Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรับผิดเพื่อละเมิดที่่เกิดจากการกระทำของตนเอง - Coggle Diagram
ความรับผิดเพื่อละเมิดที่่เกิดจากการกระทำของตนเอง
ความรับผิดเพื่อละเมิดแบ่งออกได้ 2 ประเภท
1 ความรับผิดที่ต้องการความผิด
กล่าวคือ กรณีผุ้กระทำความผิดรับผิดเพื่อละเมิดในกรรีนี้ได้ต้องมีความผิด คือ มีความจงใจ ประมาทเลินเล่อ อย่างใดอย่างหนึ่ง
2 ความรับผิดที่ไม่ต้องการความผิด
กล่าวคือ กรณีผู้กระทำมีความผิดโดยไม่ต้องพิจารณาว่ามีการกระทำผิดคือจงใจหรือประมาทเลนเล่อบางครั้งเรียกความรับผิดประเภทนี้ว่า ความรับผิดแบบสันนิษฐานของกฎหมาย บางครั้งเรียก ความรับผิดเด้ดขาด
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิช
มาตรา 420 วางหลักว่า “ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิดจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น
เหตุที่ทำให้เกิความเสียหายมาจากการกระทำของบุคคล
ความรับผิดเพื่อละเมิดของบุคคล หมายถึง บุคคลที่ไม่ได้กระทำละเมิดต้องรับผิดร่วมด้วย อันเป็นข้อยกเว้นของหลักที่ว่าคนทำความผิดต้องรับผิด คนอื่นไม่เกี่ยว เพราะ กรณีนี้คนที่ต้องรับผิดมิได้กระทำละเมิด คนที่ทำละเมิดและคนที่ต้องร่วมรับผิดเป็นคนละคนกันกรณีนี้จึงเป้นข้อยกเว้น
ความรับผิดเพื่อละเมิดที่เกิดจากการกระทำของตนเอง หมายถึง คนที่กระทำละเมิด ต้องรับผิดเอง ตามหลักปกติที่ว่าใครกระทำความผิด คนนั้นเท่านั้นที่ต้องรับผิด
กรณีนี้ได้แก่ กรณีนายจ้างร่วมรับผิดเพราะการทำละเมิดของลูกจ้างตามมาตรา 425 กรณีตัวการร่วมรับผิดเพราะการทำละเมิดของตัวแทนมาตรา 427 กรณีบิดามารดา ผู้อนุบาลร่วมรับผิดเพราะการทำละเมิดของผู้เยาว์หรือคนที่ทำศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถตามมาตรา429
กรณีนี้ได้แก่ กรณีบุคคลละเมิดตามมาตรา420
นิติบุคคลผิดในการกระทำละเมิดของผู้แทนนิติบุคคลตามมาตรา 76
ความรับผิดในมาตรา420
มีการกระทำของบุคคล
ละเมิด ก. ขับรถโดยประมาทเลินเล่อชนนาย ข.นาย ก. จงใจทำร้ายเช่นนี้
นาย ข. ได้รับความเสียหายแก่ทรัพย์สินหรือร่างกาย ย่อมเรียกให้ นาย ก.จึงต้องเสียค่าสินไหมทดแทน
การกระทำ
คือ การกระทำที่เคลื่อนไหวร่างกายโดยรู้สำนึก
การงดเว้นการกระทำ
คือ ไม่กระทำคือการอยู่เฉยๆที่ภาษากำหมายเรียกว่า การงดเว้น
หน้าที่ตามกฎหมาย
เช่น บิดามารดามีหน้าที่ต้องดูเเลบุตร
หน้าที่ตามคำสั่งหรือระเบียบ
เช่น เป็นเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของมหาลัยหน้าตรวจสอบคนเข้าออก
หน้าที่ตามสัญญา
เช่น ก จ้าง ข เป็นพนักงานรักษาความปลอดภัยในหอพักวันหนึ่งนาย ค เดินเข้ามาทำร้ายผู้หญิงในหอพักนาย ข ยืนดูเฉยๆ ถือว่าละเว้นทั้งที่สัญญาจ้างอยู่
หน้าที่ตามวิชาชีพ
เช่น นายแพทย์ ก ประจำอยู่หน่วยฉุกเฉินของโรงบาลแห่งหนึ่งในเวลานั้นนาย ข ถูกยิง ถูกนำส่งโรงพยาบาลที่นาย ก ประจำอยุ้นาย กเห็น นาย ขเลยจำได้ว่าเป็นอริเก่าจึงไม่ทำการรักษานาย ข จน นาย ข ตายการกระทำของนาย ก นั่นเป็นการงดเว้นการปฎิบัติหน้าที่
หน้าที่ตามความสัมพันธ์ที่ก่ให้เกิขึ้น
เช่น เอกเเละสาวเป็นเพื่อนบ้านกัน อยู่มาวันหนึ่ง เอกต้องไปทำธุระจึงฝากบุตรชาย อายุ3ขวบไว้กับสาวให้ช่วยดุแลจนกว่าเอกจะกลับได้ฝาก นมและอาหารไว้เพียงพอ สาวก้รับดูแลให้ สาวเองก้ติดการพนันบังเอิญวันนั้นนายนิวมาชวนสาวให้ไปเล่นการพนันสาวจึงเล่นด้วยความเพลิดเพลินไม่สนใจเด็กจึงทำให้เด็กหยิงเหรียญเข้าปากติคอตาย กรณีนี้ถือเป็นการงดเว้นในการดูแลบุตร
การกระทำบุคคลต่อบุคคลอื่น
มีบุคคลกระทำ
บุคคลธรรมดา คือบุคคลที่เกิดมาเป็นคนมีร่างกาย ชีวิต จิตใจ หากเป็นบุคคลรู้สำนึกในการกระทำของตนแล้ว ไม่ว่าจะเป็นผู้เยาว์ จิตไม่ปกติ เช่นคนวิกลจริตทางข้อเท็จจริงหรืเป็นคนวิกลจริตที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถก็ทำการละเมิดหรือก่อความเสียหายให้บุคคลอื่นได้ทั้งสิ้น :
บุคคลอื่นใครก้ได้ ที่ไม่ใช่ผู้ทำละเมิดเองแม้เป็นบุคคลใกล้ชิดเช่นพ่อแม่พี่น้องก้ถือเป็นบุคคลอื่น
นิติบุคคล
นิติบุคคลตามวิธีการที่กฎหมายกำหนด โดยมีสิทธิและหน้าที่ต่าง ๆ ภายในขอบวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ และมีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา เว้นแต่สิทธิและหน้าที่ซึ่งโดยสภาพมีได้เฉพาะแก่บุคคลธรรมดาเท่านั้น
การกระทำโดยจงใจ
คือ บุคคลที่ทำละเมิดนั้นมุ่งหมายทำให้ผู้อื่นเสียหายตั้งใจเล็งเห็นผล
ตัวอย่าง นาย ก โกรธนาย ข จึงไปดักยิงนาย ข ที่บ้านเมื่อนาย ข มาถึงบ้าน นาย ก จึง ยิงนาย ข ตาย ความเสียหายนี้เกิดจากการที่นาย ก ตั้งใจยิงโดยรู้ว่าต้องเกิดความเสียหายขึ้นต่อนาย ข นาย ก จึงกระทำดดยจงใจ
การกระทำโดยประมาทเลินเล่อ
คือ การกระโดยไม่ได้ตั้งใจหรือมุ่งหมายให้เขาเสียหายไม่เล็งเห็นผล
ตัวอย่าง นาย ก ขับรถมาด้วยความเร็วเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดจึงทำให้เสียหลักไปชนนาย ข โดยไม่ได้ตั้งใจ
ฎ.7452/2541
จำเลยซึ่งเป็นแพทย์ได้แจ้งโจทก์ว่ามีเด็กตายในท้องโจทก์ โจทก์จึงยินยอมให้จำเลยทำการขูดมดลูกและทำแท้งให้ แต่การที่จำเลยใช้เครื่องมือแพทย์เข้าไปขูดมดลูกของโจทก์ทำให้มดลูกทะลุ ทั้งที่มดลูกของโจทก์มีลักษณะเป็นปกติ มิได้มีลักษณะบางแต่อย่างใด และทำให้ลำไส้เล็กทะลักออกมาทางช่องคลอดยาว 5 เมตร เนื่องจากเครื่องมือแพทย์ที่ใส่เข้าไปในช่องคลอดได้เกี่ยวเอาลำไส้ดึงออกมานั่นเอง จำเลยจึงไม่ได้ใช้ความระมัดระวังตามปกติวิสัยของผู้มีความรู้ความสามารถในการประกอบวิชาชีพแพทย์ นับเป็นความประมาทเลินเล่อของจำเลย ซึ่งต่อมาแพทย์คนอื่นที่ตรวจโจทก์ในภายหลังเห็นว่า หากนำลำไส้ของโจทก์ใส่เข้าไปในร่างกายอีกอาจมีการติดเชื้อในช่องท้อง จึงได้ทำการตัดลำไส้ที่ทะลักออกมาทิ้งไป จำเลยจึงต้อง รับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนต่อโจทก์
มาตรา 59 วรรคสี่ ได้อธิบายคำว่ากระทำโดยประมาทในเชิงยกตัวอย่าง ว่า การกระทำโดยประมาท ได้แก่ กระทำความผิดโดยไม่เจตนา แต่กระทำโดยปราศจากความ ระมัดระวัง ซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์และผู้กระทำอาจใช้ความ ระมัดระวังเช่นว่านั้นได้แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่
จงใจ คือ การกระทำโดยรู้สำนึกถึงผลเสียหายที่จะเกิดขึ้นจากการกระทำของตน
ตัวอย่า
ง ก วางเพลิงบ้าน ข โดยตั้งใจรู้ว่าการกระทำนั้นก่อความเสียหายแก่ทรัพย์สินของนาย ข นาย ก จึงกระทำโดยจงใจ
การกระทำโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
คือ การกระทำนั้นก่อให้เกิดความเสียหาย
มีกฎหมายกำหนดชัดแจ้งว่าเป็นความผิด
เช่น กฎหมายอาญา
ตัวอย่าง
นายหนึ่ง ฆ่า นายสอง
ไม่มีกฎหมายกำหนดไว้โดยชัดแจ้ง ทำให้เสียหายแก่สิทธิเด็ดขาดอย่างใดอย่างหนึ่งที่ได้กำหนดในมาตรา420
ตัวอย่าง
เอก แอบวางยาพิษ นิด ทำให้ร่างกายนิดทรุดโทรมเอกได้ทำให้เกิดความเสียหายแก่สิทธิเด็ดขาดคืออนามัยของนิด
การใช้สิทธิที่มีแต่จะทำให้บุคคลอืนเสียหายตามมาตรา 421
มาตรา 421 “การใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดเสียหายแก่บุคคลอื่นนั้น ท่านว่าเป็นการอันมิชอบด้วยกฎหมาย” มีการให้นิยามโดย นักวิชาการ และผู้พิพากษา ต่อมาตรานี้ว่าเป็น “การใช้สิทธิโดยไม่สุจริต” “การใช้สิทธิเกินส่วน”
ตัวอย่าง นาย ก สร้างบ้านในที่ดินของตนเองแต่สร้างสองและสามชั้นล้ำเข้าไปในเขตบ้านของนาย ข
ความเสียหายสัมพันธ์กับการกระทำตามหลักการกระทำและผล
ผลที่เกิดขึ้นกับการกระทำสัมพันธ์กัน เช่น หนึ่งยิงสองจนเสียชีวิตการตายของสองนั้นเป็นผลมาจากการยิงของหนึ่ง
ทฤษฎีมูลเหตุเหมาะสม พิจารณาจากการกระทำว่าเหตุนั้นเหมาะสมหรือไม่
ตัวอย่าง เอกชกต่อยกับนัทบาดเจ็บกลางถนน ก ขับรถมาไม่ระวังจึงชนนัท บาดเจ็บเพิ่มต่อมานัทเข้าโรงพยาบาล ข เดินมาเตะสายออกชิเจนนัททำให้นัทเสียชีวิต
เอก รับผิดเฉพาะต่อยนัท
ก รับผิดเฉพาะขับรถชนตามี
ข รับผิดเพราะเดินมาเตะสายออกชิเจนตามี
ทฤษฎีเงื่อนไข ทุกเงือนไขเงื่อนไขต้องมีความจำเป็นและเป็นสาระสำคํญเท่าๆกันจึงจะก่อให้เกิผล
ตัวอย่าง
เอกชกต่อยกับนัทบาดเจ็บกลางถนน ก ขับรถมาไม่ระวังจึงชนนัท บาดเจ็บเพิ่มต่อมานัทเข้าโรงพยาบาล ข เดินมาเตะสายออกชิเจนนัททำให้นัทเสียชีวิต
ผลทั้ง เอก/ก/ข รับผิดชอบเท่ากัน