Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิด เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ - Coggle Diagram
พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิด
เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
มาตรา
มาตราที่ 5–7
ความผิดเกี่ยวกับการบุกรุก นำวิธีการบุกรุกไปเผยแพร่ การเอาข้อมูลจากเครื่องที่ไม่ได้รับอนุญาต
มาตราที่ 8–9
การดักจับข้อมูล ที่ไม่ใช่ข้อมูลสาธารณะ การทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลงข้อมูล โดยไม่ได้รับอนุญาต
มาตราที่ 10
การทำให้ระบบคอมพิวเตอร์ของคนอื่นทำงานไม่ได้ตามปกติ
มาตราที่ 11
การส่งข้อมูลหรืออีเมลโดยปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งข้อมูล
มาตราที่ 12
หากการกระทําผิดตามมาตราที่ 5 – 11 เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ สาธารณะ เศรษฐกิจของประเทศ หรือโครงสร้างพื้นฐานอันเป็นประโยชน์สาธารณะ
หรือถ้าทำให้ทรัพย์สินของผู้อื่นเสียหาย หรือทําให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย แม้จะไม่ได้ตั้งใจก็ตาม จะได้รับโทษหนักเช่นกัน
มาตราที่ 13
การจำหน่ายและเผยแพร่ชุดคำสั่งเพื่อนำไปกระทำความผิด
มาตราที่ 14 และ 16
การนำเข้าข้อมูลต่อไปนี้เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ เช่น
การโพสต์ การส่งอีเมลข้อมูล
ข้อมูลที่เกี่ยวกับการแก้ไขตัดต่อภาพให้ผู้อื่นเสียชื่อเสียง
ข้อมูลที่บิดเบือน ปลอม เท็จ
ข้อมูลที่เกี่ยวกับความมั่นคงของประเทศ
ข้อมูลลามกที่คนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้
มาตราที่ 15
การสนับสนุนหรือยินยอมให้กระทำความผิด
กับระบบในความดูแลของตนเอง
พ.ร.บ.คอมพิวเตอร หมายถึงอะไร?
พระราชบัญญัติที่ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ซึ่งคอมพิวเตอร์ที่ว่านี้ก็เป็นได้ทั้งคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ โน้ตบุ๊ค สมาร์ตโฟน รวมถึงระบบต่างๆ ที่ถูกควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็น พ.ร.บ. ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อป้องกันและควบคุมการกระทำผิดที่จะเกิดขึ้นได้
จากการใช้คอมพิวเตอร์ หากใครกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์นี้
ก็จะต้องได้รับการลงโทษตามที่ พ.ร.บ. กำหนดไว้
13 ข้อควรรู้เกี่ยวกับ
พ.ร.บ. คอมพิวเตอร
การฝากร้านใน Facebook , IG ถือเป็นสแปม ปรับ 200,000 บาท
การกด Like ไม่ผิด พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ยกเวนการกดไลค์ที่เป็นเรื่อง
ดูหมิ่นสถาบันเสี่ยงเข้าข่ายความผิดมาตรา 112 หรือมีความผิดร่วม
ส่ง Email ขายของ ถือเป็นสแปม ปรับ 200,000 บาท
ส่ง SMS โฆษณา โดยไม่รับความยินยอม ให้ผู้รับสามารถปฏิเสธข้อมูลนั้นได้ ไม่เช่นนั้นถือเป็นสแปม ปรับ 200,000 บาท
กด Share ถือเป็นการเผยแพร่ หากข้อมูลที่แชร์มีผลกระทบต่อผู้อื่น อาจเข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะที่กระทบต่อบุคคลที่ 3
พบข้อมูลผิดกฎหมายอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ของเรา แต่ไม่ใช่สิ่งที่เจ้าของคอมพิวเตอร์กระทำเอง สามารถแจ้งไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบได้
หากแจ้งแล้วลบข้อมูลออกเจ้าของก็จะไม่มีความผิดตามกฎหมาย
สำหรับแอดมินเพจที่เปิดให้มีการแสดงความเห็น เมื่อพบข้อความที่ผิด พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ เมื่อลบออกจากพื้นที่ที่ตนดูแลแล้วจะถือเป็นผู้พ้นผิด
ไม่โพสต์สิ่งลามกอนาจาร ที่ทำให้เกิดการเผยแพร่สู่ประชาชนได้
การโพสเกี่ยวกับเด็ก เยาวชน ต้องปิดบังใบหน้า ยกเว้นเมื่อเป็นการเชิดชู ชื่นชม อย่างให้เกียรติ
การให้ข้อมูลเกี่ยวกับผู้เสียชีวิต ต้องไม่ทำให้เกิดความเสื่อมเสียเชื่อเสียง หรือถูกดูหมิ่น เกลียดชัง
การโพสต์ด่าว่าผู้อื่น ไม่มีข้อมูลจริง หรือถูกตัดต่อ ผู้ถูกกล่าวหา เอาผิดผู้โพสต์ได้ และมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 200,000 บาท
ไม่ทำการละเมิดลิขสิทธิ์ผู้ใด ไม่ว่าข้อความ เพลง รูปภาพ หรือวิดีโอ
ส่งรูปภาพแชร์ของผู้อื่น เช่น สวัสดี อวยพร ไม่ผิด ถ้าไม่เอาภาพไปใช้ในเชิงพาณิชย์ หารายได้
วัตถุประสงค์ของ พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์
ต้องการให้มีการบันทึกข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ต่อการแกะรอย ผู้กระทำผิดบนอินเตอร์เน็ตคือสิ่งเดียวที่จะพิสูจน์การบุกรุก การโจมตี การขโมยต่างๆได้ และจะเป็นสิ่งที่ผู้รักษากฎหมายจะใช้ในการสืบสวนและสอบสวนหาผู้กระทำความผิด
มาลงโทษ