Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน่วยไตอักเสบเฉียบพลัน (Acute glomerulonephritis/AGN) - Coggle Diagram
หน่วยไตอักเสบเฉียบพลัน
(Acute glomerulonephritis/AGN)
ข้อมูลทั่วไป : ผู้ป่วยเด็กหญิงไทย อายุ 8 ปี
น้ำหนัก 34 กิโลกรัม
อาการสำคัญ : ปวดศีรษะมาก มีอาเจียน 2 ครั้ง
ประวัติเจ็บป่วยปัจจุบัน : 1 สัปดาห์ก่อนมาโรงพยาบาล เป็นหวัด เจ็บคอ มารดาซื้อยามาให้รับประทาน อาการดีขึ้น 1 วันก่อนมาโรงพยาบาลมีอาการตัวบวม ถ่ายปัสสาวะ เป็นสีเเดงน้ำล้างเนื้อ ปวดศีรษะมา มีอาเจียน 2 ครั้ง มารดาจึงพามาโรงพยาบาล
ผลการตรวจร่างกาย
Pupil 2 mm react to light
บวมทั่วตัวโดยเฉพาะหนังตาใบหน้าและท้อง
ใส่สายสวนปัสสาวะค้างไว้
อาการปัจจุบัน : ผู้ป่วยเด็กหญิงไทย อายุ 8 ปี รู้สึกตัวดี หายใจ 30 ครั้ง/นาที บวมที่หน้าเเละท้อง ปวดศีรษะมาก ถ่ายปัสสาวะเป็นสีเเดงน้ำล้างเนื้อ อาเจียน 2 ครั้ง retain foley catheter สัญญาณชีพ T=38.9 องศาเซลเซียส ชีพจร 98 ครั้ง/นาที ความดันโลหิต 200/150 มิลลิเมตรปรอท
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล
เสี่ยงต่อการเกิดอาการชักซ้ำจากการมีความดันโลหิตสูง เนื่องจากการเพิ่มปริมาตรของน้ำและเกลือในร่างกาย
และจากการไหลเวียนของGFR ลดลง
ทำให้เกิด total peripheral resistance เพิ่มขึ้น
เป้าหมายการพยาบาล
ไม่เกิดอาการชักซ้ำ บวมลดลง
เกณฑ์ประเมินผล
ความดันโลหิตลดลง อยู่ในช่วง 90/60-120/80 มิลลิเมตรปรอท
กิจกรรมการพยาบาล
ดูแลให้ได้รับยาตามแผนการักษาของแพทย์
2.1 Adalat 5 มิลลิกรัม
อยู่ในกลุ่ม calcium channel blocker โดยยับยั้งการเข้าเซลล์ของแคลเซียม ทำให้หลอดเลือดขยาย ความดันโลหิตจึงลดลง
ผลข้างเคียง : ปวดศีรษะ มึนงง หน้าแดง และบวม
2.2 Lasix 30 มิลลิกรัมทางหลอดเลือดดํา
ออกฤทธิ์ยับยั้งการดูดกลับของโซเดียมและคลอไรด์ที่บริเวณลูปออฟเฮนเล ส่วนขาขึ้น เพิ่มการขับออกของโพแทสเซียมและแอมโมเนีย ลดการขับออกของกรดยูริก เพิ่มการทำงานของเรนนิน นอร์อีพิเนปฟรีน และ อาร์จีนิน-วาโซเพรสซิน
การดูแลหลังให้ยา
1 more item...
2.3 Phenobarbital gr. I 1 เม็ดครึ่ง รับประทาน เช้าและก่อนนอน
ยาควบคุมอาการชักเกร็ง
1 more item...
เฝ้าระวังอาการชัก โดยการสังเกตอาการเตือนหรืออาการบ่งขี้ก่อนชัก เกร็งกระตุกแขนขาข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้งสองข้าง หรืออาจเป็นทั้งตัว อาจมีตาลอย ตากระตุก เรียกไม่รู้ตัว
เตรียมการช่วยเหลือ หากมีการชัก ป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดจากการชัก
หรือหลังการชักอาจมีภาวะขาดออกซิเจน
จำกัดกิจกรรม การเคลื่อนไหว หรือการออกกำลัง เนื่องจากความดันโลหิตสูงหรือต่ำอาจมีอาการปวดศีรษะ ตาพร่ามัว สับสน
ผู้ป่วยบางรายต้องทำกิจกรรมทุกอย่างที่เตียง ผู้ป่วยอาจคิดว่าถูกทำโทษ ถูกขัง และห้ามไม่ให้ลงจากเตียง ทำให้เกิดความรู้สึกเครียดได้ ต้องเข้าใจความรู้สึกของผู้ป่วย
ต้องอธิบายเหตุผลให้ทราบ ให้เข้าใจวัตถุประสงค์ที่แท้จริง
ของการห้ามลงจากเดียงว่าเป็นช่วงระยะเวลาสั้น ๆ
ที่มีอาการความดันโลหิตสูง
อาจให้บิดามารดาหรือผู้ดูแลเด็กอยู่ด้วยดลอดเวลา
จัดหาของเล่น หรือกิจกรรมการเล่นที่ไม่ต้องใช้กำลังมาก เมื่อทุเลาจากอาการปวดศีรษะ หรืออาการที่ไม่สุขสบายต่างๆ เช่น การฟังนิทาน การวาดภาพ ระบายสี อ่านหนังสือการ์ตูน
ผู้ป่วยจะมีความสุข มีความรู้สึกที่ดีกับพยาบาล มีสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน และช่วยผ่อนคลายความวิดกกังวลของผู้ป่วยและช่วยให้เกิดความร่วมมือในการดูแลรักษา
วัดและลงบันทึกสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง
จัดให้ผู้ป่วยพักนอนในบริเวณใกล้กับเคาน์เตอร์พยาบาล จะได้สะดวกในการดูแลช่วงระดับความดันโลหิตเปลี่ยนแปลง และมีโอกาสเกิดภาวะเฉียบพลันต่างๆได้ เช่น อาการเหนื่อย อาการแสดงทางปอดทางหัวใจ
จัดสภาพแวดล้อมให้เงียบ สงบ กิจวัตรประจำวัน และหัดถการ
ต่างๆ ต้องทำที่เตียง และทำด้วยความรวดเร็ว นุ่มนวล ใช้ระยะเวลาสั้น
เพื่อให้ผู้ป่วยพักผ่อนอย่างเต็มที่
บันทึกน้ำดื่ม และปัสสาวะ
เพื่อประเมินภาวะน้ำเกินในระบบไหลเวียนซึ่งส่งผลให้มีความดันโลหิดสูงตามมา
ดูแลการจำกัดน้ำดื่ม และดูแลให้ความสำคัญกับปริมาณน้ำที่ผู้ป่วยได้รับนอกจากน้ำดื่มปกติที่จัด
ไว้ให้ เช่น การซื้อน้ำดื่มมาเอง การรับประทานอาหารหรือผลไม้ที่มีน้ำมาก เช่น อาหารประเภทแกงจืด แดงโม
ใช้สูตรการคำนวณพื้นที่ผิวกาย ดังนี้
พื้นที่ผิวกาย = (4W+7)/ W+90
(W = น้ำหนักตัวของผู้ป่วย)
= (4(34)+7)/ 34+90
=1.153
พื้นที่ผิวกาย + ปริมาณปัสสาวะ(มล.)/วัน
ดูแลการจำกัดเกลือ ลดปริมาณเกลือโซเดียมและโปตัสเซียม
รับประทานอาหารที่มีรสเค็มน้อย (low salt diet) ให้ได้รับเกลือประมาณ 1-2 กรัม/วัน
ชั่งน้ำหนักตัวทุกวัน
เพื่อประเมินภาวะบวม
ติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ข้อมูลสนับสนุน
S : ปวดศีรษะมาก
O : บวมที่หน้าและท้อง อาเจียน3-4ครั้ง
O : อุณหภูมิ 38.9 องศาเซลเซียส
O : ความดันโลหิต 200/150 มิลลิเมตรปรอท
O : เคยมีอาการชักจากความดันโลหิตสูง และหยุดหายใจ แพทย์ใส่ท่อช่วยหายใจ และ Valium 5 มิลลิกรัม 2 ครั้ง Gardenal sodium 700 มิลลิกรัม เพื่อระงับอาการชักเกร็ง ผู้ป่วยหยุดชักแต่ยังมีอาการเกร็ง
ผู้ป่วยเคยมีการติดเชื้อและมีโอกาสติดเชื้อเพิ่ม
เป้าหมายการพยาบาล
มีการติดเชื้อในร่างกายลดลง
เกณฑ์การประเมินผล
ไม่มีอาการไข้ อุณหภูมิอยู่ในช่วงปกติ
36.1-37.8 องศาเซลเซียส
และตรวจไม่พบเชื้อแบคที่เรียในเลือด
กิจกรรมการพยาบาล
ดูแลให้ยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษา และสังเกตอาการข้างเคียง
Pen v (4 แสนยูนิต) 1 เม็ด รับประทานวันละ 4 ครั้ง ก่อนอาหารและก่อนนอน
อาการข้างเคียง : เวียนศีรษะ คลื่นไส้
ยาเพนนิซิลินจะออกฤทธิ์โดยการเข้าไปทำลายผนังเซลล์ของแบคทีเรียที่เรียกว่า เปปไทโดไกลแคน (Peptidoglycan) ทำให้เชื้อแบคทีเรียไม่สามารถเจริญเติบโตได้ อาการติดเชื้อจึงค่อยๆ ดีขึ้น
ดูแล และให้คำแนะนำเรื่องสุขอนามัยส่วนบุคคล ความสะอาดร่างกาย ปาก ฟัน
สำรวจว่ามีฟันผุรือไม่ ถ้ามีควรส่งปรึกษาทันตแพทย์
ดูแลตรวจสอบผ้าอ้อมทุก
2ชม. เมื่อพบการอุจจาระเปลี่ยนผ้าอ้อม ทำความสะอาดตั้งแต่อวัยวะเพศจนถึงบริเวณทวารหนัก
สวมเสื้อผ้าให้ถูกต้องตามฤดูกาล
เพื่อให้ร่างกายอบอุ่นอยู่เสมอ
สังเกต และบันทึกสัญญาณชีพทุกวัน
จัดสิ่งแวดล้อมให้เงียบสงบ และสะอาดมากที่สุด
ดูแลสาย foley catheter
ทำความสะอาดอวัยวะเพศและสาย foley catheter อย่างน้อยเวรละ1ครั้ง
ดูแลไม่ให้สายหัก พับงอ บีบไล่น้ำปัสสาวะในสายให้ไหลลงถุง
ดูแลไม่ให้สายเลื่อนหลุด และแขวนถุงปัสสาวะไว้ต่ำกว่ากระเพาะปัสสาวะ
สังเกตปริมาณ ลักษณะ สี ของปัสสาวะ
ปริมาณ ลักษณะ สี ของปัสสาวะบ่งบอกถึงการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ
ติดตามผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ข้อมูลสนับสนุน
S : 1 สัปดาห์ก่อนมาโรงพยาบาล เป็นหวัด เจ็บคอ มารดาซื้อยามาให้รับประทาน อาการดีขึ้น 1 วันก่อนมามีอาการตัวบวม ถ่ายปัสสาวะเป็นสีแดงน้ำล้างเนื้อ ปวดศีรษะมาก มีอาเจียน 2 ครั้ง มารดาจึงพามาโรงพยาบาล
O : อุณหภูมิ 38.9 องศาเซลเซียส
O : ตรวจปัสสาวะพบเม็ดเลือดแดงมากกว่า 100/ HFP
ปัสสาวะเป็นสีน้ำล้างเนื้อ พบโปรตีน4+ cast
O : retain foley catheter
ผู้ป่วยอยู่ในระหว่างการปรับตัวไม่ดี มีความวิตกกังวลจากการแยกจาก
เป้าหมายการพยาบาล
ผู้ป่วยปรับตัวขณะอยู่ในโรงพยาบาลได้ดีขึ้น
เกณฑ์การประเมินผล
ผู้ป่วยแสดงสีหน้าสดใส พูดคุยกับแพทย์ พยาบาล และผู้ป่วยอื่นด้วยดี
ให้ความร่วมมือในการรักษาพยาบาล
กิจกรรมการพยาบาล
สร้างสัมพันธภาพกับผู้ป่วยบิดา มารดา และผู้ดูแล ให้การต้อนรับที่อบอุ่น เป็นมิตร ด้วยอัธยาศัยอันดี
ถ้าระยะแรกผู้ป่วยไม่ให้ความร่วมมือ เช่น ไม่ยอมอยู่ที่เตียง ไม่ยอมเปลี่ยนเสื้อผ้าโรงพยาบาล เกาะติดมารดาตลอดเวลา ไม่ให้ตรวจวัดสัญญาณชีพ
ถ้าประเมินสภาพผู้ป่วยแล้วเห็นว่ารอได้ ควรผ่อนปรน
ยืดหยุ่น ให้เวลาแก่ผู้ป่วยในการปรับตัว
แนะนำสถานที่ เตียงพักนอน ห้องน้ำ ห้องส้วม เพื่อน ๆ
ผู้ป่วยด้วยกัน และบุคลากรที่ดูแลผู้ป่วย
อธิบายเหตุผลที่ต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาล
จัดกิจกรรมการเล่นที่เหมาะสมกับวัย พัฒนาการ และสภาพการเจ็บป่วยขณะนั้น
ให้การดูแลช่วยเหลือกิจวัตรประจำวัน
ให้บิดามารดา ผู้ดูแล มีส่วนร่วมในการวางแผนการรักษา และดูแลผู้ป่วยในขอบเขดที่สามารถทำได้
เช่น การช่วยเช็ดตัวลดไข้ การป้อนยา การเปลี่ยนเสื้อผ้า
ให้ความรู้แก่ผู้ป่วย บิดามารดา และผู้ดูแล เกี่ยวกับโรค การเจ็บป่วย และการปรับตัวตามความสามารถในการรับรู้
ให้โอกาสและเวลาแก่ผู้ป่วย บิดามารดา และผู้ดูแลในการพูดคุย ซักถามสิ่งที่ต้องการรู้ในขอบเขตหน้าที่ที่พยาบาลสามารถบอกได้ และพิจารณาว่าบอกแล้วเกิดประโยซน์ต่อผู้ป่วย บิดามารดา และผู้ดูแล
ข้อมูลสนับสนุน
O:ต้องห่างจากมารดา
O:ต้องนอนรักษาที่โรงพยาบาล
ผู้ป่วยมีโอกาสกลับเป็นซ้ำ หรือได้รับการดูแลไม่ถูกต้อง ไม่ต่อเนื่อง
เป้าหมายการพยาบาล
ผู้ป่วยได้รับการดูแลถูกต้อง ต่อเนื่อง ไม่กลับเป็นซ้ำ
เกณฑ์ประเมินผล
บิดามารดาตอบข้อซักถามในเรื่องความรู้ในการดูแลผู้ป่วยได้ถูกต้อง
2.มารับการตรวจตามแพทย์นัด
กิจกรรมการพยาบาล
ให้ความรู้และคำเเนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวขณะอยู่โรงพยาบาล โดยอาจให้ความรู้เป็นราย
บุคคลหรือเป็นกลุ่ม ในเรื่องต่อไปนี้
1.1 การดูแลสุขอนามัย ร่างกาย ปาก ฟัน
1.2 การพักผ่อนอย่างเพียงพอ
1.3 อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง และอาหารที่ควรรับประทาน
1.4 การจำกัดน้ำดื่มในช่วงระยะแรก
1.5 การได้รับยาตามแผนการรักษา และการสังเกตอาการผิดปกติหลังได้รับยา
1.6 การจำกัดกิจกรรมในระยะแรก
1.7 การพูดคุยสนทนาในกลุ่มผู้ปกครองเด็กที่ป่วยด้วยโรคเดียวกัน
ให้ความรู้และคำเเนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวก่อนกลับบ้าน
2.1 การดูแลความสะอาดปากฟัน ถ้าฟันผุและยังไม่ได้รับการแก้ไขครบถ้วน ควรมาพบทันตแพทย์
2.2 การพักผ่อนอย่างเพียงพอ
2.3 รับประทานอาหารจำกัดเกลือต่ออีกสักระยะหนึง ก่อนมาตรวจตามแพทย์นัด
2.4 ไม่จำกัดน้ำดื่ม แต่ควรสังเกตการขับถ่ายปัสสาวะ และลักษณะของปัสสาวะ
2.5 งดการออกกำลังกายที่ต้องใช้แรงมาก เพราะมีโอกาสกลับเป็นซ้ำ
2.6 ไม่ควรไปเที่ยวในที่ชุมชนมาก เช่น ห้างสรรพสินค้า โรงภาพยนตร์ ตลาดนัดศูนย์การค้า
2.7 รับประทานยาตามแผนการรักษาอย่างต่อเนื่อง เมื่อยาหมด ไม่ควรซื้อยาให้ผู้ป่วยรับประทานเอง ควรพาผู้ป่วยมาพบแพทย์
2.8 ควรมาพบแพทย์ตามวัน เวลานัด หรือมาก่อนนัดถ้าผู้ป่วยมีอาการผิดปกติ เช่น อาการบวม ปัสสาวะสีชาเข้ม ถ่ายปัสสาวะน้อย เป็นต้น
ข้อมูลสนับสนุน .
O:ไม่มีความรู้ในการดูเเลตนเองจึงเป็นโรคหน่วยไตอักเสบเฉียบพลัน
พยาธิสภาพ
มีการเปลี่ยนเเปลงที่บริเวณ glomeruli มีการอักเสบ บวม
มีเซลล์เพิ่มขึ้น
หลอดเลือดฝอยในไตตีบเเคบลง บางส่วนขาดเลือดไปเลี้ยง
การทำงานของ glomerular filtration rate (GFR) เริ่มตั้งเเต่ร่างกายได้รับเชื้อซึ่งเป็นตัวกระตุ้น เรียกว่า เเอนติเจน (antigen)
ร่างกายสร้างภูมิต้านทานเเอนติบอดี (antibody)ขึ้น
เกิดปฏิกิริยาเชิงซ้อน (antigen antibody complex) เกาะที่ผนังหลอดเลือดฝอยในไต
เกิดการอักเสบของผนังหลอดเลือด
พบNeutrophil และ Monocyte มีการหลั่งเอนไซม์ทำลายผนังหลอดเลือด
1 more item...
สาเหตุ
เกิดจากกลไกของภูมิต้านทานเชิงซ้อน (immune complex mechanism) ของร่างกายที่มีต่อการติดเชื้อ
เชื้อที่พบบ่อย
เเบคทีเรีย
Group A beta hemolytic streptococcus, Streptococcus pneumoniae
ไวรัส
Hepatitis B, Cytomegalovirus
พาราสิต
Plasmodium malariea, Plasmodium falciparum
ริกเก็ตเซีย (Ricketsia)
Scrub Typhus
เชื้อรา
Coccidioides Immituu
การติดเชื้อทางเดินหายใจ
ทอนซิลอักเสบ ไข้หวัด คอหอยอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ
พบส่วนมากจะเป็นเชื้อเเบคทีเรีย Group A hemolytic Streptococcus
การติดเชื้อที่ผิวหนัง
เเผลตุ่มหนองพุพอง เเผลจากการเป็นสุกใส
เเผลจากเเมลงกัดต่อย
มักพบเชื้อ staphylococcus
การวินิจฉัย
1.การซักประวัติการเจ็บป่วย
ประวัติการเจ็บป่วยในระบบทางเดินหายใจหรือทางผิวหนังที่ผ่านมาก่อนการเจ็บป่วยครั้งนี้ (1-3 สัปดาห์) เพื่อสืบค้นว่ามีการติดเชื้อมาก่อนหรือไม่
ประวัติการขับถ่ายปัสสาวะ (จำนวนครั้ง/วัน ปริมาณ
การถ่ายเเต่ละครั้ง ถ่ายปัสสาวะสะดวกหรือลำบาก ลักษณะปัสสาวะขุ่น มีตะกอน หรือมีสีผิดปกติ)
ประวัติอาการ เเละอาการเเสดงก่อนมาโรงพยาบาล
2.การตรวจร่างกาย
การบวมของหนังตา บวมทั้งตัว ท้องบวมโต บวมปลายมือปลายเท้า สีผิวซีด อ่อนเพลีย ซึม ปวดศีรษะ ความดันโลหิตสูง มีเเผลพุพองตามตัวเเละอาการไอ ต่อมทอนซิลโต บ่นเจ็บคอ มีการอักเสบในช่องปาก คอแดง เป็นต้น
3.อาการเเละอาการเเสดง
อาการเเละอาการเเสดงทั่วไป
ถ่ายปัสสาวะมีเลือดปน
ปัสสาวะเป็นสีเเดงน้ำล้างเนื้อ
บวม
มีอาการบว
ความดันโลหิตสูง
ความดันโลหิต 200/150 mmHg
ถ่ายปัสสาวะน้อย
อาการเเละอาการเเสดงที่พบบ่อย
pulmonary edema
dyspnea
ซีด
อาการเเละอาการเเสดงที่พบครั้งคราว
โรคที่ทำให้สมองเสื่อม
อาการสับสน
ปวดศีรษะ
ปวดศีรษะ
ง่วงซึม
อาการชัก
4.การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
4.1 การตรวจปัสสาวะ (urine examination)
ในระยะที่รุนเเรงมีการปัสสาวะน้อย พบความถ่วงจำเพาะของน้ำปัสสาวะประมาณ 1.020 osmolality มากกว่า 700 Osm/kg เเละมี pH เป็นกรด
-อาจพบมีเสือดปนในปัสสาวะ โดยน้ำปัสสาวะมีสีแดง หรือสีน้ำล้างเนื้อ หรือบางรายอาจพบเม็ดเลือดเเดงในปัสสาวะ อาจจะหายไปได้ภายใน 2-3 สัปดาห์ เเต่อาจกลับมาตรวจพบอีก
-พบโปรตีนในปัสสาวะ เเต่ไม่เกิน 3+
-มีการตกตะกอนของเม็ดเลือด
4.2 การตรวจเลือด
-การตรวจ CBC (Complete Blood Count) พบ WBC ประมาณ 12,000-15,000/ มิลลิลิดร
serum complement
ทำ streptozyme test เพื่อหา antibody ต่อ streptococcal exoenzyme (ASTZ)
serum ASO titre (Antistreptolysin 0) พบได้หลัง 10 วันของการติดเชื้อและจะคงอยู่นาน 4-6 สัปดาห์ ได้ค่าเกิน 250 todd unit แต่ในรายที่ได้รับยาปฏิชีวนะมาก่อนแล้ว ค่า ASO titre อาจพบไม่ถึง 250 todd unit
-serum electrolyte ปกติ ยกเว้นในรายที่มีภาวะไตวายเฉียบพลันร่วมด้วยจะพบ ค่า uric acid, creatinine และ blood urea nitrogen (BUN) สูง
serum potassium สูงขึ้น
4.3 การตรวจเพาะเซื้อ (culture)
throat swab culture (TSC) คือ การย้อมเพาะเชื้อ เเละตรวจหา antigen ของเเบคทีเรีย
5.การตรวจทางรังสีวิทยา
การถ่ายภาพรังสีทรวงอก (chest x-ray) ในรายที่มีอาการเหนื่อยหอบ มักพบ pulmonary
edema หรือหัวใจโต
6.การตรวจพิเศษ
-การเจาะตัดชิ้นเนื้อไต (renal biopsy) ส่งตรวจ ทำในรายที่ไม่รู้ระยะการเริ่มต้นของการติดเชื้อ
-การตรวจคลื่นหัวใจ (ECG หรือ EKG) อาจพบจังหวะการเต้นของหัวใจผิดปกติ
-การทำอัลตราซาวน์ที่ไต (renal ultrasound)
ภาวะเเทรกซ้อน
1.ภาวะทางสมองที่เกิดจากความดันโลหิตสูงหรือภาวะความดันโลหิตร่วมกับอาการทางระบบประสาทส่วนกลาง ได้เเก่ ปวดศีรษะ อาเจียน ตาพร่ามัว ซึม สับสน ไม่ค่อยรู้สึกตัว ชัก หมดสติ
2.ภาวะปอดบวมไปจนถึงการเเพร่กระจายน้ำในช่องปอด
3.ภาวะหัวใจโตไปจนถึงหัวใจวาย
4.ภาวะการทำงานของไตล้มเหลวเฉียบพลัน
การรักษา
1.การพักผ่อน จำเป็นต้องจำกัดกิจกรรมเเละทำกิจวัตรประจำวันบนเตียง เเต่สามารถลุกไปทำกิจวัตรประจำวันที่ห้องน้ำได้ โดยไม่ต้องใช้เเรงเยอะ
2.จำกัดน้ำดื่ม
3.จำกัดเกลือ ลดปริมาณเกลือโวเดียมเเละโพเเทสเซียม
4.จำกัดสารอาหารโปรตีน
5.รักษาด้วยยา
ให้ยาขยายหลอดเลือด
ยาต้านฤทธิ์ adrenalin
รักษาด้วยยาปฏิชีวนะ
ให้ยาที่ช่วยลดปริมาตรของน้ำในร่างกาย คือ ยาขับปัสสาวะ
6.การให้ออกซิเจน
ในรายที่มีอาการหอบเหนื่อย
7.ให้เลือด
ในรายที่เสียเลือดทางปัสสาวะหรือมีภาวะซีดจากไตเสียหน้าที่
8.ทำ peritoneal dialysis