Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรับผิดกระทำละเมิดด้วยตนเอง - Coggle Diagram
ความรับผิดกระทำละเมิดด้วยตนเอง
ละเมิด ซึ่งเป็นคำกริยาที่มีความหมายว่าล่วงเกินหรือฝ่าฝืนจารีตประเพณีหรือกฎหมายที่บัญญัติไว้หรือล่วงเกิน ฝ่าฝืน ทำไปโดยพลการหากแต่คำนี้ในกฎหมายมีสถานะเป็นกฎหมายสำคัญเรื่องหนึ่งเลยทีเดียวเพราะละเมิดเป็นบ่อเกิดแห่งหนี้ชนิดหนึ่งในกฎหมายซึ่งนักกฎหมายจะเริ่มทำของเข้าใจความหมายของละเมิดก็จากการเรียนเริ่มต้นที่มาตรา 420 ของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา420 บัญญัติไว้ว่า “ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี เสรีภาพก็ดีทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิดจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น
ละเมิด คือ การกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อต่อบุคคลภายนอกโดยผิดกฎหมายเป็นเหตุให้
(ผู้ถูกกระทำ) เสียหายแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดีกฎหมายถือว่าผู้นั้นทำละเมิดจะต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการละเมิดนั้น (ป.พ.พ. ม.420)
ความหมายของการกระทำ
การกระทํา
การเคลื่อนไหวร่างกายหรือไม่เคลื่อนไหวร่างกายโดยรู้สึกนึก กล่าวคืออยู่ภายใต้บังคับของจิตใจ
องค์ประกอบ ผู้ใด+การเคลื่อนไหว+กระทําแบบรู้สำนึก
การกระทําโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ
มาตรา420 บัญญัติไว้ว่า “ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี เสรีภาพก็ดีทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิดจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น
ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิต ร่างกาย อนามัย เสรีภาพ ทรัพย์สินหรือสิทธิ
กระทำโดยรู้สำนึกและเกิดผล
จำเลยรื้อห้องน้ำ ห้องครัวซึ่งโจทย์ปลูกล้ำออกไปนอกที่เช่าของวัดโดยวัดต้องการจะขุดคูได้บอกให้โจทย์รื้อแล้วโจทย์ไม่ยอมรื้อการที่จำเลยรื้อแล้วกองไว้หลังบ้านโจทย์มิได้เจตนาชั่วร้ายทำให้ทรัพย์ของโจทย์อันตรายเสียหายไม่เป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์แต่เป็นละเมิด เพราะรู้ว่าแล้วว่าการรื้อนั้นจะทำให้ทรัพย์ของโจทย์เสียหาย (ฎีกาที่ 1617-1618/2500)
ประมาทเลินเล่อ คือ การกระทำมิใช่โดยเจตนา
แต่ปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์และผู้ถูกกระทำอาจใช้ความระมัดระวัง เช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่
ความระมัดระวังที่ว่านี้ต่างกับระมัดระวังในความรับผิดทางอาญา
อุทาหรณ์ 608/2521 จําเลยครอบครองใช้ประโยชน์ท่าเรือคนกรูกันจะลงเรือสะพานไม้ที่ทดลองลงสู่โป๊ะหักทำให้คว่ำจึงถือว่าความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ไม่ระมัดระวังดูแลให้สะพานท่าเทียบเรืออยู่ในสภาพแข็งแรงมั่นคงปล่อยให้สะพานไม้ที่ทอดไปสู่โป๊ะที่หัก
จำเลยต้องรับผิดในผลโดยตรงที่คนตกน้ำตายเพียงแต่ร้องห้ามมิให้คนกรูกันไปลงเรือไม่เป็นการใช้ความระมัดระวังอันเพียงพอ
1.3 การกระทำโดยผิดกฎหมาย
คือการที่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยชัดเจนแจ้งกรณีที่เห็นได้ชัดคือกฎหมายอาญา บัญญัติว่า การกระทำอันใดเป็นการผิดดังนั้นย่อมเป็นการกระทำผิดกฎหมายอย่างไม่มีปัญหา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา362
เว้นแต่กระทำโดยมีสิทธิตามกฎหมาย เช่น บิดามารดาสั่งสอนบุตร ครูบาอาจารย์ทำโทษศิษย์ตามสมควร เป็นต้น
การใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะเกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นเมื่อมีสิทธิแล้วมิได้ความหมายว่าจะใช้สิทธิอย่างไรก็ได้ตามใจชอบการใช้สิทธิอาจถือว่าเป็นการอันชอบด้วยกฎหมายได้ตามมาตรา421
การกระทำฝ่าฝืนบทบังคับแห่งกฎหมาย มาตรา422 “ถ้าความเสียหายเกิดแต่การฝ่าฝืนบทบังคับแห่งกฎหมายใดอันมีที่ประสงค์เพื่อปกป้องคนอื่นๆนั้นสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้นั้นเป็นผู้ผิดเว้นแต่จะพิสูจน์ได้
1.4 การกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น
การกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น
จะต้องมีความเสียหายที่เกิดขึ้นเมื่อยังไม่เกิดความเสียหายก็ยังไม่เป็นการละเมิด
แยกพิจารณาได้ 3กรณี
มีความเสียต่อสิทธิ เช่น ก.ใช้มือที่สะอาดตีแขน ข. ไม่มีอะไรเปรอะเปื้อนร่างกาย ข.
2.ลักษณะแห่งสิทธิ เช่น สิทธิที่จะใช้ที่หรือทางสาธารณะ ผู้ใดมากีดขวางย่อมเป็นละเมิด (ฎ.1095/2500,ฎ.1138-1139/2501,ฎ.427/2508,ฎ.949/2509
และ ฎ.640/2510)
3.ความเสียหายที่คำนวณเป็นตัวเงินได้และไม่อาจคำนวณเป็นตัวเงินได้
เช่น 3.1 ข.ชกต่อย ก.แต่ ก.ไม่บาดเจ็บ ไม่จำเป็นที่ก.ต้องรักษา เป็นความเสียหายอันคำนวณเป็นตัวเงินไม่ได้
3.2 ก.จับ ข. ไปกักขังอันเป็นการกระทำต่อเขาให้เสียหายในเสรีภาพ ย่อมเป็นความเสียหายที่คำนวณเป็นตัวเงินไม่ได้ แต่ถ้า ข. หนีออกมา ต้องเสียค่าพาหนะในการหลบหนีกลับมาบ้านย่อมเป็นความเสียหายที่คำนวณเป็นตัวเงินได้
1.5 ความเสียหายนั้นเป็นผลมาจากการกระทำของผู้ทำความเสียหาย
ความเสียหายนั้นเป็นผลมาจากการกระทำของผู้ทำความเสียหายแบ่งได้ 2 ทฤษฎี
ทฤษฎีความเท่าเทียมกันแห่งเหตุหรือทฤษฎีเงื่อนไข
ตัวอย่าง
ก. ทำร้ายร่างกายของ ข. โดยเตะที่ท้องเบาๆ แต่ปรากฎว่า ข. มีโรคร้ายประจำตัว ซึ่งถ้าหากถูกกระทบกระเทือนอย่างแรง ข. อาจตายได้ แต่ ก. ไม่ทราบมาก่อน ข.ถึงแก่ความตาย ดังนี้ ความตายของ ข. เป็นผลมาจากการกระทำของ ก. แม้ ก. จะไม่รู้ว่าข. เป็นโรคประจำดังว่านั้น คิดเพียงแต่ว่า ข. อาจจะได้รับบาดเจ็บเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่ ก. ก็ต้องรับผิดในความตายของ ข.
ทฤษฎีมูลเหตุเหมาะสม
ตัวอย่าง จากทฤษฎีที่1
ปกติชนอย่าง ก. ย่อมไม่ทราบว่า ข. มีโรคประจำตัว ถ้ามำร้ายเช่นนั้น ข. อาจได้รับอันตรายถึงตายได้ ก. จึงต้องรับผิดเฉพาะในกรณีที่ ข. ได้รับบาดเจ็บอย่างธรรมดาเท่านั้นไม่ต้องรับผิดในความตายของ ข.