Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรับผิดเพื่อละเมิดในการกระทำของตนเอง, ละเมิดโดยการหมิ่นประมาท…
ความรับผิดเพื่อละเมิดในการกระทำของตนเอง
มาตรา 420 ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดีทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิดจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น
ผู้ใด หมายความว่า ต้องมาจากการกระทำของมนุษย์ สัตว์ไม่สามารถก่อให้เกิดการกระทำละเมิดได้ มนุษย์รวมถึงบุคคลธรรมดา นิติบุคคล ผู้เยาว์ บุคคลวิกลจริต ตามมาตรา429
การกระทำ ต้องมีความเคลื่อนไหวในอิริยาบถโดยรู้สำนึกในความเคลื่อนไหวเเต่มีความเคลื่อนไหวในอิริยาบถย่อมพอไม่เป็นการกระทำบุคคลที่เคลื่อนไหวจะต้องรู้สึกในความเลื่อนไหวของตนด้วยจะเรียกว่ามีการกระทำหรือมีความรู้สึกสำนึกที่ได้กระทำลงไป
มาตรา 429 บุคคลใดแม้ไร้ความสามารถเพราะเหตุเป็นผู้เยาว์หรือวิกลจริตก็ยังต้องรับผิดในผลที่ตนทำละเมิด บิดามารดาหรือผู้อนุบาลของบุคคลเช่นว่านี้ย่อมต้องรับผิดร่วมกับเขาด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลซึ่งทำอยู่นั้น
เด็กไร้เดียงสาหรือบุคคลวิกลจริตไม่รู้ว่าตนได้ทำอะไรลงไปหรือไม่มีความเคลื่อนไหวโดยรู้สำนึกจะถือว่าไม่มีการกระทำเเต่ถ้าผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริตรู้สำนึกในความเคลื่อนไหวของตนในการกระทำละเมิดก็ต้องรับผิดชอบตามมาตรา420เเละมาตรา429
เช่น เจฟ ยกเเก้วน้ำขึ้นดื่ม ย่อมเป็นการกระทำ เจฟรู้สำนึกในความเคลื่อนไหวของตน
บุคคลที่ป่วยหรือวิกลจริตหรือเมาสุราไม่ถึงที่ไม่มีสติหรือไม่รู้สึกตนที่ว่าทำอะไรลงไปถือว่ามีความเคลื่อนไหวก็ย่อมมีการกระทำ
การงดเว้นไม่กระทำ เป็นการงดเว้นหรือละเว้นไม่กระทำการที่มีหน้าที่ต้องทำ
หน้าที่ตามกฎหมาย
สามีภริยามีหน้าที่ต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกัน ตามมาตรา 1461
บุตรจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา ตามมาตรา 1563 บิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์หรือบุตรที่บรรลุนิติภาวะเเล้วเเต่ทุพพลภาพเเละหาเลี้ยงตัวเองมิได้ ตามมาตรา 1564 หากไม่อุปการะเลี้ยงดูผู้มีสิทธิได้ที่รับการอุปการะเลี้ยงดูเเล้วทำให้เกิดความเสียหายจึงเป็นการกระทำละเมิดซึ่งเกิดจากการงดเว้นการกระทำของผู้มีหน้าที่ เเต่หากการงดเว้นไม่กระทำในสิ่งที่กฎหมายไม่ได้บัญญัติให้กระทำการย่อมถือว่าไม่มีหน้าที่จึงไม่เป็นการกระทำละเมิด
หน้าที่ตามสัญญา หมายความว่า หน้าที่ตามสัญญาที่ตามกฎหมายสัญญาที่ใช้บังคับกันจึงเป็นกฎหมายระหว่างคู่สัญญา เพื่อจะแสดงให้เห็นความชัดเจนในสัญญา เช่น สัญญาจ้างเเพทย์รักษาโรค เเต่แพทย์ไม่ปฎิบัติหน้าที่ตามสัญญาคือการไม่ยอมรักษา จึงทำให้เกิดความเสียหายเเก่ตัวเขา ซึ่งเป็นการงดเว้นเเละผิดทั้งสัญญาเเละละเมิด
หน้าที่เกิดจากความสัมพันธ์ทางข้อเท็จจริงที่มีอยู่ระหว่างผู้งดเว้นกับผู้เสียหาย บุคคลที่อยู่ในฐานะอันสามารถควบคุมสิ่งของหรือบุคคลใดที่มีหน้าที่ให้ความปลอดภัยเเก่บุุคคลอื่น ก็ต้องทำตามหน้าที่ตามสมควรเพื่อความปลอดภัยของผู้อื่น เช่น แขกผู้คุ้นเคยมาเยี่ยม เจ้าของบ้านก็ต้องจัดเก้าอี้ที่เเขกจะนั่งให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยไม่ชำรุดเพื่อต้อนรับเเขก หน้าที่อันเป็นผลมาจากฐานะทางข้อเท็จจริงซึ่งจำเลยหรือผู้งดเว้นได้ก่อขึ้น เช่น แพทย์ประจำโรงพยาบาลระหว่างเดินทางกลับบ้านเห็นผู้ป่วยก็เข้าช่วยเหลือรักษาพยาบาลอันมิใช่หน้าที่ตามกฎหมายหรือตามสัญญา หากงดเว้นไม่ทำหน้าที่ก็ถือว่าเป็นการงดเว้นไม่กระทำ
การกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ
จงใจ หมายความว่า รู้สึกในผลที่จะเกิดขึ้นหรือรู้สำนึกถึงผลเสียหายเเละมีความเคลื่อนไหวที่รู้สำนึกที่เกิดจากการกระทำของตน เช่น มาย ยกเเก้วน้ำขึ้นดื่มย่อมเป็นการกระทำ เเต่หาก มาย ยกเเก้วน้ำขึ้นราดบนศีรษะของตะวันจึงเป็นการที่มาย กระทำลงไปโดยรู้สำนึกถึงผลเสียหายที่จะเกิดขึ้นเเก่ตะวันจากการกระทำของตน
หรือการกระทำโดยผิดหลงหรือพลั้งพลาดหรือการเข้าใจโดยสุจริต การเข้าใจผิดในข้อเท็จจริงถือว่าไม่จงใจ ส่วนโดยสุจริต ไม่ได้รู้สึกว่าจะเกิดผลเสียหายเเก่ผู้อื่น
เช่น หนังสือของบิวเเละไบเบิ้ลวางอยู้ใกล้ชิดกันบิวเผลอหยิบเอาหนังสือของ
ไบเบิ้ลไปเป็นของตนบิวจึงมิได้กระทำโดยจงใจ
ประมาทเลินเล่อ หมายความว่า ไม่จงใจ เเต่ไม่ใช้ความระมัดระวังตามสมควรที่จะใช้รวมถึงในลักษณะที่บุคคลผู้มีความระมัดระวังจะไม่กระทำด้วย เเต่หากเป็นกรณีที่เป็นการจงใจก็ย่อมบังคับในลักษณะจงใจ ตามกฎหมายของระดับวิญญูชน
การกระทำโดยผิดกฎหมาย
ความรับผิดฐานละเมิดไม่จำต้องมีกฎหมายบัญญัติโดยชัดเเจ้งว่าการกระทำอันใดถือว่าเป็นการกระทำผิดกฎหมาย
คำว่า โดยผิดกฎหมาย ตามมาตรา 420 มีความหมายเพียงว่า มิชอบด้วยกฎหมาย ตามมาตรา 421 ถ้าได้กระทำโดยไม่มีสิทธิหรือข้อเเก้ตัวตามกฎหมายให้ทำได้เเล้วก็ถือว่าเป็นการกระทำโดยผิดกฎหมาย
การใช้สิทธิซึ่งมีเเต่จะให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น
ตามมาตรา 421 การใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดเสียหายแก่บุคคลอื่นนั้นท่านว่าเป็นการอันมิชอบด้วยกฎหมาย ขยายของคำว่า โดยผิดกฎหมาย ในมาตรา 420 กล่าวคือ คำว่า มิชอบด้วยกฎหมาย ตามมาตรา 421 หมายถึง โดยผิดกฎหมาย จะทำโดยมีสิทธิแต่ถ้าใช้สิทธิในลักษณะทำให้เกิดความเสียหายเเก่บุคคลอื่นก็ถือว่าเป็นอันมิชอบด้วยกฎหมายหรือกระทำผิดตามกฎหมาย
การกระทำฝ่าฝืนบทบังคับแห่งกฎหมาย
มาตรา 422 ถ้าความเสียหายเกิดแต่การฝ่าฝืนบทบังคับแห่งกฎหมายใดอันมีที่ประสงค์ เพื่อจะปกป้องบุคคลอื่น ๆ ผู้ใดทำการฝ่าฝืนเช่นนั้น ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้นั้นเป็นผู้ผิด ตามมาตรา 420 ที่ว่าการกระทำโดยผิดหมายจงใจหรือประมาทเลินเล่อสันนิษฐานได้ตามมาตรา 422 คือ ได้มีความเสียหายเป็นผลมาจากการกระทำที่ฝ่าฝืนกฎหมาย
ถ้ากระทำโดยมีสิทธิตามกฎหมาย ผู้กระทำมีอำนาจทำได้เเม้จะเกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นก็ไม่เป็นผิดกฎหมาย
ก.สิทธิของบิดามารดาที่ทำโทษบุตรตามสมควรเพื่อว่ากล่าวสั่งสอน
ข.ครูบาอาจารย์ที่จะทำโทษศิษย์ตามสมควร
ค.เจ้าพนักงานมีอำนาจจับผู้ต้องหาว่าได้กระทำผิดหรือประหารชีวิตนักโทษหรือริบของกลาง
ง.การใช้สิทธิตามสัญญา
จ.การกระทำโดยอาศัยอำนาจตามคำพิพากษา
ความยินยอมไม่ทำให้เป็นละเมิด
หมายความว่า บุคคลซึ่งยอมต่อการกระทำอย่างหนึ่งหรือบุคคลที่เข้าเสี่ยงภัยยอมรับความเสียหายที่จะฟ้องคดีเกี่ยวกับการกระทำนั้นมิได้ เเละความยินยอมทำให้ผู้กระทำความเสียหายไม่ต้องรับผิดสำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้น ถือว่าไม่มีการกระทำละเมิดเกิดขึ้น
เช่นฎ. 714/2512 โจทก์ยินยอมให้จำเลยกับพวกเปิดคันดินกั้นน้ำในครองซึ่งเป็นทางน้ำสาธารณะหรือทำให้คันดินไม่อยู่ในสภาพกักเก็บน้ำและระบายน้ำเข้านาโจทก์ได้แม้ทำให้ข้าวในนาโจทก์เสียหายก็ไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์
การกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายเเก่บุคคลอื่น
จะต้องมีความเสียหายเกิดขึ้น ถ้ายังไม่มีความเสียหายเกิดขึ้น ก็ถือว่ายังไม่มีการละเมิด
มีความเสียหายต่อสิทธิ
หมายถึง ความเสียหายเเก่สิทธิของบุคคลทั้งสิ้น เพราะบุคคลย่อมมีสิทธิในชีวิต ร่างกาย อนามัย เสรีภาพ เเละทรัพย์สิน ตามมาตรา 420 ที่บัญญัติไว้
ลักษณะเเห่งสิทธิ
สิทธิ หมายความว่า ประโยชน์ที่บุคคลมีอยู่เเละบุคคลอื่นมีหน้าที่ต้องเคารพ
ความเสียหายที่คำนวณเป็นตัวเงินได้เเละไม่อาจคำนวณเป็นตัวเงินได้
หมายความว่า บิ๊กทำร้ายร่างกายบาส บาสต้องเสียค่าพาหนะในการไปโรงพยาบาลตลอดจนค่ารักษาพยาบาลหรือการที่บาสทำงานไม่ได้ เป็นสูญเสียความสามารถประกอบการงานในภายหน้า ตามมาตรา 444 จึงเป็นความเสียหายที่คำนวณเป็นตัวเงินได้ เเต่เมื่อบาดแผลหายเเล้วมีรอยเเผลเป็นอยู่ ย่อมเป็นความเสียหายอันคำนวณเป็นตัวเงินไม่ได้ ตามมาตรา 446
ค่าสินไหมทดแทน ม.438 ค่าสินไหมทดแทนจะพึงใช้โดยสถานใดเพียงใดนั้น ให้ศาลวินิจฉัยตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด
วรรคสอง อนึ่งค่าสินไหมทดแทนนั้น ได้แก่การคืนทรัพย์สินอันผู้เสียหายต้องเสียไปเพราะละเมิดฤาใช้ราคาทรัพย์สินนั้น รวมทั้งค่าเสียหายอันจะพึงบังคับให้ใช้เพื่อความเสียหายอย่าใด ๆ อันได้ก่อขึ้นนั้นด้วย
การใช้ค่าสินไหมทดแทนต้องไม่นำไปปะปนกับการคำนวณความเสียหาย
ละเมิดไม่ใช้ทฤษฎีมูลเหตุเหมาะสม เนื่องจากผู้ละเมิดย่อมมีขอบเขตจำกัดอยู่เฉพาะที่เกิดจากความรับผิดของผู้กระทำนั้น คือ ความเสียหายเกิดขึ้นโดยผิดกฎหมายโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ เมื่อผู้กระทำละเมิดก่อความเสียหายเเม้เป็นผลที่ตนไม่อาจคาดหายได้ก็ตามเมื่อเป็นผลมาจากกระทำของตนเเล้ว ผู้กระทำละเมิดก็ต้องรับผิดในกรณีที่ใช้ทฤษฎีความเท่ากันหรือทฤษฎีเงื่อนไข อาจไม่ธรรม จึงใช้ ม.438 442 222 อย่างไรก็ดีเเม้จะไม่มีส่วนผิดเเต่ศาลวินัจฉัยยังให้ใช้ค่าสินไหมทดแทนได้ตามพฤติการณ์ เเละความร้ายเเรงเเห่งละเมิด
ทฤษฎีมูลเหตุเหมาะสม
เหตุทั้งหลายที่ก่อให้ผลเกิดขึ้นนั้น ผู้กระทำจะต้องรับความผิด
เฉพาะเเต่เหตุที่ตามปกติย่อมให้เช่นว่านั้นที่ผู้กระทำจะต้องรับผิด
เช่น ก ย่อมไม่ทราบว่า ข มีโรคร้ายประจำตัว ถ้าทำร้ายเช่นนั้น ข อาจได้รับอันตรายถึงตายได้ ก จึงต้องรับผิดเฉพาะ
ทฤษฎีความเท่ากันเเห่งเหตุหรือทฤษฎีเงื่อนไข
หากไม่มีการกระทำผลของการกระทำก็จะไม่เกิดขึ้น เเต่หากผู้นั้นกระทำลงไปแล้ว ผู้นั้นก็ต้องรับผิดโดยไม่ต้องคำนึงถึงว่ายังมีเหตุอื่นที่ก่อให้เกิดความเสียหาย ถือว่าเหตุทุกๆเหตุมีน้ำหนักเท่ากัน เเต่จะมีเกิดเหตุบางประการเท่านั้นที่ไม่ก่อให้ผลนั้นขึ้น เพราะถ้าไม่มีเหตุทุกๆประการเข้าด้วยกันผลก็ย่อมไม่เกิดขึ้น
เช่น ก ทำร้ายร่างกาย ข โดยเตะที่ท้องเบาๆ เเต่ปรากฎว่า ข มีโรคร้ายประจำตัว ซึ่งถ้าหากถูกกระทบกระเทือนอย่างเเรง ข อาจตายได้ เเต่ ก ไม่ทราบมาก่อน ข ถึงเเก่ความตาย ดังนี้ ความตาย ข เป็นผลมาจากการกระทำของ ก เเม้ ก จะไม่รู้ว่า ข เป็นโรคดังว่านั้น คิดแต่เพียงว่า ข อาจได้รับบาดเจ็บเล็กน้อยเท่านั้น เเต่ ก ก็ต้องรับผิดในความตายของ ข
ความเสียหายนั้นเป็นผลมาจากการกระทำของผู้ทำเสียหาย
ทฤษฎีที่ถือว่าสำคัญ 2 ทฤษฎี
ละเมิดโดยการหมิ่นประมาท การพิพากพากษาคดี เเละการร่วมกันทำละเมิด
การร่วมกันทำละเมิด
มาตรา 432 บัญญัติไว้ต่อจากมาตรา 425-427 อาจจะเข้าใจตามบทบัญญัติว่าด้วยความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่นเช่นเดียวกับมาตรา 425 429 และ 430 ซึ่งความจริงไม่ใช่เช่นนั้น การร่วมกันทำละเมิดย่อมเป็นความรับผิดในการกระทำของตนตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 420
การร่วมกันทำละเมิดเป็นเรื่องที่บุคคลหลายคนร่วมกันทำละเมิด ไม่ใช่เรื่องที่ใช้บุคคลเป็นเครื่องมือกระทำละเมิด เช่น ก วาน ข ให้เอาห่อวัตถุระเบิดไปส่งให้ ค โดยที่ ข ไม่ทราบว่าเป็นห่อวัตถุระเบิด วัตถุระเบิดเกิดระเบิดขึ้น ค ได้รับบาดเจ็บสาหัส ดังนี้ เป็นเรื่องของ ก ที่กระทำละเมิดตามาตรา 420 โดยใช้ ข เป็นเครื่องมือ ข มิได้กระทำละเมิดด้วย เเม้ ข จะมีการกระทำ เเต่ก็มิได้รู้ว่าจะเกิดความเสียหายเเก่ ค จึงไม่จงใจเเละไม่มีเจตนาหรือความมุ่งหมายร่วมกันกับ ก เเต่ประการใด ไม่ใช่กรณีที่ ก กระทำละเมิดร่วมกับ ข ไม่อาจบังคับกันได้ตามมาตรา 432
กรณีกระทำละเมิดร่วมกันอันบังคับกันได้ตามมาตรา 432 นั้น เป็นการร่วมกันทำละเมิดเเล้ว บุคคลที่ร่วมกันจะต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายนั้น เเม้กรณีที่ไม่สามารถรู้ตัวได้เเน่ว่าผู้ที่ร่วมกันทำละเมิดนั้นใครเป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหายนั้น เเต่ถ้าหากไม่ใช่กรณีการร่วมกันทำละเมิด คือต่างคนต่างทำเเละมีความเสียหาย ก็ต้องรับผิดในผลที่เเต่ละคนได้ก่อขึ้น
การร่วมกันทำละเมิดต้องเป็นกระทำโดยมีเจตนาหรือความมุ่งหมายร่วมกัน เเละจะต้องมีการกระทำร่วมกันเพื่อความมุ่งหมายร่วมกันด้วย ไม่ใช่ต่างคนต่างมีเจตนาหรือความมุ่งหมายของตนเองหรือต่างคนต่างกระทำเท่านั้น
เช่นฎ. 767/2478 ผู้ที่ยักยอกทรัพย์ของโจทก์ไปขายกับผู้ที่รับซื้อทรัพย์ของโจทก์ไว้ต้องร่วมกันรับผิดฐานละเมิดต่อโจทก์
การพิพากษาคดี
มาตรา 424 ในการพิพากษาคดีข้อความรับผิดเพื่อละเมิดและกำหนดค่าสินไหมทดแทนนั้น ท่านว่าศาลไม่จำต้องดำเนินตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายลักษณะอาญาอันว่าด้วยการที่จะต้องรับโทษ และไม่จำต้องพิเคราะห์ถึงการที่ผู้กระทำผิดต้องคำพิพากษาลงโทษทางอาญาหรือไม่
การที่จะต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนนั้น ต้องมีการกระทำละเมิดเกิดขึ้นเเล้ว หากไม่มีการกระทำละเมิดก็ต้องจ่าย
เช่น ฎ.256/2490 คดีอาญาศาลพิพากษาว่าจำเลยมิได้ฉ้อโกงโจทก์โดยฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยบังคับให้โจทก์ขายผ้าให้จำเลยโดยอำนาจตามประกาศควบคุมการขายผ้า เเต่จำเลยไม่รู้ว่าได้มีประกาศยกเลิกการควบคุมผ้าแล้วจึงยกฟ้องโจทก์ ดังนั้น โจทก์ก็ยังมีสิทธิเรียกค่าเสียหายฐานละเมิดได้เพราะการกระทำเช่นนั้นถือได้ว่าจำเลยทำให้โจทก์เสียหาย
ละเมิดโดยการหมิ่นประมาท
มาตรา 423 บัญญัติว่าการกระทำต่อบุคคลอื่นให้เขาเสียหายในสิทธิ
การกล่าวหรือไขข่าวเเพร่หลาย หมายถึง การเเสดงข้อความใดๆ ให้บุคคลที่สามได้ทราบ จะเป็นด้วยถ้อยคำพูด คำที่เขียน ด้วยกิริยาอาการหรือวิธีอื่น อาจเป็นการกระทำโดยการโฆษณาด้วยเอกสาร ภาพวาด ภาพระบายสี ภาพยนตร์ ตัวอักษร การกล่าวหรือไขข่าวไม่จำกัดว่าต้องเป็นจงใจหรือประมาทเลินเล่อ เเม้ไม่ตั้งใจให้เป็นการเสียหายเเก่ชื่อเสียงหรือเพื่อการตลกขบขันนั้นก็ไม่อาจเป็นข้อเเก้ตัวได้
ฎ.939-940/2478 ห้างหุ้นส่วนยังไม่เลิกกัน จำเลยซึ่งเป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งประกาศทางหนังสือพิมพ์ว่าเลิกกันแล้วทำให้โจทก์ซึ่งเป็นหุ้นส่วนอีกคนหนึ่งเสียหาย จำเลยต้องรับผิดตามมาตรา 423