Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
วัตถุแห่งหนี้ :, aHR0cHM6Ly9zLmlzYW5vb2suY29tL3dvLzAvdWQvMzMvMTY1NTI5L3MxL…
วัตถุแห่งหนี้ :
1.หนี้กระทำการ
เป็นหนี้ที่ลูกหนี้ต้องไปทำการงานอย่างใดอย่างหนึ่งหรือ
หลายอย่างให้แก่เจ้าหนี้ เป็นหนี้อย่างอื่นที่ไม่ใช่การโอนทรัพย์สิน เช่น การรับสร้างบ้าน การรับจ้างร้องเพลง ซึ่งต้องถือว่าเป็นหนี้กระทำการโดยเป็นหนี้หลักมิใช่การโอนทรัพย์สิน
-
หนี้กระทำการอาจมีได้ทั้งหนี้ที่ลูกหนี้ต้องกระทำด้วยตนเองและหนี้ต้องกระทำด้วยตนเองและหนี้ที่ลูกหนี้อาจไม่ต้องกระทำด้วยตนเอง
แบ่งได้ดังนี้
ลูกหนี้ไม่ต้องกระทำด้วยตนเอง เช่นลูกหนี้รับเหมาสร้างบ้านซึ่งลูกหนี้เป็นผู้รับเหมาก็ไม่ต้องลงมือสร้างด้วยตนเองแต่จัดหาคนงาน นายช่างมาทำงานให้เสร็จตามสัญญาเท่านั้น
ลูกหนี้ต้องกระทำการด้วยตนเอง เช่นสัญญาการจ้างแรงงาน ลูกจ้างต้องไปทำงานด้วยตนเอง โดยมุ่งถึงการใช้ความรู้ความสามารถเฉพาะตัว เช่น นายสองจ้างนายสามเป็นนายแบบหน้าปกหนังสือ นายสามก็ต้องมาถ่ายแบบจะให้ผู้อื่นมาถ่ายแทนมิได้
-
2.หนี้งดเว้นกระทำการ
อาจกำหนดให้ลูกหนี้ไม่ต้องกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง ตามที่ตกลงกันไว้ก็ได้ ในมาตรา 213 วรรคสาม วางหลักว่า " ส่วนหนี้ซึ่งมีวัตถุเป็นอันจะให้งดเว้นการอันใด เจ้าหนี้จะเรียกร้องให้รื้อถอนการที่ได้กระทำลงแล้วนั้นโดยให้ลูกหนี้เสียค่าใช้จ่าย และให้จัดการอันควรเพื่อกาลภายหน้าด้วยก็ได้"
โดยบทบัญญัตินี้มุ่ถึงหนี้งดเว้นกระทำการที่มีวัตถุแห่งหนี้เป็นการงดเว้นการก่อสร้างเท่านั้น เช่น การเช่าที่ดินสร้างอาคารเพื่อการค้า แต่เจ้าของที่ไม่ต้องการให้คารสูงเกิน4ชั้น จึงตกลงห้ามสร้างอาคารเกิน4ชั้น หากผู้เช้าฝ่าฝืนอาจถูกบังคับรื้อถอนได้
กล่าวสรุปได้ว่า เป็นหนี้ที่ลูกหนี้มีความผูกพันว่าจะไม่กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใด เช่น ลูกจ้างตกลงกับนายจ้างว่า หลังจากที่ลูกจ้างออกจากงานไปแล้ว ลูกจ้างจะไม่ประกอบกิจการนั้นแข่งขันกับนายจ้างในท้องที่เดียวกัน เป็นต้น
-
-
-
3.หนี้ส่งมอบทรัพย์สิน
ลูกหนี้มีหน้าที่ต้องส่งมอบทรัพย์แก่เจ้าหนี้ หรือคือ การที่เอาทรัพย์ให้อยู่ในความครอบครองของเจ้าหนี้ อาทิ สัญญาการซื้อขายพระเครื่อง ฝ่ายผู้ซื้อก็มีหน้าที่ต้องมอบทรัพย์สินคือราคาพระเครื่องแก่คนขาย ในขณะที่คนขายก็มีหน้าที่ต้องส่งมอบทรัพย์สินคือพระเครื่องแก่ผู้ซื้อ
การโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินย่อมหมายถึงการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์และการส่งมอบทรัพย์ด้วย แต่ในบางกรณีอาจเป็นเพียงการส่งมอบทรัพย์เท่านั้น เช่นการซื้อขายทรัพย์เฉพาะสิ่ง ซึ่งเป็นสังหาริมทรัพย์โดยผลของกฎหมาย กรรมสิทธิ์ย่อมโอนไปยังผู้ซื้อทันทีที่สัญญามีผลผู้ขายมีเพียงหน้าที่ส่งมอบเท่านั้น แต่ถ้าเป็นการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อหน่วยงานเจ้าหน้าที่ด้วยกรรมสิทธิ์จึงจะโอนไปยัง
ผู้ซื้อ ผู้ขายจึงมีหนี้ทั้งการโอนกรรมสิทธิ์และส่งมอบทรัพย์ด้วย
เช่น
สัญญาซื้อขายรถของนายแบงค์และนายปัง โดยนายแบงค์เป็นผู้ขายและนายปังเป็นผู้ซื้อ โดยนายปังผู้ซื้อมีหนี้ที่จะต้องชำระราคาให้กับนายแบงค์ผู้ขาย และนายแบงค์ผู้ขายมีหนี้ส่งมอบรถให้กับนายปังผู้ซื้อ
-
วิธีการส่งมอบ
มาตรา 462 "การส่งมอบนั้นจะทำอย่างหนึ่งอย่างใดก็ได้สุดแต่ว่าเป็นผลให้ทรัพย์สินนั้นไปอยู่ในเงื้อมมือของผู้ซื้อ" การส่งมอบทรัพย์ถูกกำหนดไว้อย่างกว้างๆ เนื่องจากทรัพย์บางชนิดก็อาจมีขนาดเล็กที่สามารถนำมาส่งให้กับเจ้าหนี้ได้ แต่ทรัพย์บางชนิดของมีขนาดใหญ่ ไม่อาจนำมาส่งให้เจ้าตัวได้
เช่น การส่งมอบรถยนต์อาจมอบเพียงแต่มอบกุญแจรถ ทำให้ผู้รับมอบสามารถเข้าครอบครองรถได้ หรือ การส่งมอบบ้านที่เช่าอาจเพียงแต่มอบกุญแจบ้าน
ตัวอย่างคำพิพากษาศาลฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2331/2516
หน้าที่ของจำเลยผู้ขายที่ดินและห้องแถว นอกจากจะต้องจดทะเบียนเพื่อให้การซื้อขายสมบูรณ์ มีผลให้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์โอนไปยังโจทก์ผู้ซื้อแล้ว จำเลยยังมีหน้าที่ต้องส่งมอบทรัพย์นั้นแก่โจทก์โดยกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งอันจะเป็นผลให้ทรัพย์นั้นไปอยู่ในเงื้อมมือของโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 461 และ 462 อีกด้วย หาใช่เพียงแต่จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แล้วก็ถือว่าผู้รับโอนได้เข้าครอบครองทรัพย์ทีเดียวโดยไม่ต้องมีการส่งมอบกันอีกไม่
วัตถุแห่งหนี้ที่เป็นการส่งมอบทรัพย์สิน ลูกหนี้ต้องส่งมอบทรัพย์ที่ลูกหนี้มีหน้าที่ส่งมอบนี้จะต้องเป็นทรัพย์ที่มีรูปร่าง และทรัพย์นี้จะเป็นเฉพาะสิ่ง รถคันใดคันหนึ่ง แมวชื่อจอห์น ก็ได้ หรือจะเป็นทรัพย์ทั่วไปก็ได้ เช่น น้ำปลา ข้าวเปลือก สิ่งเหล่านี้เรียกว่า
"ทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งหนี้"
-
-
-
-
-
-
เลขที่ฎีกา 365-367/2518
จำเลยตกลงกับโจทก์ว่า เมื่อจำเลยทำถนนผ่านที่ดินโจทก์แล้วจะให้เป็นทางสาธารณะเพื่อให้ประชาชนได้ใช้ถนนโดยสะดวกอย่าง
ถนนสาธารณะเช่นนี้ ศาลพิพากษาห้ามจำเลยมิให้ปิดกั้น ขุด หรือขัดขวางในการที่โจทก์ และประชาชนในถิ่นนั้นจะใช้ถนนสายนั้นสัญจรไปมาได้อย่างสะดวกที่ตกลงไว้กับโจทก์
-
วัตถุแห่งหนี้ คือ สิ่งที่ลูกหนี้จะต้องดำเนินการในการชำระหนี้ตามปพพ. มาตรา 208 แต่หากมองในฝ่ายเจ้าหนี้คือ สิ่งที่เจ้าหนี้เรียกให้ลูกหนี้ชําระ โดยเมื่อพิจารณาจากมาตรา 194 ที่วางหลักว่า ด้วยอำนาจแห่งมูลหนี้ เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิจะเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้ อนึ่งการชำระหนี้ด้วยงดเว้นการอันใดอันหนึ่งก็ย่อมมีได้
เมื่อพิจารณาจากมาตรา194เหล่านี้แล้ว จะกล่าวได้ว่า วัตถุแห่งหนี้มี 3 อย่าง คือ
1.หนี้กระทำการ 2.หนี้งดเว้นกระทำการ 3.การส่งมอบทรัพย์สิน
-