Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรับผิดกระทำละเมิดด้วยตนเอง - Coggle Diagram
ความรับผิดกระทำละเมิดด้วยตนเอง
ลักษณะทั่วไปของความรับผิดของบุคคลในการกระทำของตน แบ่งเป็น 5 ข้อ
3.การกระทำโดยผิดกฎหมาย
4.การกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น
5.ความเสียหายนั้นเป็นผลมาจากการกระทำของผู้ทำความเสียหาย
2.การกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ
1.ความหมายของการกระทำ
1.ความหมายของการกระทำ
การกระทำคือการเคลื่อนไหวในอิริยาบถนั้นโดยรู้สำนึกแต่ความเคลื่อนไหวของบุคคลโดยรู้สึกในความเคลื่อนไหวของตนยกเว้นการเคลื่อนไหวของบุคคลในเวลาหลับ ไม่ถือเป็นการกระทำ
การงดเว้นไม่กระทำ ไม่เป็นการกระทำเสมอไปแต่จะถือว่าเป็นต้องเป็นการงดเว้นไม่กระทำที่มีหน้าที่ต้องกระทำ
2.การกระทำโดยจงใจและประมาทเลินเล่อ 5.ความเสียหายนั้นเป็นผลมาจากการกระทำของผู้ทำความเสียหาย
ความเสียหายอันเป็นผลมาจากการกระทำความเสียหายนั้น ตามกฎหมายไทยเห็นควรให้ใช้ทฤษฎีความเท่ากันเหตุหรือเงื่อนไขบังคับแต่ศาลจะให้รับผิดทั้หมดหรือยกเว้นความผิดก็ได้
ตัวอย่าง ฎ.1996/2523 การที่มีคนร้ายเข้ามาลักทรัพย์ในโรงเรียนที่จำเลยเป็นครูไม่ได้มาอยู่เวรตามหน้าที่ แม้จะเป็นการผิดวินัย แต่จะถือเป็นเหตุโดยตรงที่ทำให้โรงเรียนถูกลักทรัพย์หาได้ไม่ เพราะถึงหากจำเลยจะมาอยู่เวรที่โรงเรียนก็ไม่อาจป้องกันไม่ให้เกิดการลักทรัพย์นั้นได้ เนื่องจากจำเลยไม่มีหน้าที่เป็นคนยามคอยตรวจตราเฝ้าขโมย แต่มีภารโรงทำหน้าที่เป็นยามเฝ้าขโมยอยู่แล้ว
จงใจคือการกระทำโดยรู้สำนึกถึงผลเสียหายที่จะเกิดจาการกระทำของตน
ประมาทเลินเล่อคือความที่กระทำการใด ๆ โดยปราศจากความระมัดระวัง หรือโดยละเลยในสิ่งที่ควรกระทำ
ตัวอย่าง นาย ก. ลักเอารถจักรยานยนต์รับจ้าง ราคา 50,000 บาท ของนายข.ไปรถคันนี้ นาย ข. นำออกวิ่งรับจ้างได้วันละ 200 บาท ดังนี้ค่าสินไหมทดแทนคือ นายก. ต้องคืนรถจักรยานยนต์ให้แก่นาย ข. ถ้าคืนไม่ได้ต้องใช้ราคารถ 50,000 บาทแก่นายข. และนาย ข. ยังมีสิทธิเรียกค่าเสียหายวันละ 200 บาทตั้งแต่วันละเมิดจนถึงวันฟ้องพร้อมทั้งค่าดอกเบี้ยตั้งแต่วันละเมิดจนถึงวันชำระหนี้ได้ด้วย
3.การกระทำโดยผิดกฎหมายและ 4.การกระทำที่ก่อให้เกิดเสียหายแก่บุคคลอื่น
ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับแก่สิทธิของบุคคลอื่น
ตัวอย่าง ครูอาจารย์ นายจ้างหรือบุคคลอื่นซึ่งรับดูแลบุคคลผู้ไร้ความสามารถอยู่เป็นนิตย์ หรือชั่วครั้งคราวจะต้องรับผิดร่วมกับผู้ไร้ความสามารถในการละเมิดซึ่งเขาได้กระทำลงในระหว่างที่อยู่ในความดูแลของตน ถ้าหากพิสูจน์ได้ว่าครูบาอาจารย์นายจ้างหรือบุคคลอื่นมิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควร (ป.พ.พ.ม. 430)
การใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียแก่บุุคคลนั้นหมายถึงกรณีที่ผู้ทำความเสียหายมีสิทธิตามกฎหมายเสียก่อน มิใช่กระทำโดยไม่มีสิทธิหรือทำเกินกว่าสิทธิที่มีอยู่ตามกฎหมาย ต้องพิจารณาตามมาตรา 420
โดยผิดกฎหมายตามมาตรา 420 และมาตรา 421
มาตรา 420 วางหลักว่า ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เกิดความเสียหายท่านว่าผู้นั้นทำละเมิด จำต้องใช้จ่ายค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น
มาตรา 421 วางหลักว่าการใช้สิทธฺซึ่งมีแต่จะให้เกิดเสียหายแก่บุคคลอื่นนั้น ท่านว่าเป็นการอันมิชอบด้วยกฎหมาย
การกระทำโดยกระทำความผิดมีความหมายกว้าง มิใช่จะมีแต่เพียงแต่ฝ่าฝืนกฎหมายที่บัญญัติไว้แต่ให้รวมถึงการกระทำโดยไม่มีสิทธิหรือข้แก้ตัวตามกฎหมาย
ตัวอย่างนาย ง ยอมให้ นางสาว ก ลองตบหน้าให้แรงที่สุดเพื่อแสดงความแข็งแรง ปรากฎว่าฟันของ นาย ง หลุด 4 ซี่ นาย ง โมโหมากจึงจะเรียกร้องความเสียหายจากนางสาว ก