Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรับผิดกระทำละเมิดด้วยตนเอง, ลูกจ้างทำละเมิดในทางการจ้าง - Coggle…
ความรับผิดกระทำละเมิดด้วยตนเอง
ละเมิด ม.420
จงใจหรือประมาทเลินเล่อ
จงใจ คือ การกระทำโดยรู้สำนึกถึงผลเสียหายที่จะเกิดขึ้นจากการกระทำของตน
ประมาทเลินเล่อ คือ การกระทำโดยไม่จงใจ แต่กระทำโดยปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่
ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิดจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้
ฎ.5521/2550 การที่จะถือว่าบุคคลหนึ่งปลูกสร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของบุคคลอื่นโดยสุจริตหรือไม่สุจริตนั้น จะต้องดูในขณะที่ก่อสร้างว่าผู้ก่อสร้างรู้หรือไม่ว่าที่ดินตรงนั้นเป็นของคนอื่น ถ้ารู้ก็ถือว่าก่อสร้างโดยไม่สุจริต แต่ถ้าในขณะที่ก่อสร้างไม่รู้ว่าที่ดินตรงนั้นเป็นของบุคคลอื่นเข้าใจว่าเป็นที่ดินของตนเองจึงสร้างโรงเรือนลงไปครั้นมาภายหลังจึงรู้ความจริงก็ถือว่าเป็นการก่อสร้างรุกล้ำโดยสุจริต จำเลยทั้งสองรู้แล้วว่าจำเลยทั้งสองปลูกสร้างอาคารและรั้วรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ในขณะที่เริ่มก่อสร้างแต่เพียงบางส่วน แต่จำเลยทั้งสองยังจงใจก่อสร้างต่อไปจนแล้วเสร็จ ทั้ง ๆ ที่โจทก์ได้แจ้งให้ทราบก่อนแล้ว การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นการกระทำโดยไม่สุจริต เป็นการละเมิดต่อโจทก์
ฎ.7452/2541 จำเลยซึ่งเป็นแพทย์ได้แจ้งโจทก์ว่ามีเด็กตายในท้องโจทก์ โจทก์จึงยินยอมให้จำเลยทำการขูดมดลูกและทำแท้งให้ แต่การที่จำเลยใช้เครื่องมือแพทย์เข้าไปขูดมดลูกของโจทก์ทำให้มดลูกทะลุ ทั้งที่มดลูกของโจทก์มีลักษณะเป็นปกติ มิได้มีลักษณะบางแต่อย่างใด และทำให้ลำไส้เล็กทะลักออกมาทางช่องคลอดยาว 5 เมตร เนื่องจากเครื่องมือแพทย์ที่ใส่เข้าไปในช่องคลอดได้เกี่ยวเอาลำไส้ดึงออกมานั่นเอง จำเลยจึงไม่ได้ใช้ความระมัดระวังตามปกติวิสัยของผู้มีความรู้ความสามารถในการประกอบวิชาชีพแพทย์ นับเป็นความประมาทเลินเล่อของจำเลย ซึ่งต่อมาแพทย์คนอื่นที่ตรวจโจทก์ในภายหลังเห็นว่า หากนำลำไส้ของโจทก์ใส่เข้าไปในร่างกายอีกอาจมีการติดเชื้อในช่องท้อง จึงได้ทำการตัดลำไส้ที่ทะลักออกมาทิ้งไป จำเลยจึงต้อง รับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนต่อโจทก์
กระทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมาย
การทำละเมิดต้องเป็นการทำต่อบุคคลอื่น “โดยผิดกฎหมาย” อาจผิดต่อกฎหมายอาญา กฎหมายแพ่ง รัฐธรรมนูญ ล่วงสิทธิผิดต่อบุคคลอื่น หรืออาจเป็นการฝ่าฝืนไม่ทำหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด รวมถึงผิดระเบียบต่างๆ ก็ถือว่าเป็นการผิดกฎหมาย แต่หากการกระทำนั้นไม่ผิดกฎหมายก็ไม่เป็นละเมิด เช่น กฎหมายให้อำนาจโดยตรง มีอำนาจตามสัญญาที่ให้กระทำได้ มีอำนาจตามคำพิพากษา หรือเกิดอำนาจจากความยินยอม
การกระทำ
คือ การเคลื่อนไหวร่างกายโดยรู้สำนึกในการเคลื่อนไหวนั้น และอยู่ในบังคับของจิตใจผู้กระทำ การกระทำ รวมถึงการงดเว้นหน้าที่ที่จะต้องกระทำเพื่อป้องกันผล โดยผู้กระทำต้องมีหน้าที่ หน้าที่ดังกล่าวอาจเกิดจากบทบัญญัติของกฎหมาย จากสัญญา หรือเกิดจากการกระทำครั้งก่อนๆ ของตน หน้าที่ที่เกิดจากความสัมพันธ์พิเศษ หรือหน้าที่อื่น ๆ เช่น หน้าที่ที่เกิดจากระเบียบ การงดเว้นนี้อาจเป็นการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อก็ได้ แต่ถ้าผู้กระทำไม่มีหน้าที่ที่จะต้องกระทำ การงดเว้นนั้นไม่ถือเป็นการละเมิด
ทำให้เกิดความเสียหายต่อผู้อื่น
ความเสียหายนั้นจะเป็นความเสียหายที่เกิดแก่ชีวิต ร่างกาย อนามัย เสรีภาพ ทรัพย์สิน หรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ได้ แต่ต้องเป็นความเสียหายที่แน่นอน และความเสียหายจะต้องเป็นผลโดยตรงจากการกระทำโดยผิดกฎหมายของผู้กระทำด้วย การกระทำจะเป็นละเมิดหรือไม่ ต้องมีความเสียหายเกิดขึ้น แม้มีการกระทำที่ผิดกฎหมาย แต่ไม่มีความเสียหายย่อมไม่เป็นละเมิด
ม.423 ละเมิดโดยโฆษณาหมิ่นประมาท
มาตรา 423 ผู้ใดกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนต่อความจริง เป็นที่เสียหายแก่ชื่อเสียงหรือเกียรติคุณของบุคคลอื่นก็ดี หรือเป็นที่เสียหายแก่ทางทำมาหาได้หรือทางเจริญของเขาโดยประการอื่นก็ดี ท่านว่าผู้นั้นจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่เขาเพื่อความเสียหายอย่างใด ๆ อันเกิดแต่การนั้น แม้ทั้งเมื่อตนมิได้รู้ว่าข้อความนั้นไม่จริง แต่หากควรจะรู้ได้
ว.2 ผู้ใดส่งข่าวสารอันตนมิได้รู้ว่าเป็นความไม่จริง หากว่าตนเองหรือผู้รับข่าวสารนั้นมีทางได้เสียโดยชอบในการนั้นด้วยแล้ว ท่านว่าเพียงที่ส่งข่าวสารเช่นนั้นหาทำให้ผู้นั้นต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนไ
ฎ. 939-940 / 2478 ห้างหุ้นส่วนยังไม่เลิกกันจำเลยซึ่งเป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งประกาศทางหนังสือพิมพ์เลิกกันแล้วทำให้โจทก์ซึ่งเป็นหุ้นส่วนอีกคนหนึ่งเสียหายจำเลยต้องรับผิดตามมาตรา 423
ฎ. 378/2499 คณะสงฆ์ประกาศมิให้รับโจทก์ไว้ในสำนักว่าโจทก์ประพฤติตนคลุกคลีกับมาตุคามจนถูกบังคับให้สึกเป็นข้อความที่ไม่ทำให้เข้าใจว่าโจทก์เสพเมถุนกับมาตุคามไม่เป็นละเมิด
ฎ. 237-238 / 2514 จำเลยเป็นบรรณาธิการและผู้ประพันธ์บทความในหนังสือกล่าวว่าโจทก์ไม่นิยมระบอบการปกครองที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขโลภอำนาจทางการเมืองหรือมักใหญ่ใฝ่สูงยอมทิ้งตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์มาเป็นนายกรัฐมนตรีกลายเป็นผู้ที่ประชาชนชิงชังจนไม่อาจอยู่ในประเทศไทยได้ซึ่งฝ่าฝืนต่อความจริงทำให้โจทก์ซึ่งเป็นคนไทยคนหนึ่งเป็นที่รังเกียจของประชาชนชาวไทยโดยทั่วไปดังนี้ย่อมเป็นที่เสียหายแก่ชื่อเสียงหรือเกียรติคุณของโจทก์จำเลยต้องรับผิดตามมาก 423
ความรับผิดกระทำละเมิดในการกระทำของผู้อื่น
ความรับผิดของนายจ้างในผลแห่งการละเมิดของลูกจ้างในทางการที่จ้าง
ความรับผิดของนายจ้าง
มาตรา 425 บัญญัติว่า“ นายจ้างต้องร่วมกันรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิดซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างนั้น” ที่ว่า“ นายจ้าง”“ ลูกจ้าง” นั้นหมายถึงบุคคล 2 ฝ่ายมีความสัมพันธ์กันตามลักษณะเอกเทศสัญญาจ้างแรงงานตามที่บัญญัติไว้ในปพพ. ลักษณะ 6 ตั้งแต่มาตรา 575 ถึงมาตรา 586 บทวิเคราะห์ศัพท์ลักษณะสัญญาจ้างแรงงานในมาตรา 575 มีความว่า“ อันว่าจ้างแรงงานนั้นคือสัญญางบุคคลคนหนึ่งเรียกว่าลูกจ้างตกลงจะทำงานให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่านายจ้างและนายจ้างตกลงจะให้สินจ้างตลอดเวลาที่ทํางานให้” ฉะนั้นคำว่านายจ้างลูกจ้างตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 425 จึงหมายถึงสัญญาจ้าง1แรงงานตามมาตรา 575 มิใช่สัญญาจ้างทำของดังบัญญัติไว้ในมาตรา 587 ฏ.1425/2539
มาตรา430 มีหลักกฎหมายทั่วไปว่า“ ผู้ใดทําสิ่งใดโดยบุคคลอื่นเท่ากับทําด้วยตนเอง” แต่หลักที่ว่านี้ใช้เฉพาะ แต่การที่ได้รับมอบอำนาจไม่ใช้แก่การกระทำในทางการที่จ้างซึ่งแม้ลูกจ้างจะเป็นผู้กระทำ แต่ไม่ได้รับมอบอำนาจโดยเฉพาะในการที่นายจ้างต้องรับผิดในการละเมิดของลูกจ้างในทางการที่จ้างนั้นไม่ใช่เพราะว่ามอบอำนาจให้กระทำแทน แต่เป็นเพราะลูกจ้างได้เกี่ยวข้องกับงานที่จ้างนายจ้างจึงต้องดูว่างานนั้นได้ปฏิบัติไปโดยความเอาใจใส่ต่อความปลอดภัยหรือผลประโยชน์ของบุคคลอื่นด้วยหรือไม่
ฎ.506/2498
กรณีที่นายจ้างมีคำสั่งห้าม การที่นายจ้างมีคำสั่งห้ามการกระทำอันเป็นการละเมิดไว้โดยชัดแจ้งย่อมไม่เป็นข้อต่อสู้ของนายจ้างถ้าหากการกระทํานั้นเป็น แต่เพียงวิธีการปฏิบัติสิ่งที่ลูกจ้างได้รับจ้างให้กระทํา
การละเมิดโดยจงใจมาตรารา 420 ซึ่งเป็นหลักทั่วไปว่าด้วยการละเมิด
ฎ. 1484/2499
ฎ. 1241/2502
ฎ.1559-2560 / 2504
ฎ. 1169-1170 / 2509
สิทธิไล่เบี้ย
มาตรา 426 บัญญัติว่า“ นายจ้างซึ่งได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกเพื่อละเมิดอันลูกจ้างได้ทํานั้นชอบที่จะได้ชดใช้จากลูกจ้างนโดยเหตุที่การละเมิดนั้นเป็นการกระทำของลูกจ้างต่อบุคคลภายนอกเองโดยลำพังที่นายจ้างต้องรับผิดร่วมด้วยกับลูกจ้างก็เป็นความรับผิดต่อผู้เสียหาย แต่ในระหว่างนายจ้างลูกจ้างแล้วนายจ้างไม่ต้องรับผิดร่วมกับลูกจ้างในผลที่ลูกจ้างทำละเมิดนั้นด้วยเมื่อนายจ้างใช้ค่าสินไหมทดแทนให้ผู้เสียหายไปแล้วจึงชอบที่จะช่วงสิทธิของผู้เสียหายไล่เบี้ยเรียกให้ลูกจ้างชดใช้ให้แก่ตนได้ (มาตรา 229 (3) และมาตรา 425) พึงสังเกตว่าในระหว่างนายจ้างลูกจ้างซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมกันกับผู้เสียหายนั้นนายจ้างลูกจ้างยังคงต้องรับผิดต่อผู้เสียหายในฐานะลูกหนี้ร่วมกันจนกว่าหนี้นั้นจะได้ชำระสิ้นเชิง (มาตรา 291)
ฎ. 648/2522 ฎ. 1869/2526
ตัวการรับผิดในการกระทำละเมิดของตัวแทน
ลักษณะตัวการตัวแทนโดยเหตุที่ตัวแทนมิใช่ลูกจ้างจึงไม่อยู่ในบังคับแห่งสิทธิของตัวการที่จะควบคุมดูแลเกี่ยวกับความประพฤติทางปฏิบัติของตัวแทนโดยปกติตัวแทนจึงย่อมมีความรับผิด แต่เพียงผู้เดียวตัวการไม่ต้องรับผิดในผลแห่งการละเมิดที่ตัวแทนอาจก่อขึ้นอย่างไรก็ดีกิจการที่ตัวแทนทำไปย่อมเป็นงานของตัวการเช่นเดียวกับงานที่ลูกจ้างทำไปย่อมเป็นงานของนายจ้างตัวแทนต้องทำการตามคำสั่งของตัวการ (ปพพ. มาตรา 807) ทำนองเดียวกับนายจ้างลูกจ้างจึงมีเหตุผลอย่างเดียวกันที่ตัวการจะต้องรับผิดในผลแห่งละเมิดที่ตัวแทนได้ทำไปในการกระทำกิจการของตัวการมาตรา 427 จึงบัญญัติให้นำมาตรา 425 และมาตรา 426 มาใช้บังคับแก่ตัวการและตัวแทนด้วยโดยอนุโลมเพราะความสัมพันธ์ระหว่างตัวการตัวแทนมีความใกล้ชิดกับความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างลูกจ้างตัวแทนคืออะไรนั้นปพพ. มาตรา 797 บัญญัติว่า“ อันว่าสัญญาตัวแทนนั้นคือสัญญาซึ่งให้บุคคลคนหนึ่งเรียกว่าตัวแทนมีอำนาจทำการแทนบุคคลอีกคนหนึ่งเรียกตัวการและตกลงจะทำการดังนั้น” ฎ. 1049/2505 ฎ. 152/2506
ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของ
ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของไม่เป็นความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่นก่อนอื่น จำเป็นต้องทำความเข้าใจก่อนว่าความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของเป็นความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่นหรือไม่มีนักกฎหมายเป็นจำนวนมากที่เข้าใจไปว่าความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของเป็นความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่นหรือกล่าวอีกนัยหนึ่งเป็นความรับผิดแทนกันซึ่งเป็นความเข้าใจผิดเหตุที่เข้าใจกันดังนี้ก็เป็นเพราะการบัญญัติกฎหมายโดยเรียงบทมาตราไว้ต่อจากมาตรา 425-427 ซึ่งเป็นบทบัญญัติว่าด้วยความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่นไว้ก่อนมาตรา 429-431 ซึ่งเป็นบทบัญญัติว่าด้วยความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่นเหมือนกันเมื่อมาตรา 428 บัญญัติอยู่กลางๆประกอบกับบทมาตรา 428 กล่าวถึงผู้ว่าจ้างทำของและความเสียหายที่ผู้รับจ้างได้ก่อให้เกิดขึ้นแก่บุคคลภายนอกซึ่งถ้าอ่านโดยไม่พิเคราะห์ให้ถี่ถ้วนจึงพลอยทำให้เข้าใจไปว่าความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของตามมาตรา 428 เป็นความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่นคือรับผิดในการกระทำของผู้รับจ้างซึ่งความเข้าใจดังนี้หาถูกต้องไม่
หลักความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของมีหลักทั่วไปว่าความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของมิใช่ความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่นทั้งนี้ก็เพราะว่าผู้ว่าจ้างไม่มีสิทธิควบคุมวิธีการทำงานจึงถือว่าเป็นงานของผู้รับจ้างเองผู้ว่าจ้างไม่มีสิทธิที่จะออกคำสั่งบังคับบัญชาผู้รับจ้างดังนายจ้างกับลูกจ้างในสัญญาจ้างแรงงาน
มาตรา 428 บัญญัติว่า“ ผู้ว่าจ้างทำของไม่ต้องรับผิดเพื่อความเสียหายอันผู้รับจ้างได้ก่อให้เกิดขึ้นแก่บุคคลภายนอกในระหว่างทำการงานที่ว่าจ้างเว้นแต่ผู้ว่าจ้างจะเป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทําหรือในคําสั่งที่ตนให้ไว้หรือในการเลือกหาผู้รับจ้างมาตรานี้จะเห็นได้ว่าโดยหลักผู้ว่าจ้างทำของไม่ต้องรับผิดในความเสียหายที่ผู้รับจ้างก่อขึ้นแก่บุคคลภายนอกในระหว่างทำการงานที่ว่าจ้างอันเป็นไปตามหลักทั่วไปดังกล่าวเพราะเป็นผลมาจากการกระทำของผู้รับจ้างซึ่งถ้าเป็นกรณีที่ผู้รับจ้างกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อต่อบุคคลภายนอกแล้วเป็นเรื่องที่ผู้รับจ้างเองทำผิดหน้าที่ต่อบุคคลภายนอกนั้นไม่ใช่การกระทำของผู้ว่าจ้าง
ฎ. 1176/2510 ฎ. 1982/2522 ฎ. 2502/2523
ความผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นเพื่อผ่านไปถึงที่ของตนอันเป็นการละเมิดเป็นต้นความผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำเป็นเรื่องสั่งให้ทำตามสัญญาจ้างที่มีต่อกันเช่นจ้างให้ทำถนน
ฎ. 457/2514 ฎ. 2540/2539
ความผิดในคาสั่งที่ตนให้ไว้ความผิดในคำสั่งที่ตนให้ไว้กล่าวคือแม้การงานที่สั่งให้ทำจะไม่เป็นละเมิดในตัวเอง แต่อาจสั่งให้ผู้รับจ้างทําโดยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่งอันเป็นผลให้ผู้อื่นเสียหายก็ได้คำสั่งที่ว่านี้ไม่เหมือนกับคำสั่งเมื่อกล่าวถึงในส่วนการงานที่สั่งให้ทำตอนก่อนเป็นเพียงคำแนะนำเท่านั้นเช่นแนะนำให้ช่างทำรางน้ำชายคาของบ้านใกล้ชิดกับแนวเขตที่ดินข้างเคียงของผู้อื่นเวลาฝนตกน้ำไหลตกลงในที่ดินข้างเคียงเป็นต้น
ความผิดในการเลือกหาผู้รับจ้างความผิดในการเลือกหาผู้รับจ้างที่ว่าเลือกหาผู้รับจ้างคือการจ้างนั่นเอง (ฎ. 82/2522) คือจ้างคนที่ตนรู้ว่าไม่ใช่ผู้ที่มีความสามารถหรือระมัดระวังอันควรแก่สภาพของการงานที่จ้างให้ทำจึงเป็นผลให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นโดยละเมิดเช่นจ้างสร้างบ้านทำด้วยไม้ไปจ้างผู้ที่เข้าตัวไม้ไม่แน่นหนาจึงเป็นผลทำให้บ้านทรุดพังลงมาถูกทรัพย์สินของบุคคลข้างเคียงเสียหายเป็นต้น แต่ถ้าหากไม่เชื่อโดยสุจริตตามผู้ที่รับจ้างอวดอ้างว่าตนมีความชำนาญเป็นอย่างดีก็ไม่ใช่ความผิดในการเลือก
ฎ. 1289/2522
ความรับผิดของมารดาบิดาหรือผู้อนุบาลในการกระทำละเมิดของผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริตและความรับผิดของครูบาอาจารย์นายจ้างหรือบุคคลอื่นในการกระทำละเมิดของผู้ไร้ความสามาร
ความรับผิดของบิดามารดาหรือผู้อนุบาลในการทำละเมิดของคนไร้ความสามารถ
มาตรา 429 บัญญัติว่า“ บุคคลใดแม้ไร้ความสามารถเพราะเหตุเป็นผู้เยาว์หรือวิกลจริตก็ยังต้องรับผิดในผลที่ตนทําละเมิดบิดามารดาหรือผู้อนุบาลของบุคคลเช่นว่านี้ย่อมต้องรับผิดร่วมกับเขาด้วยเว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลซึ่งทําอยู่นั้นนักศึกษา
คำว่า“ บุคคลไร้ความสามารถ” ตามมาตรา 429 หมายถึงผู้เยาว์และบุคคลวิกลจริตไม่รวมถึงผู้เสมือนไร้ความสามารถสำหรับผู้เยาว์นั้นหมายถึงบุคคลที่อายุยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ยังไม่เป็นผู้บรรลุนิติภาวะตามมาตรา 19 และผู้เยาว์ย่อมบรรลุนิติภาวะเมื่อทำการสมรสหากการสมรสนั้นได้ทำเมื่อฝ่ายชายผู้เยาว์และฝ่ายหญิงผู้เยาว์มีอายุ 17 ปีบริบูรณ์แล้วตามมาตรา 20 และมาตรา 1448 จึงมิใช่ผู้เยาว์ต่อไปส่วนบุคคลวิกลจริตนั้นไม่มุ่งหมายเฉพาะคนไร้ความสามารถเพราะวิกลจริตซึ่งศาลได้มีคำสั่งแล้วตามมาตรา 30 เท่านั้น แต่หมายถึงบุคคลวิกลจริตที่ศาลยังมิได้มีคำสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถด้วยผู้ที่จะต้องรับผิดในการกระทำละเมิดของบุคคลผู้ไร้ความสามารถ ได้แก่ บิดามารดาหรือผู้อนุบาลสำหรับบิดามารดานั้นหมายถึงเฉพาะผู้มีหน้าที่ดูแลผู้เยาว์ตามความในตอนท้ายของมาตรา 429 นี้เท่านั้นซึ่งอาจรวมทั้งบิดามารดาหรือเพียงคนใดคนหนึ่งก็ได้จึงต้องพิจารณาต่อไปอีกชั้นหนึ่งว่าบิดาหรือมารดาหรือทั้งสองคนเป็นผู้ดูแลผู้เยาว์อันหมายถึงอำนาจปกครองตามมาตรา 1566 และมาตรา 1567 ซึ่งเป็นหน้าที่ควบคุมดูแลผู้เยาว์และหมายถึงผู้รับบุตรบุญธรรมโดยบุตรบุญธรรมมีฐานะอย่างเดียวกับบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้รับบุตรบุญธรรมด้วยตามมาตรา 1598/28 ส่วนผู้ปกครองตามมาตรา 1585 อาจต้องรับผิดตามมาตรา 4307 คำว่า“ ผู้อนุบาล” ตามมาตรา 29 ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่กล่าวถึงผู้อนุบาลที่มีขั้นก่อนร้องขอต่อศาลให้สั่งให้บุคคลวิกลจริตเป็นคนไร้ความสามารถโดยเป็นผู้อนุบาลตามข้อเท็จจริงผู้อนุบาลตามมาตรา 429 จึงย่อมหมายถึงผู้อนุบาลของบุคคลวิกลจริตที่ศาลยังไม่สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถด้ว
ฎ. 974/2508 ฎ. 356/2511
ความรับผิดของครูบาอาจารย์นายจ้างหรือบุคคลอื่นในการทำของผู้ไร้ความสามารถ มาตรา 430 บัญญัติว่า“ ครูบาอาจารย์นายจ้างหรือบุคคลอื่นรับดูแลบุคคลผู้ไร้ความสามารถอยู่เป็นนิจก็ดีชั่วครั้งชั่วคราวก็ดีจำต้องรับผิดร่วมกับผู้ไร้ความสามารถในการละเมิดซึ่งเขาได้กระทำลงในระหว่างที่อยู่ในความดูแลของตนถ้าหากพิสูจน์ได้ว่าบุคคลนั้น ๆ มิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควร”
มาตรา 430 มาตรานี้กำหนดความรับผิดของผู้มีหน้าที่ดูแลผู้ไร้ความสามารถในผลแห่งการละเมิดที่ผู้ไร้ความสามารถได้ทำขึ้นเช่นเดียวกับมาตรา 429 ความรับผิดอยู่ที่การบกพร่องในหน้าที่ดูแลผู้ไร้ความสามารถคำอธิบายเกี่ยวกับมาตรา 429 ย่อมนำมาใช้ได้โดยอนุโลม แต่ต่างกันที่ตัวผู้มีหน้าที่ดูแลเพราะบุคคลที่เข้ารับหน้าที่ดูแลตามมาตรานี้ได้เกิดขึ้นโดยข้อเท็จจริงและต่างกันในหน้าที่นำสืบเกี่ยวกับการที่มิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรมีข้อสังเกตคือกฎหมายมิได้บัญญัติกำหนดไว้ว่าบุคคลผู้ไร้ความสามารถตามมาตรานี้หมายถึงบุคคลเช่นไรบ้างอย่างที่กำหนดไว้ในมาตรา 429 แต่ก็หมายถึงผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริตนั่นเองเพราะเป็นบทบัญญัติต่อจากมาตรา 429 ในเรื่องบุคคลผู้ไร้ความสามารถด้วยกัน 4
ผู้ที่ต้องรับผิดร่วมกับบุคคลผู้ไร้ความสามารถตามมาตรานี้คือครูบาอาจารย์นายจ้างหรือบุคคลอื่นซึ่งรับดูแลบุคคลดังกล่าวหากไม่รับดูแลก็เป็นกรณีที่ไม่ต้องด้วยมาตรานี้จะดูแลอยู่เป็นนิจหรือชั่วคราวก็ต้องรับผิดเช่นเดียวกัน แต่ไม่หมายถึงผู้ดูแลแทนหรือผู้ช่วยเหลือในการดูแลเช่นจ้างครูพิเศษไปสอนเด็กที่บ้านที่เด็กอยู่กับบิดามารดาเห็นได้ว่าการดูแลเด็กย่อมอยู่กับบิดามารดาหาได้อยู่กับครูพิเศษนั้นไม่หลานอายุ 13 ปีมาพักเรียนหนังสืออยู่กับตายาย ๆ เป็นผู้ดูแล (ฎ. 2076/2518) ความสำคัญของมาตรานี้จึงอยู่ที่หน้าที่ดูแลอันมีอยู่ระหว่างผู้ไร้ความสามารถกับตัวผู้ที่จะต้องรับผิดซึ่งเกิดขึ้นโดยข้อเท็จจริงที่บุคคลหนึ่งเข้ารับดูแลผู้ไร้ความสามารถอาจเป็นผู้ปกครองที่ไม่ใช่บิดามารดาตามปพพ. มาตรา 1585 หรือผู้รับเลี้ยงดูแลเช่นพี่เลี้ยงโดยมีสัญญาหรือโดยสมัครใจเองชั่วคราวนอกจากนี้จะเห็นได้ว่าต้องเป็นการละเมิดที่บุคคลผู้ไร้ความสามารถได้กระทำลงในระหว่างที่อยู่ในความดูแลของครูบาอาจารย์หรือบุคคลอื่นนั้นด้วยดังได้กล่าวมาแล้วเกี่ยวกับมาตรา 429
ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลความรับผิดตามมาตรา 430 นี้ต่างกับความรับผิดตามมาตรา 429 ที่ว่าตามมาตรา 429 บัญญัติให้บิดามารดาหรือผู้อนุบาลมีหน้าที่นำสืบว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรจึงจะพ้นจากความรับผิดถ้าไม่นำสืบหรือนำสืบยังไม่ได้ก็ไม่พ้นจากความรับผิด แต่ตามมาตรา 430 เป็นหน้าที่ของผู้เสียหายน่าสืบให้ได้ความว่าผู้มีหน้าที่ดูแลมิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ที่ต้องดูแลถ้าไม่นำสืบหรือนำสืบให้ฟังไม่ได้บุคคลที่รับดูแลบุคคลผู้ไร้ความสามารถก็ไม่ต้องรับผิด ฎ. 356/2511
สิทธิไล่เบี้ยของครูบาอาจารย์หรือบุคคลอื่นซึ่งรับดูแลบุคคลผู้ไร้ความสามารถเมื่อครูบาอาจารย์หรือบุคคลซึ่งรับดูแลบุคคลผู้ไร้ความสามารถได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลก็ชอบที่จะได้ชดใช้จากบุคคลผู้ไร้ความสามารถและไล่เบี้ยเอาได้จนครบจำนวนที่ได้ชดใช้ภายนอกไปแล้ว (มาตรา 431 และมาตรา 426) เช่นเดียวกับกรณีตามมาตรา 429
ฎ. 1315/2520 ฎ. 62/2522 ฎ. 1557/2523
มาตรา 425 นายจ้างต้องร่วมกันรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิดซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างนั้น มาตรา 426 นายจ้างซึ่งได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกเพื่อละเมิดอันลูกจ้างได้ทำนั้น ชอบที่จะได้ชดใช้จากลูกจ้างนั้น
เขียนถึง
ลูกจ้างทำละเมิดในทางการจ้าง