Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรับผิดกระทำละเมิดด้วยตนเอง - Coggle Diagram
ความรับผิดกระทำละเมิดด้วยตนเอง
การกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น
1.มีความเสียหายต่อสิทธิ์
ที่จะถือว่ามีความเสียหายนั้นอาจไม่ตรงกับความคิดเห็นของบุคคลธรรมดาบางคนนักแต่ทำร้ายร่างกายหรือหลักทรัพย์กันย่อมถือว่าเป็นความเสียหายแน่นอนบุคคลธรรมดาทั่วไปย่อมคิดเห็นกันอย่างนั้นกฎหมายอาญาก็บัญญัติรับรองเอาไว้ว่าเป็นความผิดต่อร่างกายหรือทรัพย์สิน
2.ลักษณะแห่งสิทธิ์
สิทธิ์คืออะไรนั้นอากาศได้ว่า สิทธิ์ คือประโยชน์ที่บุคคลมีอยู่และบุคคลอื่นมีหน้าที่ต้องเคารพ ฎ.124 / 2487 วินิจฉัยได้ว่าสิทธิ์ได้แก่ประโยชน์อันบุคคลมีอยู่แต่ประโยชน์เป็นสิทธิ์หรือไม่ก็ต้องแล้วแต่ว่าบุคคลอื่นมีหน้าที่ต้องเคารพหรือไม่
3. ความเสียหายที่คำนวณเป็นตัวเงินได้และไม่อาจคำนวณเป็นตัวเงินได้
ความเสียหายอันเป็นมูลความรับผิดทางละเมิดนั้นอาจเป็นความเสียหายที่คำนวณเป็นเงินได้หรือไม่อาจคำนวณเป็นเงินได้ก็ได้
การกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ
1.จงใจ จงใจ หมายถึง รู้สำนึกถึงผลเสียหายที่จะเกิดจากการกระทำของตนจูงใจนั้นไม่เพียงแต่รู้สำนึกถึงความเคลื่อนไหวของตนเท่านั้นแต่ยังต้องรู้สึกนึกถึงผลเสียหายที่จะเกิดจากการกระทำของตนอีกด้วย
2.ประมาทเลินเล่อ
ประมาทเลินเล่อหมายถึง ไม่จงใจ แต่ไม่ใช้ความระมัดระวังตามสมควรที่จะใช้ในลักษณะที่บุคคลผู้มีความระมัดระวังจะไม่กระทำด้วย
การกระทำโดยผิดกฎหมาย
1.การใช้สิทธิ์ซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น
เมื่อมีสินแล้วไม่ได้หมายความว่าจะใช้อย่างไรก็ได้ตามใจชอบการใช้สิทธิ์อาจถือว่าเป็นการอันมิชอบด้วยกฏหมายได้
2.การกระทำฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
มาตรา 222 บัญญัติว่า
ถ้าความเสียหายเกิดแต่การฝ่าฝืนบทบังคับแห่งกฎหมายใดอันมีที่ประสงค์เพื่อปกป้องบุคคลอื่นๆผู้ใดทำการฝ่าฝืนเช่นนั้นท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้นั้นเป็นผู้ผิด
ความหมายของการกระทำ
คำว่า ผู้ใด มีความหมายเป็นเบื้องแรกว่าที่จะถือว่าเป็นการกระทำละเมิดได้นั้นต้องเป็นการกระทำของมนุษย์หาใช่ของสัตว์ไม่ เพราะสัตว์ไม่ใช่มนุษย์มิใช่บุคคล สัตว์จะก่อการกระทำละเมิดหาได้ไม่ เมื่อคำว่า ผู้ใด หมายถึงมนุษย์แล้วจึงรวมถึงบุคคลทุกชนิดไม่ว่าบุคคลที่บรรลุนิติภาวะแล้วหรือผู้เยาบุคคลวิกลจริต
ผู้เยาว์และบุคคลวิกลจริต
มาตรา 429 บัญญัติว่าบุคคลใดแม้ไร้ความสามารถเพราะเหตุเป็นผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริตก็ยังต้องรับผิดในผลที่ตนทำละเมิด
การงดเว้นไม่กระทำ
คำว่าการกระทำตามมาตรา 220 ไม่ได้หมายความแต่เพียงการกระทำในทางเคลื่อนไหวอิริยาบถเท่านั้นยังหมายถึงการงดเว้นไม่กระทำอีกด้วยแต่ต้องเป็นการงดเว้นหรือละเว้นไม่กระทำที่มีหน้าที่ต้องทำ
1.หน้าที่ตามกฏหมาย
สามีภริยามีหน้าที่ต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดู (มาตรา 1461)
2.หน้าที่ตามสัญญ
า ความจริงหน้าที่ตามสัญญาคือหน้าที่ตามกฏหมายเพราะสัญญาที่ใช้บังคับกันได้ย่อมเป็นกฎหมายระหว่างคู่สัญญา
3.
หน้าที่เกิดจากความสัมพันธ์ทางข้อเท็จจริงที่มีอยู่ระหว่างผู้งดเว้นกับผู้เสียหายหรือเป็นผลมาจากฐานะทางข้อเท็จจริงซึ่งผู้งดเว้นได้ก่อขึ้น
กว่านี้บุคคลที่อยู่ในฐานะอันสามารถควบคุมสิ่งของหรือบุคคลใดเพื่อความปลอดภัยของบุคคลอื่นย่อมมีหน้าที่ต้องทำการตามสมควรเพื่อความปลอดภัยของบุคคลอื่น
ความเสียหายนั้นเป็นผลมาจากการกระทำของผู้ทำความเสียหาย
1.ทฤษฎีความเท่ากันแห่งเหตุหรือทฤษฎีเงื่อนไข
ถือว่าหากปรากฎว่าถ้ามีการกระทำดังที่กล่าวหาแล้วผลจะไม่เกิดขึ้นเช่นนั้นจะไม่มีความเสียหายดังที่กล่าวอ้างผลที่เกิดขึ้นนั้นเป็นผลอันเกิดจากการกระทำที่ถูกกล่าวหา
2.ทฤษฎีมูลเหตุเหมาะสม
ถือว่าในบรรดาเหตุทั้งหลายที่ก่อให้เกิดผลนั้นในแง่ความรับผิดของผู้กระทำการใดใดแล้วเฉพาะแต่เหตุที่ตามปกติย่อมก่อให้เกิดผลเช่นว่านั้นที่ผู้กระทำจะต้องรับผิด