Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลเพื่อตอบสนองความต้องการด้านการหายใจ, นางสาวชรินทร์นภัทร อนันเต่า…
การพยาบาลเพื่อตอบสนองความต้องการด้านการหายใจ
การไอ (COUGH)
เป็นกระบวนการขับหลั่งสิ่งแปลกปลอมของระบบการหายใจ โดยผ่านกลไกของ cough reflex เป็นกลไกการป้องกันตามธรรมชาติ เกิดได้ทั้งจงใจและไม่จงใจ
การไอมี 2 ลักษณะ
ไอแห้ง เป็นอาการไอจากอาการคันและระคายเคือง
ภายในลำคอ โดยไม่มีเสมหะหรือมูกหนาเกิดขึ้น
ไอแบบมีเสมหะ เป็นอาการไอพร้อมกับมีเสมหะภายในลำคอ ซึ่งร่างกายสร้างขึ้นเพื่อช่วยกำจัดสารหรือสิ่งสกปรกที่ติดค้างภายในลำคอ
การพยาบาล
สังเกตและบันทึกลักษณะ เสียง และความถี่ห่างของการไอ ถ้าไอมีเสมหะให้สังเกต บันทึกจำนวน ลักษณะ สีและกลิ่นของเสมหะด้วย
ประเมินประสิทธิภาพในการไอ
ดูแลเรื่องความสะอาดของปากและฟันและสิ่งแวดล้อม เพื่อช่วยลดอาการเบื่ออาหาร
กระตุ้นให้ดื่มน้ำอุ่นบ่อยๆ และปริมาณมาก (หากไม่มีข้อจำกัด) เพื่อให้เสมหะอ่อนตัว
กระตุ้นให้เปลี่ยนอิริยาบถบ่อยๆ เพื่อให้เสมหะที่ค้างในปอดเคลื่อนออกมาได้ง่ายจากการเปลี่ยนท่าทาง
สอนการไออย่างมีประสิทธิภาพ (effective cough) โดยการให้ผู้ป่วยนั่งหรือนอนยกศีรษะสูงมากๆ หายใจเข้าลึกๆ เกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้อง กลั้นหายใจสักครู่ แล้วไอออกมาแรงๆ โดยเฉพาะผู้ป่วยหลังผ่าตัดที่มักกลัวเจ็บต้อง อธิบายให้ทราบถึงความจำเป็น
ดูแลให้ยาเพื่อช่วยบรรเทาอาการไอตามแผนการรักษาของแพทย์
ไอเป็นเลือด (HEMOPTYSIS)
หมายถึงการไอออกมีแล้วมีเลือดออกจากทางเดินหายใจตั้งแต่กล่องเสียง (larynx) ลงไป (ไม่รวมเลือดกำเดา / epistaxis) มีปริมาณเลือดเห็นได้ชัดเจน คือมากกว่า 2มิลลิลิตรขึ้นไป และต้องแยกออกจากการ อาเจียนเป็นเลือด (hematemesis) ซึ่งมีเลือดออกมาจากทางเดินอาหาร
เกิดจาก
อุบัติเหตุ
การอักเสบ การติดเชื้อ
เนื้องอก มะเร็ง
การพยาบาล
ให้ผู้ป่วยพักผ่อนและให้การหายใจเคลื่อนไหวน้อยที่สุด อาจให้ออกซิเจน หรือยาจำพวกมอร์ฟีนเพื่อให้ผู้ป่วยพัก
ประเมินชีพจร หายใจ และความดันโลหิตเพื่อประเมินอาการเปลี่ยนแปลงและความรุนแรงของการเสียเลือด
เตรียมเครื่องมือในการช่วยเหลือเช่น laryngoscope และ bronchoscope เพื่อเอาก้อนเลือดที่อาจอุดตันทางเดิน หายใจ
ถ้าเสียเลือดมากอาจต้องให้เลือด ให้เฝ้าระวังการแพ้ที่อาจเกิดขึ้นได้
ผู้ป่วยอาจตกใจมาก ทำให้มีอาการหายใจเร็วขึ้น (hyperventilation) พยาบาลต้องคอยปลอบโยน และ
ควบคุม ตนเองไม่ให้ตกใจซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยเกิดความเชื่อมั่นและลดความตกใจ
สะอึก (HICCUP)
การสะอึกเป็นอาการที่เกิดจากการหดตัวของกล้ามเนื้อกระบังลมที่อยู่ตรงรอยต่อระหว่างช่องปอดและช่องท้องที่ทำให้เกิดการหายใจเอาอากาศเข้าไปก่อน และจะหยุดหายใจเข้าทันทีทันใดเพราะปากหลอดลมจะปิด ทำให้เสียงดังของการสะอึกเกิดขึ้นทุกครั้งไป การสะอึกอาจเกิดขึ้นช่วงสั้นๆและหายไปได้เอง หากพบว่าการสะอึกเป็นอยู่นาน และบ่อยครั้ง อาจต้องหาสาเหตุว่ามาจากโรคของอวัยวะต่างๆ ควบคู่ไปด้วย
สาเหตุ
เชื่อกันว่าเกิดจากการรับประทานอาหารมากเกิน เร็วเกินไป
บางคนอาจจะมีความตึงเครียดมากไป
บางคนอาจเกิดจากการดื่มเครื่องดื่มประเภทมีแอลกอฮอล์
ในกระเพาะอาหารและการบริโภคอาหารที่ทำให้มี ก๊าซมาก
สูบบุหรี่มากเกินไป
ยาบางชนิด
หลักการให้ออกซิเจน
วัตถุประสงค์
1.เพื่อเพิ่มความเข้มข้นของออกซิเจนในกระแสเลือด
ลดภาวะพร่องออกซิเจน
เพื่อให้สัญญาณชีพอยู่ระดับปกติ
เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับความสุขสบาย
หายใจลำบาก (DYSPNEA)
คือ ภาวะซึ่งผู้ป่วยต้องใช้ความพยายามหรือใช้แรงในการหายใจ
สาเหตุ
สาเหตุเกี่ยวกับทางเดินหายใจ เช่น ทางเดินหายใจอุดกั้น หน้าที่ของปอดถูกทำลาย เป็นต้น
สาเหตุเกี่ยวกับหัวใจ เช่น การทำงานของหัวใจไม่ดี เนื่องจากกล้ามเนื้อบางส่วนของหัวใจตายหรือลิ้นหัวใจ รั่ว ในผู้ป่วยที่มีอาการซีกซ้ายของหัวใจวายอาการหายใจลำบากอาจเกิดขึ้นในเวลากลางคืน และเป็นพักๆ เป็นต้น
สาเหตุเกี่ยวกับประสาท ทำให้การควบ คุมการหายใจไม่ดี เช่น ในโรคไขสันหลังอักเสบ เป็นต้น
ผู้ป่วยที่หายใจลำบากอาจมีอาการหอบหืด (wheeze) ร่วมด้วย
การพยาบาล
ดูแลให้ผู้ป่วยนอนศีรษะสูง
ประเมินสัญญาณชีพ ประเมินการหายใจ
การประเมินอาการและอาการแสดงที่แสดงถึงภาวะขาดออกซิเจนในเลือด ประเมิน
ปริมาณออกซิเจนในเลือดจากการตรวจร่างกาย
เตรียมเครื่องมือ เครื่องใช้ต่างๆ สำหรับช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉิน เช่นการใส่ท่อช่วยหายใจ (Endotrachial tube)
ขจัดสิ่งอุดกั้นทางเดินหายใจ เช่นสิ่งแปลกปลอม เสมหะ
ดูแลให้ออกซิเจน เพื่อให้ได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ
ดูแลให้ยาขยายหลอดลม ยาขับเสมหะ ยาฆ่าเชื้อ ยาลดการอักเสบ เป็นต้น ตามแผนการรักษา
นางสาวชรินทร์นภัทร อนันเต่า 64170015