Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรับผิดเพื่อละเมิดในการกระทำของตนเอง, นางสาวพรประภา คำจุมพล 64012310316…
ความรับผิดเพื่อละเมิดในการกระทำของตนเอง
2.1 ลักษณะทั่วไปเรื่องของบุคคลในการกระทำของตนเอง
2.1.1 ผู้ใดกระทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมาย
2.1.1.1 ผู้ใด คือ ผู้ทำละเมิด จะต้องมีสภาพเป็นบุคคลจึงจะมีการกระทำได้ สัตว์หรือสิ่งของที่ไปก่อความเสียหายนั้นไม่ใช่ผู้ทำละเมิด แต่มาตรา 433 เป็นกรณีความเสียหายที่เกิดจากสัตว์มีเจ้าของ กรณีนี้เจ้าของหรือผู้ครอบครองดูแลเป็นผู้ทำละเมิด ต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นเสมือนเป็นผู้ทำละเมิด บุคคลธรรมดาถือเป็นผู้ทำละเมิดได้ทั้งสิ้นไม่ว่าจะเป็นเด็กเล็ก ผู้เยาว์ คนชรา คนพิการ คนวิกลจริต คนไร้ความสามารถ ตามมาตรา 429
2.1.1.2 การกระทำ ของผู้ทำละเมิดผลของการกระทำนั้นจะต้องก่อให้เกิดความเสียหาย การกระทำในทางละเมิดยังรวมถึง การงดเว้นการกระทำอันทำให้เกิดความเสียหายขึ้นด้วย บุคคลที่มีความเคลื่อนไหวร่างกายโดยรู้สำนึกในความเคลื่อนไหวร่างกายของตน ย่อมถือได้ว่าบุคคลดังกล่าวนั้นมีการกระทำ ดังนั้นการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหาย ย่อมถือเป้นการทำละเมิด การกะทำโดยการเคลื่อนไหวร่างกายนั้นยังแบ่งออกเป็นหลายลักษณะ ดังนี้ ก) บุคคลซึ่งเป็นผู้กระทำเองโดยตรง และการกระทำนั้นยังรวมไปถึงการใช้สัตว์เป็นเครื่องมือด้วย ข) บุคคลซึ่งเป้นผู้กระทำเองโดยทางอ้อม โดยการใช้หรือหลอกใช้บุคลอื่นโดยทีบุคคลอื่นไม่รู้ข้อเท็จจริงในการกระทำ กรณีนี้ผู้ถูกใช้หรือถูกหลอกไม่มีเจตนา ค) บุคคลซึ่งเป็นผู้ร่วมในการกระทำ คือ ผู้ที่เกี่ยวข้องตั้งแต่สองคนขึ้นไป ซึ่งผู้ที่เกี่ยวข้องนั้นอยู่ในลักษณะเป็นผู้ใช้ให้กระทำ ผู้สนับสนุน หรือ อาจเป็นผู้ลงมือกระทำ
2.1.1.3 ต่อบุคคลอื่น ผู้ที่ถูกทำละเมิดหรือผู้เสียหายต้องมีสภาพเป็นบุคคล ทารกที่อยู่ในครรภ์มารดายังไม่มีสภาพเป็นบุคลไม่อาจเป็นผู้ถูกกระทำละเมิดได้ กรณีกระทำละเมิดต่อบุคคลจนเป็นเหตุให้บุคคลนั้นถึงแก่ความตาย สิทธิในการฟ้องนั้นตกทอดแก่ายาท ดังนั้นทายาทจึงเป็นผู้ใช้สิทธินั้นแทนในฐานะผูเเสียหาย การทำให้ทรัพย์สินของนิติบุคคลเสียหาย ก็เป็นการทำละเมิดต่อนิติบุคคลได้
2.1.1.4 โดยผิดกฎหมาย
1) กรณีกฎหมายให้สอทธิหรืออำนาจกระทำได้ เช่น อำนาจของตำรวจในการจับกุม ค้น ยึดทรัพย์ เมื่อกระทำตามอำนาจที่กฎหมายให้ถือเป็นการชอบด้วยกฎหมาย :
2) กรณีมีสิทธิหรืออำนาจกระทำได้ตามสัญญา คือ สัญญาก่อให้เกิดสิทธิและหน้าที่ระหว่างบุคคล ฝ่ายที่มีสิทธิกระทำตามสัญญาก็ย่อมมีอำนาจที่จะทำได้โดยชอบการกระทำนั้นก็ไม่เป็นการผิดกฎหมายจึงไม่เป็นการละเมิด
3) กรณีสิทธิหรือมีอำนาจตามคำพิพากษาหรือคำสั่งศาล บุคคลก็มีสิทธิที่จะกระทำการตามคำพิพากษาของศาลโดยไม่ผิดกฎหมาย จึงไม่เป็นการละเมิด
4) กรณีมีสิทธิหรือมีอำนาจกระทำโดยความยินยอมของผู้เสียหาย "ความยินยอมไม่เป็นการละเมิด"
2.1.2 การกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ
2.1.2.1 การกระทำโดยจงใจ คือ การกระทำโดยรู้สำนึกถึงผลดสียหายที่เกิดจากการกระทำของตน ผลเสียหายจะมากหรือน้อยแค่ไหนไมสำคัญ
2.1.2.2 การกรำทำโดยประมาทเลินเล่อ การกระทำโดยไม่จงใจ แต่เป็นการกระทำที่ขาดความระมัดระวังตามสมควร
2.1.3 การกระทำก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น
1) เสียหายแก่ชีวิต เป็นการกระทำต่อบุคคลอื่นทำให้ผู้ถูกกระทำถึงแก่ความตาย จะเจตนาฆ่า ฆ่าโดยไม่เจตนา หรือกระทำโดยประมาท
2) เสียหายแก่ร่างกาย กระทำโดยที่ทำให้ผู้ถูกกระทำได้รับอันตรายแก่กาย พิการ เสียโฉม รวมถึงเสียหายต่อจิตใจด้วย
3) เสียหายแก่อนามัย การกระทำที่ทำให้ร่างกายของบุคคลอื่นเสื่อมสุขภาพหรือบั่นทอนสุขภาพจิต
4) เสียหายแก่เสรีภาพ การข่มขืนจิตใจให้ผู้อื่นกระทหรือไม่กระทำการ การหน่วงเหนี่ยวกักขังบุคคลอื่นไว้โดยไม่มีอำนาจที่จะกระทำตามกฎหมาย
5) เสียหายแก่ทรัพ์สิน การทำให้เสียทรัพย์ เช่น การลักทรัพย์ ฉ้อโกงทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์
ปล้นทรัพย์ แต่ในบางครั้งการทำให้เสียทรัพย์อาจมองเห็นไม่ได้ชัดเจน เช่น การยื่นมือเข้าไปนห้องนอนบ้านคนอื่น การถ่มน้ำลาย การเตะยางรถยนต์
6ปเสียหายแก่สิทธิ เมื่อผู้หนึ่งผู้ใดกระทำการให้เสียหายแก่สิทธิ ผลก็เป็นการกระทำละเมิด
2.1.4 ความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำกับผลของกรกระทำ
ถ้าความเสียหายดังกล่าวเกิดจากเหตุเพียงเหตุเดียว ก็ชัดเจนว่าเป็นคามเสียหายที่เกิดจากการกระทำของเขา มี 2 ทฤษฎีในการมาใช้วินิจฉัย
1) ทฤษฎีเงื่อนไข หรือทฤษฎีโดยตรงหรือทฤษฎีความเท่ากันแห่งเหตุ มีหลักว่าถ้าไม่มีการกระทำดังที่กล่าวหานั้นผลจะไม่เกิดขึ้นเช่นนั้น ผู้กระทำต้องรับผิดโดยไม่ต้องคำนึงว่ามีเหตุผลอื่นมาทำให้เสียหายด้วยหรือเปล่า ถ้าผู้นั้นไม่ทำความเสียหาที่ไม่เกิดขนาดนั้นอย่างนี้ผู้นั้นก็้ต้องรับผิด
ข้อดี : เป็นหลักที่ตรงกับความเป็นจริงตามธรรมชาติ
ข้อเสีย : อาจเป็นเหตุให้จำเลยต้องรับผิดชอบนระยะเวลาที่ยืยาวโดยไม่มีขอบเข
2) ทฤษฎีมูลเหตุเเหมาะสม ความรับผิดของผู้กระทำนั้น เฉพาะแต่เหตุที่ตามปกติย่อมก่อให้เกิดผลเช่นว่านั้นเท่านั้นที่ผู้กระทำจะต้องรับผิด
ข้อดี : ตรงกับหลักวินิจฉัยความผิดหรือความประมาทเลินเล่อของจำเลย
ข้อเสีย : จำกัดผลที่ผู้กระทำต้องรับผิดแคบ อยู่ภายในวงที่ผู้กระทำควรไดคาดเห็นเท่านั้น ขัดกับความเป็นจริงที่จำเลยผู้กระทำะเมิดกลับไม่ต้องรับผิด
2.2 การใช้สิทธิซึ่งกอให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น
หารการใช้สิทธินั้นก่อให้เกิดความเสียแก่ผู้อื่นแล้วอาจถือว่าเป็นการอันมิชอบด้วกฎหมาย การกระทำนั้นจะต้องครบหลักเกณฑ์ 3 ข้อ จึงจะเป็นการละเมิด ดังนั้นการใช้สิทธิจะต้องไม่กระทบถึงสิทธิของบุคคลอื่น การใช้สิทธิโดยประมาทเลนเล่อโดยทั่วไป แม้จะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ก็ไม่เป็นละเมิด ถ้าเป็นการกระทำโดยประสงค์ต่อผลอันเป็นธรรมดาแก่สิทธิแล้ว แม้จะเห็นอยู่ว่าจะมีผู้อื่นเสียหายก็ไม่เป็นละเมิด เช่น การฟ้องเพื่อรักษาประโยชน์ของตน มุ่งหวังผลตามธรรมดา ไม่ใช่การมุ่งแกล้งให้ผู้อื่นเสียหาย
2.3 การฝ่าฝืนกฎหมายที่ปกป้องบุคคลอื่น
มาตรา 422 ให้สันนิษฐานว่าผู้ทำการฝ่าฝืนเป็นฝ่ายผิด ดังนั้นจำเลยต้องเป็นผู้นำสืบแก้ต่างว่ความผิดนั้นเกิดขึ้นเพราะความผิดของโจทก์ หรือเกดจากเหตุสุดวิสัยหรือเกิดจากความผิดของผู้เสียหายเอง หากแม้จะผิดกฎหมายแต่การกระทำนั้นไม่เป็นเหตุให้เกิดความเสียหาย ความเสียหายเกิดจากเหตุอื่น ผู้กระทำการฝ่าฝืนก็ไม่ต้องรับผิด
2.4 การหมิ่นประมาทในทางแพ่ง
มาตรา 423 ข้อความที่ว่า "กล่าวหรือไขข่าวแพร่หลาย" คือ การแสดงข้อความใดๆ ให้บุคคลที่สามได้ทราบ "กล่าว" คือพูดเอง "ไขข่าว" คือพูดข่าวจากคนอื่น
หมิ่นประมาทในทางแพ่ง ต่างกับ หมิ่นประมาทในทางอาญา ทางอาญานั้นเป็นการใส่ความบบุคคลอื่นต่อบุคคลที่สามทั้งที่เป็นความจริงก็ถือเป็นความผิดอาญา ส่วนทางแพ่งนั้น ความจริงไม่ถือเป็นละเมิด
1) เป็นการกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลาย ไม่จำเป็นว่าต้องกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ แม้ไม่ตั้งใจใหเขาเสียหายแก่ชื่อเสียง เช่น เพื่อการตลกขบขันก็ไม่เป็นข้อแก้ตัว ถ้ากระทำโดยสำนึก ก็ถือว่าเป็นการกล่าวหรือไขข่าวแล้ว
2) เป็นข้อความที่ฝ่าฝืนต่อความจริง คือไม่ตรงกับความจริงแม้จะไม่มใครเชื่อ ดังนั้นจะต้องมีข้อเท็จจริงสามารถยืนยันได้ ไม่ใช่การกล่าวเลื่อนลอย หรือการด่า การคาดคะเน คำขู่ หรือการพูดหยอกล่อเล่นกันระหว่างเพื่อน
3) ทำให้ผู้อื่นเสียหายแก่ชื่อเสียง เกียรติคุณ คำว่าเกียรติคุณ คือ คุณค่าหรือความนิยมของบุคคนั้นในทางสังคม ส่วน ทางเจริญทำมาหาได้ มุ่งเน้นในทางเศรษฐกิจ การค้าขาย
4) เป็นข้อความที่ไม่เป็นจริงซึ่งผู้กระทำรู้หรือควรรู้ได้ หากข้อความที่กล่าวหรือไขข่าวเป็นความริง ในทางแพ่งถือว่าไม่เป็นละเมิด แม้ผู้กล่าวหรือไขข่าวจะมิได้ออกชื่อผู้เสียหายนั้นไม่สำคัญ ดังนั้นความจงใจหรือประมาทเลินเล่อจึงมีความสำคัญเฉพาะแต่ว่าผู้กล่าวรู้หรือไม่ว่าข้อความที่กล่าวไม่จริง
ความในวรรคสองของมาตรา 423 เป็นข้อยกเว้นความรับผิดของผู้กล่าว หากผู้กล่าวหรือผู้รับสารนั้นไม่ได้รู้ว่าเป็นความไม่จริง คือกล่าวออกไปแล้วแต่ไม่รู้ว่าเป็นเท็จ และตนเองมีส่วนได้เสียโดยชอบในการกล่าวถ้าผู้กล่าวหรือไขข่าวไม่รู้ข้อความที่กล่าวไม่จริง ผู้กล่าวก็ไม่ตองรับผิดจะมีความรับผิดทางละเมิด ก็เฉพาะเมื่อได้กล่าวเท็จโดยจงใจ
2.5 การพิพากษาคดีความรับผิดเพื่อละเมิด
ละเทิดในทางแพ่งนั้นบางครั้งก็เป็นความผิดในทางอาญาประกอบด้วย บางครั้งอาจจะเป็นความผิดเฉพาะแต่ในทางอาญา แต่ไม่เป็นการกระทำละเมิดในทางแพ่ง กรณีความผิดทั้งทางแพ่งและอาญา การพิจรณาคดีก็จะเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องอาญา ตามมาตรา 424 ถ้ามีการฟ้องบุคคลทั้งคดีส่วนแพ่งและคดีส่วนอาญาในเรื่องเดียวกัน การพิพากษาคดีส่วนแพ่งนั้น ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา ตามประมวล วิ.อาญา มาตรา 47 และคู่ความที่จะผูกพันโดยข้อเท็จจริงที่วินิจฉัยแล้วนั้น จะต้องเป็นคู่ความในคดีอญาด้วยกัน
เมื่อข้อเท็จจริงเป็นที่ยุติตามคำพิพากษาคดีส่วนอาญาแล้ว การวินิจฉัยความรับผิดทางแพ่งต้องเป็นไปตามกฎหมายส่วนแพ่ง
2.6 บุคคลหลายคนร่วมกันกระทำความผิด
บุคคลเหล่านั้นจะต้องมีความจงใจกระทำร่วมกัน กรณีไม่สามารถสืบรู้ตัวได้แน่ว่าในจำพวกที่ทำละเมิดร่วมกันนั้นใครเป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหาย โดยลักษณะคบคิดร่วมกันทำละเมิด หรือมีการแบ่งหน้าที่กันทำ แต่ประการสำคัญคือ ทุกคนต้องจงใจมีเจตนาร่วมกัน และร่วมกันกระทำ แต่ถ้าไม่มีเจตนาร่วมกันทำละเมิด คือต่างคนต่างทำ มิได้มีการคบคิด กรณีนี้ไม่ใช่การร่วมกันกระทำละเมิด ต่างคนต่างก็ต้องรับผิดในการกระทำของตนเอง
ลักษณะการร่วมกันทำละเมิด
ต้องพิจารณาว่าเป็นการกระทำโดยบุคคลทั้งหลายมีเจตนาหรือมีความมุ่งหมายร่วมกัน และจะต้องมีการกระทำร่วมกีน ไม่ใช่ต่างคนต่างมีเจตนา หรือต่างคนต่างทำ
การยุยงส่งเสริมเพื่อช่วยเหลือในการกระทำละเมิด
โดยกฎหมายให้ถือเป็นการร่วมกันทำละเมิด และหลักในการพิจารณามีลักษณะเช่นเดียวกับผู้ใช้ในการกระทำผิด และผู้สนับสนุนใรการกระทำผิด ป.อาญา มาตรา 84 มาตรา 85และ มาตรา 86
ความรับผิดระหว่างผู้ร่วมกันทำละเมิด
ความรับผิดของผู้ร่วมกันกระทำละเมิดนั้น มิไได้ดูผลแห่งความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการกระทำองแต่ละบุคคลแยกกะนในกรณีที่สามารถแยกได้ หรือหากไม่สามารถรู้ได้ว่าระหว่างผู้ร่วมกระทำละเมิดนั้น ทุกคนก็ต้องรับผิดชอบร่วมกันในผลแห่งละเมิดนั้นเต็มจำนวนความเสียหาย ผู้กระทำละเมิดร่วมทุกคนยังคงผูกพันอยู่ทั่วทุกคนจนกว่าหนี้นั้นจะได้ชำระจนสิ้นเชิง
นางสาวพรประภา คำจุมพล 64012310316