Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรับผิดของบุคคลในการกระทำของตน - Coggle Diagram
ความรับผิดของบุคคลในการกระทำของตน
การกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ
ประมาทเลินเล่อ
ไม่จงใจ แต่ไม่ใช้ความระมัดระวังตามสมควรที่จะใช้
ฎ. 21/2540 กรณีสารวัตรใหญ่และพนังงานสอบสวนได้ยึดรถของกลางของผู้เสียหายไว้แล้ว ไม่นำมาเก็บรักษาไว้ที่สถานีตำรวจหรือสถานที่อื่นเป็นเหตุให้รถยนต์ดังกล่าวสูญหายอันเป็นการประมาทเลินเล่อ
ทำต่อบุคคลอื่น
กระทำโดยการเคลื่อนไหวร่างกายหรืองดเว้นการเคลื่อนไหวร่างกาย กระทำต่อยุคคลอื่นซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น
เป็นความเสียหายต่อผู้อื่น อาจะเป็นความเสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย อนามัย เสรีภาพ ทรัพย์สินและสิทธิอย่างใดอย่างหนึ่ง
สิทธิ
มีสิทธิ
ใช้สิทธิ
จงใจ
หมายถึง รู้สำนึกถึงผลเสียหาย
เช่น กุ้งเดินไปต่อยหน้าปูจนบาดเจ็บ ย่อมเป็นการกระทำโดยรู้สำนึกถึงผลเสียหาย
การกระทำโดยผิดหลงหรือพลั้งพลาดหรือเข้าใจโดยสุจริต ไม่ถือว่าจงใจ
การที่รู้สำนึกในผลเสียหายถือว่าจงใจ ไม่ต้องคำนึงถึงผลเสียหายว่ามากน้อยเพียงใด
การใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น
การใช้สิทธิอาจเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อสิทธิก่อตั้งขึ้นอาจมีความมุ่งหมายบางอย่างโดยเฉพาะ เช่น สิทธิในการเลือกตั้ง ก็ใช้ในการเลือกตั้ง
สิทธิจะสิ้นสภาพ หากใช้เพื่อความมุ่งหมายแตกต่างจากความมุ่งหมายที่ก่อตั้งสิทธินั้น
ความเสียหายนั้นเป็นผลมาจากการกระทำของผู้ทำความเสียหาย
ทฤษฎีความเท่ากันแห่งเหตุหรือทฤษฎีเงื่อนไข
เหตุที่มีหลายเหตุ มีความเท่ากัน น้ำหนักเท่ากัน ถือว่าผลที่เกิดขึ้นมาจากเหตุทุกเหตุ จึงต้องรับผิดตามผลที่เกิด
เช่น ไก่เตะท้องเบาๆของไข่ ปรากฏว่าไข่มีโรคประจำตัว หากกระทบกระเทือนอย่างแรงอาจตายได้ แต่ไก่ไม่ทราบมาก่อน ไข่ถึงแก่ความตาย ดังนั้น ไก่ต้องรับผิดฐานละเมิดตามทฤษฎีความเท่ากันแห่งเหตุ
มี 2 สาเหตุที่ทำให้ความตายเกิดขึ้น ทฤษฎีนี้มองว่า 2 สาเหตุมีน้ำหนักเท่ากันจึงถือว่ามีส่วนที่ทำให้เกิดผล
ข้อดี : ตรงกับความเป็นจริงตามธรรมชาติ
ข้อเสีย : ทำให้ผู้กระทำความผิด ต้องรับผิดไม่มีขอบเขต แค่ขอให้มีส่วนในเหตุหนึ่งก็ต้องรับผิด
ทฤษฎีมูลเหตุเหมาะสม
เช่น ก.เตะท้องข. แต่ข.มีโรคประจำ หากกระทบกระเทือนอาจทำให้ตายได้ ก.ไม่ทราบมาก่อน ข.ถึงแก่ความตาย ดังนี้ ก.รับผิดเฉพาะในกรณีที่ข.ได้รับบาดเจ็บธรรมดา ไม่ต้องรับผิดในความตายของข.
ข้อดี : ผลที่เกิดมีความเสียหายกับการกระทำ
ข้อเสีย: ผู้กระทำรับผิดเฉพาะที่คาดเห็นได้ จึงขัดกับความเป็นจริงที่อาจมีความเสียหายที่เป็นผลจากการกระทำของผู้กระทำแท้ๆ
เหตุแต่ละเหตุมีน้ำหนักไม่เท่ากัน เหตุใดที่เกิดขึ้นตามปกติจะต้องรับผิดตามเหตุนั้น
ความเสียหายที่เกิดขึ้นต้องเป็นผลจากการกระทำละเมิด
เช่น แดงเอาไม้ตีหัวเขียวได้รับบาดเจ็บ แต่เขียวตายเพราะเป็นโรคมะเร็ง ดังนั้น แดงไม่ต้องรับผิดในความตายของเขียว เพราะเขียวตายด้วยโรคมะเร็ง ผู้ทำละเมิดจึงไม่ต้องรับผิดในผลที่เกิดขึ้น
ความหมายของการกระทำ
ผู้เยาว์และบุคคลวิกลจริต
มาตรา 429 บัญญัติว่า “บุคคลใดแม้ไร้ความสามารถเพราะเหตุเป็นผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริตก็ยังต้องรับผิดในผลที่ตนทำละเมิด”
หากข้อเท็จจริงมีการเคลื่อนไหวโดยรู้สำนึกย่อมมีการกระทำ ไม่ว่าจะเป็นผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริต
มาตรา 429 อยู่ภายใต้ มาตรา 420
การงดเว้นไม่กระทำ
การกระทำ ยังหมายถึง การงดเว้นไม่กระทำด้วย
หมายถึง การที่มีหน้าที่ แต่ไม่กระทำการตามหน้าที่
หน้าที่ที่ต้องกระทำ
1) หน้าที่ตามกฎหมาย
เช่น บิดา มารดา จำต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตร ถ้าไม่อุปการะเลี้ยงดู จนบุตรได้รับความเสียหายย่อมเป็นละเมิด
การงดเว้นไม่กระทำในสิ่งที่กฎหมายไม่ได้บัญญัติให้กระทำหรือไม่มีหน้าที่ ไม่ถือว่าเป็นการละเมิด
2) หน้าที่ตามสัญญา
เช่น แพทย์ไม่ยอมรักษาตามสัญญาการว่าจ้างในการรักษา จนเกิดความเสียหาย เป็นการงดเว้นจึงผิดทั้งสัญญาและละเมิด
3) หน้าที่เกิดจากความสัมพันธ์ทางข้อเท็จจริงหรือผลมาจากฐานะของข้อเท็จจริง
หน้าที่เกิดจากความสัมพันธ์ทางข้อเท็จจริงที่มีอยู่ระหว่างผู้งดเว้นกับผู้เสียหาย
บุคคลที่อยู่ในฐานะอันสามารถควบคุมสิ่งของหรือบุคคลเพื่อความปลอดภัย ย่อมมีหน้าที่ต้องทำการตามสมควร
เช่น แขกมาเยี่ยมบ้าน เจ้าบ้านมีหน้าที่จัดเตรียมเก้าอี้ในสภาพเรียบร้อยเพื่อต้อนรับ
หน้าที่อันเป็นผลมาจากฐานะทางข้อเท็จจริงของผู้งดเว้นได้ก่อขึ้น
เช่น แพทย์เจอผู้ป่วยระหว่างกลับบ้าน ก็เข้าช่วยเหลือรักษา หากงดเว้นไม่ทำหน้าที่ต่อให้ตลอดย่อมเป็นการงดเว้น
มาตรา 420
“ผู้ใด” ในมาตรา 420 หมายถึง มนุษย์และรวมถึงบุคคลทุกชนิด
อาจเป็นได้ทั้ง
บุคคลธรรมดา
นิติบุคคล
“ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิดจำต้องใช้ค่าสินไหนทดแทนเพื่อการนั้น”
“การกระทำ” หมายถึง การเคลื่อนไหวร่างกายโดยรู้สำนึกในการกระทำ
เช่น นายแดง หยิบหนังสือเล่มโปรดขึ้นมาอ่าน ดังนี้ย่อมเป็นการกระทำเพราะนายแดงรู้สำนึกในการเคลื่อนไหวของตนที่หยิบหนังสือเล่มโปรดขึ้นมาอ่าน
การกระทำที่ไม่รู้สำนึก ย่อมไม่เป็นการกระทำ
เด็กไร้เดียงสา ซึ่งไม่รู้ว่าตนได้กระทำอะไรไป
การนอนละเมอ ปัดมือไปโดนโคมไฟตกแตก
หลักมาตรา 420
1.เป็นมนุษย์ (ไม่ใช่สัตว์หรือสิ่งของหรือคนตาย)
2.มีการกระทำ (มีการเคลื่อนไหวร่างกายและรู้สำนึกในการกระทำ)
การกระทำโดยผิกกฎหมาย
การใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น
มีสิทธิแล้ว ไม่ได้หมายความว่าจะใช้สิทธิได้ตามใจชอบ
มาตรา 421 เป็นบทบัญญัติถึงผลอันสืบเนื่องมาจาก มาตรา 5
การใช้สิทธิ บุคคลต้องทำการโดยสุจริต
ถ้าใช้สิทธิโดยไม่สุจริต อาจต้องรับผิดฐานละเมิด
แม้มีสิทธิ แต่ถ้าใช้สิทธิแล้วก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น ถือเป็นการอันมิชอบด้วยกฎหมายหรือผิดกฎหมาย
ถ้ากระทำโดยไม่มีสิทธิหรือทำเกินไปกว่าสิทธิ ต้องพิจารณาตามมาตรา 420
การใช้สิทธิตามมาตรา 421 อยู่ที่การใช้ ไม่ใช่ตัวสิทธิ แต่การใช้หรือวิธีการไม่ถูกต้องตามสมควรจึงเกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น
เช่น ตำรวจจับผู้ต้องหา แต่แกล้งไปจับในเวลาที่ผู้ต้องหาอยู่ในวงการสังคม โดยที่สามารถจับในที่อื่นได้แต่ไม่จับ
ความยินยอมไม่เป็นละเมิด
เป็นการทำให้ผู้กระทำไม่ต้องรับผิดฐานละเมิดเพราะไม่เป็นการกระทำโดยผิดกฎหมาย
เช่น ก.ยินยอมให้ต้นไม้ของค.รุกล้ำเข้ามาในบ้านของตน แม้จะทำให้บ้านของก.จะรกด้วยใบไม้ที่ร่วงก็ตาม
ผู้ให้ความยินยอมอาจยกเลิกเมื่อไหร่ก็ได้
ฎ. 231/2505 การปลูกสร้างรุกล้ำไปในเขตห้องของโจทก์โดยโจทก์ยินยอม ไม่เป็นละเมิด ก็ไม่ทำให้สิทธิที่จะให้ปลูกสร้างรุกล้ำอยู่ได้ตลอดไป
การกระทำฝ่าฝืนบทบังคับแห่งกฎหมาย
มาตรา 422 “ถ้าความเสียหายเกิดแต่การฝ่าฝืนบทบังคับแห่งกฎหมายใดอันมีที่ประสงค์เพื่อปกป้องบุคคลอื่นๆ ผู้ใดทำการฝ่าฝืนเช่นนั้น ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้นั้นเป็นผู้ผิด”
ฝ่ายที่ฝ่าฝืนกฎหมายเป็นผู้ผิด
ฎ. 1169-1170/2509 การที่รถยนต์จำเลยแล่นเข้าไปชนรถยนต์โจทก์ทางด้านขวาของถนน เบื้องตนศาลสันนิษฐานตามกฎหมายว่ารถยนต์จำเลยเป็นผู้ผิด จำเลยมีหน้าที่ต้องนำสืบหักล้างว่าจำเลยมิใช่เป็นผู้ผิด
ความหมาย
“โดยผิดกฎหมาย” ตามมาตรา 420 คือ มิชอบด้วยกฎหมาย
มาตรา 421 กล่าวโดยสรุป ถ้าได้กระทำโดยไม่มีสิทธิหรือข้อแก้ตัวตามกฎหมายให้ทำได้แล้ว ถือว่ากระทำโดยผิดกฎหมาย
ถ้ากระทำโดยมีสิทธิตามกฎหมาย คือ มีอำนาจทำได้ แม้จะเกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น ก็ไม่ถือว่าผิดกฎหมาย
เช่น บิดามารดามีสิทธิที่จะทำโทษบุตรตามสมควรเพื่อสั่งสอน
การกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น
ลักษณะแห่งสิทธิ
สิทธิ คือ อำนาจหรือประโยชน์ที่กฎหมายรับรองคุ้มครอง
เช่น เราเป็นเจ้าของปากกา สามารถทำอะไรก็ได้เพราะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ มีสิทธิจำหน่าย จ่าย โอน กฎหมายให้อำนาจที่เราจะใช้ คือ อำนาจของผู้ถือกรรมสิทธิ์
สิทธิคุ้มครองทั้งวัตถุมีรูปร่างและไม่มีรูปร่าง
มีรูปร่าง เช่น ร่างกาย
ไม่มีรูปร่าง เช่น ชื่อเสียง ถ้าทำให้เขาเสียชื่อเสียงถือเป็นการละเมิด
มีความเสียหายต่อสิทธิ
ความเสียหายตามมาตรา 420 หมายถึงความเสียหายแก่สิทธิของบุคคลทั้งสิ้น
การละเมิดสิทธิแต่ความเสียหายไม่เกิด ถือว่าเป็นความผิดฐานละเมิด เรียกค่าสินไหมทดแทนเท่าไหร่ค่อยว่ากันอีกเรื่อง
เช่น นายก.ใช้มือสะอาดตบหัวนายข. ไม่เปื้อนและไม่หัวโน แต่เป็นการละเมิดสิทธิ
ความเสียหายที่คำนวณเป็นตัวเงินได้และไม่อาจะคำนวณเป็นตัวเงินได้
ต้องระวังว่าจะไม่นำไปปะปนในกรณีที่มีการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องเยียวยาในความเสียหายกันภายหลัง
เช่น ดำชกต่อยแดง แต่แดงไม่บาดเจ็บ ไม่จำเป็นต้องรักษา เป็นความเสียหายอันคำนวณเป็นตัวเงินไม่ได้
เช่น ก.ทำร้ายร่างกายข. ข.ต้องเสียค่ารถไปโรงพยาบาลตลอดจนค่ารักษาพยาบาล เป็นความเสียหายที่คำนวณเป็นตัวเงินได้