Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การเเก้ไขปัญหาสุขภาพชุมชน, นางสาวขนิษฐา ชาญเลิศ รหัสนักศึกษา 62102301013 …
การเเก้ไขปัญหาสุขภาพชุมชน
การเขียนโครงการ
แบบแผนการเขียนโครงการแบบดั้งเดิม
(Conventional Plan Design)
เป้าหมาย เป็นการกำหนดสิ่งที่โครงการต้องการให้ เกิดในปริมาณที่แน่นอน ชัดเจน ตามระยะเวลาที่ กำหนดสอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วิธีการดำเนินงาน เป็นการกำหนดกิจกรรมการ ทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาหรือสาเหตุ โดยระบุ วัน เวลา ซึ่งคาดว่าดำเนินการแล้วจะส่งผลให้บรรลุเป้าหมายที่ กำหนด
วัตถุประสงค์
ลักษณะที่ดี 5 ประการในการเขียนวัตถุประสงค์คือ SMART
S = Sensible = เป็นไปได้ในการทำโครงการ
M = Measurable = วัดได้ ประเมินผลได้
A = Attainable = ระบุสิ่งที่ต้องการดำเนินงาน ชัดเจน
R = Reasonable = เป็นเหตุเป็นผลในการปฏิบัติ งาน
T = Time = มีขอบเขตเวลาที่แน่นอนใน การปฏิบัติงาน
ระยะเวลา ตั้งแต่เริ่มเขียนโครงการ จนถึง ประเมิน ผลของโครงการ
หลักการและเหตุผล เขียนความเรียงเพื่อชี้ให้เห็น สภาพความเป็นจริงของปัญหา และผลกระทบที่เกิด ขึ้น พร้อมมีข้อมูลสนับสนุน(ควรเขียนข้อมูลที่น่าเชื่อถือ)
งบประมาณ
ชื่อโครงการ สั้น กระชับ สอดคล้องกับกลวิธีหรือ กิจกรรมที่ทำเพื่อทราบว่าเป็นโครงการเรื่องอะไร
การประเมินผล
ผู้รับผิดชอบโครงการ
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
ผู้เขียน ผู้เสนอ ผู้เห็นชอบ ผู้อนุมัติโครงการ
ผังกำกับงาน (Gantt Chart)
สถานที่ดำเนินงาน
การวางแผนงาน
ความหมาย
การวางแผนเป็นกระบวนการที่กำหนดงานที่จะ ต้องทำในอนาคตโดยใช้วิธีที่เหมาะสมที่สุด
ประเภทของแผน
ประเภทของแผนแบ่งตามเวลา
1.1 แผนระยะยาว
1.2 แผนระยะปานกลาง
1.3 แผนระยะสั้น
ประเภทของแผนแบ่งโดยอาศัยการกระทำเป็นหลัก เป็นแผนซึ่งใช้การกระทำเป็นตัวกำหนด
2.1 แผนเพื่อการกระทำซ้ำหรือแผนถาวร
2.2 แผนเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ซ้ำซ้อน หรือแผนเพื่อ ใช้ครั้งเดียว
ประเภทของแผนแบ่งตามพื้นที่
3.1 แผนชาติ
3.2 แผนภาค
3.3 แผนพื้นที่
ลักษณะของแผนงานอนามัยชุมชนที่ดี
ตั้งอยู่บนรากฐานของความเป็นจริง
มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน เข้าใจง่าย และเป็นไปตาม สถานการณ์ของความเป็นจริง จูงใจให้มองเห็น แนวทางการแก้ไขปัญหา
มีกลยุทธ์หรือกิจกรรมการแก้ไขปัญหาที่สามารถ ปฏิบัติได้
กำหนดการใช้ทรัพยากรและงบประมาณได้อย่าง เหมาะสมกับชุมชนและเกิดประโยชน์สูงสุด
กำหนดระยะเวลาการทำงานที่แน่นอนตั้งแต่เริ่มต้น จนสิ้นสุดการทำงาน
กำหนดขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบในการปฏิบัติ งานให้แก่บุคลากรในทีมงานอย่างเหมาะสม
สามารถประเมินความสำเร็จของงานได้
มีลักษณะยืดหยุ่นและง่ายต่อการปรับปรุงแก้ไข
เป็นแผนที่สอดคล้องกับนโยบาย
การจัดกิจกรรมแก้ไขปัญหาสุขภาพ
ปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน
บทบาทของชุมชนในการแก้ไขที่เกิดขึ้นในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน
การสร้างเครือข่ายภายในชุมชน
การไกล่เกลี่ยโดยคนในชุมชน
การให้ความรู้แก่คนในชุมชน
แนวทางการลดปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนโดยชุมชน
การแก้ไขปัญหาสุขภาพชุมชน
ปัญหาสาธารณสุข (health problem identification) ถ้าเป็นปัญหาเรื่องโรคควรระบุใน รูปของอัตราการเจ็บป่วย อัตราตาย แต่ถ้าเป็น ปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ให้ระบุในรูปของสภาวะที่ ทำให้เกิดปัญหาอย่างชัดเจน
การวิเคราะห์ปัญหาและสภาวะที่เกี่ยวข้องกับ ปัญหา(problem and related condition analysis) จากการเก็บรวบรวมข้อมูลทำให้ทราบ ว่าอะไรเป็นปัญหาของชุมชน ให้วิเคราะห์สาเหตุ ของปัญหานั้น ๆ อย่างมีหลักวิชาและเหตุผล (ตาม Web of causation) หรือ อาศัยหลักวิทยาการ ระบาดเชิงพรรณนา (descriptive epidemiology) ว่าโรคหรือปัญหาสาธารณสุขในด้านของบุคคล เวลา และสถานที่ (person place and time)
เป้าประสงค์ในการแก้ปัญหา (goal) จากการ วิเคราะห์อย่างละเอียดแล้วจะทราบถึงความ สามารถในการแก้ปัญหาว่าได้มากน้อยเพียงใด แล้วนำมาตั้งเป้าประสงค์ และระยะเวลาที่จะบรรลุ ถึงเป้าประสงค์
กลวิธีทางสาธารณสุขในการแก้ปัญหา (public health strategies) หมายถึง กลวิธีต่าง ๆ หรือ กลุ่มกิจกรรมที่จะนำมาแก้ไขปัญหาสาธารณสุขที่ พบในชุมชนนั้น จะต้องอาศัยวิธีการทาง
วิทยาศาสตร์ เป็นการแก้ปัญหาตามทฤษฎีร่วมกับ ทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนนั้น ๆ อุปสรรคที่เกิดขึ้น เมื่อเปรียบเทียบน้ำหนัก ก็สามารถเลือกวิธีที่จะ เป็นไปได้มากที่สุด โดยดูใน 4 มิติ ส่งเสริม ป้องกัน รักษา ฟื้นฟู
ทรัพยากรหรือแหล่งประโยชน์หรือขุมพลังที่จะใช้ ในการแก้ปัญหา (resources) หมายถึงวัสดุ อุปกรณ์ ยานพาหนะ บุคลากร เงิน (รวมเงินงบประมาณด้วย)
การประเมินผล (evaluation) เป็นการกำหนด ดัชนี เกณฑ์ เครื่องมือ รูปแบบและวิธีการประเมินผลการ ดำเนินงาน จะต้องมีการประเมินเป็นระยะ คือ ระยะ สั้นและระยะยาว การประเมินผลและการดำเนินการ เป็นระยะ ๆ หรือการประเมินผลความก้าวหน้าของการ ดำเนินงาน ขณะที่ได้ดำเนินงานไประยะหนึ่ง ผู้รับผิด ชอบในการดำเนินงานควรจะต้องประเมินหรือติดตาม ผลการทำงานว่า ได้ดำเนินงานเป็นไปตามรูปแบบ หรือโครงการที่วางไว้หรือไม่ มากน้อยเพียงใด มีประสิทธิผล ประสิทธิภาพหรือไม่ มีปัญหาขัดข้องอะไร บ้างที่จะต้องแก้ไข หรือแม้แต่จะต้องปรับปรุงแผนเสีย ใหม่ก็ต้องกระทำเพราะถ้าปล่อยทิ้งไว้จะเกิดผลเสีย ภายหลัง การประเมินงานนี้อาจจะกระทำได้จากการ ศึกษาหารือกันระหว่างหัวหน้างานที่รับผิดชอบ กิจกรรมต่าง ๆ
นางสาวขนิษฐา ชาญเลิศ
รหัสนักศึกษา 62102301013