Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม เน้นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างสิ่…
ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม เน้นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้า(Stimulas) และการตอบสนอง (Response) จะนำไปสู้ความสามารถในการแสดงพฤติกรรมคือ การเรียนรู้นั่นเอง
Edward Lee Thorndike
ที่ศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง
การทดลองที่สำคัญ คือ การจับแมวใส่ในกรงแล้วให้แมวหาทางออกเองด้วยการลองผิดลองถูกไปเรื่อย ๆ ซึ่งThorndike อธิบายหลักการนี้ได้ด้วยทฤษฎีการเชื่อมโยง (Connectionism Theory) ) ซึ่งกล่าวถึงการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้า (Stimulus : S)กับการตอบสนอง (Response : R) โดยมีหลักพื้นฐานว่า “การเรียนรู้ เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง”“การลองผิดลองถูก” (Trialand Error)
- กฎการเรียนรู้หลัก 3 กฎ (Three Major Laws of Learning) ประกอบด้วย
1.1 กฎแห่งความพร้อม (Law of Readiness) การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ ถ้าบุคคลมีความพร้อมทั้ง
ร่างกายและจิตใจ
1.2 กฎแห่งการฝึกหัด (Law of Exercise) เมื่อบุคคล
เกิดการเรียนรู้แล้ว หากได้รับการฝึกหัดหรือกระทำบ่อย ๆ จนเกิดความช านาญและเป็นความเคยชินจะท าให้
การเรียนรู้นั้นคงทนถาวร
1.3 กฎแห่งผลการตอบสนอง (Law of Effect) พฤติกรรมใดก็ตามเมื่อตอบสนองหรือกระท าแล้ว
ได้รับความสุข ความพึงพอใจ และความภูมิใจ บุคคลก็อยากที่จะกระทำพฤติกรรมนั้นต่อไป
- กฎการเรียนรู้ย่อย 5 กฎ (Five Subordinate Laws of Learning) ซึ่งเป็นกฎที่สนับสนุนกฎ
หลัก 3 ข้อข้างต้น ประกอบด้วย
2.1 กฎแห่งการแสดงพฤติกรรมตอบสนองหลายรูปแบบ (Multiple Response) เมื่อบุคคลพบสิ่งเร้าหรือสถานการณ์ที่เป็นปัญหา บุคคลจะแสดงพฤติกรรมตอบสนองออกมาหลายรูปแบบไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะพบพฤติกรรมที่สามารถแก้ปัญหาได้ถูกต้อง
2.2 กฎแห่งการเตรียมพร้อมหรือเจตคติ (Set of Attitude) บุคคลที่มีความพร้อมหรือมีเจตคติที่ดีจะสามารถเรียนรู้และประสบความสำเร็จได้ง่ายาบุคคลที่ขาดความพร้อมหรือมีเจตคติที่ไม่ดีต่อการเรียนรู้
2.3 กฎการเลือกพฤติกรรมตอบสนอง (Law of Partial Activity) บุคคลจะเลือกแสดงพฤติกรรมต่าง ๆ ที่เห็นว่าเหมาะสมเพื่อใช้ในการตอบสนองต่อสถานการณ์ที่เป็นปัญหาและเมื่อค้นพบ พฤติกรรมตอบสนองที่สามารถปัญหาได้แล้วก็จะหยุดพฤติกรรมลองผิดลองถูกลง
2.4 กฎแห่งการตอบสนองโดยอาศัยประสบการณ์ที่มีความคล้ายคลึงหรือเกี่ยวข้องกัน (Law of
Response Analogy) ) เมื่อบุคคลประสบกับปัญหา บุคคลนั้นมีแนวโน้มที่จะน าเอาประสบการณ์จากการ
แก้ปัญหาในอดีตที่มีความคล้ายคลึง ใกล้เคียง หรือเกี่ยวข้องกันมาใช้ในการแก้ปัญหา
2.5 กฎแห่งการถ่ายโยงจากสิ่งเร้าเก่าไปสู่สิ่งเร้าใหม่ (Law of Association Shifting) บุคคลจะ
เกิดการเรียนรู้ได้ง่ายและเร็วขึ้น ถ้าบุคคลนั้นมองเห็นสิ่งเร้าใหม่และสิ่งเร้าที่เคยประสบมามีความสัมพันธ์กันจะท าให้การกระท าสิ่งเร้าใหม่กระทำได้ง่ายขึ้น
John B. Watson
เป็นผู้นำแนวคิดของ Pavlov มาใช้ในการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับสิ่งเร้าและการ
ตอบสนอง เขาได้ชื่อว่าเป็นบิดาของกลุ่มพฤติกรรมนิยมและเป็นผู้ที่น ามนุษย์เข้ามาร่วมในการทดลองเพื่อ
ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมซึ่งสามารถสรุปผลการทดลองเป็นทฤษฎีการเรียนรู้ได้ดังนี้
- พฤติกรรมเป็นสิ่งที่สามารถควบคุมให้เกิดขึ้นได้ โดยการควบคุมสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขให้สัมพันธ์กับ
สิ่งเร้าตามธรรมชาติ และการเรียนรูจะคงทนถาวรหากมีการให้สิ่งเร้าที่สัมพันธ์กันนั้นควบคู่กันไปอย่าง
สม่ำเสมอ
- เมื่อสามารถทำให้เกิดพฤติกรรมใด ๆ ได้ ก็สามารถลดพฤติกรรมนั้นให้หายไปได้
-
-
-
-
-