Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรับผิดกระทำละเมิดด้วยตนเอง - Coggle Diagram
ความรับผิดกระทำละเมิดด้วยตนเอง
ความหมายของการกระทำ
การกระทำ หมายถึงความเคลื่อนไหวของบุคคล โดยรู้สึกในความเคลื่อนไหวของตนและ หมายถึงการงดเว้นหรือละเว้นไม่กระทำการตามหน้าที่ที่ต้องกระทำ
ตัวอย่าง นางสำลีลุกขึ้นเดินไปกินข้าว ดังนี้ย่อมเป็นการกระทำของนางสำลีเพราะนางสำลีรู้สึกในความเคลื่อนไหวของตนเองที่ลุกขึ้นเดินไปกินข้าว
ตัวอย่าง เด็กที่อายุ 5-6 ขวบตีเพื่อนก็ถือว่าเป็นการกระทำ หรือบุคคลป่วยวิกลจริตและคนเมาเเต่ไม่ถึงกับขาดสติไม่รู้สึกว่าตนทำอะไรลงไปแต่รู้สึกถึงในความเคลื่อนไหว ก็ย่อมถือว่าเป็นการกระทำ
ผู้เยาว์และบุคคลวิกลจริต มาตรา 429 บัญญัติว่า “บุคคลใดแม้ไร้ความสามารถเพราะเหตุเป็นผู้เยาหรือบุคคลวิกลจริตก็ยังต้องรับผิดในผลที่ตนทำละเมิด”
การงดเว้นไม่กระทำ แยกพิจารณาได้ดังนี้
•หน้าที่ตามกฏหมาย ตัวอย่างสามีภริยามีหน้าที่ที่ต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกันหรือบุตรจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา
•หน้าที่ตามสัญญา ตัวอย่างมีสัญญาจ้างแพทย์รักษาโรค แต่แพทย์ไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ที่เกิดจากสัญญาคือไม่ยอมรักษา เป็นผลให้เกิดความเสียหายแก่ตัวเขาย่อม เป็นการงดเว้นจึงเป็นทั้งผิดสัญญาและละเมิด
•หน้าที่เกิดจากความสัมพันธ์ทางข้อเท็จจริงที่มีอยู่ระหว่างผู้งดเว้นกับผู้เสียหายหรือเป็นผลมาจากทางข้อเท็จจริงซึ่งผู้งดเว้นได้ก่อขึ้น
การกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ
จงใจ หมายถึงการกระทำโดยรู้สำนึกถึงผลเสียหายที่จะเกิดขึ้นจากการกระทำของตนเอง
ตัวอย่าง โทรศัพท์ของนางสำลี และนางสีวางอยู่ใกล้กันแต่นางสำลีดันไปหยิบเอาโทรศัพท์ของนางสีไป ดังนั้นนางสำลีไม่ได้กระทำโดยจงใจ หรือนายโชคชกต่อยนายชัย โดยคิดจะให้นายชัยเพียงปากแตกโลหิตไหลบังเอิญนายชัยล้มศรีษะฟาดกับพื้นสลบไป ดังนั้นก็เป็นการที่นายโชคทำร้ายร่างกายนายชัยโดยจงใจ
ประมาทเลินเล่อ หมายถึงไม่จงใจแต่ไม่ใช้ความระมัดระวังตามควรที่จะใช้รวมถึงในลักษณะที่บุคคลผู้มีความระมัดระวังจะไม่กระทำด้วย
ตัวอย่าง นายมีขับรถจักรยานยนต์จะผ่านทางรถไฟ แต่ไม่มีป้ายสัญญาณหยุดบอกไว้ แต่ก็มีป้ายบอกเครื่องหมายว่ามีทางรถไฟข้างหน้าแสดงไว้ แต่นายมีได้ขับรถจักรยานยนต์ด้วยความเร็วมาก ทำให้ขับชนกับรถไฟ ดังนั้นจึงเป็นความประมาทของนายมีที่ไม่ชะลอความเร็วและดูความปลอดภัยก็ขับผ่าน
การกระทำโดยผิดกฎหมาย
การใช้สิทธิ์ซึ่งมีแต่จะให้ความเสียหายแก่ผู้อื่น
มาตรา 421 บัญญัติว่า “การใช้สิทธิ์ซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นนั้น ท่านว่าเป็นการอันมิชอบด้วยกฏหมาย”
ตัวอย่าง เจ้าหน้าที่ตำรวจจับผู้ต้องหาว่ากระทำความผิดแต่แกล้ง ไปจับในเวลาที่กำลังอยู่ในวงการสังคมโดยที่สามารถจับในที่อื่นได้ แต่ไม่จับในที่นั้น
ความยินยอมไม่ทำให้เป็นละเมิด หลักเกณฑ์การให้ความยินยอม
• ผู้ให้ความยินยอมต้องเป็นผู้ถูกกระทำหรือเป็นผู้มีอำนาจให้ความยินยอมแทน ตัวอย่างผู้ใช้อำนาจปกครองหรือผู้ปกครองมีอำนาจให้ความยินยอมแทนผู้เยาว์
• การให้ความยินยอมจะต้องให้ก่อนหรือขณะกระทำผิด
• การให้ความยินยอมต้องให้แก่ผู้กระทำโดยตรง ยกเว้นบางกรณีอาจให้โดยเฉพาะเจาะจงหรือไม่ก็ได้ ตัวอย่างยินยอมให้แพทย์ทำศัลยกรรมจมูกโดยไม่ได้ระบุว่าเป็นแพทย์ผู้ใด
• การให้ความยินยอมต้องโดยสมัครใจปราศจากการทำฉ้อกลหลอกลวงข่มขู่
• การให้ความยินยอมเมื่อผู้กระทำเข้าใจในผลแห่งความยินยอมแล้วแม้จะขัดต่อสำนึกในศีลธรรมอันดีก็ไม่เป็นละเมิดในทางแพ่ง เว้นแต่เป็นการนั้นทำผิดอาญาบางประเภทซึ่งกฎหมายบัญญัติไว้ว่าจะได้รับความยินยอมของผู้กระทำหรือไม่ก็เป็นความผิด เช่นการกระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปีโดยเด็กนั้นยินยอมหรือไม่ก็ตามก็ถือว่าเป็นความผิดตาม ปอ.มาตรา 277
• การให้ความยินยอมมีขอบเขตจำกัด ถ้าผู้กระทำทำนอกเหนือความให้ความยินยอมหรือ กระทำโดยประมาทเลินเล่อย่อมรับผิดฐานละเมิด
• การให้ความยินยอมอาจให้โดยตรงหรือโดยปริยายก็ได้
• การให้ความยินยอมอาจถอนได้ก่อนมีการกระทำ
การกระทำฝ่าฝืนบทบังคับแห่งกฎหมาย
มาตรา 422 บัญญัติว่า “ถ้าความเสียหายเกิดแต่การฝ่าฝืนบทบังคับแห่งกฎหมายใดอันมีที่ประสงค์เพื่อปกป้องบุคคลอื่นๆผู้ใดทำการฝ่าฝืนเช่นนั้นท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้นั้นเป็นผู้ผิด”
ตัวอย่าง การที่รถยนต์จำเลยเเล่นเข้าไปชนรถยนต์โจทก์ทางด้านขวาของถนน เบื้องต้นศาลสันนิษฐานตามกฏหมายว่ารถยนต์จำเลยเป็นผู้ผิด จำเลยมีหน้าที่ต้องนำสืบหักล้างว่าจำเลยมิใช่เป็นผู้ผิด หรือขับรถด้วยความเร็วสูงโดยขับขี่ผ่านเป็นการประมาทเลินเล่อ
การกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น
มีความเสียหายต่อสิทธิ
ตัวอย่าง นายชัยใช้มือที่สะอาดตบศีรษะ นางสาววันไม่มีอะไรเปรอะเปื้อนร่างกายของนางสาววัน หรือนายมีใช้ก้อนหินขว้างปาบ้านของนายโชค ถูกกระเบื้องมุงหลังคาแต่ไม่แตกไม่จำเป็นต้องซ่อมแซมเปลี่ยนใหม่ ความคิดเห็นของบุคคลธรรมดาทั่วไปอาจเห็นว่าไม่เกิดความเสียหายแก่นางสาววันหรือบ้านของนายโชคไม่เสียหายซึ่งโดยแท้จริงแล้วการที่นายชัยตบศีรษะนางสาววันแล้วก็ดี นายมีขว้างปาบ้านของนายโชคก็ดี ในสายตาของกฎหมายย่อมถือว่าเกิดความเสียหายแก่นางสาววันหรือนายโชคแล้ว
ลักษณะแห่งสิทธิ
“สิทธิได้แก่ประโยชน์อันบุคคลมีอยู่” จะเห็นได้ว่าตามบทบัญญัติมาตรา 420 ที่กล่าวถึงชีวิตร่างกายอนามัยเสรีภาพทรัพย์สินหมายถึงว่าสิ่งต่างๆเหล่านี้ย่อมเป็นวัตถุแห่งสิทธิ์
ตัวอย่าง สิทธิที่จะใช้ที่หรือทางสาธารณะผู้ใดมากีดขวางย่อมเป็นการละเมิด หรือสิทธิที่จะใช้น้ำจากทางน้ำสาธารณะเมื่อมีผู้ใดมาขัดขวางย่อมเป็นละเมิด
ความเสียหายที่คำนวณเป็นตัวเงินได้และไม่อาจคำนวณเป็นตัวเงินได้
ตัวอย่าง ไข่ทำร้ายร่างกายไก่ ไก่ต้องเสียค่าพาหนะในการไปโรงบาลตลอดจนค่ารักษาพยาบาลหรือ การที่ไก่ทำงานไม่ได้เป็นการสูญเสียความสามารถประกอบการทำงานในภายหน้า ดังนี้เป็นความเสียหายที่คำนวณเป็นตัวเงินได้และเมื่อบาดแผลหายแล้วมีรอยแผลเป็นอยู่ย่อมเป็นความเสียหายอันคำนวณเป็นเงินไม่ได้
ความเสียหายนั้นเป็นผลมาจากการกระทำของผู้ทำความเสียหาย
ความเสียหายอันเป็นผลมาจากการจะทำความเสียหายนั้นตามกฏหมายไทยเห็นว่าควรใช้ทฤษฎีความเท่ากันแห่งเหตุหรือทฤษฎีเงื่อนไขบังคับแต่ศาลอาจให้จำเลยรับผิดทั้งหมดหรือแต่เพียงบางส่วนหรือยกเว้นความผิดเสียเลยก็ได้
ทฤษฎีแห่งความเท่าเทียมกันแห่งเหตุหรือทฤษฎีเงื่อนไขถือว่าหากปรากฏว่าถ้าไม่มีการกระทำที่ถูกกล่าวหาแล้วผลจะไม่เกิดขึ้นแต่ไม่มีความเสียหายดังที่กล่าวอ้างผลที่เกิดขึ้นนั้นเป็นผลอันเกิดจากการกระทำที่ถูกกล่าวหา
ตัวอย่าง ก.ทำร้ายร่างกาย ทำร้ายร่างกาย ข. โดยเตะที่ท้องเบาๆ แต่ปรากฏว่า ข.มีโรคประจำตัวซึ่งถ้าหากถูกกระทบกระเทือนอย่างแรงเพราะอาจตายได้แต่ ก.ไม่ทราบมาก่อน ข.ถึงแก่ความตายดังนี้ความตายของเป็นผลมาจากการกระทำของ ก. ก.ไม่รู้ว่าขอเป็นโรคประจำตัดังกล่าวคิดเพียงแต่ว่า ข.อาจได้รับบาดเจ็บเล็กน้อยเท่านั้นแต่ ก.ก็ต้องรับผิดในความตายของ ข.
ทฤษฎีมูลเหตุเหมาะสม ถือว่าในบรรดาเหตุทั้งหลายที่ก่อให้เกิดผลนั้นในแง่ความรับผิดของผู้กระทำการใดใดแล้วเฉพาะแต่เหตุที่ตามปกติย่อมก่อให้เกิดผลเช่นว่านั้นที่ผู้กระทำจะต้องรับผิด
ตามตัวอย่างข้างต้นของทฤษฎีเงื่อนไข ปกติชนอย่าง นาย ก.ย่อมไม่ทราบว่านาย ข.มีโรคร้ายประจำตัว ถ้าทำร้ายเช่นนั้น นาย ข.อาจได้รับอันตรายถึงตายได้ นาย ก.จึงต้องรับผิดเฉพาะในกรณีที่ นาย ข.ได้รับบาดเจ็บอย่างธรรมดาเท่านั้นไม่ต้องรับผิดในความตายของ นาย ข.