Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรับผิดกระทำละเมิดด้วยตนเอง, ความรับผิดกระทำละเมิดในการกระทำของผู้อื่น,…
ความรับผิดกระทำละเมิดด้วยตนเอง
ละเมิดโดยการหมิ่นประมาท การพิพากษาคดี ร่วมกันทำละเมิด
ละเมิดโดยการหมิ่นประมาท
ละเมิดโดยการหมิ่นประมาทคือ การกล่าวหาหรือไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนต่อความเป็นจริงอันก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น
มาตรา 423 ผู้ใดกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลาย ซึ่งข้อความอันฝ่าฝืน ต่อความจริง เป็นที่เสียหายแก่ชื่อเสียงหรือเกียรติคุณของบุคคลอื่น ก็ดีหรือเป็นที่เสียหายแก่ทางทำมาหาได้ หรือทางเจริญของเขาโดย ประการอื่นก็ดี ท่านว่าผู้นั้นจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่เขาเพื่อ ความเสียหายอย่างใดๆ อันเกิดแต่การนั้น แม้ทั้งเมื่อตนมิได้รู้ว่าข้อ ความนั้นไม่จริง แต่หากควรจะรู้ได้
ผู้ใดส่งข่าวสาส์นอันตนมิได้รู้ว่าเป็นความไม่จริง หากว่าตนเอง หรือผู้รับข่าวสาส์นนั้นมีทางได้เสียโดยชอบในการนั้นด้วยแล้ว ท่านว่า เพียงที่ส่งข่าวสาส์นเช่นนั้นหาทำให้ผู้นั้นต้องรับผิดใช้ค่าสินไหม ทดแทนไม่
เช่น ก เคยทำงานที่บริษัท ข แต่ลาออกจากงาน ก ไปสมัครที่บริษัท ค บริษัท ค สอบถามเกี่ยวกับประวัติและพฤติกรรมของ ก ไปยังบริษัท ข บริษัท ข ตอบกลับไปว่า ก ลาออกเพราะเอาทรัพย์สินของบริษัท ข ไปเป็นประโยชน์ส่วนตัว ดังนี้แม้การสอบสวนของบริษัท ข ยังไม่แน่ชัดว่า ก เอาไปแต่บริษัท ข เข้าใจโดยสุจริตว่า ก เอาไป แม้บริษัท ข ควรจะรู้ว่า ก ไม่ได้เอาไป จึงบอกไปยังบริษัท ค ดังกล่าว ดังนี้ บริษัท ข กับบริษัท ค มีส่วนได้เสียในการบอกและรับข้อความไม่ต้องรับผิดตามมาตรา 423
การพิพากษาคดี
มาตรา 424
ในการพิพากษาคดีข้อความรับผิดเพื่อละเมิดและกำหนดค่าสินไหมทดแทนนั้น ท่านว่าศาลไม่จำต้องดำเนินตามตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายลักษณะอาญาอันว่าด้วยการที่จะต้องรับโทษ และไม่จำต้องพิเคราะห์ถึงการที่ผู้กระทำผิดต้องคำพิพากษาลงโทษทางอาญาหรือไม่
เช่น ฎีกา 256/2490
คดีอาญาศาลพิพากษาว่าจำเลยมิได้ฉ้อโกงโจทก์โดยฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยบังคับให้โจทก์ขายผ้าให้จำเลยโดยอำนาจตามประกาศควบคุมการขายผ้า แต่จำเลยไม่รู้ว่าได้มีประกาศยกเลิกการควบคุมผ้าแล้วจึงยกฟ้องโจทก์
ดังนี้โจทก์ยังมีสิทธิเรียกค่าเสียหายฐานละเมิดได้เพราะการกระทำเช่นนี้ถือได้ว่าจำเลยจงใจทำให้โจทก์เสียหาย
การร่วมกันทำละเมิด
ลักษณะการร่วมกันทำละเมิด
คือทั้งเจตนาหรือความมุ่งหมายร่วมกันและกระทำร่วมกันไม่ใช่ต่างคนต่างเจตนาหรือมีความมุ่งหมายของตนเองหรือต่างคนต่างกระทำเท่านั้นและโดยเหตุที่วิสัยและพฤติการณ์ บุคคลอาจให้ความระมัดระวังไม่เพียงพอได้เช่นเดียวกับทางอาญา จึงอาจมีการกระทำละเมิดกันได้เช่นเดียวกับทางอาญา
ความรับผิดระหว่างผู้ร่วมกระทำละเมิด
กฎหมายมุ่งหมายถึงการกระทำมิได้ดูผลแห่งความเสียหายว่าแยกกันได้หรือไม่ แม้หากจะไม่รู้ว่าในระหว่างผู้ที่ร่วมกันทำละเมิดผู้ใดทำอะไรลงไปบ้าง หรือใครคือผู้ทำให้เสียหายมากน้อยเพียงใดทุกๆคนก็ต้องรับผิดร่วมกันในผลแห่งละเมิดนั้นเต็มจำนวนความเสียหาย ฎีกา 1472/2506
มาตรา 432 ถ้าบุคคลหลายคนก่อให้เกิดเสียหายแก่บุคคลอื่นโดยร่วมกันทำละเมิด ท่านว่าบุคคลเหล่านั้นจะต้องร่วมกันรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายนั้น ความข้อนี้ท่านให้ใช้ตลอดถึงกรณีที่ไม่สามารถสืบรู้ตัวได้แน่ว่าในจำพวกที่ทำละเมิดร่วมกันนั้น คนไหนเป็นผู้ก่อให้เกิดเสียหายนั้นด้วย
ในระหว่างบุคคลทั้งหลายซึ่งต้องรับผิดร่วมกันใช้ค่าสินไหมทดแทนนั้น ท่านว่าต่างต้องรับผิดเป็นส่วนเท่า ๆ กัน เว้นแต่โดยพฤติการณ์ ศาลจะวินิจฉัยเป็นประการอื่น
อนึ่ง บุคคลผู้ยุยงส่งเสริมหรือช่วยเหลือในการทำละเมิด ท่านก็ให้ถือว่าเป็นผู้กระทำละเมิดร่วมกันด้วย
ความรับผิดในการกระทำของตนเอง
ความหมายของการกระทำ
การกระทำหมายถึง
การเคลื่อนไหวร่างกายหรือไม่เคลื่อนไหวร่างกายโดยรู้สึกนึก กล่าวคือ อยู่ภายใต้บังคับของจิตใจ
การกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ
จงใจ
คำว่า"จงใจ" หมายถึงความประสงค์หรือมุ่งหมายให้ผู้อื่นเสียหาย
ตัวอย่างเช่น ฎีกา 4753/2549
จำเลยกระทำลงไปโดยรู้ว่าตนไม่มีสิทธิ
จำเลยยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์อ้างว่า จำเลยเป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าชดเชยภาษีอากรสำหรับสินค้าส่งออกซึ่งเป็นเท็จ
ความจริงจำเลยไม่มีสิทธิได้รับเงินชดเชยค่าภาษีอากรตามกฎหมายพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์หลงเชื่อว่าจำเลยเป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินชดเชยค่าภาษีอากรจึงออกบัตรภาษีให้แก่ธนาคารกรุงเทพฯพาณิชย์การ จำกัด(มหาชน) ตามคำขอของจำเลย ธนาคารกรุงเทพฯพาณิชย์การ จำกัด(มหาชน) ได้นำบัตรภาษีไปใช้ชำระค่าภาษีอากรแทนเงินสดและโจทก์ได้ใช้เงินตามมูลค่าบัตรภาษีเป็นค่าภาษีอากรแทนแล้ว โจทก์จึงนำคดีมาฟ้องขอให้จำเลยรับผิดใช้เงินตามมูลค่าบัตรภาษีดังกล่าว การกระทำของจำเลยเช่นนี้เป็นการจงใจกระทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมายให้โจทก์เสียหายแก่ทรัพย์สินอันเป็นการทำละเมิดซึ่งจำเลยได้ชื่อว่าเป็นผู้ผิดนัดมาแต่เวลาที่ทำละเมิด จำเลยจึงต้องรับผิดใช้ดอกเบี้ยนับตั้งแต่วันที่ธนาคารดังกล่าวได้รับบัตรภาษ๊ไปจากโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420,206 และ 224 วรรคแรก
ประมาทเลินเล่อ
คำว่า"ประมาทเลินเล่อ"
หมายถึงไม่จงใจแต่ไม่ใช้ความระมัดระวังตามสมควรที่จะใช้
ตัวอย่างเช่น ฎีกา 608/2521 จำเลยครอบครองใช้ประโยชน์ท่าเรือคนกรูกันลงเรือสะพานไม้ที่ทอดลงไปสู่โป๊ะหักทำให้โป๊ะคว่ำ จึงถือว่าเป็นความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ไม่ระมัดระวังดูแลให้สะพานท่าเรืออยู่ในสภาพแข็งแรงปล่อยให้สะพานไม้ที่ทอดสู่ดป๊ะหัก จำเลยต้องรับผิดในผลโดยตรงที่คนตกน้ำตายเพียงแต่ร้องห้ามมิให้คนกรูกันไปลงท่าเรือไม่เป็นการใช้ความระมัดระวังอันเพียงพอ
การกระทำโดยผิดกฎหมาย
โดยผิดกฎหมายตาม มาตรา 420 หมายความว่า
มิชอบด้วยกฎหมายดังที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 421 เท่านั้น กล่าวโดยสรุปคือได้กระทำโดยไม่มีสิทธิหรือข้อแก้ตัวตามกฎหมายให้ทำได้แล้วก็ถือว่าเป็นการกระทำโดยผิดกฎหมาย
การใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น
ตัวอย่างเช่น ฎีกา 220/2538
ข้อเท็จจริงเป็นเรื่องผู้ที่อาศัยอยู่บ้านใกล้เคียงก่อสร้างแผ่นเหล็กในเขตที่ดินของตน แต่เป็นเหตุให้ปิดกั้นแสงแดดและทางลงที่จะเข้าตึกของเพื่อนบ้านอีกหนึ่งคน ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าเป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น เป็นละเมิดตามมาตรา 421
การกระทำฝ่าฝืนบทบังคับแห่งกฎหมาย
ตัวอย่างเช่น ฎีกา 1085/2510 จำเลยขับรถด้วยความเร็วสูงโดยขับรถผิดทางเป็นการประมาทเลินเล่อ
การกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น
แยกพิจารณาได้ดังนี้
มีความเสียหายต่อสิทธิ เช่น นาย ก ใช้มือที่สะอาดตบศีรษะนางสาว ข ไม่มีอะไรปนเปื้อนนางสาว ข ในความคิดของบุคคลธรรมดาอาจเห็นว่าไม่เกิดความเสียหายใดๆแก่นางสาว ข ซึ่งแท้จริงแล้วในสายตาของกฎหมายย่อมถือเป็นความเสียหายแก่นางสาว ข
ลักษณะแห่งสิทธิ
คือประโยชน์ที่บุคคลมีอยู่และบุคคลอื่นมีหน้าที่ต้องเคารพ
ความเสียหายไม่อาจคำนวณเป็นเงินได้ เช่น ก ชกต่อย ข แต่ ข ไม่ได้รับบาดเจ็บ ไม่จำเป็นที่ ข ต้องรักษา เป็นความเสียหายอันคำนวณหาตัวเงินไม่ได้
ความเสียหายเป็นผลจากการกระทำของผู้ทำเสียหาย
ทฤษฎีความเท่าเทียมแห่งเหตุหรือทฤษฎีเงื่อนไข
ถือว่าหากปรากฏว่าถ้าไม่มีการกระทำดังกล่าวดังที่ถูกกล่าวหาว่าแล้วผลจะไม่เกิดขึ้นเช่นนั้นจะไม่มีความเสียหายดังที่กล่าวอ้าง
เช่น ก ทำร้าย ข โดยเตะที่ท้องเบาๆ แต่ปรากฏว่า ข มีโรคประจำตัวซึ่งถ้าหากถูกกระทบอย่างแรงอาจตายได้ แต่ ก ไม่ทราบมาก่อน ข ถึงแก่ความตายดังนี้ ความตายของ ข เป็นผลมาจากการกระทำของ ก แม้ ก จะไม่รู้ว่า ข เป็นโรคดังว่านั้น คิดแต่เพียงว่า ข อาจได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย แต่ ก ก็ต้องรับผิดในความตายของ ข
ทฤษฎีมูลเหตุเหมาะสม
ถือว่าในบรรด่เหตุทั้งหลายที่ก่อให้เกิดผลขึ้นนั้น ในแง่ความรับผิดของผู้กระทำใดๆแล้ว เฉพาะแต่เหตุที่ตามปกติย่อมก่อให้เกิดผลเช่นว่านั้นที่ผู้กระทำต้องรับผิด
เช่น ก ย่อมไม่ทราบว่า ข มีโรคประจำตัว ถ้าทำร้ายเช่นนั้น ข อาจได้รับอันตรายถึงตายได้ ก จึงรับผิดเฉพาะในกรณีที่ ข ได้รับบาดเจ็บอย่างธรรมดาเท่านั้น ไม่ต้องรับผิดในความตายของ ข
ความรับผิดกระทำละเมิดในการกระทำของผู้อื่น
1.ความรับผิดของนายจ้างในผลแห่งการละเมิดของลูกจ้างในทางการที่จ้าง
1.1ความรับผิดของนายจ้าง
มาตรา 425
นายจ้างต้องร่วมกันรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิดซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างนั้น
หมายถึง บุคคล2ฝ่าย
บุคคลหนึ่่งเรียกว่าลูกจ้าง บุคคลหนึ่งเรียกว่านายจ้าง
ในการทำสัญญาจ้างแรงงานนั้นถ้าหากไม่เรียกกันว่าสัญญาจ้างแรงงานหรือลูกจ้างนายจ้าง ก็ไม่ถือว่าเป็นสัญญาจ้างแรงงานหาถูกต้องไม่ ซึ่งในทางปฏิบัติจะใช้ถ้อยคำเรียกอย่างไรไม่สำคัญ ถ้าเข้าลักษณะสัญญาจ้างแรงงานแล้วย่อมเป็นสัญญาจ้างแรงงานอยู่นั่นเอง เช่นสัญญาจ้างทำความสะอาด สัญญาจ้างทำครัว
การที่นายจ้างจะต้องรับผิดนั้นจะต้องเป็นกรณ๊ที่ลูกจ้างได้กระทำละเมิดเข้าองค์ประกอบมาตรา 420 ไม่ว่าจะเป็นการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ หากลูกจ้างไม่ได้กระทำละเมิดก็ไม่ต้องมีประเด็นให้พิจราณาต่อไปว่านายจ้างต้องร่วมรับผิดหรือไม่
ฎ.1425/2539
การทีลูกจ้างมิได้ขับรถยนต์ทับขาผู้เสียหายโดยประมาทเลินเล่อ การกระทำของลูกจ้างจึงไม่เป็นละเมิดนายจ้างจึงไม่ต้องรับผิดด้วย
1.2 ลูกจ้างทำละเมิดในทางการที่จ้าง
การที่จะพิจารณาว่าการกระทำละเมิดของลูกจ้างได้เกิดขึ้นในทางการจ้างหรือไม่
1.วิเคราะห์ว่าทำงานชนิดใด ประเภทใด ลักษณะงานที่จ้างเป็นอย่างไร
2.การละเมิดนั้นได้เกิดขึ้นในทางการที่จ้างหรือไม่
3.ขณะที่มีการละเมิดลูกจ้างได้ปฏิบัติตามงานที่จ้างหรือ ไม่ ลูกจ้างจะต้องอยู่ในความดูแลของนายจ้าง ความรับ ผิดของนายจ้างจะมีอยู่เฉพาะเมื่อลูกจ้างได้กระทำการเสีย หายระหว่างปฏิบัตติตามหน้าที่ 4..การที่ลูกจ้างได้กระทำไปนั้นต้องเป็นการปฏิบัติให้งาน ลุล่วงไป
ลูกจ้างกระท่ากัน ในขณะเดียวกัน
แม้ กง้างจะ กระกิจส่วน จนเกิดการละเมิด บ ง อว่าเป็นเหตุการณ์ เสริมในทางการ จ่าเ เพราะการที่ จ.ปฏิบัติ น ท า น อาจเป็นเหตุให้ลง.ปฏิบัติหน้าที่ เพื่อนายจ้าง โดยประมาทเลิดเล่อก็ได้
ฎ.1241/2502
จําเลยที่ 2 เป็นนายท้ายและผู้ควบคุมเรือยนต์ทำงานใน ฐานเป็นลูกจ้างของจําเลยที่ 1 และรับจ้างลากจูงเรือของโจทก์ การที่จำเลย ที่ 2 ทำให้เรือบรรทุกข้าวของโจทก์ล่มเป็นไปในทางการที่จ้าง จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนายจ้างต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 2 ด้วย
กรณีที่นายจ้างมีคำสั่งห้าม
การที่นายจ้างมีคำสั่งห้ามการกระทำอัน เป็นการละเมิดไว้โดยชัดแจ้งย่อมไม่เป็นข้อต่อสู้ของนายจ้าง หากการกระ ทํา นเปนเพิยงการปฏิบัติสั่งที่ลูกช้างไดินข้างให้กระทำ
การละเมิดโดยจงใจ
การที่จะให้นายจ้างต้องรับผิดอันเนื่องมาจากการะ กระทำละเมิดโดยจงใจของลูกจ้างนั้น จะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ว่าลูก จ้างได้กระทําไปโดยมีเจตนาเพื่อประโยชน์ของนายจ้าง หากลูกจ้างได้ กระทําไปเพื่อประโยชน์ตนเอง นายจ้างก็ไม่ต้องรับผิด กล่าวอีกนัยหนึ่ง ถ้า ลูกจ้างปฏิบัติการโดยมีเหตุจูงใจเป็นส่วนตัว โดยแท้
1.3 สิทธิไล่เบี้ย
มาตรา 426
นายจ้างซึ่งได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ บุคคลภายนอกเพื่อละเมิดอันลูกจ้างได้ทำนั้น ชอบที่จะ ได้ชดใช้จากลูกจ้างนั้น
โดยเหตุที่การละเมิดนั้นเป็นการกระทำของลูกจ้างต่อบุคคล ภายนอกเอง โดยลำพัง ที่นายจ้างต้องรับผิดร่ววมด้วยกับ ลูกจ้างเป็นความรับผิดชอบต่อผู้เสียหาย แต่ในระหว่าง ลูกจ้างนายจ้างแล้ว เมื่อนายจ้างชดใช้ค่าสินไหมให้ผู้เสีย หายแล้ว จึงชอบที่จะช่วงสิทธิของผู้เสียหายไล่เบี้ยเรียกให้ ลูกจ้างชดใช้ให้แก่ตนได้
ฎ.648/2522
ลูกจ้างทำละเมิดนายจ้างถูกฟ้องได้ใช้ค่าเสีย หายแก่ผู้เสียหาย ไปตามคำพิพากษาแล้ว ไล่เบี้ยเอาจาก ลูกจ้างได้ แต่ค่าฤชาธรรมเนียมที่นายจ้างต้องใช้แก่ผู้เสีย หายตามคำพิพากษานั้น ไม่ใช่ค่าเสียหายอันเป็นผล โดยตรงจากการละเมิดของลูกจ้าง นายจ้างไล่เบี้ยไม่ได้
1.4 ตัวการรับผิดในการกระทำละเมิดของตัวแทน
สิทธิไล่เบี้ยของตัวการ
ตัวการมีสิทธิ์ไล่เบี้ยตัวแทนเช่นเดียวกันที่นายจ้างมีสิทธิ์ไล่เบี้ย เอาจากลูกจ้าง ในลักษณะเดียวกัน กล่าวคือเมื่อตัวการได้เข้า ชดใช้ความเสียหายแล้วย่อมรับช่วงสิทธิ์จากผู้เสียหายมาไล่ เบี้ยเอาจากตัวแทนได้ทั้งหมดเท่าที่ได้ชดใช้ไปตามมาตรา 427 ประกอบมาตรา 426
ความรับผิดของตัวการ
ในเบื้อง แรกจะต้องทราบถึงขอบเขตของ การเป็นตัวแทนเสียก่อนว่ามีเพียง ไรถ้าตัวแทนได้รับมอบอานาจแต่ เฉพาะการย่อมจะทําการแทน ตัวการได้แต่เพียงในสิ่งที่จำเป็น เพื่อให้กิจการอันตัวการได้มอบ หมายแก่ตนนั้นสําเร็จลุล่วงไป มาตรา 800 ในเหตุฉุกเฉินเพื่อจะ ป้องกันมิให้ตัวการต้องเสียหาย ย่อมสันนิษฐานไว้ก่อนว่าตัวแทนจะ ทําการใดๆเช่นอย่างวิญญูชนจะพึง กระทําก็ย่อมมีอำนาจจะทําได้ทั้งสิ้น ตามมาตรา 802 อำนาจการกระทํา ของตัวแทนที่ได้รับมอบดังกล่าว ย่อมเป็นสิ่งที่กําหนดขอบเขต อ้านาจของตัวแทนว่ามีกว้างขวาง เพียงไรและจะชี้ให้เห็นว่าการ ละเมิดนั้นได้เกิดขึ้นในทางที่เป็น ตัวแทนหรือในระหว่างที่ตัวแทนได้ ปฏิบัติหน้าที่ให้แก่ตัวการหรือไม่
มาตรา 427 บทบัญญัติในมาตราทั้งสองก่อนนั้น ท่านให้ใช้่บังคับแก่ตัวการและตัวการและตัวแทนด้วยโดยอนุโลม
มาตรา 427 บัญญัติให้นำมาตรา 425 และ มาตรา426 มาใช้บังคับแก่ตัวการและตัวแทนโดย อนุโลม หมายถึง ความรับผิดชอบของตัวการในการ ที่ตัวแทนไปทำละเมิดนั้นให้นำบทบัญญัติเรื่องความ รับผิดของนายจ้างในการทำละเมิดของลูกจ้างมาใช้ อนุโลมเพราะฉะนั้นหลักเกณฑ์ความรับผิดของ นายจ้างตามมาตรา 425 จึงนำมาใช้กับกรณีตัวการตัวแทนด้วย
มาตรา 797 บัญญัติว่าอันว่าสัญญาตัวแทนนั้นคือสัญญาซึ่งให้ บุคคลคนหนึ่งเรียกว่าตัวแทนมีอำนาจทำการแทนบุคคลอีกคน หนึ่งเรียกตัวการและตกลงจะทำการดังนั้น ตัวแทนเป็นสัญญาอย่างหนึ่งและเป็นเอกเทศสัญญาเช่นเดียว กับจ้างแรงงานอันเป็นความสัมพันธ์กันระหว่างนายจ้างกับ ลูกจ้างจึงต้องวิเคราะห์ดูว่ากรณีใดที่บุคคลเป็นตัวการตัวแทน ระหว่างกันพึงสังเกตว่าถ้ามิใช่เป็นการตั้งตัวแทน
เช่น
เป็นแต่การใช้หรือวานคนรู้จักกันให้ขับรถยนต์พาภริยาไป ซื้อของดังนี้ไม่ใช่ตัวแทนเพราะมิใช่เป็นกิจการที่ผู้รับใช้หรือรับ วันท่าแทนตัวการต่อบุคคลที่ 3 แต่เป็นกิจการระหว่างผู้ใช้กับ ผู้รับใช้หรือผู้วานกับผู้รับวานไม่ได้เกี่ยวกับบุคคลที่ 3 เลยผู้ใช้ หรือวานให้ขับรถไม่ต้องรับผิดในละเมิดที่คนขับได้ทำขึ้น ฎ.1980/2505
(การใช้การงานไม่ใช่ลักษณะตัวการตัวแทน)
2.ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของ
2.1 ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของไม่เป็นความรับผิดในการกระทำของบุคคล
มาตรา 428 ผู้ว่าจ้างทำของไม่ต้องรับผิดเพื่อความเสียหายอัน ผู้รับจ้างได้ก่อให้เกิดขึ้นแก่บุคคลภายนอก ในระหว่างทำการงานที่ ว่าจ้าง เว้นแต่ผู้ว่าจ้างจะเป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำหรือ ในคำสั่งที่ตนให้ไว้หรือในการเลือกหาผู้รับจ้าง
บุคคลที่ต้องรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่นจะต้องมิได้กระทำ ละเมิดด้วยตนเองแต่ตามมาตรา 428 ที่บัญญัติให้ผู้ว่าจ้างทำ ของต้องรับผิดผู้ว่าจ้างทำของจะต้องเป็นผู้รับผิดฉะนั้นความรับ ผิดของผู้ว่าจ้างทำของจึงมิใช่บทบัญญัติว่าด้วยความรับผิดชอบ ในการกระทําของบุคคลอื่น
2.2 หลักความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของ
หลักทั่วไปว่าความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของไม่ใช่ ความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่นทั้งนี้ก็เพราะ ว่าผู้ว่าจ้างไม่มีสิทธิ์ควบคุมวิธีการทำงานจึงถือเป็น งานของผู้รับจ้างเองผู้ว่าจ้างไม่มีสิทธิที่จะออกคำสั่ง บังคับบัญชาผู้รับจ้างดังนายจ้างกับลูกจ้างในสัญญา จ้างแรงงาน ดังนั้น ผู้จ้างทำของก้ไม่ต้องรับผิดใน ความเสียหายที่ผู้รับจ้างก่อขึ้นแก่บุคคลภายนอกซึ่ง เป็นผลมาจากการกระทำของผู้รับจ้างเอง
ความผิดของผู้ว่าจ้างตามที่กฎหมายกำหนดมี 3 กรณีโดยจะต้องรับผิดร่วมกับลูกจ้าง
3. ความผิดในส่วนของการเลือกผู้รับจ้าง
คือการจ้าง นั่นเอง คือจ้างคนที่ตนรู้ว่าไม่ใช่ผู้ที่มีความสามารถหรือ ระมัดระวังอันควรแก่สภาพของการงานที่จ้างให้ทำจึงเป็น ผลให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นโดยละเมิด เช่น จ้าง สร้างบ้านทำด้วยไม้แต่ไปจ้างผู้ที่เข้าตัวไม้ไม่แน่นหนาจึง เป็นผลทำให้บ้านทรุดพังลงมาถูกทรัพย์สินของบุคคลข้าง เคียงเสียหาย
2.ความผิดในคำสั่งที่ตนให้ไว้
หมายถึง การงานที่สั่งให้ทำจะไม่ เป็นละเมิดในตัวเองแต่อาจสั่งให้ผู้รับจ้างทำโดยวิธีการอย่างใด อย่างหนึ่งอันเป็นผลให้ผู้อื่นเสียหายก็ได้ คำสั่งที่ว่านี้ไม่เหมือนกับ คำสั่งเมื่อกล่าวถึงในส่วนการงานที่สั่งให้ทำตอนก่อนเป็นเพียงคำ แนะนำเท่านั้น เช่น แนะนำให้ช่างทำรางน้ำชายคาของบ้านใกล้ ชิดกับแนวเขตที่ดินข้างเคียงของผู้อื่นเวลาฝนตกน้ำไหลตกลงใน ที่ดินข้างเคียง
1.ความผิดในส่วนการที่สั่งให้ทำ
หมายถึง งานที่จ้างให้ทำเป็นการละเมิดต่อบุคคลอื่น
เช่น
ว่าจ้างให้ต่อเติมอาคารที่ตนเช่าโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของ
3.ความรับผิดของบิดามารดาหรือผู้อนุบาลในการกระทำละเมิดของผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริตและความรับผิดของครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่นในการกระทำละเะมิดของผู้ไร้ความสามารถ
3.1 ความรับผิดของบิดามารดาหรือผู้อนุบาลในการทำละเมิดของคนไร้ความสามารถ
มาตรา 429
บุคคลใดแม้ไร้ความสามารถ เพราะเหตุเป็นผู้เยาว์หรือวิกลจริตก็ยังต้องรับ ผิดในผลที่ตนทำละเมิด บิดามารดาหรือผู้ อนุบาลของบุคคลเช่นว่านี้ย่อมต้องรับผิดร่วม กับเขาด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนได้ใช้ ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแล ซึ่งทำอยู่นั่น
มาตรา 429 กำหนดหลักการร่วมรับผิดเพื่อละเมิดไว้ 2 กรณีคือ
1.ผู้เยาว์และคนวิกลจริตที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ แล้วต้องรับผิดในการกระทำละเมิดของตนเองการด้วยความ สามารถไม่เป็นเหตุให้พ้นความรับผิดไปได้
บิดามารดาหรือผู้อนุบาลต้องร่วมรับผิดชอบเว้นแต่ใช้ความ ระมัดระวังในการทำหน้าที่ดีเพียงพอแล้ว
ความรับผิดของบิดามารดาหรือผู้อนุบาลตามมาตรา 429 เป็น ความรับผิดเนื่องจากความบกพร่องในหน้าที่ดูแลผู้ไร้ความ สามารถและเหตุละเมิดที่เกิดขึ้นนั้นต้องเกิดขึ้นขณะที่ผู้ไร้ความ สามารถอยู่ในระหว่างการดูแลของบิดามารดาหรือผู้อนุบาลจึง จะทําให้บุคคลเหล่านี้ต้องรับผิดหากมิใช่เหตุและเมื่อที่เกิดขึ้นที อยู่ในระหว่างความดูแลก็ไม่ต้องรับผิด นอกจากนี้ ความรับผิด ของบิดามารดาหรือผู้อนุบาลตามมาตรา 429 นี้เป็นความรับผิด ที่ผู้ไร้ความสามารถไปทําความเสียหายอันเป็นการละเมิดต่อ บุคคลภายนอกตามหลักที่บัญญัติไว้ในมาตรา 420 หากไม่ เป็นการละเมิดผู้ไร้ความสามารถก็ไม่ต้องรับผิดบิดามารดาหรือ ผู้อนุบาลก็ไม่ต้องรับผิดร่วมด้วยตามมาตรา 429 แต่จะต้องรับ ผิดฐานละเมิดเป็นส่วนตัวโดยการกระทำผิดมาตรา 420
ฎ.62/2522
เด็กหนีจากบ้านไปตั้งแต่อายุ 12 ปีแม้ถูกล่ามโซ่ไว้ แล้วก็ยังมีจนอายุ 18 ปีไปรับจ้างขับรถยนต์บิดามารดาใช้ความ ระมัดระวังดูแลอย่างดีแล้วนอกเหนืออำนาจของบิดามารดาจะ ระมัดระวังได้บิดามารดาไม่ต้องรับผิดในละเมิดที่บุตรขับรถชน คนอื่นโดยประมาท
3.2ความรับผิดของครูบาอาจารย์ นายจ้างหรือบุคคลอื่นในการทำละเมิดของผู้ไร้ความสามารถ
ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแล
ความรับผิดตามมาตรา 430 นี้แตกต่างกับ ความรับผิดตามมาตรา 429 ที่ว่าตามมาตรา 429 บัญญัติให้บิดามารดาหรือผู้อนุบาล มีหน้าที่น่าสืบว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังตาม สมควรจึงจะพ้นจากความรับผิดถ้าไม่น่าสืบก็ ไม่พ้นจากความรับผิดแต่ตามมาตรา 430 เป็นหน้าที่ของผู้เสียหายนำสืบให้ได้ความว่าผู้ มีหน้าที่ดูแลมิได้ใช้ความระมัดระวังตาม สมควรแก่หน้าที่ที่ต้องดูแลถ้าไม่น่าสืบหรือ นำสืบให้ฟังไม่ได้บุคคลที่รับดูแลบุคคลผู้ไร้ ความสามารถก็ไม่ต้องรับผิด
มาตรา 430
ครูบาอาจารย์ นายจ้างหรือบุคคลอื่นซึ่งรับ ดูแลบุคคลผู้ไร้ความสามารถอยู่เป็นนิตย์ก็ดี ชั่วคราวก็ดี จำต้องรับผิดร่วมกับผู้ไร้ความสามารถในการละเมิดซึ่ง เขาได้กระทำลงในระหว่างที่อยู่ในความดูแลของตน ถ้า หากพิสูจน์ได้ว่าบุคคลนั้นๆ มิได้ใช้ความระมัดระวังตาม สมควร
ผู้ที่มีหน้าที่ตามมาตรา 430 คือผู้ที่มีหน้าที่ดูแลบุคคลผู้ไร้ความ สามารถ ในขณะละเมิดนั้น อันได้แก่ ครูบาอาจารย์ ย่อมมีหน้าที่ ดูแลนักเรียน จะดูฉลอยู่เป็นนิจหรือชั่วคราวก็ต้องรับผิดเช่น เดียวกัน
นายธนาธิป บัวดัง 64012310259 เซค2 เลขที่98