Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
นโยบายการเงินและการคลัง, น.ส. วรัชยา เผดิมศักดิ์พิทยา ชั้น ม.5.12 เลขที่ 9…
นโยบายการเงินและการคลัง
เงิน
ความหมาย
สิ่งที่ผู้คนในสังคมได้สมมุติขึ้นเพื่อใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน ดังนั้นเงินจึงเป็นสิ่งกระตุ้นให้เกิดการผลิตและช่วยขับเคลื่อนสินค้าจากแหล่งผลิตไปยังผู้บริโภค และเงินยังสามารถทำหน้าที่ซึ่งมีความสำคัญทางเศรษฐกิจ
-
ความสำคัญของเงิน
ในระยะแรก เงินที่นำมาใช้เป็นสื่อการในการแลกเปลี่ยนสินค้าต่างๆ เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป มักเป็นสิ่งหายาก มีค่าของมันเอง เช่น เปลือกหอย ลุูปัด ควาย วัว แพะ แกะ ขนสัตว์ ใบชา ยาสูบ เกลือ เป็นต้น แต่สิ่งเหล่านี้มีข้อจำกัด เช่น ไม่คงทนถาวร นำติดตัวไม่สะดวก แบ่งหน่วยย่อยได้ยาก อีกทั้งคุณภาพอย่างเดียวไม่เหมือนกัน
ต่อมาจึงมีการเปลี่ยนมาใช้เงินที่ทำโดยโลหะที่มีค่า เช่น เงินและทองคำแทน มีการวิวัฒนาการมาเป็นธนบัตรใช้ในปัจจุบัน โดยรัฐบาลเป็นผู้มีสิทธิ์ในการออกแต่เพียงผู้เดียวธนาคารกลางหรือธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดพิมพ์และรับรองให้ใช้หนี้ได้ตามกฎหมาย ในการพิมพ์เงินทุนสำรองเงินตรา ซี่งประกอบไปด้วยทองคำ เงินตราต่างประเทศหนุนหลัง เงินตรามีความสำคัญในระบบเศรษฐกิจ โดยแต่ละจำนวนเงินหรือปริมาณเงินที่หมุนเวียนต่อผลรายได้ ผลผลิตและการจ้างงานโดยรวม
นโยบายการคลัง
ความหมาย
รัฐบาลมีบทบาทสำคัญในระบบเสรษฐกิจ ในกรณีที่ระบตลาดหรือกลไกตลาดไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รัฐบาลต้องเข้ามาดำเนินการเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนโดยรวม นโยบายการคลังเป็นนโยบายที่สำคัญ ควบคู่ไปด้วยนดยบายการเงิน
ประเภทนโยบายการคลัง
นโยบายการคลังแบบขยาย เป็นนโยบายที่ลดการใช้จ่ายรัฐบาลและลดภาษีนั่นคือนโยบายงบแบบขาดดุลนั่นเอง ค่าใช้จ่ายของรัฐบาลเพิ่มขึ้นมีผลให้ระบบเศรษฐกิจมีการใช้จ่ายเพิ่มขึ้น เกิดการผลิตสินค้าและการบริการเพิ่มขึ้น นอกจากนี้การลดภาษียังมีผลทำให้การบริโภคประชาชนเพิ่มขึ้นด้วย นโยบายแบบคลังขยายตัวทำให้เศรษฐกิจขยายตัว รัฐบาลใช้นโยบายกรณีเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ เพื่อเป็นการกระตุ้นเกิดการใช้จ่ายเพิ่มขึ้น
นโยบายการคลังแบบหดตัวเป็นนโยบายที่ลดการใช้จ่ายของภาครัฐและเพิ่มภาษี หรือนโยบายงบประมาณแบบเกินดุล เพื่อให้ระบบเศรษฐกิจมีการใช้จ่ายน้อยลง มีการผลิตสินค้าและบริการต่างๆ ลดลง รัฐบาลใช้นดยบายนร้ในกรณีที่เศรษฐกิจขยายตัวอย่างรวดเร็วและเกิดปัญหาเงินเฟ้อ เพื่อช่วยลดความร้อนแรงในระบบเศรษฐกิจ
-
นโยบายการเงิน
ความหมาย
นโยบายที่ธนาคารการใช้เพื่อดูแลปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจให้อยู่ระดับที่เหมาะสม เพื่อให้ประชาชนมีงานทำ มีรายได้เพิ่มขึ้น เพื่อรักษาเสถียรภาพอัตราแลกเปลี่ยน เป็นต้น โดยมีเป้าหมายสำคัญเพื่อให้เศรษฐกิจของประเทศไทยขยายตัวอย่างมีเสถียรภาพ ประชาชนมีความเป็นอยู่ดีขึ้น ปัจจุบันนโยบายทางการเงินยังหมายถึงนโยบายธนาคารกลางใช้เพื่อดูแลเงินเฟ้อให้อยู่ในกรอบที่กำหนด โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญ คือเพื่อให้เกิดเสถียรภาพด้านราคา ซึ่งส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศเติบโตอย่างมีเสถียรภาพและยั่งยืน
ประเภทของนโยบายการเงิน
นโยบายการเงินแบบเข้มงวด
มีผลทำให้ปริมาณเงิดลดลง มักใช้กรณีระบบเสรษฐกิจเกิดปัญหาภาวะราคาสินค้าสูงขึ้นหรือเกิดปัญหาเงินเฟ้อ ประโยชน์การจับจ่ายใช้สอยหรือมีความต้องการบริโภคสินค้าและบริการต่างๆมากกว่าจำนวนระบบเศรษฐกิจ สามารถผลิตได้ เกิดปัญหาดุลการค้าและดุลการชำระเงินดขาดดุล เป็นต้น
การใช้นโยบายนี้ช่วยจะลดความร้อนแรงในเศรษฐกิจิ ประเทศที่ดำเนินนโยบายทางการเงินภายใต้กรอบเงินเฟ้อ นโยบายการเงินแบบนร้มีผลให้อัตราดอกเบี้ยในตลาดปรับตัวขึ้น ส่งผลให้กิจกรรมต่างๆ ทางเศรษฐกิจลดลง อัตราเงินเฟ้อลดลง
นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย เป็นนโยบายที่มีผลให้ปริมาณเงินเพิ่มขึ้น มักใช้ในกรณีเกิดภาวะเศรษฐกิจซบเซาหรือเกิดปัยหาเงิดฝืด การใช้จ่ายของประชาชนและผู้ประกอบการมีน้อย เกิดผลผลิตตกต่ำกว่ากำลังหารผลิตที่สามารถผลิตได้ ทำให้เกิดการว่างงาน การใช้นโยบายนี้จะช่วยกระตุ้นให้เศรษฐกิจฟื้นตัว ประเทศที่ดำเนินดอกเบี้ยในตลาดปรับตัวลดลง จะส่งผลให้มีกิจกรรมต่างๆ ทางการเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นและอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น
-
กลไกการส่งผ่านของนโยบายการเงิน การดำเนินนโยบายการเงินภายใต้กรอบเงินเฟ้อจะส่งผลต่ออัตราดอกเบี้ยในตลาดและในที่สุดจะส่งผลต่อปริมาณการผลิตและอัตราเงินเฟ้อผ่านระบบการเงินในช่องทางต่างๆ ได้แก่ ช่องทางอัตราดอกเบี้ย ช่องทางสินเชื่อ ช่องทางราคาสินทรัพย์ ช่องทางอัตราแลกเปลี่ยน และช่องทางการคาดการณ์
สถาบันการเงิน
สถาบันการเงินเป็นหน่วยเศรษฐกิจที่ประกอบธุรกิจด้านการเงิน โดยหน้าที่่เป็นตัวกลางเชื่อมระหว่างผู้ออมและผุ้ลงทุน รวมทั้งให้บริการด้านการเงินอื่นๆ ตามกำหมายกำหนด
ธนาคารพาณิชย์การดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยอยู่ภายใต้กำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย เดิม คือการรับฝากเงินประเภทต่างๆ และให้การกู้ยืมทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ซื้อเงินตราต่างประเทศ ซื้อขายตราสารทางการเงิน ให้บริการชำระเงิน โอนเงิน การให้บริการเกี่ยวกับการประกันวินาศภัยและประกันชีวิต เป็นต้น
ธนาคารกลาง หรือธนาคารแห่งประเทศไทยมีฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐที่มีใช้ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ แต่เป้นองค์กรอิสระที่ไม่แสวงผลกำไรและอยุ่ภายใต้การกำกับดูแลของเรื่องการเงินของประเทศ วัตถุประสงค์เพื่อดำรงไว้ซึ่งเสถียรภาพทางการเงิน เสถียรภาพของระบบสถาบันการเงินและระบบสถาบันการเงินและระบบการชำระเงิน
ธนาคารที่มีกฏหมายจัดตั้งเป็นการเฉพาะ เป็นธนาคารที่รัฐบาลจัดตั้งขึ้นทำหน้าที่ช่วยเหลือด้านการเงินหรืแส่งเสริมการดำเนินงานเฉพาะด้านตามนโยบายของรัฐบาล เช่นส่งเสริมให้ประชานรู้จักเก็บออม ช่วยเหลือเกษตรกร ช่วยเหลือประชาชนด้านที่อยู่อาศัย ช่วยเหลือผุ้ประกอบการกิจการขนาดกลางและขนาดย่อม และผุู้ประกอบธุรกิจกับต่างประเทศ
-