Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
1.วัตถุแห่งหนี้ - Coggle Diagram
1.วัตถุแห่งหนี้
-
“วัตถุแห่งหนี้” หมายถึง สิ่งที่ลูกหนี้จะต้องปฏิบัติเพื่อเป็นการชำระหนี้ ซึ่งเจ้าหนี้สามารถเรียกร้องเอาจากลูกหนี้ได้ ซึ่งเมื่อพิจารณาจากมาตรา 194 แล้ว วัตถุแห่งหนี้จะมีอยู่ด้วยกัน 3 ประการ ได้แก่
1.กระทำการ หมายถึง การกระทำทั้งหลายที่ลูกหนี้มีความผูกพันจะต้องกระทำเพื่อเป็นการชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้
ตัวอย่าง การรับจ้างวาดรูปถือว่าเป็นหนี้ที่ต้องกระทำการ วัตถุแห่งหนี้ที่เป็นการกระทำนั้น ถ้าเป็นเรื่องเกี่ยวกับฝีมือของตัวลูกหนี้แล้วจะถือเป็นหนี้เฉพาะตัวของลูกหนี้คนนั้น ไม่ตกเป็นมรดกไปยังทายาท
-
3.โอนกรรมสิทธิ์ส่งมอบทรัพย์สิน หมายถึง หนี้ที่ลูกหนี้จะต้องส่งมอบทรัพย์อย่างใดอย่างหนึ่งให้แก่เจ้าหนี้ ซึ่งอาจจะเป็นการโอนกรรมสิทธิ์หรือส่งมอบการครอบครองในทรัพย์นั้น
ตัวอย่าง การซื้อขายทรัพย์เฉพาะสิ่ง ซึ่งเป็นสังหาริมทรัพย์ โดยผลของกฏหมาย กรรมสิทธิ์ในทรัพย์ย่อมโอนไปยังผู้ซื้อทันทีที่สัญญาซื้อขายมีผลผู้ขายย่อมมีหน้าที่เพียงส่งมอบเท่านั้น
ตัวอย่าง การซื้อขายทรัพย์เฉพาะสิ่ง ซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งต้องมีการทำสัญญาเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อหน่วยงานเจ้าหน้าที่ด้วยกรรมสิทธิ์จึงจะโอนไปยังผู้ซื้อ ผู้ขายก็มีหนี้ทั้งการโอนกรรมสิทธิ์ และส่งมอบทรัพย์นั้นด้วย
มาตรา 194 บัญญัติว่า “ด้วยอำนาจแห่งมูลหนี้ เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิจะเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้ อนึ่ง การชำระหนี้ด้วยงดเว้นการอันใดอันหนึ่งก็ย่อมมีได้”
คำว่า "ด้วยอำนาจแห่งมูลหนี้" หมายถึง การที่บุคคลสองฝ่ายมีนิติสัมพันธ์กันในทางใดทางหนึ่งไม่ว่าโดยสัญญาหรือละเมิดก็ตาม จะทำให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิและหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติต่อกัน แต่สิ่งที่ลูกหนี้ต้องปฏิบัติจะเป็นอย่างไรนั้นก็ขึ้นอยู่กับว่าหนี้นั้นจะมีวัตถุแห่งหนี้เป็นประการใด
ตัวอย่าง ล.ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินด้วยการครอบครองปรปักษ์ ส่วน จ. ได้ที่ดินนั้นมาด้วยการรับการให้จากเจ้าของที่ดิน ดังนี้ ล. จะฟ้องศาลบังคับให้ จ. ไปจัดการจดทะเบียนโอนที่ดินใส่ชื่อ ล. ไม่ได้ เพราะว่า ล. กับ จ. มิได้มีนิติสัมพันธ์ต่อกันแต่อย่างใด เนื่องจาก ล. ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินมาโดยผลของกฏหมาย ส่วน จ. ได้ที่ดินนั้นมาด้วยการรับการให้จากเจ้าของที่ดิน ดังนั้น จ. จึงไม่มีหน้าที่ที่จะต้องกระทำการสิ่งใดให้แก่ ล. และ ล. ก็ไม่มีสิทธิเรียกให้ จ. กระทำการสิ่งใดสิ่งหนึ่งเช่นกัน ในกรณีเช่นนี้ ล. ต้องไปยื่นคำร้องต่อศาลขอให้มีคำสั่งว่า ล. ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ตามมาตรา 1382 (คำพิพากษาฎีกาที่ 2533/2533)
คำว่า "วัตถุประสงค์แห่งหนี้" นั้นเป็นประดยชน์สุดท้ายที่คู่สัญญาต้องการจะได้รับจากการเข้าทำนิติกรรมสัญญานั้นๆ หรืออาจเรียกได้ว่าเป็นวัตถุประสงค์ของผู้ที่เข้าก่อหนี้
ตัวอย่าง เมื่อนายเอต้องการขึ้นรถเมล์ไปยังมหาวิทยาลัย ประโยชน์สุดท้ายหรือวัตถุที่ประสงค์แห่งหนี้ของนายเอก็คือการมาถึงมหาวิทยาลัยดดยยานพาหนะ การที่นายเอขึ้นรถเมล์ก็ถือเป็นการเข้าทำสัญญาขนส่งคนโดยสารกับคนขับรถเมล์ ซึ่งวัตถุแห่งหนี้ในฝ่ายของคนขับรถก็คือการกระทำการโดยจะต้องขับรถเมล์พานายเอมาจนถึงมหาวิทยาลัย ส่วนวัตถุแห่งหนี้ในของฝ่ายนายเอก็คือการชำระเงินค่าโดยสาร เป็นต้น
ซึ่งตามตัวอย่างจะเห็นได้ว่าวัตถุประสงค์แห่งหนี้นั้นมีอยู่ตั้งแต่ก่อนเข้าทำสัญญาหรือก่อนที่จะก่อหนี้ขึ้น
ข้อสังเกตุ ในเรื่องของวัตถุประสงค์แห่งหนี้จะมีผลต่อความสมบรูณ์ของสัญญาที่ทำขึ้นโดยตรง เพราะถ้าวัตถุประสงค์แห่งหนี้นั้นฝ่าฝืนต่อกฏหมายหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน สัญญาที่ทำขึ้นนั้นก็จะตกเป็นโมฆะ