้นจะพึงเป็นชนิดอย่างไรไซร้ ท่านว่าลูกหนี้จะต้องส่งมอบทรัพย์ชนิดปานกลาง การที่จะปฏิบัติชำระหนี้ในตัวทรัพย์ จะต้องเป็นทรัพย์ทั่วไป และเป็นทรัพย์ที่มีเงินตรา ทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งหนี้ ไม่ใช่วัตถุแห่งหนี้แต่เป็นการทำสัญญาส่วนหนึ่งเพื่อให้การชำระหนี้เสร็จสมบูรณ์
ทรัพย์ที่จะส่งมอบเป็นเงินตรา คืออทรัพย์ที่ลูกหนี้จะต้องส่งมอบ โดยมนุษย์ทั่วไปไม่ได้ใช้เงินตราจากการประกอบอาชีพอย่างเดียวแต่ใช้เงินตราในการซื้อขาย แลกเปลี่ยน บริการต่างๆเพื่อให้เกิดความสะดวกต่อการทำธุรกิจ แม้ว่าจะมีอัตราแลกเปลี่ยนได้เช่น คนที่มีไก่ก็ต้องการเครื่องปรุงไปหมักไก่ ก็แลกได้แต่ไม่สะดวกในธุรกิจทางการค้า เพราะเงินตราคือตัววัดทรัพย์สินและวัดค่าของตัวที่จะแลกสิ่งนั้นด้วย
เงินตรามีความหลากหลายในทางการใช้สอยซึ่ง กฎหมายได้กำหนดเงินตราไว้อยู่2ประเภท คือ เงินตราที่มีมูลค่าอยู่ที่ราคาที่ตราไว้ มิได้อยู่หรือกำหนดว่าจะต้องอยู่ที่คุณภาพใหม่หรือเก่า เช่น ธนบัตรสมัยรัชกาลที่9ราคา500บาท ใช้มาตั้งแต่ปี2552จนมาปัจจุบันก็ยังมีใช้อยู่ แม้ว่าจะเป็นของสมัย2552ก็ยังมีมูลค่าเป็น500บาทเช่นเดิม แม้ว่าจะผ่านดินคลุกฝุ่นหรือพิมพ์จากธนาคารมาใหม่ๆ ก็มีมูลค่า500บาท เท่ากัน
เงินตราโดยสภาพแล้วไม่มีการชำระหนี้ด้วยเงินจะกลายพ้นวิสัยไปได้ กล่าวคือถ้าไม่ได้ชำระหนี้ด้วยเงินตราหรือเกิดเหตุผิดนัดสุดวิสัยผลจะตกเป็นโมฆะ ไม่มีการชำระหนี้เกิดขึ้น เพราะการชำระหนี้นั้นไม่ว่าจะเงินตรากี่บาทในกำหนดที่ให้ชำระหนี้นั้นไม่จำป็นต้องตามกำหนดนั้นก็ได้ เช่น ลูกหนี้ต้องชำระหนี้เป็นเงิน2000บาท ลูกหนี้สามารถปฏิบัติการชำระหนี้ด้วยเงิน1000บาท2ใบมาชำระหนี้ในวันที่ชำระหนี้ก็ได้ แม้ว่าเงินตราชนิดนั้นจะไม่มีหรือเลิกผลิตไปแล้ว แต่ก็ยังคงมีการชำระหนี้ด้วยเงินตรากันอยู่ จึงถือว่าเป็นการพ้นวิสัยหรือไม่มีผลเกิดขึ้นไม่ได้
เงินตรามีดอกเบี้ยได้ หมายถึงกฎหมายได้กำหนดดอกเบี้ยไว้ในหลายกรณี เช่น นายธี คิดดอกเบี้ยกับนายเจ โดยดอกเบี้ยนั้นอยู่ที่ร้อยละ3ต่อปี แต่นายเจกลับเอาเงินไปกินข้าวสังสรรค์กับเพื่อนๆโดยไมได้เช็คว่าวันนี้ติองปฏิบัติการชำระหนี้ให้แก่นายธี ต่อมานายธีได้แอบเปลี่ยนสัญญาการกู้ยืมเงินโดยซ้อนดอกเบี้ยใหฟ้เพิ่มเป็นร้อยละ5ต่อปีโดยที่นายเจไม่ทราบถึงสัญญาดังกล่าวนี้นายธีที่เป็นเจ้าหนี้ก็ตกเป็นลูกหนี้รับผิดฐานคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยในช่วงที่ผิดนัดตามมาตรา224วรรค2
เงินตรานั้นไม่มีความแตกต่างในตัวเงินตรา เพราะ เงินตรามีหน้าที่ในการชำระแลกเปลี่ยนในการซื้อขายต่างๆ ถ้าชำระหนี้ในราคาเท่ากันกฎหมายก็ถือว่ามีผลในการชำระหนี้เท่ากัน เช่น ธนบัตรฉบับละ1000บาท ก็สามารถเอาธนบัตรฉบับ500บาท2ใบ หรือธนบัตรฉบับ100บาท 10ใบก็มีค่าทางกฎหมายในการชำระหนี้ด้วยเงินตราได้เช่นกัน ซึ่งเป็นไปตามมาตรา672ที่กล่าวว่า ถ้าฝากเงิน ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า ผู้รับฝากไม่พึงต้องส่งคืนเป็นเงินทองตราอันเดียวกันกับที่ฝาก แต่จะต้องคืนเงินให้ครบจำนวน นั้นหมายถึงตัวลูกหนี้จะชำระหนี้เงินตราตามที่กำหนดด้วยธนบัตรไหนก็ได้แต่ต้องคืนให้ครบจำนวน ละให้เจ้าหนี้สันนิษฐานไว้ว่า ลูกหนี้ปฏิบัติการชำระหนี้ด้วยเงินตราต่างๆจนครบจำนวนที่กำหนดไว้
ทรัพย์ที่จะส่งมอบเป็นทรัพย์สินทั่วไป เป็นได้ทั้งที่ดินและทรัพย์ทั่วไป ทรัพย์เฉพาะสิ่งหรือไม่ก็เป็นทรัพย์ที่จะส่งมอบเป็นทรัพย์สินได้ คือหมายถึง ในขณะที่ตกลงหรือสัญญาจะชำระหนี้กันนั้น ตัวลูกหนี้อาจจะยังไม่ได้หรือไม่มีทรัพย์สิ่งนั้นอยู่เลยก็ได้ เช่น เขียวทำสัญญาซื้อขายบ้านโดยจะขายหรือโอนกรรมสิทธิ์ให้กับเนท โดยจะส่งมอบภายใน1เดือน แม้เขียวจะยังไม่โอนกรรมสิทธิ์ให้เนท ทรัพย์นั้นก็ยังเป็นทรัพย์ที่จะส่งมอบเป็นอสังหาริมทรัพย์ให้ได้ การที่ลูกหนี้ จะส่งมอบทรัพย์ใดๆ กฏหมายได้กำหนดไว้2หลักเกณฑ์ คือ การที่ตัวทรัพย์จะเป็นวัตถุแห่งหนี้ ตามบทบัญญัติมาตรา195 วรรค2 ว่า ถ้าลูกหนี้ได้กระทำการอันตนจะพึงต้องทำเพื่อส่งมอบทรัพย์สิ่งนั้นทุกประการแล้วก็ดี หรือถ้าลูกหนี้ได้เลือกกำหนดทรัพย์ที่จะส่งมอบแล้วด้วยความยินยอมของเจ้าหนี้ก็ดี ท่านว่าทรัพย์นั้นจึงเป็นวัตถุแห่งหนี้จำเดิมแต่เวลานั้นไป นั้นหมายถึงลูกหนี้ต้องกระทำการชำระหนี้ทุกประการเพื่อส่งมอบทรัพย์สินและลูกหนี้ควรกำหนดตัวทรัพย์แล้วด้วยเจตนาและความยินยอม เช่น นายขนมปังเลือกที่จะซื้อข้าวไรซ์เบอร์รี่กับนายกันจำนวน3กระสอบโดยให้นายกันตวงข้าวไรซ์เบอร์รี่โดยนายกันยินยอมใส่ถุงมัดเสร็จ ข้าวไรซ์เบอร์รี่ทั้ง3กระสอบจึงตกเป็นทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งหนี้คือทรัพย์ที่พร้อมจะส่งมอบให้ผู้ซื้อหรือลูกหนี้นั้นเอง แต่ถ้าลูกหนี้ได้กำหนดตัวทรัพย์แล้วด้วยความยินยอมของเจ้าหนี้ จะทำให้การชำระหนี้นั้นเสร็จสมบูรณ์ เช่น นางสาวพิ้งค์มาซื้อลูกสุนัขพันธุ์ชิวาว่าจากฟาร์มขายสัตว์เลี้ยง ถ้าเจ้าของสัตว์เลี้ยงได้เลือกสุนัขตัวที่นางสาวพิ้งค์สนใจก็ตกเป็นทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งหนี้ตั้งแต่เวลาที่ได้ตกลงกันไว้นั้นเป็นต้นไป
การที่ทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งหนี้เป็นไปตามนี้แล้วถ้าเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดหรือเกิดเหตุสุดวิสัยสูญหายอันเกิดแก่ทรัพย์ที่จะส่งมอบให้นั้น ตัวลูกหนี้จะไม่สามารถโทษใครได้ และความรับผิดชอบจึงตกเป็นเจ้าหนี้ที่จะต้องชดใช้ค่าเสียหายหรือรับผิดชอบดำเนินการชำระหนี้ ตามมาตรา370วรรค2 เช่น ดอลล่าร์ตกลงซื้อขายโทรศัพท์กับโค้ชแกน ดอลล่าร์ได้รับโทรศัพท์ไปเป็นที่เรียบร้อย ถ้าโทรศัพท์ของดอลล่าร์จู่ๆ ชาร์จแบตมือถือแล้วระเบิด โดยที่ได้มาไม่ถึง2วัน ดอลล่าร์จะไม่สามารถโทษโค้ชแกนได้ เพราะดอลล่าร์ได้ทำการซื้อขายและโค้ชแกนก็ได้ทำการส่งมอบทรัพย์ให้กับดอลล่าร์เรียบร้อย คือโทรศัพท์มอบให้ไปแล้ว ฉะนั้นดอลล่าร์คือผู้ที่ต้องรับผิดชอบเอง
หนี้ที่แสดงเงินตราไว้เป็นเงินต่างประเทศ ในมาตรา196 บัญญัติไว้ว่าถ้าหนี้เงินได้แสดงไว้เป็นเงินต่างประเทศ ท่านว่าจะส่งใช้เป็นเงินไทยก็ได้ การเปลี่ยนเงินนี้ ให้คิดตามอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ณ สถานที่และในเวลาที่ใช้เงิน บทกฏหมายนี้ให้สิทธิกับลูกหนี้ที่จะชำระหนี้แต่เป็นเงินตราต่างประเทศให้มีสิทธิในการชำระหนี้ได้หรือเงินไทยก็ได้เช่นกัน เช่น โดนัทซื้อโน๊ตบุ๊คที่เป็นของไทยแต่มีเงินเป็นดอลล่าร์ของสหรัฐอเมริกา โดนัทสามารถชำระเงินยเป็นเงินดอลล่าร์สหรัฐไปก่อนก็ได้หรือจะชำระเป็นเงินไทยก็ได้ถ้าจะแลกเปลี่ยนเป็นเงินไทยก็ต้องมีอัตราแลกเปลี่ยน และสถานที่เวลาอาจจะไม่าเท่ากัน ดังนั้น โดนัทต้องได้กำหนดและตกลงการขำระหนี้กับเจ้าของร้านโน๊ตบุ๊คเพื่อทำการปฏิบัติการชำระหนี้เสียก่อนเพื่อไม่ผิดนัดและคำนวณอัตราแลกเปลี่ยนเป็นเงินไทยได้ถูก สมมติว่าโดนัทมี10เหรียญ ต้องชำระ1010เหรียญ เจ้าของร้านโน๊ตบุ๊คก็ต้่องกำหนดวันที่ชำระหนี้ให้สมบูรณ์และเสร็จสิ้่น
อัตราแลกเปลี่ยนในเวลาที่ใช้เงิน ตามมาตรา196วรรค1ถ้าหนี้เงินได้แสดงไว้เป็นเงินต่างประเทศ ท่านว่าจะส่งใช้เป็นเงินไทยก็ได้ และวรรค2 การเปลี่ยนเงินนี้ ให้คิดตามอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ณ สถานที่และในเวลาที่ใช้เงิน โดยให้ถืออัตราแลกเปลี่ยนในวันที่ใช้เงิน แต่ปัจจุบันคำพิพากษานั้น การชำระเงินต่างประเทศตามที่เป็นหนี้แสดงไว้นั้น ถ้าลูกหนี้จะชำระหนี้เป็นเงินไทยก็เป็นสิทธิของลูกหนี้ เช่น ฎีกาที่2512/2544 วินิจฉัยว่า เมื่อจำเลยมีความผูกพันตามสัญญาต้องจ่ายเงินแก่โจทก์เป็นเงินดอลลาร์สหรัฐซึ่งเป็นหนี้เงินที่กำหนดไว้เป็นเงินตราต่างประเทศ จำเลยอาจชำระเป็นเงินไทยก็ได้โดยคิดอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ณ สถานที่และเวลาใช้เงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ในมาตรา196 ซึ่งเป็นสิทธิของลูกหนี้ที่จะเลือกปฎิบัติการชำระหนี้ ศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจที่จะเปลี่ยนแปลงสิทธิของลูกหนี้ได้โดยลำพัง
หนี้เงินตราที่จะพึงส่งใช้เป็นอันยกเลิกไปแล้ว หมายถึงถ้าเงินตราชนิดต่างๆมีการเปลี่ยนแปลงบางชนิดก็จะถูกยกเลิก เช่น ประเทศไทย ในอดีตใช้เงินพดด้วง ใช้เงินอัฐเป็นเงินตรา หรือในสมัยโบราณใช้อีแป๊ะหรือเบี้ย เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน แต่ปัจจุบัน เงินตราชนิดพวกนี้ได้ถูกยกเลิกไปหมดแล้ว ถ้าเงินตราชนิดพวกนี้หมดไปแล้วการปฏิบัติการชำระหนี้ก็จะเกิดขึ้นได้หรือไม่ ตัวกฏหมาย ได้กำหนดมาตรา197เอาไว้ว่า ถ้าหนี้เงินจะพึงส่งใช้ด้วยเงินตราชนิดหนึ่งชนิดใดโดยเฉพาะ อันเป็นชนิดที่ยกเลิกไม่ใช้กันแล้วในเวลาที่จะต้องส่งเงินใช้หนี้นั้นไซร้ การส่งใช้เงินท่านให้ถือเสมือนหนึ่งว่ามิได้ระบุไว้ให้ใช้เป็นเงินตราชนิดนั้น
บทบัญญัติมาตรา197นี้บังคับทั้ง2ฝ่าย ทั้งฝ่ายเจ้าหนี้และฝ่ายลูกหนี้ ให้ถือเสมือนว่า ไม่ได้ระบุหรือกำหนดไว้ว่าเป็นเงินตราชนิดนั้น เช่น ไก่ไปกู้ยืมเงินมาเป็นเงินไซซีของประเทศจีน แต่เมื่อถึงวันกำหนดการชำระหนี้ของนายไก่เงินไซซีของประเทศจีนนั้นไม่สามารถใช้ได้อีกเนื่องจากเป็นเงินโบราณและถูกยกเลิกใช้มานานแล้ว ดังนั้น นายไก่จึงไม่สามารถปฏิบัติการชำระหนี้ได้และเจ้าหนี้ก็ไม่สามารถเรียกร้องสิทธิในการชำระหนี้กับตัวนายไก้ได้ ไม่เกี่ยวกับการให้สิทธิลูกหนี้
-
-
วัตถุแห่งหนี้ หมายถึง สิ่งที่ลูกหนี้ต้องทำหรือควรปฏิบัติการชำระหนี้โดยตรงแก่เจ้าหนี้ และตัวเจ้าหนี้นั้นก็สามารถเรียกร้องสิทธิการชำระหนี้จากลูกหนี้ได้ถ้าลูกหนี้ไม่ปฎิบัติการชำระหนี้ให้เสร็จสมบูรณ์
โดยในความหมายของวัตถุแห่งหนี้ตามมาตรา194นั้น ด้วยอำนาจแห่งมูลหนี้ เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้ อนึ่งการชำระหนี้ด้วยงดเว้นการอันใดอันหนึ่งก็ย่อมมีได้ หมายความว่า ถ้าวัตถุแห่งหนี้ที่มีข้อยกเว้นที่ต้องเลือกแบบใดแบบหนึ่งก็ย่อมมีได้เช่นกัน