Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Musculoskeletal Disorders, 63472453 นางสาวพรนัชชา จิ๋วน้อย sec.3 No.35…
Musculoskeletal Disorders
ARTHRALGIA (join pain : ปวดข้อ)
ตน.และจน.ที่ปวดข้อจะบอกโรคที่เป็น
Arthralgia : ปวดข้อ แต่ไม่มีอาการของการอักเสบ
Arthritis : ข้ออักเสบ ปวด บวม ร้อน รอบๆข้อ และกดเจ็บตามแนวข้อ
ตรวจพบน้ำในข้อ ผู้ป่วยจะไม่ค่อยขยับเพราะจะเจ็บเมื่อขยับ
Periarticular inflammation : การอักเสบของโครงสร้างรอบข้อ
เช่น เอ็นอักเสบ จะบวมแดงและเมื่อกดจะเจ็บแต่ไม่พบน้ำในข้อ
การหาสาเหตุ : ต้องแยกว่าเป็นชนิดไหน มี 2 แบบ / แบบละ 2 วิธี
1
ชนิดเฉียบพลัน เป็นน้อยกว่า 6 สัปดาห์
ชนิดเรื้อรัง เป็นมากกว่า 6 สัปดาห์
2
ชนิดอักเสบข้อเดียว (monoarthritis)
ชนิดอักเสบหลายข้อ (polyarthritis)
ACUTE
MONOARTHRITIS
Septic Arthritis
: ต้องRefer. เพราะคนไข้ต้องได้รับการฉีดยาฆ่าเชื้อต่อเนื่องนาน 1 เดือนขึ้นไป อาการจะมีไข้หนาวสั่น เกิดการอักเสบเร็ว ปวด บวม แดง ร้อนชัดเจน ปวดมากและปวดรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ มักเป็นตามข้อใหญ่ ๆ (ข้อเข่า ข้อศอก) เป็นในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันผิดปกติ ผู้ใช้ยาเสพติดเข้าเส้น ผู้ป่วยที่เปลี่ยนข้อเทียม
Gout
: เกิดอาการข้ออักเสบเร็ว มีประวัติเป็น ๆ หาย ๆ เป็นที่ข้อนิ้วโป้งเท้า ข้อเท้า ข้อเข่า
มักเป็นในผู้ชายอายุ 30-40 ปี ซึ่งสุรา อาหารที่มียูริกสูงและยาขับปัสสาวะอาจเป็นสิ่งกระตุ้นให้เกิดการอักเสบได้
Pseudo Gout
: เป็นตัวแคลเซียมไพโรฟอสเฟตไดไฮเดรต (calcium pyrophosphate dihydrateหรือ CPPD) มาสะสม จะไม่ค่อยแสดงอาการปวดเหมือน Gout
Traumatic Arthritis
POLYARTHRITIS
Septic Arthritis จาก Neisseria gonorrrhoeae
: มีไข้ ปวดข้อ ผื่นขึ้น เอ็นอักเสบ มักเป็นข้อใหญ่ ๆ (ไม่ค่อยเจอบ่อย)
SLE : โรคแพ้ภูมิตัวเอง
: ปวดข้อ มีผื่นแดง ๆ ที่หน้า แล้วก็มีอาการเกี่ยวกับระบบต่าง ๆ ร่วมด้วย
Acute rheumatic fever
: มีไข้ ปวดตามข้อใหญ่และข้อที่อักเสบจะย้ายไปข้ออื่นได้ (migratory) มักเป็นในเด็กโตและวัยรุ่น เป็นน้อยกว่า 6 สัปดาห์ หายเองได้ ถ้าไม่มั่นใจสามารถRefer. ไปรพ.ได้
Psoriatic Arthritis : สะเก็ดเงิน
: เป็นผื่นแดง นูนหนา ขอบเขตชัดเจน มีขุยหรือสะเก็ดคล้ายสีเงินขึ้นพร้อม ๆ กับอาการปวดข้อ
CHRONIC
MONOARTHRITIS
TB Arthritis
: มีประวัติเป็น TB มาก่อนและเริ่มปวดข้อ มีไข้และมักเป็นที่เข่า (เจอไม่ค่อยบ่อย)
Osteoarthritis : ข้อเข่าเสื่อม
POLYARTHRITIS
Rheumatoid Arthritis
: ตื่นเช้ามาข้ออักเสบเรื้อรังปวดทั้งสองข้าง มักเป็นข้อเล็ก ๆ เป็นนาน 30 นาที-1 ชม.หลังตื่น มักเป็นในผู้หญิงวัยกลางคน
OSTEOARTHRITIS OF KNEE : โรคข้อเข่าเสื่อม
อาการ
: มักเป็นข้อใหญ่ๆข้อเดียว กว่าจะนึกได้ติดๆขัดๆ ข้อฝืด มักเป็นตอนเช้าอาจพบการบวมของข้อกระดูกที่ผิดรูปหรือขาโก่งโค้ง เดินไม่สะดวก ตอนยืดขางอขาจะได้ยินเสียงกรอบแกรบ (crepitus) ในข้อเข่า
การตรวจ
: ดู BMI, การอักเสบ, บวมแดงร้อน, ฟังเสียงcrepitus, การเคลื่อไหว Range of Motion ซึ่งโดยปกติจะเหยียดและงอขาได้ตั้งแต่ 0°-135° และถ้าในรพ.จะสามารถ X-Ray ดูได้ ถ้าผิดปกติจะเริ่มมีการฟอกของข้อเข่าและมีช่องว่างที่แคบลง
การรักษา
: การให้ยา สามารถให้ยาแก้ปวดที่มีอยู่ได้(รักษาตามอาการโรคเพื่อบรรเทาอาการปวด) คนไข้ที่เจอส่วนใหญ่ไม่ค่อยเข้ารับการผ่าตัด สิ่งที่ควรทำคือการแก้ไขสภาพแวดล้อมที่อยู๋อาศัยของคนไข้ เพื่อป้องกันไม่ให้มาเป็นปัจจัยกระตุ้นที่จะทำให้คนไข้ปวดมากขึ้น เช่น ไม่แนะนำให้เดินขึ้นบันได การปรับระดับพื้น การปรับส้วมเป็นแบบนั่งห้อยขาแทน และฟื้นฟูสภาพจิตใจคนไข้
BACK PAIN
โรคที่พบบ่อย
Back Muscle Strain (กล้ามเนื้อหลังอักเสบ) : ปวดตึงกล้ามเนื้อ และปวดมากเมื่อกล้ามเนื้อหลังมีการยืดหรือหดตัว
Lumbar Spondylosis (กระดูกสันกลังเสื่อม): ปวดร้าวลงขา อาจมีอาการขาอ่อนแรง มักพบในผู้สูงอายุ จะเป็น ๆ หาย ๆ
HPN (หมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อน): อาจไปทับเส้นประสาทคนไข้จะมีปัญหาเรื่องการขับถ่ายได้ด้วย ปวดร้าวไปที่ก้นหรือขา
เกิดจากการยกของหนัก และจะปวดมากเมื่อยืนหรือเดิน
Spinal Canal Stenosis (โพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ): มักพบในผู้สูงอายุ เกิดจากการทำงานหรือนน.เยอะ
ช่องว่างระหว่างกระดูกสันหลังจะแคบลงและถ้าเอนไปข้างใดข้างหนึ่งอาจทำให้ปวดร้าวไปขาข้างนั้นได้
จะปวดบริเวณขาน้อยกว่าหลัง เมื่อแอ่นหลังจะปวดมาก
Lumbar Spondylolisthesis (กระดูกสันหลังเคลื่อน): มีการแอ่นตัวของกระดูกสันหลังเคลื่อนไปอยู่ในตำแหน่งที่ผิดที่
จะปวดร้าวไปที่ขา รู้สึกไม่มั่นคง ปวดมากเมื่อเปลี่ยนท่าจากก้มไปแอ่นหลัง
อาการปวดหลังทั่วไปที่คนธรรมดาเป็น
Radicular Pain or Sciatica : อาการปวดหลังที่มีอาการปวดร้าวลงขาร่วมด้วย
จะเป็นการปวดชา แปล๊บ ๆ ร้าวลงขา
Spinal Canal Stenosis : อาการปวดหลังร่วมกับภาวะของเส้นประสาทหรือระบบประสาท (Neurogenic claudication) มักพบในผู้สูงอายุ ผู้ป่วยที่มีการตีบแคบของโพรงกระดูกสันหลัง
HERNIATED NUCLEUS PULPOSUS : HNP
(หมอนรองกระดูกเคลื่อน)
เกิดจากการแตกของหมอนรองกระดูกสันหลังจนทำให้น้ำในหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนออกมากดทับเส้นประสาท
อาการ
: จะปวดหลังร้าวลงขาข้างใดข้างหนึ่ง อาจมีปัสสาวะไม่ออก ท้องผูกร่วมด้วยได้ จำเป็นต้องรีบรักษา
สาเหตุ
: การยกของหนัก การเสื่อมของหมอนรองกระดูกสันหลัง อุบัติเหตุ
จะตรวจโดย Steaight leg raising test โดยให้ผู้ป่วยนอนหงายและยกขาผู้ป่วยขึ้น 90° ถ้าผิดปกติหรือเป็นโรคจะไม่สามารถยกได้ถึง 90°
วิธีการรักษา
: ให้ยาแก้ปวด นอนพัก ให้ยาคลายกล้ามเนื้อ กายภาพบำบัด แต่ถ้ามีปัญหาเรื่องขับถ่ายร่วมด้วยต้องผ่ตัดอย่างเดียว
ข้อบ่งชี้ในการผ่าตัด
ผู้ป่วยปวดรุนแรงมากรักษาด้วยวิธีไม่ผ่าตัดอย่างน้อย 4 สัปดาห์
แต่ยังไม่ดีขึ้นและรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันมาก
มีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ
มีอาการ Cauda equina syndrome (มีปัญหาในการขับถ่าย กลั้นไม่ได้)
DEGENERATIVE CHANGES
(กระดูกสันหลังและหมอนรองกระดูกเสื่อม)
มี 2 ชนิด
Lumbar spondylosis : เป็นการเสื่อมของกระดูกสันหลังและหมอนรองกระดูก
ตามอายุที่มากขึ้นและตามการใช้งานของกระดูกสันหลัง
Lumbar spondylolisthesis : เป็นการเคลื่อนของกระดูกสันหลังที่ไปด้านหลังหรือหลังมากผิดปกติ
การวินิจฉัย (ซักประวัติ เขียนใบRefer. ส่งรพ.)
Plain film L-S spine
MRI
CT scan
การรักษา : 90% จะดีขึ้นได้โดยไม่ต้องผ่าตัด
ข้อบ่งชี้ในการผ่าตัด
ผู้ป่วยปวดรุนแรงมากรักษาด้วยวิธีไม่ผ่าตัดอย่างน้อย 4 สัปดาห์
แต่ยังไม่ดีขึ้นและรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันมาก
มีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ
มีอาการ Cauda equina syndrome (มีปัญหาในการขับถ่าย กลั้นไม่ได้)
MYOFASCIAL PAIN SYNDROME
เกิดจากการปวดกล้ามเนื้อเฉพาะส่วน (Reginal muscle pain) สาเหตุการปวดที่พบได้บ่อย
พยาธิสภาพเกิดจากการหดตัวของใยกล้ามเนื้อเป็น Contraction knot ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของอาการปวด
เรียกจุดนี้ว่า Trigger point
สามารถเกิดขึ้นเองหรือมีสาเหตุนำ ได้แก่ การอยู่ในท่าที่ไม่ถูกต้อง(เช่น การนั่งหลังงอ) การขาดการออกกำลังกาย ความผิดปกติทางกายภาพ
การรักษา
แก้ไขที่ต้นเหตุ
การให้ยาแก้ปวด
การออกกำลังกาย
การทำกายภาพบำบัด (Physical therapy)
การประคบร้อนหรือประคบเย็น
การนวดหรือฉีดยาชาเข้าในตน. Trigger point
สาเหตุอื่น ๆ
อาการปวดหลังตอนกลางคืน สามารถนึกถึงเนื้องอกของกระดูกสันหลังได้ (Primary spinal tumor) หรือเนื้องอกที่กระจายมาอยู่กระดูกสันหลัง (Spinal metastasis)
มีประวัติมีไข้ ติดเชื้อในร่างกาย / การใช้สารเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้นเลือด (Intravenous drug user) หรือ ตรวจพบมีการหดตัวเกร็งของกล้ามเนื้อหลังอย่างมาก (Severe back muscle spasm) ทำให้นึกถึงการติดเชื้อ
มีประวัติการเกิดอุบัติเหตุที่รุนแรง สามารถนึกถึงการบาดเจ็บของกระดูกสันหลัง (Fracture or Dislocation)
ผู้ที่มีกระดูกพรุน (Osteoporosis) อยู่แล้วแต่ได้รับอุบัติเหตุ
อาการปวดหลังในเด็ก จะพบได้น้อยมากแต่ถ้าพบจะสามารถนึกถึง เนื้องอก (Tumor) ได้
63472453 นางสาวพรนัชชา จิ๋วน้อย sec.3 No.35 (อนามัยชุมชน)