Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
1.วัตถุแห่งหนี้, หนี้ส่งมอบทรัพย์สิน, 1.1 หน้าที่ในการชำระหนี้ให้ถูกต้อง,…
1.วัตถุแห่งหนี้
หนี้กระทำการ
- หนี้ที่ลูกหนี้ต้องกระทำการด้วยตนเอง โดยคุณสมบัติของลูกหนี้เป็นสาระสำคัญ หรือเป็นความสามารถเฉพาะตัว เช่น ต้องการจ้างจินตหรา พูนลาภ มาร้องเพลงจะเอาคนอื่นมาร้องแทนย่อมไม่ได้
-
- หนี้ที่ลูกหนี้ไม่ต้องกระทำด้วยตนเอง เช่น ไปสร้างบ้านลูกหนี้ที่เป็นผู้รับเหมาไม่จำเป็นที่จะต้องทำเอง ไปจัดหาคนมาทำแทนได้
หนี้งดเว้นกระทำการ
คือการกำหนดให้ลูกหนี้ไม่กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง ตามที่ตกลงกันไว้ ในมาตรา 213 วรรคสาม
ข้อสังเกตุ
1) เช่น สัญญาตกลงสร้างตึก ตกลงไม่สร้างตึกเกิน 3 ชั้น ผู้สร้างจึงมีหน้าที่งดเว้นกระทำการ (สร้างตึกไม่เกิน3ขั้น) เช่น ในสัญญาเช่าทรัพย์ตกลงห้ามผู้เช่านำวัสดุไวไฟเข้ามาในที่พัก ผู้เช่าจึงมีหน้าที่งดเว้นกระทำการ (ไม่เอาของไวไฟเข้าที่พัก)
2) เป็นหนี้โดยเฉพาะเจาะจง ไม่ใช่โดยทั่วไป ( เจาะจงกับลูกนี้ที่มีหน้าที่ต้องไม่กระทำ)
3) หนี้งดเว้นกระทำการขัดต่อเสรีภาพของลูกหนี้ เช่น ขาว เปิดร้านอบรมตัดผมสอนฟรี แต่คนที่จบไปแล้วต้องไม่เปิดร้านแข่ง (ขัดกับเสรี) : แต่ถ้ามีข้อจำกัดเกี่ยวกับ สถานที่ ระยะเวลา ก็ไม่ถือว่าขัดต่อเสรี เช่นไม่ให้เปิดร้านที่ มมส ทำให้ไปเปิดร้านที่อื่นได้ยกเว้น โดยต้องงดเว้นที่ มมส
4) หนี้งดเว้นกระทำการขัดต่อความสงบเรียบร้อย เป็นโมฆะ เช่น เป็นข้อตกลง จ้างไม่ให้ไปเลือกตั้ง ตกลงให้มีหน้าที่ไม่ต้องเลี้ยงดูบิดามารดา
หนี้ส่งมอบทรัพย์สิน
ลูกหนี้มีหน้าที่ส่งมอบทรัพย์สินแก่เจ้าหนี้ หรือเป็นการให้ทรัพย์ไปอยู่ภายใต้บังคับบัญชาทางกายภาพของเจ้าหนี้
หนี้ส่งมอบทรัพย์ เช่น แดงขายรถยนต์ให้ดำ แดงผู้ขายมีหนี้ในการส่งมอบทรัพย์สิน เป็นเจ้าหนี้ในการชำระราคา และดำผู้ซื้อมีหนี้ในการชำระราคา เป็นเจ้าหนี้ในการส่งมอบทรัพย์สิน
การส่งมอบทรัพย์ : การให้ทรัพย์ไปอยู่ในครอบครองของผู้ซื้อ (ใช้ประโยชน์ของตัวทรัพย์ได้) แต่ก็ขึ้นอยู่กับลักษณะของทรัพย์เช่นกัน
เช่น การส่งมอบรถยนต์ที่เป็นสังหาริมทรัพย์ เพียงแต่มอบกุญแจก็ทำให้ผู้รับมอบครอบครองรถได้ การส่งมอบบ้านที่เป็นอสังหาริมทรัพย์อาจเพียงส่งมอบกุญแจบ้านก็ถือว่าเป็นการส่งมอบแล้ว
ส่วนการโอนกรรมสิทธิ์ เป็นคนละเรื่องกับการส่งมอบทรัพย์สิน การโอนกรรมสิทธิ์เกิดขึ้นขณะทำสัญญา สัญญาเกิดกรรมสิทธิ์ก็โอน แต่หน้าที่ในการส่งมอบทรัพย์สินจะเกิดขึ้นภายหลังหรือตามที่ตกลงกันไว้
เช่น แดง ขายรถให้ ดำในราคา 200,000 บาท ดำตกลงซื้อทำให้เกิดสัญญา การโอนกรรมสิทธิ์เกิดขึ้นแล้วเพราะเกิดสัญญาโอนไปยังดำผู้ซื้อ
ทำให้ ความเป็นเจ้าของตกเป็นของดำตั่งแต่วันที่20สิงหาคม แต่รถยังอยู่ในการครอบครองของแดงอยู่ จนกว่าจะส่งมอบในวันที่ 22 สิงหาคม
แต่หน้าที่ในการส่งมอบทรัพย์ เกิดขึ้นในภายหลัง เช่นกรรมสิทธิ์โอนไปแล้วในวันที่ 20 สิงหาคม และตกลงว่าจะให้แดงเอารถไปให้ในวันที่ 22 สิงหาคม
-
-
1.2 กำหนดเวลาชำระหนี้
2.หนี้ที่มีกำหนดเวลาชำระ
2.1 กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้เป็นที่สงสัย (มาตรา 203 ว.2) : กรณีเป็นที่สงสัย จน.จะเรียกให้ ลน.ชำระหนี้ก่อนไม่ได้
- มีกำหนดเวลา 2 กำหนดลูกหนี้จะชำระหนี้ในกำหนดเวลาที่จะถึงก่อนก็ได้ และเจ้าหนี้ปฏิเสธรับไม่ได้ และจะเรียกก่อนถึงกำหนดเวลาหลังไม่ได้
2.2 กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ไม่เป็นที่สงสัย
1) กำหนดชำระหนี้ตามวันเวลาแห่งปฏิทิน (มาตรา204 ว.2) : เป็นหนี้ที่มีกำหนดเวลาตามปฏิทิน เมื่อลูกหนี้ไม่ชำระ = ตกเป็นผู้ผิดนัดโดยมิพักต้องเตือนเลย รวมถึงกรณีที่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าก่อนการชำระหนี้
2) กำหนดเวลาชำระหนี้มิใช่วันเวลาแห่งปฏิทิน (มาตรา 204 ว.1) : ถ้าหนี้ถึงกำหนดชำระแล้วและภายหลังแต่นั้นเจ้าหนี้ได้ให้คำเตือนแล้วลูกหนี้ยังไม่ชำระหนี้ = ลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดเพราะเขาเตือนแล้ว
- กำหนดเวลาชำระอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ เดิมมีกำหนดต่อมาด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ใช่ความผิดของลูกหนี้ ทำให้หนี้กลายเป็นหนี้ไม่มีกำหนดเวลาชำระ เช่นฎ.2225/40
-
1.3 การผิดนัดไม่ชำระหนี้
(1) ลน.ผิดนัดโดยต้องเตือนก่อน มี 2 กรณี
- หนี้ที่ไม่มีกำหนดเวลา (มาตรา 204 ว.1) เช่น เมื่อเกี่ยวข้าวเสร็จ เมื่อสิ้นฤดูน้ำหลาก ไม่อาจกำหนดวันเวลาแน่นอนได้
- การผิดนัดเกิดขึ้นเมื่อเจ้าหนี้เตือนแล้วลูกหนี้ไม่ชำระ
- หนี้ที่ไม่มีกำหนดเวลาชำระตามมาตรา 203 (อนุมานไม่ได้) หนี้เกิดขึ้นทันที เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้โดยพลัน และเจ้าหนี้ต้องเตือนก่อน ถ้าไม่มีการเตือนให้ชำระหนี้=ลูกหนี้ไม่ผิดนัด
(2) ลน.ผิดนัดโดยเจ้าหนี้ไม่ต้องเตือน
- หนี้ที่กำหนดชำระตามวันแห่งปฏิทิน (มาตรา204 .ว2) เป็นหนี้ที่มีกำหนดเวลาชัดเจน ถ้าลน.ไม่ชำระ=เป็นผู้ผิดนัดโดยมิพักต้องเตือนเลย
- รวมถึงการบอกกล่าวล่วงหน้าก่อนชำระหนี้ เช่น ตกลงซื้อวัว 30 ตัว กำหนดการส่งมอบโดยถ้าผู้ขายพร้อมจะส่งมอบต้องแจ้งให้ผู้ซื้อรู้ล่วงหน้า 7 วัน = มีการบอกกล่าล่วงหน้า นับแต่วันบอกกล่าว ถ้าลน.ไม่ส่งมอบ=ผิดนัด
- หนี้ละเมิด (มาตรา 206) ในกรณีหนี้อันเกิดแต่มูลละเมิด ลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดมาแต่เวลาที่ทำละเมิด ผิดทันทีโดยจน.ไม่ต้องเตือน
(3) กำหนดชำระหนี้กับการผิดนัด
- การผิดนัด=เจ้าหนี้ต้องเตือนภายหลังหนี้ถึงกำหนดชำระแล้ว (มาตรา 204)
- ตามกำหนดชำระตามวันเวลาแห่งปฏิทิน=ถ้าถึงกำหนดชำระแล้วลูกหนี้ไม่ชำระ ลูกหนี้ผิดนัดทันที
(4) กรณีไม่ถือว่าลูกหนี้ผิดนัด
ตามมาตรา 205 (ถึงเวลากำหนดชำระหนี้แล้ว การชำระหนี้ยังไม่ได้ทำลง) 1.เป็นเหตุที่เกิดจากเจ้าหนี้เอง
- (มาตรา 207) ตัวเจ้าหนี้ผิดนัดเพราะไม่รับชำระหนี้ เช่น ก ยืมเงิน ข ตกลงชำระ 31 สิงหา เมื่อ ก มาชำระ ข ปฏิเสธไม่รับชำระ=ข เจ้าหนี้ผิดนัด
- (มาตรา 210) ไม่เสนอชำระหนี้ตอบแทน เมื่่อตนมีหน้าที่ต้องชำระหนี้ตอบแทน
- เหตุเกิดจากบุคคลภายนอก (ลูกหนี้ต้องไม่มีส่วนผิดด้วย)
- เกิดจากภัยธรรมชาติ ลูกหนี้ไม่อาจคาดการณ์และป้องกันได้ ก็ถือว่าเป็นพฤติการณ์ที่ลุกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบ แต่ต้องร้ายแรงถึงขนาดเป็นเหตุให้ไม่อาจชำระหนี้ได้ หากร้ายแรงไม่ถึงขนาดก็อ้างไม่ได้
(1) ลูกหนี้ต้องรับผิดในความเสียหายอันเกิดแต่การผิดนัด (เกิดคสห.แก่เจ้าหนี้)
- มาตรา 215 เจ้าหนี้อาจเรียกค่าสินไหมทดแทน รวมถึงการชำระหนี้ล่าช้าจนทำให้เจ้าหนี้เสียหาย เช่น ทำสัญญาสร้างบ้านตกลงว่าจะสร้างเสร็จใน 6 เดือน แต่สร้างไม่เสร็จล่าช้าไป ทำให้ผู้ว่าจ้างต้องไปเสียค่าเช่าบ้านในระหว่างนั้น
- ค่าสินไหมทดแทน : เกิดขึ้นจากการผิดนัดโดยตรง และ เป็นความรับผิดที่เพิ่มขึ้นจากการชำระหนี้ปกติ
(2) เจ้าหนี้ไม่อาจรับชำระหนี้ (จน.มีสิทธิปฏิเสธไม่รับชำระหนี้) โดยที่กำหนดเวลาเป็นสาระสำำคัญ
- มาตรา 216 ถ้าเวลาผ่านไปลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ เจ้าหนี้จะปฏิเสธไม่รับชำระหนี้หรือเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนำด้ เพราะหนี้ถือเป็นอันไร้ประโยชน์แล้ว
ex. จ้างตัดชุดเจ้าสาวเพื่อใส่ในวันสมรส แตส่งมอบหลังจากสมรสผ่านไป =ไม่เกิดประโยชน์แก่เจ้าหนี้ เจ้าหนี้จะปฏิเสธไม่รับชำระและเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนได้
- มาตรา 388 เป็นสิทธิในการบอกเลิกสัญญา โดยที่เวลาเป็นสาระสำคัญที่ให้สิทธิแก่เจ้าหนี้เลิกสัญญาได้
- มาตรา 387 กรณีเวลาไม่ใช่สาระสำคัญ เช่น ถ้าเจ้าหนี้บอกกล่าวลูกหนี้ว่าขยายระยะเวลาส่งมอบให้ แต่ถ้าลูกหนี้ไม่ส่งมอบ=บอกเลิกสัญญาได้
(3) ลูกหนี้ต้องรับผิดในความเสียหายอันเกิดขึ้นระหว่างผิดนัดเพิ่มขึ้น
- มาตรา 217 เป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นระหว่างผิดนัดเท่านั้น มิใช่เป็นเหตุโดยตรงมาจากการผิดนัด
- โดยที่ลูกหนี้ต้องผิดนัดก่อน เพราะหากลูกหนี้ชำระตามกำหนดความเสียหายก็คงไม่เกิด และเกิดความเสียหาย ด้วยความประมาทเลินเล่อ และอุบัติดหตุที่เกิดขึ้นระหว่างผิดนัด
ex. ดำ ยืมรถ แดง จะส่งคือนวันที่ 31 สิงหาคม ปรากฏว่า ดำไม่คืนรถ กรณีแรกถ้าความเสียหายเกิดขึ้น ทำแดงต้องไปเช่ารถมาใช้ = 215
กรณีสอง หลังจากที่ผิดนัด ดำขับรถล้มทำใ้ห้เกิดความเสียหาย = ความเสียหายเพิ่มขึ้น 217
- กรณีลุกหนี้ประมาทเลินเล่อก่อนที่จะผิดนัด การประมาท=การระมัดระวังตามหน้าที่ของตนที่ต้องใช้ความระมัดระวัง แต่หน้าที่ที่ต้องระมัดระวังมีหลายระดับ
ex. การรับฝากทรัพย์ มาตรา 659 ว.1 การฝากทรัพย์โดยไม่มีบำเหน็จ=การรักษาทรัพย์เหมือนทรัพย์ของตัวเอง
มาตรา 659 ว.2 ( มีบำเหน็จ) ต้องรักษาทรัพย์เช่นวิญญูชน
มาตรา 659 ว.3 (มีบำเหน็จ) รักษาทรัพย์มากกว่าวิญญูชน เช่น ร้านฝากรถ เป็นต้น
- อุบัติเหตุใน มาตรา 217 รวมถึงเหตุสุดวิสัย แต่ไม่รวมถึงเหตุสุดวิสัยที่เกิดจากธรรมชาติ และต้องเป็นเรื่องเฉพาะที่เกิดขึ้นสืบเนื่องมาจากจากการกระทำของคนเท่านั้น
- ข้อแก้ตัวในตอนท้าย แก้ตัวได้ความเสียหายต้องเกิดจากอุบัติเหตุเท่านั้น และต้องไม่เกิดจากการกระทำจากตัวลูกหนี้
- ถ้าพิสูจน์ได้ว่ากรณีนี้ก็จะเกิดขึ้น แม้ตนได้ชำระหนี้ให้ไปอยู่ในครอบครองของเจ้าหนี้=ไม่ต้องรับผิดในความเสียหาย (ยังไม่ผิดนัด) และต้องเป็นการพ้นวิสัยเพราะอุบัติเหตุเท่านั้น ประมาทอ้างไม่ได้
-