Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรับผิดกระทำละเมิดด้วยตนเอง - Coggle Diagram
ความรับผิดกระทำละเมิดด้วยตนเอง
การกระทำโดยผิดกฎหมาย
การใช้สิทธิซึ่งมีเเต่จะให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น
เมื่อมีสิทธิแล้วมิได้หมายความว่าจะใช้อย่างไรก็ตามใจชอบการใช้สิทธิอาจถือว่าเป็นการอันมิชอบด้วยกฎหมายก็เป็นได้
มาตรา 421 บัญญํติว่า การใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะทำให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นคำว่า " ใช้สิทธิ " ในมาตรานี้หมายถึงกรณีที่ผู้กระทำการเสียหายมีสิทธิตามกฎหมายเสียก่อนถ้าหากเป็นการกระทำโดยไม่มีสิทธิหรือกระทำเกินกว่าสิทธิที่มีอยู่ ตามกฎหมายต้องพิจารณาตามมาตรา 420 อันเป็นหลักทั่วไป
ตัวอย่างเช่น นายเอต่อยนายบีโดยใช้สิทธิในความเป็นพี่น้องกันเเต่นายบีไม่ได้ยินยอม
มาตรา 421 บัญญัติไว้ว่า การใช้สิทธิซึ่งมีเเต่จะทำให้เกิดความเสียหายเเก่บุคคลอื่นนั้น ท่านว่าเป็นการอันมิชอบด้วยกฎหมาย
ที่ว่า " โดยผิดกฎหมาย " นั้นกรณีเห็นได้ชัดเจนคือกฎหมายอาญาบัญญัติว่าการกระทำอันใดเป็นความผิดดังนี้ก็ย่อมเป็นการกระทำผิดกฎหมายอย่างไม่มีปัญหา
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 ผู้ใดทำร้ายผู้อื่น จนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจของผู้อื่นนั้นผู้นั้นกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
แต่ความรับผิดฐานละเมิดไม่จำเป็นต้องมีกฎหมายบัญญัติโดยชัดเเจ้งว่าการกระทำอันใดถถือเป็นการกระทำผิดกฎหมาย คำว่าโดยผิดกฎหมายตามมาตรา 420 มีความหมายเเต่เพียงมิชอบด้วยกฎหมายดังเช่นที่บัญญัติไว้ในมาตรา 421
ดังกล่าวมาข้างต้นจึงหมายความว่าถ้ากระทำโดยมีสิทธิตามกฎหมายคือผู้กระทำมีอำนาจทำได้แม้จะกระทำให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นก็ไม่ผิดกฎหมายเช่นกัน
ผิดสิทธิของบิดามารดาที่จะทำโทษบุตรตามสมควรเพื่อการกล่าวตักเตือนเเละสั่งสอนตามหลักมาตรา 1567 (2)
ครู อาจารย์ที่จะกระทำการทำโทษ 10 ตามสมควร
การกระทำฝ่าฝืนบังคับแห่งกฎหมาย
มาตรา 422 บัญญัติไว้ว่า ถ้าความเสียหายเกิดแต่การฝ่าฝืนบทบังคับแห่งกฎหมายใดอันมีที่ประสงค์ เพื่อจะปกป้องบุคคลอื่นๆ ผู้ใดทำการฝ่าฝืนเช่นนั้น ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้นั้นเป็นผู้ผิด
พึ่งสังเกตว่าแม้จะมีบทบัญญัติมาตรา 422 ดังกล่าวหลักเกณฑ์ในมาตรา 420 ที่ว่ามีการกระทำโดยผิดกฎหมายจงใจหรือประมาทเลินเล่อเป็นอันสันนิษฐานได้ตามมาตรา 422 นี้แต่หลักเกณฑ์ประการอื่นคือมีความเสียหายเป็นผลเนื่องจากการกระทำฝ่าฝืนกฎหมายนั้นยังต้องพิสูจน์ให้ได้ความต่อไปเพียงเเต่กรณีในมาตรา 422 นี้กฎหมายได้สันนิษฐานว่าฝ่ายที่ฝ่าฝืนกฎหมายนั้นเป็นผู้ผิด
การกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ
หลักเกณฑ์ตามมาตรา 420 อีกข้อหนึ่ง คือโดยการจงใจประมาทเลินเล่อซึ่งจะเเยกพิจารณาเป็น 2 กรณี
จงใจ หมายถึง รู้สำนึกว่าจะเกิดผลเสียหายแก่บุคคลอื่นจากการกระทำของตนเองนั้น ฉะนั้นการกระทำโดยผิดหลงอยู่หรือการเข้าใจโดยสุจริตคือการเข้าใจผิดในข้อเท็จจริงจึงไม่เกิดเป็นการจงใจ
อุทาหรณ์ : ฎ.1053/2521
ตัวอย่าง นายเอชกต่อยกับนายบีโดยนายเอคิดไว้ว่าจะกระทำให้นายบีเเค่ปากแตกจนโลหิตไหลเเต่บังเอิญนายบีล้มลงจนทำให้เกิดการศรีษะฟาดกับพื้นจนศรีษะเเตกและสลบไป ดังนี้ก็ถือว่าการกระทำที่นายเอทำร้ายร่างกายนายบีโดยการจงใจ
ประมาทเลินเล่อ
หมายถึงไม่จงใจแต่ไม่ใช้ความระมัดระวังตามอันสมควรที่จะใช้รวมถึงในลักษณะที่บุคคลผู้มีความระมัดระวังจะไม่กระทำด้วยถ้าหากเป็นกรณีที่เป็นการจงใจก็ย่อมบังคับกันในลักษณะที่เป็นการจงใจอยู่เเล้ว
อุทาหรณ์ : ฎ.755/2472
อุทาหรณ์ : ฎ.608/2521
อุทาหรณ์ : ฎ.769/2510
การใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น
การใช้สิทธินั้นอาจจะถือว่าเป็นการอันมิชอบด้วยกฎหมายได้เพราะสิทธิต่างๆได้ก่อขึ้นโดยมีความมุ่งหมายบางอย่างโดยเฉพาะและสิทธิใดสิทธิหนึ่งย่อมจะสิ้นสภาพจากการเป็นสิทธิทันที
มาตรา 421 บัญญัติไว้ว่า การใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะทำให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นนั้นท่านว่าเป็นการอันมิชอบด้วยกฎหมาย
มาตรา 421 นี้ เป็นบทบัญญัติถึงผลอันสืบเนื่องมาจากมาตรา 5 อันเป็นหลักทั่วไปซึ่งบัญญํติว่าในการใช้สิทธิบุคคลต้องกระทำการโดยสุจริต
อุทาหรณ์ : ฎ.1982/2518
ความเสียหายนั้นเป็นผลมาจากการกระทำของผู้กระทำความเสียหาย
ตามหลักเรียกว่า ความสัมพันธ์ระหว่างเหตุผลกับผลหรือระหว่างความผิดกับความเสียหายไม่มีหลักแน่นแนที่จะปรับแก้กรณีต่างๆได้ทั่วไปทุกกรณี
ทฤษฎีความเท่ากันแห่งเหตุหรือทฤษฎีเงื่อนไข
ตัวอย่าง การที่นายเอทำร้ายร่างกายนายบีโดยที่นายเอตีท้องนายบีเบาๆแต่ปรากฏว่านายบีเกิดมีโรคประจำตัวซึ่งถ้าหากถูกการกระทบกระเทือนอย่างเเรงนายบีอาจถึงแก่ความตายได้ แต่นายเอไม่เคยทราบมาก่อนว่านายบีอาจถึงแก่ความตายได้ ดังนั้นความตายของนายบีเป็นผลมาจากการกระทำของนายเอเเม้นายเอจะไม่ทราบว่านายบีเป็นโรคดังกล่าวนั้น นายเอได้เเต่คิดเพียงว่านายบีอาจได้รับความบาดเจ็บเพียงเล็กน้อยเท่านั้นแต่สุดท้ายนายเอก็ต้องรับปิดในการกระทำที่อาจถึงเเก่ความตายของนายบี
ทฤษฎีมูลเหตุเหมาะสม
ถือว่าในบรรดาเหตุทั้งหลายที่ก่อให้เกิดผลขึ้นนั้น โดยในเเง่ความรับผิดของผู้กระทำการใดๆแล้วเฉพาะแต่เหตุที่ตามปกติย่อมก่อให้เกิดผล เช่นว่านั้นที่ผู้กระทำจะต้องรับผิดชอบ
ตัวอย่าง นายแดงย่อมไม่ทราบว่านายดำมโรคประจำตัว ถ้าหากทำร้ายร่างกายเช่นนั้นนายดำจะได้รับอันตรายอาจถึงแก่ความตายได้ นายเเดงจึงต้องรับผิดชอบเฉพาะในกรณีที่นายดำได้รับบาดเจ็บอย่างธรรมดาเท่านั้นและไม่ต้องรับผิดในการอาจถึงแก่ความตายของนายดำ
ความหมายของการกระทำ
การงดเว้นไม่กระทำ
อุทาหรณ์ : กรณีการงดเว้นกระทำจึงไม่เป็นละเมิด ตัวอย่าง : ฎ.857/2512
อุทาหรณ์ : กรณีการงดเว้นกระทำการเป็นละเมิด ตัวอย่าง : ฎ.1201/2502
คำว่า " การกระทำ " ตามมาตรา 420 มิได้หมายความแต่เพียงการกระทำในการเคลื่อนไหวตามอริยาบถเท่านั้นยังหมายถึงการงดเว้นไม่กระทำอีกด้วยแต่ต้องงดเว้นหรือละเว้นไม่กระทำการที่มีหน้าที่ต้องกระทำ
แยกพิจารณาได้ดังนี้
1.หน้าที่ตามกฎหมาย ตัวอย่าง : ฎ.881/2495
2.หน้าที่ตามสัญญา
3.หน้าที่เกิดจากความสัมพันธ์ทางข้อเท็จจริงที่มีอยู่ระหว่าง
ผู้งดเว้นกับผู้เสียหายหรือเป็นผลมาจากฐานะทางข้อเท็จ จริงซึ่งผู้งดเว้นได้ก่อขึ้น
คำว่า ผู้ใด มีความหมายเป็นเรื่องแรกจะถือว่าเป็นการกระทำละเมิดได้นั้นต้องเป็นการกระทำของมนุษย์หาใช่ของสัตว์ไม่ เพราะสัตว์ไม่ใช่มนุษย์มิใช่บุคคล สัตว์จะก่อการกระทำละเมิดหาได้ไม่
ตัวอย่าง เด็กไร้เดียงสาย่อมไม่รู้ว่าตนได้กระทำอะไรลงไป เช่นเด็กทารกที่นอนอยู่ในเบาะนอน
เมื่อคำว่า ผู้ใด หมายถึงมนุษย์แล้วจึงรวมถึงบุคคลทุกชนิด มิว่าบุคคลนั้นจะบรรลุนิติภาวะแล้วหรือบุคคลนั้นเป็นผู้เยาว์ และบุคคลวิกลจริต
คำว่า ผู้ใด นี้อาจจะเป็นได้ทั้งบุคคลธรรมดาหรือเป็นนิติบุคคล
มาตรา 420 บัญญัติไว้ว่า ผู้ใดจงใจรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิต แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทะละเมิดจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน
มาตรา 429 บัญญัติไว้ว่า บุคคลใดแม้ไรเความสามารถเพราะเหตุเป็นผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริตก็ต้องรับผิดในผลที่ตนกระทำการละเมิด
การกระทำ หมายถึงความเคลื่อนไหวใอริยาบถโดยรู้สึกสำนึกในความเคลื่อนไหว
ตัวอย่าง เป็ดเขียนหนังสือ ดังนี้ย่อมเป็นการกระทำของเป็ดเพราะเป็ดรู้สำนึกในความเคลื่อนไหวของตนเองว่าตนกำลังเขียนหนังสือ
การกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น
1.มีความเสียหายต่อสิทธิ
ไม่เกิดความเสียหายแต่ละเมิดสิทธิ
ตัวอย่าง นายแดงฉีดน้ำใส่พื้นบ้านของนายดำเพื่อทำความสะอาดให้ โดยที่นายดำไม่ได้ยินยอม
2.ลักษณะแห่งสิทธิ
สิทธิคืออะไรนั้น อาจกล่าวได้ว่าสิทธิคือประโยชน์ที่บุคคลมีอยู่และบุคคลอื่นก็ย่อมมีหน้าที่ต้องเคารพ
จะเห็นได้ว่าตามบัญญัติมาตรา 420 ที่กล่าวถึงชีวิตร่างกาย อนามัย เสรีภาพ ทรัพย์สิน หมายถึงสิ่งต่างๆเหล่านี้ย่อมมีวัตถุแห่งสิทธิซึ่งไม่ได้หมายเฉพาะสิ่งที่เป็นตัวตนเท่านั้น แต่หมายถึงสิ่งที่ไม่เป็นตัวตนซึ่งไม่สามารถสัมผัสและแตะต้องได้ด้วย เช่น ชื่อเสียง เป็นต้น
อุทาหรณ์ : สิทธิที่จะใช้หรือสาธารณะ ผู้ใดมากีดขวางย่อมเป็นละเมิด ( ฎ.1095/2500 )
ความเสียหายที่คำนวณเป็นตัวเงินได้และไม่อาจคำนวณเป็นตัวเงินได้
ตัวอย่าง นายดำทำร้ายร่างกายนายแดง นายเเดงต้องเสียค่ายานภาหนะในการไปโรงพยาบาลตลอดจนค่ารักษาพยาบาลหรือการที่นายแดงทำงานไม่ได้จยเป็นการสูญเสียความสามารถประกอบการทำงานในภายภาคหน้าไม่ได้ตามหลักกฎหมายมาตรา 446
มาตรา 444 บัญญัติไว้ว่าเป็นความเสียหายที่คำนวณตัวเงินได้แต่เมื่อได้รับบาดแผลแต่หายแล้วยังมีรอยเเผลอยู่ย่อมเป็นความเสียหายอันคำนวณเป็นตัวเงินไม่ได้ ตามหลักมาตรา 446