Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรับผิดการกระทำละเมิดด้วยตนเอง (64012310200 จตุพร ยอดปทุม) - Coggle…
ความรับผิดการกระทำละเมิดด้วยตนเอง
(64012310200 จตุพร ยอดปทุม)
ลักษณะทั่วไป
ความหมายการกระทำ
การกระทำ
มาตรา 420 ผู้ที่จะต้องรับผิดจะต้องเป็นมนุษย์อันอยู่ในความหมายที่ว่า"ผู้ใด"
การกระทำ หมายถึง ความเคลื่อนไหวของบุคคลโดยรู้สำนึก
ตย. ก.กำลังทำอาหารกลางวัน
การกระทำของบุคคลตามสัญชาตญาณมีการเคลื่อนไหวร่างกาย แต่ทางกฎหมายไม่นับเป็นการกระทำโดยรู้สำนึก
ตย. หาว ละเมอ สะดุ้ง ผวา
ผู้เยาว์และบุคคลวิกลจริต
มาตรา 429 ผู้เยาว์และบุคคลวิกลจริต ยังต้องรับผิดในผลที่ตนทำละเมิด ไม่นำเรื่องความสามารถของการทำนิติกรรมมาเกี่ยวข้อง
ผู้เยาว์และบุคคลวิกลจริต จะรับผิดได้ต้องครบองค์ประกอบ มาตรา 420
การงดเว้นไม่กระทำ
การงดเว้นไม่กระทำ (ทำต่อบุคคลอื่น มาตรา 420)
หน้าที่
หน้าที่ตามกฎหมาย ตย. มาตรา 1461 สามีภริยาต้องช่วยเลี้ยงดูกัน มาตรา 1563 บุตรต้องเลี้ยงดูบิดามารดา
หน้าที่ตามสัญญา ตย. สัญญาจ้างแพทย์รักษาโรค แต่แพทย์ไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ คือไม่รักษา ย่อมเป็นการงดเว้น จึงผิดสัญญาและละเมิด
รวมถึง (1)(2)
การงดเว้นหรือละเว้นไม่กระทำการที่มีหน้าที่ต้องทำหน้าที่นี้อาจเกิดจากกฎหมายก็ได้
(1)หรือเกิดจากสัญญาหรือความสัมพันธ์ทางข้อเท็จจริงที่มีอยู่ระหว่างผู้งดเว้นกับผู้เสียหายก็ได้ ตย.เจ้าของบ้านเมื่อมีแขกมาเยี่ยมต้องเตรียมเก้าอี้ เพื่ออำนวยความสะดวกต้อนรับแขก
(2)หรือเป็นผลมาจากฐานะทางข้อเท็จจริงผลซึ่งผู้งดเว้นได้ก่อขึ้นก็ได้ ตย.แพทย์ระหว่างทางกลับบ้าน เห็นคนเจ็บจึงเข้าช่วยเหลือรักษาพยาบาล อันมิใช่หน้าที่ทางกฎหมายหรือสัญญา หากทำไม่ตลอดก็ย่อมเป็นการงดเว้น
จงใจหรือประมาทเลินเล่อ
จงใจ
จงใจ หมายถึง รู้สำนึกถึงผลเสียหาย
การกระทำโดยผิดหลงหรือพลั้งพลาด หรือการเข้าใจโดยสุจริต คือการเข้าใจผิดในข้อเท็จจริง จึงไม่เป็นจงใจ
โดยสุจริต หมายถึง มิได้รู้สำนึกว่าจะเกิดผลเสียหายแก่บุคคลอื่น
ตย. ก.ชกต่อย ข. โดยคิดจะให้ ข. เพียงปากแตกเลือดไหล บังเอิญ ข. ล้มลงศีรษะฟาดลงกับพื้น ศีรษะแตกสลบไป ดังนั้นจึงเป็นการที่ ก. ทำร้ายร่างกาย ข. โดยจงใจ
เหตุที่จงใจไม่ต้องคำนึงถึงผลเสียหายที่จะเกิดขึ้น แตกต่างจากเจตนาของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59
ประมาทเลินเล่อ
หมายถึง ไม่จงใจ แต่ไม่ใช้ความระมัดระวังตามสมควรที่จะใช้
ความระมัดระวังที่ว่านี้ต่างจากความระมัดระวังในความรับผิดทางสัญญาซึ่งกฎหมายวางระดับไว้โดยทั่วไปไว้ในระดับของวิญญูชน
อาจจะไม่ถึงระดับวิญญูชนหรือเหนือกว่าก็ได้
ตย. ผู้เยาว์เป็นผู้รับฝากทรัพย์ไว้โดยมีบำเหน็จค่าฝาก
การกระทำโดยผิดกฎหมาย
การใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น
มิได้หมายความว่าจะใช้สิทธิอย่างไรก็ได้ตามใจชอบ การใช้สิทธิอาจถือว่าเป็นการอันมิชอบด้วยกฎหมายได้
เป็นการกระทำที่มุ่งผล คือ ความเสียหายแก่ผู้อื่นแต่ฝ่ายเดียว
การใช้สิทธิต้องเป็นไปตามเงื่อนไข ตย.สิทธิอาศัย ประมวลแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1402
มาตรา 421 เป็นบทขยายของคำว่า “โดยผิดกฎหมาย”
มิชอบด้วยกฎหมาย = โดยผิดกฎหมาย
ความยินยอมไม่ทำให้เป็นละเมิด ในมาตราไม่ได้บัญญัติไว้แต่ต้องถือตามหลักกฎหมายทั่วไป ตามมาตรา 4 วรรคท้าย
ตย. ฎ. 231/2505 การปลูกสร้างรุกล้ำไปในเขตห้องของโจทก์โดยโจทก์ยินยอมไม่เป็นละเมิด ก็ไม่ทำให้สิทธิที่จะปลูกสร้างรุกล้ำอยู่ได้ตลอดไป
การกระทำฝ่าฝืนบทบังคับแห่งกฎหมาย
กฎหมายที่ว่ามา ได้แก่ พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฎษฎีกา กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติ เทศบัญญัติ เป็นต้น
จะต้องประสงค์จะป้องกันความเสียหายแก่บุคคลอื่น
ตย. พรบ.จราจรทางบก พ.ศ. 2477 มาตรา 23 เป็นบทบัญญัติเพื่อป้องกันอันตรายที่เกิดแก่บุคคลอื่น แต่การที่เทศบาลอนุญาตให้จำเลยปลูกสร้างอาคารชิดแนวเขตที่ดินของโจทก์โดยไม่เว้นระยะ 50 เซนติเมตร ไม่ใช่การฝ่าฝืนกฎหมายของเทศบาล เนื่องจากกฎหมายมิได้บัญญัติเพื่อป้องกันมิให้ที่ดินข้างเคียงราคาตกต่ำและมิใช่กฎหมายเพื่อจะปกป้องโจทก์ จะถือว่าเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย ตามมาตรา 422 ยังมิได้
การกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น
ความเสียหายต่อสิทธิ
ไม่เกิดความเสียหายก็เป็นการละเมิด
รวมถึงสิทธิในชีวิต ร่างกาย อนามัย เสรีภาพ ทรัพย์สิน
ตย. ก.ใช้มือสะอาดตบศีรษะนางสาว ข. ไม่มีอะไรเปื้อนร่างกายของ ข. ในสายตากฎหมายย่อมถือว่าเกิดความเสียหายแก่นางสาว ข.
ความเสียหายต้องอาศัยการวินิจฉัยของบุคคลธรรมดา หรือปกติที่เห็นโดยชอบในสังคมเป็นมาตรฐาน
ลักษณะแห่งสิทธิ
การรับรองและคุ้มครองของกฎหมาย ทั้งที่มีรูปร่างและไม่มีรูปร่าง
มีผู้ทรงสิทธิย่อมจะต้องมีบุคคลที่มีหน้าที่ จะมีสิทธิโดยไม่มีหน้าที่ไม่ได้
หน้าที่ทำให้เกิดสิทธิหรือสิทธิทำให้เกิดหน้าที่
ความเสียหายที่คำนวณเป็นตัวเงินได้และไม่อาจคำนวณเป็นตัวเงินได้
ห้ามไปใช้ปะปนกับกรณีที่มีการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
ตย. ก. ชกต่อย ข. แต่ ข.ไม่บาดเจ็บ ไม่จำเป็นที่ ข.ต้องรักษา เป็นความเสียหายคำนวณเป็นตัวเงินไม่ได้
ก.ทำร้ายร่างกาย ข. จนต้องเสียค่าพาหนะในการไปโรงพยาบาล ตลอดจนค่ารักษาพยาบาล สูญเสียความสามารถประกอบการงานในภายหน้า เป็นความเสียหายที่คำนวณเป็นตัวเงินได้
ความเสียหายนั้นเป็นผลมาจากการกระทำของผู้ทำความเสียหาย
สิบเนื่องมาจากการกระทำของผู้ก่อความเสียหายนั้นอาจอยู่นอกขอบเขตที่เขาควรจะต้องรับผิด
อาจเป็นผลมาจากเหตุหลายอย่างหลายประการ
ผู้กระทำละเมิดรับผิดในผลทั้งหมดไม่ได้
ทฤษฎีความเท่ากันแห่งเหตุหรือทฤษฎีเงื่อนไข
หากปรากฎว่าถ้าไม่มีการกระทำ ผลจะไม่เกิดขึ้นเช่นนั้น
ถือว่าเหตุทุกๆ เหตุมีน้ำหนักเท่ากัน
ในทางละเมิดส่วนใหญ่ใช้ทฤษฎีเงื่อนไข เนื่องจากเหตุการณ์ของละเมิดนั้นคาดเดาความเสียหายไม่ได้
ตย. ก. ทำร้ายร่างกาย ข. โดยแตะที่ท้องเบาๆ แต่ปรากฏว่า ข. มีโรคร้ายประจำตัว ซึ่งหากถูกกระทบกระเทือนอย่างแรงอาจตายได้ แต่ ก. ไม่ทราบมาก่อน ข. ถึงแก่ความตาย ดังนี้ความตายของ ข. เป็นผลจากการกระทำของ ก. แม้ ก.
จะไม่รู้มาก่อนเกี่ยวกับโรคดังว่านั้น คิดแค่เพียงว่า ข. ได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย แต่ ก. ต้องรับผิดในความตายของ ข.
ทฤษฎีมูลเหตุเหมาะสม
เฉพาะแต่เหตุที่ตามปกติย่อมก่อให้เกิดผลเช่นว่านั้นที่ผู้กระทำจะต้องรับผิด
ตย.ข้างต้น ก. รับผิดเฉพาะในกรณีที่ ข. ได้รับบาดเจ็บอย่างธรรมดาเท่านั้น ไม่ต้องรับผิดในความตายของ ข. แต่ถ้าหาก ก. รู้ดีเรื่องโรคประจำตัวของ ข. จึงได้ทำร้ายเอาตาย ข. ก. ต้องรับผิดในความตายของ ข.
ผู้กระทำละเมิดตั้งใจจะก่อให้เกิดแก่ผู้เสียหายแล้ว ผู้กระทำก็ต้องรับผิด ไม่ว่าผลจะเป็นเช่นไร จะถือว่าไกลกว่าเหตุไม่ได้
( ค่าสินไหมทดแทน มาตรา 222 ใช้เฉพาะกับหนี้)
หมิ่นประมาททางแพ่ง
มาตรา 423 ความรับผิดในการกระทำของตนเองลักษณะที่กระทำต่อบุคคลอื่นให้เสียหายในสิทธิชื่อเสียงหรือเกียรติคุณ
ข้อความที่กล่าวหรือไขข่าวต้องเป็นข้อความที่ฝ่าฝืนความจริง (การใช้คำหยาบเป็นการดูหมิ่นซึ่งหน้า การละเมิด ตามมาตรา 420 หลักทั่วไป)
การกล่าวหรือไขข่าวแพร่ หมายถึง การแสดงข้อความใดๆให้บุคคลที่สามได้ทราบ พูดข่าวจากคนอื่น
จะจริงทั้งหมดหรือบางส่วนหรือตรงกับความจริง แต่ผู้กล่าวกล่าวโดยให้เข้าใจว่าเป็นอย่างอื่นผิดความจริงก็ได้
ไม่จำกัดว่าต้องทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ถ้ากระทำโดยสำนึก ก็ถือว่ากล่าวหรือไขข่าว
ความเสียหายต้องเกิดจากการกล่าวหรือไขข่าวจนถึงทราบข้อความอันฝ่าฝืนความจริง ไม่ใช่จากการกระทำอื่น
ต้องเข้าใจว่าสิ่งที่กล่าวนั้นหมายถึงผู้เสียหาย
ตั้งใจหรือไม่ตั้งใจนั้นไม่สำคัญ สำคัญแค่ว่าผู้กล่าวรู้หรือไม่ว่าข้อความนั้นไม่จริง (จงใจ or หลินเล่อ)
วรรค 2 ข้อยกเว้นความรับผิด
ถ้าผู้กล่าวหรือไขข่าวไม่รู้ว่าข้อความไม่จริง ไม่ต้องรับผิด
จะมีความผิดก็ต่อเมื่อได้กล่าวเท็จโดยจงใจ
ตย. ก. เคยทำงานที่บริษัทแดง แต่ลาออกจากงาน ไปสมัครที่บริษัทเขียว บริษัทสอบถามประวัติกับบริษัทแดงจนได้รู้ว่า ก. ลาออกเนื่องจากเอาทรัพย์สินของบริษัทไปใช้ประโยชน์ส่วนตัว ถึงแม้การสอบสวนของบริษัทแดงยังไม่ชัดเจน แต่ก็เข้าใจโดยสุจริตแล้วว่า ก. เอาไป จึงบอกกับบริษัทเขียวไปดังกล่าว ดังนี้บริษัทแดงกับบริษัทเขียว มีส่วนได้เสียในการบอกและการรับข้อความ ไม่ต้องรับผิดตามมาตรา 423 วรรค 2
การพิพากษาคดี
มาตรา 424 หมายความว่า บุคคลถูกฟ้องทั้งคดีส่วนแพ่งและคดีส่วนอาญาในเรื่องเดียวกัน การพิพากษาคดีส่วนแพ่งนั้นถือตามข้อเท็จจริงคำพิพากษาส่วนอาญา (วิอาญา มาตรา 46)
คู่ความ ต้องเป็นคู่ความในคดีอาญาด้วย
มาตรา 424 รับกันกับวิอาญา มาตรา 47
เมื่อข้อเท็จจริงเป็นยุติตามคำพิพากษาคดีส่วนอาญาแล้ว ไม่ต้องคำนึงเรื่องความผิด การรับโทษทางอาญาเลย เพราะส่วนแพ่งกับอาญานั้นแตกต่างกัน
ตย. ฎ. 1229/2498 ศาลพิพากษายกฟ้องคดีอาญา เพราะจำเลยไม่มีเจตนาบุกรุกที่ดิน ไม่ได้ชี้ว่าเป็นที่ดินของใคร โจทก์ฟ้องคดีแพ่งให้ศาลวินิจฉัยแสดงกรรมสิทธิ์ห้ามมิให้จำเลยเกี่ยวข้องได้
การร่วมกันทำละเมิด
มาตรา 432 การร่วมกันทำละเมิดเป็นเรื่องที่บุคคลหลายคนร่วมกันทำละเมิด ไม่ใช่เรื่องใช้บุคคลเป็นเครื่องมือกระ
ลักษณะการร่วมกันทำละเมิด
ต้องมีทั้งเจตนาหรือความมุ่งหมายร่วมกันและการกระทำร่วมกัน ไม่ใช่ต่างคนต่างมีเจตนา
ตย. ก. ข. ต่างมีความโกรธแค้น ค. ด้วยเรื่องส่วนตัว ข. สืบรู้มาว่า ก. ชกต่อย ค. เวลาใด พอ ก. ชกต่อย ค. ข. ก็ใช้ไม้ตีศีรษะ ค. ในเวลาเดียวกันพร้อมๆกัน ดังนี้ ก. ข. มิได้ร่วมกันกระทำละเมิดต่อ ค. เพราะมิได้มีเจตนาหรือความมุ่งหมายร่วมกันและกระทำร่วมกัน ต่างคนต่างมีเจตนาความมุ่งหมายกระทำต่อ ค. เท่านั้น
การที่บุคคลฝ่ายหนึ่งล่วงรู้ว่าอีกฝ่ายหนึ่งจะกระทำละเมิดต่อบุคคลอื่น มิได้หมายว่ามีเจตนาความมุ่งหมายร่วมกัน
มาตรา 432 วรรค 2 การยุยงส่งเสริมเพื่อช่วยเหลือการกระทำละเมิด หรือบุคคลผู้ยุยงส่งเสริมหรือช่วยเหลือ ถือว่าเป็นผู้กระทำผิด
ผู้สนับสนุนตามประมวลอาญา มาตรา 84 85 86
ตย. ไก่จ้างไข่กับคิงไปชกต่อยงู ขณะที่ไข่กับคิงร่วมชกต่อยงู จานมาเห็นพอดี จึงส่งไม้ให้ไข่ตีจาน คิงก็พูดเร่งให้ไข่ตีงู ด้วย ไข่กับคิงจึงร่วมกันทำละเมิดต่องู ส่วนจานกับไก่เป็นผู้ช่วยเหลือในการกระทำละเมิดต่องู ตามวรรค2