Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
วัตถุเเห่งหนี้💵 ม.208,ม.194, หน้าที่ในการชำระหนี้ - Coggle Diagram
วัตถุเเห่งหนี้💵 ม.208,ม.194
หนี้กระทำการ
เป็นหนี้ที่ลูกหนี้ต้องทำการงานอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างเเก่เจ้าหนี้ (หนี้กระทำการมีได้ทั้งมูลหนี้จากสัญญาเเละมูลหนี้ละเมิด)
ตัวอย่าง
หญิงรับจ้างทำความสะอาดบ้านให้เเก่นางสมศรี หญิงจึงเป็นลูกหนี้ต้องทำการทำความสะอาดบ้านให้เเก่นางสมศรี
วัตถุเเห่งหนี้ : การทำความสะอาดบ้าน ซึ่งเป็นหนี้กระทำการ
👩🏻➡️🧹🏠➡️🧑🏻🦳
-
หนี้ส่งมอบทรัพย์สิน
วัตถุเเห่งหนี้เป็นการส่งมอบทรัพย์สินนั้นหมายถึงหนี้ที่ลูกหนี้มีหน้าที่ต้องส่งมอบทรัพย์สินเเก่เจ้าหนี้ (การเอาทรัพย์สินไปอยู่ในการครอบครองของเจ้าหนี้)
ตัวอย่าง
นายเเดงทำสัญญาขายรถจักรยานให้กับนางฟ้า นายเเดงเป็นลูกหนี้จะต้องส่งมอบรถจักรยานให้เเก่นางฟ้า
วัตถุเเห่งหนี้ : การส่งมอบรถจักรยาน
🧑🏻🦰➡️🚲➡️ 👱🏻♀️
หน้าที่ในการชำระหนี้
หน้าที่ชำระหนี้ให้ถูกต้อง ม.215,ม.208
-
-
-
-
การผิดนัดไม่ชำระหนี้
ผลของการผิดนัดของลูกหนี้
- เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดจากการนั้นได้ (ม.215)
- ถ้าโดยเหตุที่ผิดนัดนั้น ทำให้การชำระหนี้กลายเป็นอันไร้ประโยชน์แก่เจ้าหนี้ เจ้าหนี้มีสิทธิที่จะบอกปัดไม้ รับการชำระหนี้นั้น และมีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อการไม่ชำระหนี้ได้ (ม. 216)
- ลูกหนี้จะต้องรับผิดชอบในความเสียหายบรรดาที่เกิดแต่ความประมาทเลินเล่อในระหว่างที่ตนผิดนัด ทั้ง จะต้องรับผิดชอบในการที่การชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยเพราะอุบัติเหตุอันเกิดขึ้นในระหว่างผิดนัดด้วย เว้นแต่ความ เสียหายนั้นถึงอย่างไรก็จะเกิดมีขึ้นอยู่ดีถึงแม้ว่าตนจะได้ชำระหนี้ทันกำหนดเวลา (ม.217)
4.ในระหว่างผิดนัด ถ้าไม่มีการกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ในกรณีของหนี้งินให้คิดดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี (ม. 224) ข้อแก้ตัวของลูกหนี้ ถ้าการชำระหนี้นั้นยังมีได้กระทำลง เพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งลูกหนี้ไม่ต้อง รับผิดซอบ ลูกหนี้ก็ยังหาได้ชื่อว่าเป็นผู้ผิดนัด (ม.205)
ข้อยกเว้นลูกหนี้ผิดนัด (ม.205 ) มีพฤติการณ์ที่ลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบ
- เหตุสุดวิสัย
- เป็นความผิดของเจ้าหนี้เอง
การผิดนัด (ลูกหนี้)
- ถ้าลูกหนี้ได้ขอปฏิบัติการชำระหนี้ และเจ้าหนี้ไม่รับชำระหนี้นั้น โดยปราศจากมูลเหตุอันจะอ้างกฎหมายได้ เจ้าหนี้ตกเป็นผู้ผิดนัด (ม.207)
- ในกรณีของสัญญาต่างตอบแทน ซึ่งลูกหนี้จะต้องชำระหนี้ส่วนของตนต่อเมือเจ้าหนี้ชำระหนี้ตอบแทนด้วย นั้น ถึงแม้ว่าเจ้าหนี้จะได้เตรียมพร้อมที่จะรับชำระหนี้ตามที่ลูกหนี้ขอปฏิบัติการชำระหนี้ก็ตาม แต่ถ้าเจ้าหนี้ไม่เสนอที่ จะทำการชำระหนี้ตอบแทนตามที่พึงต้องทำแล้ว เจ้าหนี้ก็เป็นอันได้ชื่อว่าผิดนัด (ม. 210)
- เหตุแห่งความผิดนัดในข้อนี้ เนื่องมาจากหนี้อันเกิดจากสัญญาต่างตอบแทนซึ่งมีลักษณะที่คู่สัญญา ฝ่ายหนึ่งจะไม่ยอมชำระหนี้จนกว่าอีกฝ่ายหนึ่งจะชำระหนี้หรือขอปฏิบัติการชำระหนี้ก็ได้ (ม.369)
การควบคุมกองทรัพย์สินของลูกหนี้ ทำได้ 2 วิธีคือ การใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ และการเพิกถอน การฉ้อฉล
การใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้เจ้าหนี้จะใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ในนามของตนเองได้เมื่อเจ้าหนี้จะต้องเสียประโยชน์เพราะลูกหนี้ไม่ใช้สิทธิเรียกร้องของตน
กำหนดเวลาชำระหนี้
กำหนดชำระหนี้ ถ้าเป็นกรณีที่คู่กรณีไม่ได้ตกลงกำหนดเวลาชำระหนี้ไว้แน่นอนแล้ว กฎหมาย ถือว่า หนี้นั้นถึงกำหนดชำระโดยพลัน (ม. 203)
-
-
-