Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรับผิดกระทำละเมิดด้วยตนเอง - Coggle Diagram
ความรับผิดกระทำละเมิดด้วยตนเอง
การละเมิด
ละเมิด ความมายจากพจนานุกรม หมายถึง การล่วงเกิน หรือฝ่าฝืนจารีตประเพณี หรือกฎหมายที่บัญญัติไว้
ละเมิด คือการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อต่อบุคคลภายนอกโดยผิดกฎหมายเป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำเสียหาย เเก่ชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สินหรือสิทธิ์อย่างใดอย่างหนึ่งกฏหมายถือว่าผู้นั้นทำละเมิดจะต้องรับผิดชอบ ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการละเมิดนั้น
ในมมาตรา 420 ได้บัญญัติไว้ว่า “ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงเเก่ชีวิตก็ดี ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพเเละทรัพย์สิน หรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ถือว่าผู้นั้นทำละเมิดจำต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น
ความหมายของการกระทำ
การเคลื่อนไหวร่างกายหรือไม่เคลื่อนไหวร่างกายโดยรู้สึก กล่าวคือ
อยู่ภายใต้บังคับของจิตใจ
องค์ประกอบ คือผู้ใด+เคลื่อนไหว+กระทำโดยรู้สำนึก
การกระทำโดยผิดกฎหมาย
การกระทำโดยผิดกฎหมาย คือการที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยชัดแจ้งกรณีที่เห็นได้ชัดคือกฎหมายอาญาบัญญัติว่า การกระทำอันใดเป็นการผิดดังนั้นย่อมเป็นการกระทำผิดกฏหมายอย่างไม่มีปัญหา ตามประมวลกฎหมายอาญามาตราสองเก้าตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 295 และประมวลกฎหมายหมายแพ่งมาตรา 362
การกระทำฝ่าฝืนบทบังคับแห่งกฎหมาย มาตรา 422 ถ้าความเสียหายเกิดแต่การฝ่าฝืนบังคับแห่งกฎหมายใดอันมีที่ประสงค์เพื่อปกป้องคนอื่นๆ
กล่าวคือ ถ้าได้กระทำโดยไม่มีสิทธิหรือข้อแก้ตัวตามกฎหมายให้ทำได้แล้ว ก็ถือว่าเป็นการกระทำผิดกฏหมาย
เว้นแต่การกระทำโดยมีสิทธิตามกฏหมาย เช่น บิดามารดาสั่งสอนบุตร
ความเสียหายนั้นเป็นผลมาจากการกระทำของผู้ทำความเสียหาย
ทฤษฎีที่ถือว่าสำคัญมีอยู่ 2 ทฤษฎีคือ
1.ทฤษฎีความเท่ากันแห่งเหตุหรือทฤษฎีเงื่อนไข ตัวอย่างเช่น นายสมยศทำร้ายร่างกาย นายสมบูรณ์ โดยการเตะท้องเบาๆ แต่ปรากฏว่านายสมบูรณ์มีโรคประจำตัวซึ่งถ้าหากถูกกระทบกระเทือนอย่างแรง นายสมบูรณ์อาจตายได้ แต่นายสมยศไม่ทราบมาก่อน นายสมบูรณ์ถึงแก่ความตาย ดังนั้นความตายของนายสมบูรณ์เป็นผลมาจากการกระทำของนายสมยศ เเม้นายสมยศจะไม่รู้ว่านายสมบูรณ์เป็นโรคดังว่านั้น นายสมยศต้องรับผิดในความตายของนายสมบูรณ์
2.ทฤษฎีมูลเหตุเหมาะสม ตามตัวอย่างข้างต้น ปกติชนอย่างนายสมยสย่อมไม่ทราบว่า นายสมบูรณ์มีโรคร้ายประจำตัว ถ้าทำร้ายเช่นนั้นนายสมบูรณ์อาจได้รับอันตรายถึงตายได้ นายสมยศจึงต้องรับผิดเฉพาะในกรณีที่นายสมบูรณ์ได้รับบาดเจ็บอย่างธรรมดาเท่านั้นไม่ต้องรับผิดในความตายของนายสมบูรณ์
ความสัมพันธ์ระหว่างเหตุกับผลหรือระหว่างความผิดกับความเสียหาย ไม่มีหลักแน่นอนที่จะปรับแก่กรณีต่างๆได้ทั่วไปทุกกรณี
การกระทำที่ก่อขอให้การกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น
หลักเกณฑ์ลักษณะละเมิดอีกประการหนึ่งคือจะต้องมีความเสียหายเกิดขึ้นเมื่อยังไม่เกิดความเสียหายก็ยังไม่เป็นการละเมิด
1.มีความเสียหายต่อสิทธิ เช่นนายเป็ด ใช้ก้อนหินขว้างปาบ้านของนายไก่ถูกกระเบื้องมุงหลังคา แต่ไม่แตก ไม่จำเป็นต้องซ่อมแซมเปลี่ยนใหม่
2.ลักษณะแห่งสิทธิ เช่น สิทธิที่จะใช้ที่หรือทางสาธารณะ ผู้ใดมากีดขวางย่อมเป็นละเมิด
3.ความเสียหายที่คำนวณเป็นตัวเงินได้และไม่อาจคำนวณเป็นตัวเงินได้
การกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ
ตามมาตรา 420 คือ “โดยจงใจประมาทเลินเล่อ” เเยกพิจารณาเป็น 2 กรณี คือ
“ จงใจ” คือรู้สำนึกว่าจะเกิดผลเสียหายแก่บุคคลอื่นจากการกระทำของตน
อุทาหรณ์ ก.ชกต่อย ข.โดยคิดจะให้ขอเพียงปากแตก โลหิตไหลบังเอิญ ข.ล้มลงศรีษะฟาดกับพื้นถนนศีรษะแตกสลบไป ดังนี้ก็เป็นการที่ ก.ทำร้ายร่างกาย ข. โดยจงใจ
“ ประมาทเลินเล่อ” หมายถึง ไม่จงใจแต่ไม่ใช้ความระมัดระวังตามสมควรที่จะใช้รวมถึงในลักษณะที่บุคคลผู้มีความระมัดระวังจะไม่กระทำด้วย
อุทาหรณ์ ฎ. 1002/2521 จำเลยมีนาจำเลยมีหน้าที่ราชการที่จะต้องควบคุมรับผิดชอบในการเบิกจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง ทำการฝ่าฝืนระเบียบปฏิบัติหน้าที่ราชการที่วางไว้เพื่อควบคุมการเบิกจ่ายโดยไม่ได้ทำหลักฐานการรับน้ำมันที่จ่ายแก่ผู้ขับยานพาหนะ ตามระเบียบมีส่วนรู้เห็นให้คนอื่นทำเอกสารแสดงยอดการใช้น้ำมันของยานพาหนะแต่ละคันแทนผู้ขับซึ่งฝ่าฝืนระเบียบเสมอมา ไม่ตรวจสอบยอดแสดงการใช้น้ำมันให้ตรงกัน น้ำมันที่ขาดหายเป็นผลโดยตรงจากการกระทำโดยประมาทเลินเล่อของจำเลยจำเลย ต้องรับผิด