Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
1.วัตถุแห่งหนี้
คือสิ่งที่ลูกหนี้ต้องดำเนินการในการปฏิบัติการ
…
1.วัตถุแห่งหนี้
คือสิ่งที่ลูกหนี้ต้องดำเนินการในการปฏิบัติการ
ชำระหนี้ตามมาตรา208 วัตถุแห่งหนี้มี 3อย่าง
คือ1.หนี้การกระทำ 2.หนี้งดเว้นกระทำการ
3.หนี้ส่งมอบทรัพย์สิน
หนี้งดเว้นกระทำการ
วัตถุแห่งหนี้อาจกำหนดให้ลูกหนี้ไม่กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ตกลงกันไว้ก็ได้ตามมาตรา213 วรรคสาม บทบัญญัตินี้มุ่งถึงหนี้งดเว้นกระทำการที่มีวัตถุแห่งหนี้เป็นการงดเว้นการก่อสร้างเท่านั้น กล่าวถึงการรื้อถอนตัวอย่างเช่น ผู้ให้เช่าตึกห้ามผู้เช่าที่เป็นลูกหนี้ว่าห้ามต่อเติมตึกเกิน5ชั้นแต่ผู้เช่าเติมเป็น6ชั้น แบบนี้ผู้เช่าซึ่งเป็นลูกหนี้ฝ่าฝืนอาจถูกบังคับให้รื้อถอนตามมาตรา213 วรรคสาม
หนี้งดเว้นกระทำการอาจขัดต่อกฎหมาย ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประเทศหรือเป็นพ้นวิสัยได้ด้วยเช่นกัน มีผลทำให้นิติกรรมนั้นตกเป็นโมฆะ การทำสัญญาซื้อขายตอบแทน โดยฝ่ายเจ้าหนี้ได้ให้เงินฝ่ายลูกหนี้ไม่ต้องไปใช้สิทธิเลือกตั้ง แบบนี้ก็เป็นหนี้งดเว้นกระทำการแต่สัญญานี้ได้ตกเป็นโมฆะเพราะขัดต่อกฎหมาย
หนี้ส่งมอบทรัพย์สิน
คือหนี้ที่ลูกหนี้มีหน้าที่ที่จะต้องส่งมอบทรัพย์สินแก่เจ้าหนี้ ตัวอย่างเช่นสัญญาซื้อขายรถยนต์ นายเอเป็นผู้ขายรถยนต์ นายบีเป็นผู้ซื้อรถยนต์ นายเอเป็นลูกหนี้ในการส่งมอบทรัพย์สินรถยนต์ให้กับนายบีที่เป็นเจ้าหนี้ ส่วนนายบีก็เป็นลูกหนี้ในการชำระราคารถยนต์ให้แก่นายเอซึ่งเป็นเจ้าหนี้
วิธีการในการส่งมอบทรัพย์
ขึ้นอยู่กับสภาพของทรัพย์นั้นบางชนิดมีขนาดเล็กสามารถนำมาส่งกับเจ้าตัวได้ บางชนิดมีขนาดใหญ่ไม่สามารถเคลื่อนย้ายมาได้เช่น ที่ดิน บ้านที่อยู่อาศัย การส่งมอบทรัพย์จึงกำหนดได้อย่างกว้างๆตามมาตรา462 ตัวอย่างเช่นการที่เรามาเช่าหอพักในมหาลัยทำสัญญาเช่าหอพักเสร็จแล้วเจ้าของหอก็เอากุญแจห้องพักให้เรา ถือเป็นการส่งมอบแล้ว
3.การผิดนัดไม่ชำระหนี้
ผิดนัดตามกฎหมายอาจต่างจากความเข้าใจของคนโดยทั่วไปได้มาก จะกล่าวถึงการผิดนัด ข้อยกเว้นที่ทำให้ไม่ผิดนัดและผลของการผิดนัด
1.ลูกหนี้ผิดนัดโดยต้องเตือนก่อน หนี้บางประเภทกฎหมายกำหนดให้เจ้าหนี้ต้องเตือนลูกหนี้ก่อนลูกหนี้ถึงจะผิดนัด เกิดจากการกระทำของเจ้าหนี้เพื่อให้ครบเงื่อนไขตามกฎหมาย 2กรณี
1) หนี้ที่มีกำหนดเวลาชำระมิใช่ตามวันแห่งปฏิทิน มาตรา204วรรคแรก หนี้ประเภทนี้เมื่อถึงเวลาชำระหนี้กฎหมายกำหนดให้เจ้าหนี้เตือนลูกหนี้ก่อนเมื่อเตือนแล้วแต่ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ถือว่าลูกหนี้ผิดนัด
2) หนี้ที่ไม่มีกำหนดเวลาชำระหนี้ตามมาตรา203 กฎหมายถือว่าหนี้ประเภทนี้ถึงกำหนดทันที่ที่นับแต่ก่อหนี้ อายุความแห่งสิทธิเรียกร้องก็จะเริ่มนับทันทีที่ได้ก่อหนี้ก็ตาม แต่หน้าที่ที่จะต้องชำระเริ่มขึ้นเมื่อเจ้าหนี้เรียกให้ลูกหนี้ชำระ หนี้ประเภทนี้ลูกหนี้ผิดนัดด้วยการเตือนของเจ้าหนี้ด้วย
2.ลูกหนี้ผิดนัดโดยที่เจ้าหนี้ไม่ต้องเตือน
1)หนี้ที่กำหนดชำระตามวันแห่งปฏิทิน
มาตรา204วรรคสอง วันที่กำหนดมีความแน่นอนชัดเจนรู้ได้ตรงกันกฎหมายจึงกำหนดว่าถ้าลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ตามกำหนดลูกหนี้ก็ตกเป็นผู้ผิดนัดโดยไม่ต้องเตือน หนี้ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าก่อนการชำระหนี้คำนวณนับได้โดยปฏิทินเช่น บอกวันในการชำระหนี้ที่ชัดเจน 10วันถ้าลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ในเวลา10วันถือว่าลูกหนี้ผิดนัดโดยไม่ต้องเตือน
2)หนี้ละเมิด ตามมาตรา206 เมื่อการทำละเมิดให้เขาเสียหายก็มีหน้าที่จ่ายค่าสินไหมทดแทนทันทีที่ทำละเมิดถือว่าผิดนัดมาแต่เวลาที่ทำละเมิดทันทีโดยมิต้องเตือนอย่างใดทั้งสิ้นรวมถึงค่าเสียหายในอนาคตก็ต้องเสียดอกเบี้ยตั้งแต่เวลาที่ทำละเมิด
3.กำหนดชำระหนี้กับการผิดนัด
1) กำหนดเวลาชำระหนี้นั้น กำหนดที่ลูกหนี้ต้องชำระหนี้แต่ผิดนัดเป็นผลประกอบเงื่อนไขบางประการตามกฎหมาย กล่าวคือถ้าไม่ชำระหนี้ที่มิใช่กำหนดตามวันแห่งปฏิทินลูกหนี้จะผิดนัดต่อเมื่อเจ้าหนี้ให้คำเตือนแล้ว แต่ถ้าเป็นหนี้ที่มีกำหนดชำระตามวันแห่งปฏิทินลูกหนี้ก็จะผิดนัดทันทีที่ไม่ชำระหนี้ตามกำหนด
2)กำหนดเวลาชำระหนี้ กำหนดที่เจ้าหนี้สามารถเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้ต้องเป็นการเตือนลูกหนี้หลังจากที่หนี้ถึงกำหนดชำระแล้ว
3)การผิดนัดนั้น แม้จะถึงกำหนดเวลาชำระหนี้และมีเงื่อนไขที่อาจทำให้ลูกหนี้ผิดนัดตามมาตรา205 ก็ถือว่าลูกหนี้ยังไม่ผิดนัดตราบใดที่ลูกหนี้ยังมีข้ออ้างที่เป็นที่ยอมรับของกฎหมายลูกหนี้ก็ยังไม่ผิดนัด แม้จะถึงกำหนดชำระหนี้และเจ้าหนี้ก็เตือนลูกหนี้แล้ว
4.กรณีที่ไม่ถือว่าลูกหนี้ผิดนัด มาตรา205
ตัวอย่างเช่นเจ้าหนี้ผิดนัดหรือมีเหตุอื่นใดที่ทำให้ลูกหนี้ชำระหนี้ไม่ได้
1)เหตุที่เกิดจากเจ้าหนี้ มาตรา207-210เป็นพฤติการณ์ที่ลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดแต่เป็นเหตุที่เจ้าหนี้ต้องรับผิดได้แก่กรณีเจ้าหนี้ผิดนัดและกรณีที่เจ้าหนี้ต้องรับผิดด้วยเหตุอื่นอีก
2)เหตุเกิดจากบุคคลภายนอก บางครั้งการชำระหนี้ยังไม่ได้กระทำพฤติการณ์ที่โทษลูกหนี้ไม่ได้ เพราะเป็นเหตุเกิดจากบุคคลภายนอกเป็นเรื่องนอกอำนาจของลูกหนี้
3)เกิดจากภัยธรรมชาติ ทำให้ลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนดซึ่งเกิดจากภัยธรรมชาติลูกหนี้ไม่อาจคาดการณ์และไม่อาจป้องกันได้ ลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบ
-
-
1.ลูกหนี้ต้องรับผิดในความเสียหายอันเกิดแต่การผิดนัด มาตรา215
ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ตามกำหนดและตกเป็นผู้ผิดนัดนั้นเจ้าหนี้มีสิทธิเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนอีนเกิดแต่การไม่ชำระหนี้ให้ต้องตามความประสงค์แห่งมูลหนี้ทุกอย่างข้อสังเกตค่าสินไหมทดแทนความเสียหาย 1)ค่าสินไหมทดแทนที่เกิดจากผิดนัดโดยตรง 2)เป็นความรับผิดที่เพิ่มขึ้นมาจากการชำระหนี้ปกติ
2.เจ้าหนี้อาจไม่รับชำระหนี้มาตรา216-388
ตัวอย่างเช่น บีได้จ้างซีจัดช่อดอกไม้ให้ เพื่อให้ในวันแต่งงานแต่ซีไม่ได้ทำช่อดอกไม้ให้ในวันแต่งงานถ้าซีจะส่งมอบช่อดอกไม้ให้บีหลังวันแต่งงานไปแล้วแบบนี้ก็ไม่เกิดประโยชน์แก่ตัวเจ้าหนี้ บีจึงไม่อาจรับชำระหนี้กับซีได้
ลูกหนี้ต้องรับผิดในความเสียหายอันเกิดระหว่างผิดนัดเพิ่มขึ้นมาตรา217
ถ้าลูกหนี้ผิดนัดลูกหนี้ต้องรับผิดในความประมาทเลินเล่อและการที่การชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยเพราะอุบัติเหตุอันเกิดขึ้นระหว่างผิดนัดด้วย ความรับผิดกรณีนี้ไม่ใช่เกิดจากการผิดนัดแต่เป็นการเกิดในระหว่างผิดนัดด้วยเหตุอื่นมิใช่เหตุโดยตรงมาจากการผิดนัดยังไงลูกหนี้ก็ต้องรับผิดเพราะถ้าลูกหนี้ชำระหนี้ตามกำหนด ทรัพย์สินนั้นไปตกอยู่ความครอบครองของเจ้าหนี้ความเสียหายนั้นคงไม่เกิด แต่ถ้าลูกหนี้พิสูจน์ได้ว่าแม้จะได้ชำระหนี้ทันเวลากำหนดความเสียหายนั้นก็จะต้องเกิดขึ้นอยู่ ลูกหนี้ถึงจะไม่ต้องรับผิด
4.กรณีวัตถุแห่งหนี้ซึ่งเลือกชำระได้
-หนี้เดี่ยว(simple obligation) อาจมีหนี้ที่มีวัตถุแห่งหนี้เป็นอย่างเดียวเช่น กู้ยืมเงินกันก็มีหนี้ที่ต้องชำระเงินกู้
-หนี้ผสม(composite obligation) อาจมีหนี้หลายอย่าง อาจเป็นหนี้ที่เลือกชำระได้หมายถึงหนี้ที่มีวัตถุหลายอย่างแต่ไม่ต้องทำทุกอย่าง
1.สิทธิในการเลือก มาตรา198-201 4กรณีดังนี้
1.ถ้ากำหนดไว้ให้ผู้ใดเป็นผู้เลือก เป็นได้ทั้งเจ้าหนี้ ลูกหนี้ บุคคลภายนอก สิทธิในการเลือกเป็นไปตามที่ตกลงกันไว้
2.ถ้าไม่ได้กำหนดสิทธิการเลือกชำระหนี้ตกอยู่แก่ฝ่ายลูกหนี้ มาตรา198
3.ถ้ากำหนดให้บุคคลภายนอกเป็นผู้เลือกผู้นั้นไม่อาจเลือกได้
4.ถ้ากำหนดให้ฝ่ายลูกหนี้หรือเจ้าหนี้เลือกและฝ่ายที่มีสิทธิไม่เลือกภายในเวลาที่กำหนด สิทธิในการเลือกย่อมตกไปอยู่แก่อีกฝ่ายหนึ่ง
2.วิธีการเลือก 2กรณีดังนี้
1.กรณีฝ่ายลูกหนี้หรือเจ้าหนี้เป็นผู้มีสิทธิเลือก มาตรา199วรรคแรก
การเลือกต้องแสดงเจตนาโดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายก็ได้ เช่นถ้าฝ่ายลูกหนี้เป็นฝ่ายมีสิทธิเลือก การเลือกต้องแสดงเจตนาแก่ฝ่ายเจ้าหนี้
2.กรณีบุคคลภายนอกเป็นผู้มีสิทธิเลือก มาตรา201วรรคแรก
ตัวอย่างเช่น นายเขียวจะซื้อลูกหมาให้นางส้ม แต่หมามีหลายตัว นายเขียวเลยให้นางส้มเป็นคนเลือกจากพ่อค้า เช่นนี้นางส้มซึ่งเป็นบุคคลภายนอก
(ไม่ใช่ลูกหนี้แลพอเจ้าหนี้)
3.ระยะเวลาในการเลือก บัญญัติไว้ในมาตรา200
มี2กรณี
1.มีกำหนดระยะเวลาให้เลือก อาจกำหนดไว้โดยนิติกรรมที่ก่อหนี้ เช่นฝ่ายที่มีสิทธิจะเลือกต้องเลือกในเวลาที่กำหนด ถ้าไม่เลือกตามเวลาที่กำหนดสิทธิจะตกไปอยู่แก่อีกฝ่ายหนึ่ง กรณีบุคคลภายนอกเป็นผู้เลือกก็เช่นเดียวกัน
2.กรณีมิได้กำหนดเวลาให้เลือก เมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระฝ่ายที่ไม่มีสิทธิเลือกอาจกำหนดเวลาพอสมควรแก่เหตุ บอกให้ฝ่ายโน้นใช้สิทธิเลือกภายในเวลา มีเงื่อนไขว่าต้องเป็นกรณีที่หนี้ถึงกำหนดชำระแล้ว ถ้าผู้มีสิทธิเลือกเป็นบุคคลภายนอกและไม่มีกำหนดเวลาให้เลือกน่าจะต้องใช้บังคับตามมาตรา200วรรคสอง
4.ผลของการเลือกมีบัญญัติไว้ใน มาตรา 199วรรคสอง
ตัวอย่างเช่น แจ๋วซื้อสร้อยข้อมือกับแก้ม ที่มีชิ้นเดียวบนโลกต่อมาแก้มทำสร้อยข้อมือให้แจ๋วเสร็จแล้วได้แจ้งกับแจ๋วว่าจะส่งมอบสร้อยข้อมือชิ้นนี้ให้และตกลงกันเรียบร้อย ถ้ามีคนมาขอซื้อและแก้มอยากเปลี่ยนใจส่งอีกแบบให้แจ๋วแทนไม่ได้ ถ้าเลือกแล้วเท่ากับมีการตกลงซื้อขายแต่ต้น
5.กรณีการชำระหนี้บางอย่างเป็นพ้นวิสัย
บัญญัติไว้ในมาตรา202
1.กรณีตกเป็นอันพ้นวิสัยจะทำได้มาแต่ต้น
การชำระหนี้ส่วนนั้นแม้จะมีการตกลงกันก็ย่อมตกเป็นโมฆะตามมาตรา150 จำกัดหนี้ไว้เพียงการชำระหนี้อย่างอื่นที่ไม่พ้นวิสัย ตัวอย่าง ฟ้ารู้ข่าวว่าบ้านส้มมีลูกไก่พึ่งฟัก4ตัว ฟ้าเห็นส้มที่โรงเรียนจึงจะขอซื้อส้มก็ตกลงขาย โดยให้ฟ้าเลือกสีดำ สีขาว ด่าง2ตัว ฟ้าจึงเลือกตัวสีดำ ปรากฎว่าพอตกลงซื้อขายกันลูกไก่ที่บ้านของส้มก็ถูกสุนัขกินจนตาย โดยที่ฟ้าและส้มไม่ทราบ แบบนี้สัญญาที่ตกลงจะซื้อลูกไก่สีดำจึงเป็นโมฆะ ดังนั้นฟ้าจึงเลือกลูกไก่ได้ที่เหลือคือ สีขวากับด่าง2ตัว
2.กรณีการอันพึงต้องทำเพื่อชำระหนี้บางอย่างกลายเป็นพ่นวิสัยในภายหลัง
-
-
-
2.กำหนดเวลาชำระหนี้
เป็นสิ่งสำคัญในการชำระหนี้ของลูกหนี้เพราะหากลูกหนี้ไม่รู้กำหนดเวลาชำระหนี้ของตนก็ไม่อาจชำระหนี้ให้ต้องตามความประสงค์อันแท้จริงของมูลนี้ได้ 2กรณี
1.หนี้ที่มิได้กำหนดเวลาชำระหนี้ อนุมานไม่ได้
กำหนดเกณฑ์ไว้ในมาตรา203วรรคแรก ตัวอย่างเช่น ยืมเงินเป็นไปก่อนแต่ไม่ได้บอกเหตุผลและไม่ได้กำหนดระยะเวลาการคืน
2.หนี้ที่กำหนดเวลาชำระ
ถือเป็นการกำหนดโดยชัดแจ้งคือมีการตกลงกันระหว่างคู่กรณีที่ก่อหนี้ขึ้น เช่นกำหนดระยะเวลาตามวันแห่งปฏิทินหรือกำหนดตามข้อเท็จจริง
1.กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้แต่เป็นที่สงสัย ##มาตรา203วรรคสอง
ตัวอย่างเช่นกำหนดวันเวลาชำระหนี้เป็นวันสงกรานต์ แบบนี้ถือเป็นที่สงสัย แบบนี้เจ้าหนี้ไม่สามารถเรียกให้ชำระหนี้วันสงกรานต์จนกว่าจะวันสุดท้ายได้แต่ลูกหนี้สามารถชำระหนี้ก่อนวันสงกรานต์ได้
2.กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ไม่เป็นที่สงสัย
1)กำหนดเวลาชำระหนี้ตามวันแห่งปฏิทิน ตามมาตรา204วรรคสอง อนุมานได้ ตัวอย่างเช่น เจ้าหนี้ได้มีการกำหนดให้ลูกหนี้ชำระหนี้ในวันแม่ตามปฏิทินของไทย ถ้าลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ในวันแม่ก็ถือว่าลูกหนี้ผิดนัด
2)กำหนดเวลาชำระหนี้มิใช่ตามวันแห่งปฏิทิน ตามมาตรา204วรรคแรก ไม่อาจอนุมานได้ ตัวอย่างเช่นแดงวิ่งมาขอยืมเงินดำ5000ด้วยท่าทีรีบเร่งดำที่ไม่รู้เรื่องคิดว่าเพื่อนเดือดร้อนจึงไม่ได้ถามหาสาเหตุแต่แดงบอกว่าเดี๋ยวคืนจึงได้ให้แดงยืมเงินไป แบบนี้มิใช่ตามวันแห่งปฏิทิน
-
-