Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บันทึกสะท้อนคิด ใบงานที่ 3, พักต์เพ็ญ สิริคุตต์. โรคพิษสุนัขบ้าในประเทศไท…
บันทึกสะท้อนคิด
ใบงานที่ 3
บรรยายเหตุการณ์
ดิฉันได้เรียนวิชาการรักษาพยาบาลขั้นต้น เป็นการเรียนกลุ่มย่อย เกี่ยวกับการพยาบาลขั้นต้นทางศัลยกรรม ได้รับมอบหมายให้ศึกษากรณีศึกษามีแผลรถล้ม และแผลสุนัขกัด หลังจากที่ทำการศึกษาค้นคว้า ก็ได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนๆในกลุ่มผ่านทางออนไลน์ ได้มีการพูดคุยเกี่ยวกับการเย็บแผล ข้อบ่งชี้ในการเย็บแผล การฉีดยาชา การให้วัคซีนบาดทะยัก วัคซีนพิษสุนัขบ้า และยาแก้ปวด ขณะที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ดิฉันไม่ค่อยเข้าใจในการให้วัคซีนพิษสุนัขบ้า เพราะรายละเอียดค่อนข้างเยอะ และซับซ้อน แต่หลังจากได้ฟัง และไปหาข้อมูลเพิ่มเติมก็ทำให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น
รู้สึกอย่างไร
รู้สึกดีที่ได้แลกเปลี่ยนความรู้กับเพื่อนๆ ทำให้เข้าใจการให้วัคซีนพิษสุนัขบ้ามากยิ่งขึ้น
ประเมินเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
ประสบการณ์ทางบวก
ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนในกลุ่ม
ประสบการณ์ทางลบ
ตนเองยังไม่สามารถนำความรู้ที่เรียนรู้มาประยุกต์ใช้ได้มากพอ
การวิเคราะห์
วิธีการให้วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ขึ้นกับลักษณะของบาดแผล ซึ่งมีทั้งหมด 3ประเภท
Category I ไม่มีบาดแผล สัมผัสสัตว์ หรือถูกสัตว์เลียโดยที่ผิวหนังไม่มีบาดแผล ไม่ต้องให้วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในผู้สัมผัสเหล่านี้
Category II บาดแผลถลอก โดยไม่มีเลือดไหล ให้วัคซีนป้องกันโรค ไม่ต้องให้ rabies immunoglobulin (RIG)
Category III บาดแผลที่มีเลือดออกชัดเจน ให้วัคซีนป้องกันโรค ร่วมกับการให้ RIG
วิธีการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าที่แนะนำโดยองค์การอนามัยโลก มีทั้งหมด 3สูตร
ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ(intramuscular, IM) 4 เข็ม คือ ครั้งละ 1เข็ม ในวันที่ 0, 3, 7, 14 หรือ 28
ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ(IM) 4 เข็ม คือ ครั้งละ 2เข็ม ในวันที่0และ ครั้งละ 1 เข็ม ในวันที่ 7และ21
ฉีดใต้ผิวหนัง(intradermal, ID) ครั้งละ2 จุด ในวันที่ 0, 3 และ 7
ข้อบ่งชี้ในการฉีด RIGได้แก่
บาดแผลระดับ category III
บาดแผลบริเวณ ศีรษะ คอ และมือ
ผู้ป่วยโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องรุนแรง (severe immunodeficiency) กรณีผู้ป่วยโรค HIV ที่มีระดับภูมิคุ้มกันต่ำ หรือไม่ได้รับยาต้านไวรัส แนะนำให้ RIGทั้งในบาดแผลแบบ category II และ III
ผู้ที่ถูกกัดในพื้นที่ที่พบผู้ป่วยติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า
ผู้ที่ถูกค้างคาวกัด หรือสัมผัสโรคจากค้างคาว
วิธีการให้ RIG
ขนาดยา คือ equine derived RIG (ERIG) 40 IU/kg/dose และ human derived RIG (HRIG) 20 IU/kg/dose โดยทั้งหมดฉีดรอบแผล โดยไม่แนะนำให้ใช้ยาที่เหลือฉีดเข้ากล้าม
การป้องกันก่อนสัมผัสโรค (Pre-exposure prophylaxis)
ฉีดใต้ผิวหนัง(ID) ครั้งละ 2 จุด ในวันที่ 0 และ 7
ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ(IM) 1 เข็ม ในวันที่ 0 และ 7
การลงข้อสรุป
โรคพิษสุนัขบ้าเป็นโรคที่อันตรายถึงชีวิต ยังมีมีการรักษาที่ดีพอ แต่สามารถที่จะป้องกันได้ จากการฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้า ซึ่งฉีดดังนี้
ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ(intramuscular, IM) 4 เข็ม คือ ครั้งละ 1เข็ม ในวันที่ 0, 3, 7, 14 หรือ 28
ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ(IM) 4 เข็ม คือ ครั้งละ 2เข็ม ในวันที่0และ ครั้งละ 1 เข็ม ในวันที่ 7และ21
ฉีดใต้ผิวหนัง(intradermal, ID) ครั้งละ2 จุด ในวันที่ 0, 3 และ 7
การวางแผนในอนาคต
หากในอนาคตได้ในการพยาบาลผู้ป่วยที่โดนสุนัขกัด จะปฏิบัติดังนี้
ซักประวัติ
Scrub แผลให้สะอาด
ใช้Gauze drain ชุบBetadine หรือ0.9%NSS ยัดในแผล
กรณีที่แผลมีขนาดใหญ่ เย็บแผลหลวมๆ
ให้วัคซีนป้องกันบาดทะยัก วัคซีนพิษสุนัขบ้า ยาปฏิชีวนะ และยาแก้ปวด
พักต์เพ็ญ สิริคุตต์. โรคพิษสุนัขบ้าในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 28 กรกฎาคม 2565, จาก
https://www.pidst.or.th/A659.html