Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรับผิดกระทำละเมิดด้วยตนเอง (มาตรา 420) - Coggle Diagram
ความรับผิดกระทำละเมิดด้วยตนเอง (มาตรา 420)
มาตรา 420
"ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิดจำต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น"
ผู้ใด
นอกจากหมายถึงมนุษย์มนุษย์แล้ว ยังรวมถึงบุคคลทุกชนิด ไม่ว่าบุคคลที่บรรลุนิติภาวะแล้ว หรือผู้เยาว์ บุคคลวิกลจริต ดังจะเห็นได้โดยนัยแห่งมาตรา 429
"บุคคลใดแม้ไร้ความสามารถเพราะเหตุเป็นผู้เยาว์หรือวิกลจริตก็ต้องรับผิดในผลที่ตนทำละเมิด" ซึ่งผู้ใดในที่นี้ อาจเป็นได้ทั้งบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล
บุคคลธรรมดา
บุคคลที่เกิดมามีร่างกาย ชีวิต จิตใจ หากบุคคลที่รู้สำนึกในการกระทำของตนแล้ว ไม่ว่าบุคคลนั้นจะเป็นบุคคลหย่อนความสามารถ คือ ผู้เยาว์ บุคคลวิกลจริต บุคคลไร้ความสามารถ บุคคลเสมือนไร้ความสามารถ หากได้กระทำการอันเป็นละเมิด ย่อมต้องรับผิดในละเมิดทั้งสิ้น ดังในความมาตรา 429
มาตรา 429 วางหลักไว้ว่า "บุคคลใดแม้ไร้ความสามารถเพราะเหตุเป็นผู้เยาว์หรือวิกลจริตก็ยังต้องรับผิดในผลที่ตนทำละเมิด
EX. เด็กชายปอน ต้องการกลั่นแกล้งนายอาร์มจึงได้เอารถจักรยานของนายอาร์มไปซ่อน นายปอนย่อมมีความผิดฐานละเมิด
EX. นายอาร์มเป็นผู้ไร้ความสามารถ ได้ไปกลั่นแกล้งนายปอน ดังนี้นายอาร์มก็ต้องรัผิดฐานละเมิด แต่อาจให้ผู้อนุบาลนั้นเป็นผู้รับผิดแทนได้
นิติบุคคล
นิติบุคคลแม้เกิดจากกฎหมายสมมติขึ้นมาก็สามารถเป็นบุคคลได้เช่นกัน ดังนั้นนิติบุคคลก็อาจก่อความเสียหายให้กับบุคคลอื่นด้วยการทำละเมิดได้เช่นกัน โดยละเมิดจากนิติบุคคลนั้นเกิดโดยการกระทำของผู้แทน เมื่อผู้แทนทำละเมิดภายในกรอบวัตถุประสงค์จึงเปรียบเสมือนนิติบุคคลกระทำการเอง
EX. ฎ.761/2518 เทศบาลมีหน้าที่ซ่อมแซมถนน แต่ละเลย ไม่ทำนุบำรุงถนนให้มีสภาพที่ดีจึงทำให้มีหลุ่มลึก 2 เมตร ต่อมาเมื่อมีประชาชนตกลงไปในหลุมดังกล่าว เทศบาลจึงมีความผิดฐานละเมิดต่อประชาชนผู้นั้น
EX. บริษัทแห่งหนึ่ง ได้จ้างให้นายจิ้บไปเป็นพนักงานส่งของให้กับทางบริษัทโดยกำหนดการให้เงิน อัตราเดือนละ15000 บาท ต่อมาเมื่อถึงกำหนดชำระทางบริษัทไม่ยอมจ่ายค่าจ้างให้กับนายจิ้บโดยทุจริต บริษัทดังกล่าวจึงมีความผิดฐานทำละเมิดต่อนายจิ้้บ
การกระทำ
ความเคลื่อนไหวในอิริยาบทโดยรู้สำนึกในความเคลื่อนไหวในการกระทำ
มนุษย์เป็นสิ่งที่มีชีวิตจิตใจ ดังนั้นการกระทำในอิริยาบทของการเคลื่อนไหวเพียงอย่างเดียวจึงไม่ใช่การกระทำเสมอไป
EX. นายเล็กนอนหลับกลางดึก ได้ละเมอกลิ้งมือไปฟาดที่นายจิ๋วที่นอนอยู่ข้างๆ กรณีนี้นายเล็กขาดความรู้สำนึกในการกระทำ นายเล็กจึงไม่มีการกระทำโดยละเมิดต่อนายจิ๋ว
EX. นายโตป่วยเมาอย่างหนักจนถึงขนาดไม่รู้ว่าตนกำลังทำอะไร ได้เดินไปล้มทับผลงานศิลปะของนายบิ๊กที่กำลังทำอยู่
จะถือว่าการเคลื่อนไหวเป็นการกระทำเสมอไปไม่ได้ เพราะมนุษย์เป็นสิ่งที่มีชีวิตจิตใจ ย่อมมีการเคลื่อนไหวเป็นธรรมดา จึงต้องดุว่าการกระทำนั้นอยู่ภายใต้ความรู้สำนึกหรือไม่ หากอยู่ภายใต้ความรู้สำนึกแล้ว แม้ผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริต แม้จะเคลื่อนไหวหรือไม่เคลื่อนไหวก็ตาม สิ่งๆนั้นก็ย่อมถือได้ว่าเป็นการกระทำ
EX. นายอาร์มกำลังกินข้าวอยู่ที่โรงอาหาร เห็นนายกังฟู คู่อริเดินผ่านมา จึงได้ยกถาดอาหารขึ้นราดไปที่หัวนายกังฟู
อาการเเสร้งทำ ย่อมถือว่าเป็นการกระทำโดยรู้สำนึกได้ แม้จะเป็นอาการอย่างเดียวกับการกระทำโดยเป็นไปตามสัญชาตญาณของมนุษย์ก็ตาม
EX. นายจิ๊บแสร้งทำเป็นถือแก้วน้ำเดินสะดุดล้ม โดยมีจุดประสงค์ที่จะทำให้น้ำในแก้วนั้นราดไปโดนนายจ้อยที่นั่งอยู๋
EX. การที่นายชิดเเสร้งทำเป็นละเมอเดินไปเตะนายใกล้ โดยที่ยังรู้สำนึกการกระทำ ย่อมเป็นการกระทำโดยรู้สำนึกในการกระทำ
EX. นายบอมยกน้ำขึ้นกำลังที่จะดื่ม เห็นนายปอน คู่อริเดินผ่านมา จึ่งได้ยกแก้วขึ้นแล้วสาดน้ำใส่หน้านายปอน
การงดเว้นการกระทำ
การกระทำตามมาตรา 420 มิได้หมายความรวมถึงกระทำในทางเคลื่อนไหวอิริยาบท (positive act) ยังรวมถึง กางดเว้นไม่กระทำ (omission) แต่ต้องเป็นการงดเว้นหรือละเว้นไม่กระทำการที่มีหน้าที่ต้องทำอีกด้วย
หน้าที่ตามกฎหมาย
มีกฎหมายกำหนดหน้าที่ให้บุคคลนั้นต้องกระทำ
EX.บิดามารดาที่หน้าที่ต้องเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ (มาตรา 1564) หากบิดามารดางดเว้นกระทำการไม่เลี้ยงดูบุตรตามกฎหมายย่อมเป็นการละเมิด
EX.บุตรจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา (มาตรา1563) หากบุตรงดเว้นไม่เลี้ยงดูบิดามารดาตามกฎหมายย่อมถือเป็นการละเมิด
หน้าที่ตามสัญญา
หน้าที่ที่จะต้องกระทำมาจากนิติสัมพันธ์หรือความผูกพันทางกฎหมายที่เกิดจากสัญญา
EX. นายจ้อย จ้างให้นายจ๋าเป็นพนักงงานรักษาความปลอดภัยในบริษัทของตน หากนายจ๋าละเลยหน้าที่อันเป็นการงดเวนการกระทำ ปล่อยให้โจรขึ้นบริษัทของนายจ้อยโดยนิ่งเฉย นายจ๋าก็ย่อมมีความผิดฐานละเมิด
หน้าที่เกิดจากความสัมพันธ์ที่ก่อให้เกิดขึ้น
หน้าที่ที่เกิดจากความสัมพันธ์ทางข้อเท็จจริงที่มีอยู่ระหว่างผู้งดเว้นกับผู้เสียหาย
EX. นายจิ้บเป็นแพทย์ ไปพบนายจ้อยสลบกลางถนนจำต้องรีบเข้าทำการช่วยเหลือ จึงจำต้องช่วยเหลือให้ตลอด หากหยุดชะงักไม่ช่วยเหลือต่อจะถือได้ว่าเป็นการงดเว้น
กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ (มาตรา420)
การกระทำโดยจงใจ
หมายถึงบุคคลที่ทำละเมิดนั้นมุ่งหมายที่จะก่อความเสียหายให้บุคคลอื่นด้วยการกระทำของตน หรือคือการตั้งใจทำให้ผู้อื่นเสียหาย
ตั้งใจทำให้ผู้อื่นเสียหาย
EX.นายบอมโกรธนายปอน ใช้ปืนไปดักยิงนายปอนที่บ้าน ทำให้นายปอนตาย ความตายของนายปอนจึงเกิดจากการกระทำโดยจงใจ
รู้ว่าจะทำให้ผู้อื่นเสียหาย
EX. นายปอนเห็นนายบอมนั่งอยู่ที่ร้านอาหาร ซึ่งเคยเป็นคู่อริมาก่อน จึงใช้ขวดที่อยู่ในมือปาเข้าไปที่โต๊ะของนายบอม ทำให้นายบอมและเพื่อนที่อยู่ร่วมโต๊ะของได้รับบาดเจ็บ จึงเป็นการจงใจทำละเมิดโดยรู้ว่าจะทำให้คนอื่นเสียหายแต่ก็ยังกระทำ
การกระทำโดยประมาทเลินเล่อ
หมายถึงบุคคลที่ทำละเมิดนั้นมิได้ตั้งใจหรือมุ่งหมายให้เขาเสียหาย มิได้ตั้งใจต่อผลหรือไม่เล็งเห็นผล แต่ทำไปโดยขาดความระมัดระวัง กล่าวคือไม่ใช้ความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์
ด้านอัตวิสัย
ความประมาทเลินเล่อหมายถึงการกระทำโดยไม่รอบคอบ ไม่เชี่ยวชาญ ซึ่งเป็นด้านที่เกี่ยวกับตัวคนทำโดยตรง
EX. นายบอมขับรถโดยประมาทเลินเล่อไปชนนายอาร์ม ทำให้นายอาร์มได้รับบาดเจ็บ จึงเป็นการทำละเลิดโดยความประมาทเลินเล่อของนายบอม
ด้านภาวะวิสัย
การไม่เคารพกฎหมาย กฎเกณฑ์ ข้อบังคับ หรือระเบียบ
EX.นายจอบขับรถเกินกว่ากำหนดในพรบ.จราจารทางบก ไปชนเข้ากับนายจุ้บ แม้นายจอบจะขับรถด้วยความระมัดระวัง แต่เมื่อไม่เคารพกฎหมาย ก็ถือว่านายจอบขับรถโดยประมาทเลินเล่อแล้ว
กระทำโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
หมายถึง การกระทำนั้นก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ที่กฎหมายให้ความสำคัญ หรือให้ความคุ้มครอง ถ้าได้กระทำโดยไม่มีสิทธิหรือข้อแก้ตัวตามกฎหมายให้ทำได้แล้ว ก็ถือว่าเป็นการกระทำโดยผิดกฎหมาย
การใช้สิทธฺซึ่งมีแต่จะทำให้บุคคลอื่นเสียหาย (มาตรา 421)
มาตรา 421 วางหลักไว้ว่า "การใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะทำให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นนั้น ท่านว่าเป็นการอันมิชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่ขยาย "โดยผิดกฎหมาย" ของมาตรา 420 อีกชั้นหนึ่ง แม้จะทำโดยมีสิทธิแต่หากใช้สิทธินั้นโดยมิชอบดวยกฎหมายก็ถือว่าเป็นการอันมิชอบด้วยกฎหมาย
EX.นายไก่ปลูกบ้านบนที่ดินของตน โดยทนายไก่นั้นได้ปลูกบ้านบนพื้นที่ของตน แต่ได้ปลูกชิดหน้าต่างบ้านของนายเป็ดจนเก็นไปทำให้นายเป็ดไม่สามารถเปิดหน้าต่างบานนั้นได้ การใช้สิทธิของนายไก่จึงมีแต่จะก่อให้ผู้อื่นเสียหาย ตามม.420 ประกอบกับ ม.421
การกระทำฝ่าฝืนบทบังคับแห่งกฎหมาย (มาตรา 422)
มาตรา 422 วางหลักไว้ว่า "ถ้าความเสียหายเกิดแก่การฝ่าฝืนบทบังคับแห่งกฎหมายใดอันมีวัตถุประสงค์เพื่อปกป้องบุคคลอื่นๆ ผู้ใดทำการฝ่าฝืนเช่นนั้น ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู็นั้นเป็นผู้ผิด
EX.นายพีชขับรถฝ่าไฟแดง เป็นเหตุให้ไปชนเข้ากับนายภพซึ่งขับรถมาตามไฟเขียวปกติ การกระทำของนายพีชจึงเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายจราจร จึงต้องชดใช้ค่าสินไหมแก่นายภพ
ข้อสังเกต ข้อสันนิษฐานความผิดตามมาตรานี้ ไม่ใช้ข้อสันนิษฐานโดยเด็ดขาด อาจสืบเพื่อหักล้างได้ว่าข้อเท็จจริงนั้นไม่เป็นการกระทำผิดกฎหมาย
การกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น
ลักษณะละเมิดอีประการหนึ่ง คือ จะต้องมีความเสียหายเกิดขึ้น เมื่อยังไม่เกิดความเสียหายก็ยังไม่เป็นละเมิด
มีความเสียหายต่อสิทธิ
เป็นการละเมิดอันขัดต่อสิทธิในชีวิต ร่างกาย อนามัย เสรีภาพ ทรัพย์สิน ย่อมเป็นความเสียหายแก่สิทธิของบุคคล สิ่งหล่านี้ย่อมระบุไว้ใน 420 โดยระุถึงคำว่าสิทธิครอบคลุมไว้ทั้งสิ้น
EX.นายหล่อใช้กล่องโฟมตีไปที่ศรีษะของนางสวย แม้นางสวยไม่ได้บาดเจ็บต่อย่างใด การกระทำของนายหล่อก็ย่อมเป็นการละเมิดต่อสิทธิของนางสวย
ลักษณะแห่งสิทธิ
หมายถึง ประโยชน์ที่บุคคลมีอยู่ และบุคคลอื่นมีหน้าที่ต้องเคารพ เป็นการรับรองและคุ้มครองตามกฎหมาย
EX.นายกุ้กมีสิทธิในที่ดินของตนเอง หากมีผู้ใดมาลุกล้ำที่ดินของนายกุ้กก็ย่อมถือว่าเป็นการทำละเมิดต่อนายกุ้ก
ความเสียหายที่คำนวณเป็นตัวเงินได้และไม่อาจคำนวณเป็นตัวเงินได้
ความเสียหายทางทรัพย์สิน หรือเรียกว่าความเสียหายที่เป็นตัวเงิน คือ ความเสียหายที่กระทบประโยชน์ในทางเศรษฐกิจของผู้เสียหาย
EX. นางกบเอาน้ำกรดสาดหน้านางเขียด ทำให้นางเขียดเสียโฉม แม้กรณีนี้ไม่กระทบถึงความเสียหายในทางทรัพย์สินคือค่ารักษษพยาบาลหรือค่าเสียหายอันเกิดจากการรักษาตัว แต่ย่อมเกิดผลกระทบอันเป็นการละเมิดในด้านจิตใจของบุคคลผู้ถูกละเมิด
ความเสียหายทางจิตใจ หรือเรียกว่าความเสียหายที่ไม่อาจคำนวณเป็นตัวเงินได้ คือ ความเสียหายอันกระทบต่อจิตใจ ทำให้เกิดความทุกข์ ความอับอาย อันไม่สามารถคำนวณเป็นตัวเงินได้อย่างแน่นอน
EX. นายไก่ ใช้ไม้หน้าสามตีไปที่นายเป็ด ทำให้นายเป็ดได้รับบาดเจ็บ ก็เป็นเหตุละเมิดอันเป็นความเสียหายอันคำนวณเป็นตัวเงินได้
ความเสียหายนั้นเป็นผลมาจากการกระทำของผู้ทำความเสียหาย (ความเสียหายและการกระทำนั้นต้องัสมพันธ์กันตามหลักความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำและผล)
คือ เมื่อมีความเสียหายขึ้นแล้ว การที่จะกำหนดจำนวน "ค่าเสียหาย" ที่ผู้ก่อความเสียหายนั้น จะต้องสัมพันธ์กันกับความเสียหายที่เกิดขึ้นกับผู้ที่ถูกทำให้เกิดความเสียหาย
ทฤษฎีเงื่อนไขหรือทฤษฎีความเท่าเทียมกันแห่งเหตุ
พิจารณาว่าข้อเท็จจริงที่เกิดจากคนนั้นก่อให้เกิดความเสียแก่ประโยชน์ที่กฎหมายคุ้มครองหรือไม่ ถ้าใช่ แม้จะมีสาเหตุอื่นมาประกอบร่วมด้วยในการก่อความเสียหายก็ตาม คนนั้นก็ต้องรับผิด
EX. นายไก่วิ่งไล่ทำร้ายนายเป็ดจนได้รับบาดเจ็บ ในขณเชะที่วิ่งไล่กันไปที่ถนน นายห่านขับรถมาด้วยความเร็วสูงเกินกำหมายกำหนดชนเข้ากับนายเป็ด ทำให้นายเป็ดเชียชีวิตคาที่ กรณีนี้นายไก่กับนายห่านก็จำต้องรับผิดในการตายของนายเป็ดเช่นเดียวกัน
ทฤษฎีมูลเหตุเหมาะสม คือ การพิจารณาว่าความเสียที่เกิดขึ้นเหมาะสมหรือเป็นความเสียหายปกติที่เกิดจากการกระทำหรือไม่ หากความเสียหายที่เกิดขึ้นเหมาะสมกับการกระทำ ผู้กระทำรับผิดเฉพาะความเสียหายที่เหมาะสมแก่การกระทำของตน
EX. นายไก่ นายเป็ด และนายห่าน ไล่ทำร้ายนายหงส์ โดยนายไก่และนายเป็ดใช้ไม้ตีเข้าไปที่ขาของนายหงส์ ส่วนนายห่านใช้ปืนยิงนายหงส์ในขณะที่ล้มลงจนทำให้นายหงส์ตาย กรณีนี้ นายไก่และนายเป็ดต้องรับผิดเพียงการทำร้ายร่างกาย ส่วนนายห่านซึ่งเป็นผู้ใช้ปืนยิงก็จำต้องรับผิดในฐานฆ่าผู้อื่นจากความตายของนายหงส์