Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การแก้ไขปัญหาสุขภาพชุมชน : - Coggle Diagram
การแก้ไขปัญหาสุขภาพชุมชน
:
แบบแผนการเขียนโครงการแบบดั้งเดิม
(Conventional Plan Design)
รูปแบบ (Form) หรือโครงสร้าง (Structure)
ชื่อโครงการ
หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
ผู้รับผิดชอบโครงการ
หลักการและเหตุผล
วัตถุประสงค์และเป้าหมาย
วิธีดําเนินการ
แผนปฏิบัติงาน
ระยะเวลาในการดําเนินโครงการ
งบประมาณและทรัพยากรที่ต้องใช้
การติดตามและประเมินผลโครงการ
ข้อดี
เขียนโครงการจึงสามารถเขียนได้อย่างรวดเร็ว ขณะเดียวกันผู้มีอำนาจในการอนุมัติโครงการก็คุ้นชินกับโครงการในลักษณะนี้ จึงสามารถพิจารณาโครงการได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะโครงการขนาดเล็กที่ไม่มีความเกี่ยวข้อง หรือส่งผลกระทบต่อด้านอื่นๆ มากนัก การเขียนโครงการในลักษณะนี้ นับว่าเป็นรูปแบบที่เหมาะสม
ข้อจำกัด
ลักษณะของโครงการมีความยาวเกินความจำเป็นมุ่งเน้นปริมาณมากกว่าคุณภาพ ทำให้ผู้เขียนโครงการพยายามอธิบายถึงหลักการและเหตุผล ในการเขียนโครงการอย่างมากมาย พร้อมทั้งตั้งวัตถุประสงค์ไว้อย่างเลิศเลอ จนกระทั่งไม่สามารถจะดำเนินงานบรรลุถึงวัตถุประสงค์ได้ทั้งหมดผลที่ตามมา คือไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง
การดําเนินโครงการ
(Community implementation
ควรทํากิจกรรมเป็นไปตามขั้นตอนของแผนงานโครงการที่เขียนไว้ และบันทึกผลการปฎิบัติงานของประชาชนในชุมชน
การนําสาธารณสุขมูลฐานมาใช้ในการปฏิบัติงานแก้ไขปัญหา ได้แก่ การมีส่วนร่วมของชุมชน การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมแก่ชุมชน การส่งเสริมให้ประชาชนเข้าใจในการดูแลสุขภาพของตนเองมากขึ้นการประสานงานกับหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาคุณภาพชีวิต
ขั้นเตรียมงาน
เตรียมความพร้อมของทีม การประชุมปรึกษา กำหนดตัวบุคคลและการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบ กำหนดแนวทางการประสานงาน
เตรียมความพร้อมของทรัพยากรและงบประมาณ เครื่องมือที่จะนำไปใช้
การประชาสัมพันธ์ แจ้งให้ประชาชนทราบ วันเวลา วัตถุประสงค์ ให้ได้รับรู้ ตระหนัก และมีส่วนร่วมในการทำงาน
ขั้นดำเนินงาน
กำหนดกิจกรรมหรือแนวการปฏิบัติงานแก้ปัญหา ผู้รับผิดชอบ ทรัพยากร งบประมาณ
การปฏิบัติงานเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องต้องมีการบริหารจัดการ การอำนวยการ มอบหมายงาน จำเป็นอย่างยิ่งต้องมีการควบคุมกำกับ เพื่อดูว่าการดำเนินงานมีความก้าวหน้ามากน้อยเพียงใด มีปัญหาหรืออุปสรรคหรือไม่
การแก้ไขปัญหาสุขภาพชุมชน
1 ควบคุมอัตราการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร โดยการคุมกำเนิดเพื่อให้ลดลงเหลือร้อยละไม่เกิน 1.0 จะทำให้ประเทศไทยมีประชากรไม่มากจนเกินไป การบริการด้านสุขภาพของภาครัฐและเอกชน ก็จะสามารถตอบสนองความต้องการได้เพียงพอและทั่วถึงมากยิ่งขึ้น
2 การปรับปรุงสภาพแวดล้อม โดยจัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ จัดการสุขาภิบาล สิ่งแวดล้อมเพื่อลดปัญหามลพิษต่างๆ
3 เน้นกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพให้มากขึ้น เช่น การส่งเสริมให้ประชาชนออกกำลังกายเป็นประจำ ส่งเสริมให้ประชาชนรู้จักเลือกบริโภคอาหาร และควบคุมในเรื่องของอาหารที่เป็นพิษภัยต่อสุขภาพ
4 จัดสวัสดิการในการรักษาพยาบาลแก่ผู้ที่ยากจนหรือผู้ที่ด้อยโอกาส ปัจจุบันรัฐบาลได้ดำเนินโครงการ 30 บาท รักษาทุกโรค
5 เพิ่มงบประมาณด้านสาธารณสุข โดยเพิ่มทั้งด้านการซื่อยา เครื่องมือแพทย์ เวชภัณฑ์ และอุปกรณ์ทางการแพทย์ การสร้างสถานพยาบาลต่างๆ และการผลิตบุคลากรทางการแพทย์
การวางแผนงาน / การเขียนโครงการ
(Community planning)
แผนงานหลักหรือแผนแม่บท (master plan)
การดําเนินงานที่ดีจะต้องจัดทําแผนงานหลักไว้ให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ในแผนงานหลักมักเขียนในรูปของตาราง
การจัดทําแผนงานสาธารณสุข นิยมจัดเป็น 2 อย่าง
คือ แผนงานหลัก และแผนงานย่อย
ประเภทของแผนแบ่งโดยอาศัยการกระทําเป็นหลักเป็นแผนซึ่งใช้การกระทําเป็นตัวกําหนด
แผนเพื่อการกระทําซ้ําหรือแผนถาวร
แผนเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ซ้ําซ้อน หรือแผนเพื่อ
ใช้ครั้งเดียว
การวางแผนเพื่อพัฒนาสุขภาพอนามัยของชุมชน เป็นการกําหนดบริการเกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรทางด้านสาธารณสุข ให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด โดยจะทําให้คนในชุมชนมีการพัฒนาสุขภาพอนามัยทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม จิตวิญญาณที่ดีขึ้น
ประเภทของแผน
แบ่งตามเวลา
1.1 แผนระยะยาว ได้แก่ แผนที่มีระยะดําเนินงานตั้งแต่ 5-10 ปีขึ้น เช่น แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
1.2 แผนระยะปานกลาง ได้แก่ แผนซึ่งมีระยะดําเนินงานอยู่ระหว่าง 2-5 ปี เช่น แผนระดับกระทรวง
1.3 แผนระยะสั้น ได้แก่ แผนซึ่งมีระยะดําเนินงานอยู่ระหว่าง 2 ปีลงไป เช่น แผนระดับท้องถิ่น
2.แบ่งโดยอาศัยการกระทําเป็นหลักเป็นแผนซึ่งใช้การกระทําเป็นตัวกําหนด
2.1 แผนเพื่อการกระทําซ้ำหรือแผนถาวร
2.2 แผนเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ซ้ำซ้อน หรือแผนเพื่อ
ใช้ครั้งเดียว
3.แบ่งตามพื้นที่ เป็นแผนที่กําหนดขึ้นโดยยึดพื้นที่เป็นหลัก
3.1 แผนชาติ เป็นการวางแผนในลักษณะกําหนดเป็นแนวทางหรือนโยบาย
3.2 แผนภาค เป็นการวางแผนในลักษณะของการมุ่งเน้นการปฏิบัติโดยยึดนโยบายเป็นกรอบ
3.3 แผนพื้นที่ เป็นการวางแผนในลักษณะของแผนงานหรือโครงการ โดยเน้นกิจกรรมการแก้ไขปัญหา
4.แบ่งตามลายลักษณ์อักษร
4.1 แผนที่มีลายลักษณ์อักษรเป็นหลักฐานสามารถตรวจสอบได้เมื่อต้องการ
4.2 แผนที่ไม่มีลายลักษณ์อักษร เป็นการวางแผนที่ไม่สามารถตรวจสอบหลักฐานได้ มักเป็นแผนที่ไม่ยุ่งยากหรือเกี่ยวกับทรัพยากรจํานวนไม่มาก เช่น แผนประจำวัน
ลักษณะของแผนงานอนามัยชุมชนที่ดี
‣ ตั้งอยู่บนรากฐานของความเป็นจริง
‣ มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน เข้าใจง่าย และเป็นไปตามสถานการณ์ของความเป็นจริง จูงใจให้มองเห็นแนวทางการแก้ไขปัญหา
‣ มีกลยุทธ์หรือกิจกรรมการแก้ไขปัญหาที่สามารถปฏิบัติได้
‣ กําหนดการใช้ทรัพยากรและงบประมาณได้อย่างเหมาะสมกับชุมชนและเกิดประโยชน์สูงสุด
‣ กําหนดระยะเวลาการทํางานที่แน่นอนตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดการทํางาน
‣ กําหนดขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบในการปฏิบัติ
งานให้แก่บุคลากรในทีมงานอย่างเหมาะสม
‣ สามารถประเมินความสําเร็จของงานได้
‣ มีลักษณะยืดหยุ่นและง่ายต่อการปรับปรุงแก้ไข
‣ เป็นแผนที่สอดคล้องกับนโยบาย