Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บันทึกการสะท้อนคิด ใบงานที่ 3 นางสาวอารยา ชูระเชตุ ปี 4 62111301110 -…
บันทึกการสะท้อนคิด ใบงานที่ 3
นางสาวอารยา ชูระเชตุ ปี 4 62111301110
ประเมินเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น (Evaluation)
ประสบการณ์ที่ดีที่เกิดขึ้น
การที่เราได้ฝึกการเย็บแผล ฝึกการทำหัตถการต่างๆทำให้เมื่อไม่เจอสถานการณ์จริง เราอาจจะมีความกดดันน้อยลง และมีความมั่นใจในตนเองเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากมีการฝึกซ้อมมาก่อนแล้ว
ประสบการณ์ที่ไม่ดีที่เกิดขึ้น
ยังมีความรู้ไม่มากพอและในบางเรื่อง เช่น การเลือกอุปกรณ์และการเย็บแผลให้เหมาะสมกับบาดแผล
การวางแผนการกระทำสำหรับอนาคต (Action Plan)
ถ้ามีเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นอีก– ในเรื่องของ case กรณีศึกษา ถ้าหากมีเหตุการณ์แบบนี้ ก็จะหาหนังสือหรืองานวิจัยอ่านเพิ่ม เพื่อต่อยอดความรู้เดิมที่มีให้มากขึ้น และหากมีประเด็นที่ไม่เข้าใจ ก็จะสอบถามอ่านประจำกลุ่ม หรือแลกเปลี่ยนความรู้จากเพื่อน เพื่อให้ได้คำตอบหรือความรู้ที่ถูกต้องชัดเจนประสบการณในครั้งนี้ – ทำให้รู้ว่าเรามีข้อบกพร่องตรงไหนบ้าง และทำให้รู้ว่าเรายังไม่ความรู้ในเรื่องของทฤษฎีมากพอ ทำให้รู้สึกว่าเราควรอ่านหนังสือ ทบทวนเนื้อหาที่เคยเรียนไปแล้วให้มากยิ่งขึ้นไปอีก และควรทบทวนเนื้อหาอยู่เป็นประจำ เพื่อให้ได้ความรู้และเข้าใจหลักการการพยาบาลต่างๆมากขึ้น
1.บรรยายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น (Description)
จากการได้เรียนรู้หลักการการทำแผล เย็บแผล การถอดเล็บ การฝ่าฝี อาจารย์ได้สอนเกี่ยวกับการให้การพยาบาลว่าควรให้การพยาบาลอะไรบ้างในผู้ป่วย เช่นการให้การการพยาบาลผู้ป่วยที่ถูกหมากัด อาจต้องมีการเย็บแผลหรือไม่เย็บซึ่งก็จะมีการประเมินบาดแผลก่อน และอาจต้องมีการฉีดวัคซีนด้วย จากการเข้าร่วมกลุ่มก็มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันภายในกลุ่ม ได้พูดคุยเกี่ยวกับถ้าเราเจอสถานการณ์แบบนี้เจอผู้ป่วยที่ป่วยเป็นโรคนั้นๆเราควรที่จะให้การพยาบาลอย่างไรบ้าง และควรเย็บแผลแบบไหน จากเหตุการณ์ดังกล่าวเมื่ออาจารย์มีการถามเกี่ยวกับ หลักการว่าแผลแบบนี้เราควรเย็บแผลแบบไหนซึ่งหนูยังเลือกไม่ถูก
4.การวิเคราะห์ (Analysis)
ประเภทของการเย็บแผล
เย็บแบบธรรมดา ชนิดปล้อง (Simple interrupted suture )
ใช้เข็มตักเข้าไปที่เนื้อใต้ผิวหนังส่วนที่ต้องการเย็บเพียงครั้งเดียว แล้วผูกเป็นปมไว้ที่ด้านข้าง ซึ่งใช้กับแผลโดยทั่วๆไป และได้ผลดีในการห้ามเลือด Running lock Stitch เพื่อเย็บได้เร็วไม่เปลืองของที่ใช้ใช้ในการเย็บกรณีที่ไม่ต้องระวังเรื่องแผลมากนัก ใช้ห้ามเลือดออกจากขอบแผลได้ด้วย
เย็บแบบซ้อน ( Mattress suture)
การเย็บย้อนตอบกลับ โดยใช้เข็มเย็บตักเข้าไปที่เนื้อใต้ผิวหนัง ให้ลึกจากขอบแผลข้างหนึ่งไปโผล่ขอบแผลอีกข้างแล้วย้อนเข็มกลับมา ตักขอบแผลตื้น ๆแทงเข็มขึ้นมาใกล้ ต าแหน่งเดิมที่แทงครั้งแรก แล้วผูกปมตักด้านส่วนที่เหลือออก ใช้ในรายที่ต้องการความแข็งแรงด้วยและต้องการให้ขอบไม่ซ้อนกันด้วย คือในรายที่แผลลึกและยาว
อ้างอิง จุฑารัตน์ ผู้พิทักษ์กุล(2562).การเย็บแผล.สืบค้นเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2565.จาก
http://pws.npru.ac.th/poopitukkul/data/files/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A2%E0%B9%87%E0%B8%9A%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B8%A5.pdf
5.การลงข้อสรุป (Conclusion)
ได้เรียนรู้ข้อดีข้อเสียข้อบกพร่องของตนเองว่าควรปรับปรุงในด้านไหน
ได้เรียนรู้การเลือกประเภทการเย็บแผลที่เหมาะสมกับแผล
2.รู้สึกอย่างไร (Feeling)
รู้สึกสนุกได้มีการพูดคุยกับเพื่อนและได้คุยแลกเปลี่ยนความรู้กัน
รู้สึกตื่นเต้นเพราะได้เย็บแผลครั้งแรกเลยยยังมีเกร็งและมือสั่นจับอุปกรณ์ไม่ค่อยถนัด