Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรับผิดกระทำละเมิดด้วยตนเอง - Coggle Diagram
ความรับผิดกระทำละเมิดด้วยตนเอง
การกระทำที่เป็นละเมิด
การกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อต่อบุคคลภายนอกโดยผิดกฎหมายเป็นเหตุให้เขา (ผู้ถูกกระทำ)เสียหายแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดีทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดีกฎหมายถือว่าผู้นั้นทำละเมิดจะต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการละเมิดนั้น (ป.พ.พ.ม. 420)
ซึ่งมีการเเยกองค์ประกอบได้ดังนี้
มีการกระทำ หมายถึง การเคลื่อนไหวร่างกายโดยรู้สำนึกในการเคลื่อนไหวนั้น เเละอยู่ในบังคับของจิตใจผู้กระทำ
โดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ
โดยจงใจ หมายถึง รู้สำนึกถึงผลหรือความเสียหายจากการกระทำของตน
โดยประมาทเลินเล่อ หมายถึง เป็นการกระทำโดยปราศจากความระมัดระวัง ซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจำต้องมี โดยต้องเปรียบเทียบกับบุคคลที่ต้องมีความระมัดระวังตามพฤติการณ์ และตามฐานะในสังคมเช่นเดียวกับผู้กระทำความเสียหาย
โดยผิดกฎหมาย
เป็นการกระทำโดยไม่มีอำนาจหรือไม่มีสิทธิหรือมิชอบด้วยกฎหมายเเละรวมถึงการใช้อำนาจที่มีอยู่เกินส่วนหรือ ใช้อำนาจตามกฎหมายเพื่อกลั่นเเกล้งผู็อื่น
เกิดความเสียหายเเก่บุคคลอื่น
ความเสียหายนั้นจะเป็นความเสียหายที่เกิดแก่ชีวิต ร่างกาย อนามัย เสรีภาพ ทรัพย์สิน หรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ได้ แต่ต้องเป็นความเสียหายที่แน่นอนไม่ว่าจะเกิดขึ้นแล้วในปัจจุบันหรือจะเกิดขึ้นในอนาคตก็จะต้องเป็นความเสียหายที่จะเกิดขึ้น
ความเสียหายจะต้องเกิดจากผลโดยตรงของผู้กระทำด้วยอย่างแน่นอน
ตัวอย่าง
นางเเดงขับรถมาคนเดียว ขณะหยุดรถรอสัญญาณไฟเมื่อเวลา 21 นาฬิกาได้มีคนร้ายเปิดประตูรถเข้าไปนั่งคู่ และใช้ระเบิดมือขู่ให้ขับรถไป นางเเดงตกใจขับรถฝ่าฝืนสัญญาณไฟออกไปชนรถที่แล่นสวนมาโดยไม่ได้เจตนาตามพฤติการณ์เช่นนี้ จะว่าการชนเกิดเพราะความประมาทของนางเเดงไม่ได้ เพราะบุคคลที่อยู่ในภาวะตกตะลึงกลัวจะให้มีความระมัดระวังเช่นบุคคลปกติหาได้ไม่ เมื่อนางเเดงไม่ได้จงใจหรือประมาทเลินเล่อทำละเมิด นางเเดงจึงไม่ต้องรับผิดในความเสียหายที่รถชนกันนั้น
การใช้สิทธิส่วนเกิน
การใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดเสียหายแก่บุคคลอื่นนั้น ท่านว่าเป็นการอันมิชอบด้วยกฎหมาย
มาตรา ๔๒๑ เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต เป็นบทขยายของมาตรา ๔๒๐
การอันมิชอบด้วยกฎหมาย + การกระทำที่ผิดกฎหมาย คือ การกระทำที่ล่วงสิทธิผิดหน้าที่ เป็นการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสิทธิเด็ดขาดของบุคคลอื่น โดยที่ผู้กระทำไม่มีสิทธิ ไม่มีข้อแก้ตัว และไม่มีกฎหมายยกเว้นโทษให้
ตัวอย่าง
ฎีกาที่ 780/2538 จำเลยเป็นเจ้าของรวมในที่ดินแปลงหนึ่งร่วมกับโจทก์ ถึงแม้จะมีสิทธิใช้ที่ดินในฐานะเจ้าของรวม แต่จำเลยปลูกบ้านคร่อมทางที่โจทก์ใช้เป็นปกติ ถือเป็นการใช้สิทธิในทางที่ขัดกับเจ้าของรวมคนอื่น แล้วยังเป็นการใช้สิทธิที่มีแต่จะเกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นตามมาตรา 421 ด้วย
มาตรา 421
เกณฑ์การพิจารณาว่าการกระทำใดเข้าตามลักษณะของ ม.421 ประกอบไปด้วย 4 ส่วน คือ
เป็นการกระทำโดยจงใจให้เกิดเสียหาย ดังโจทก์นำสืบให้ปรากฏในข้อเท็จจริง
การกระทำดังกล่าวไม่ได้ประโยชน์อันใดมีแต่จะเสียหายต่อผู้อื่น
พิจารณาว่าเมื่อเปรียบเทียบระหว่างการกระทำโดยใช้สิทธิเช่นนั้นกับการไม่กระทำอย่างไหนจะก่อให้เกิดประโยชน์มากกว่าเสียหาย เช่น ถ้าเลือกสร้างแผ่นป้ายโฆษณาส่องแสงทั้งคืนรบกวนผู้หลับนอน และสัญจร
) ผู้กระทำมีทางเลือกอื่นที่จะไม่เป็นอันตรายหรือไม่
ความเสียหายเกิดเเต่การฝ่าฝืนบทบังคับเเห่งกฎหมาย
ถ้าความเสียหายเกิดขึ้นแต่การฝ่าฝืนบทบังคับแห่งกฎหมายใด อันมีที่ประสงค์เพื่อจะปกป้องบุคคลอื่น ๆ ผู้ใดทำการฝ่าฝืนเช่นนั้น ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้นั้นเป็นผู้ผิด
องค์ประกอบมาตรา422
1) มีการฝ่าฝืนกฎหมาย
2) เป็นกฎหมายที่มีวัตถุประสงค์เพื่อปกป้องบุคคลทั่วไป
3) บุคคลอื่นได้รับความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย อนามัย เสรีภาพ ทรัพย์สิน หรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดอันเกิดจากการฝ่าฝืนนั้น
ตัวอย่าง
การที่จำเลยที่2ขับรถบรรทุกในเวลากลางคืนบรรทุกรถแทรกเตอร์ใบมีดจานไถของรถแทรกเตอร์ยื่นล้ำออกมานอกตัวรถบรรทุกจำเลยที่2จะต้องติดไฟสัญญาณตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ.2522มาตรา11,15กฎกระทรวงและข้อกำหนดของกรมตำรวจแต่จำเลยที่2มิได้กระทำเป็นการฝ่าฝืนบทกฎหมายดังกล่าวซึ่งเป็นกฎหมายที่มีความประสงค์จะปกป้องบุคคลอื่นๆต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าจำเลยที่2เป็นฝ่ายผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา422
หมิ่นประมาท
ผู้ใดกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนต่อความจริง เป็นที่เสียหายแก่ชื่อเสียงหรือเกียรติคุณของบุคคลอื่น หรือเป็นที่เสียหายแก่ทางทำมาหาได้หรือทางเจริญของเขาโดยประการอื่น ท่านว่าผู้นั้นจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่เขาเพื่อความ เสียหายอย่างใดๆ อันเกิดแต่การนั้น แม้ทั้งเมื่อตนมิได้รู้ว่าข้อความนั้นไม่จริง แต่หากควรจะรู้ได้
หมิ่นประมาททางแพ่ง ต่างกับ หมิ่นประมาททางอาญาดังนี้
หมิ่นประมาททางแพ่ง
ผู้กระทำอาจจงใจ หรือ ประมาทเลินเล่อ ก็ได้
ข้อความที่หมิ่นประมาทต้องฝ่าฝืนต่อความจริง
นอกจากจะทำให้บุคคลอื่นได้รับความเสียหายแก่ชื่อเสียง เกียรติคุณ ยังรวมถึง ทางทำมาหาได้และทางเจริญด้วย
หมิ่นประมาททางอาญา
ผู้กระทำต้องกระทำโดยเจตนา
แม้เป็นข้อความจริง ผู้กระทำก็ผิด
จำกัดเฉพาะ เสียหายแก่ชื่อเสียง หรือ ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง
กล่าวหรือไขข่าวอันฝ่าฝืนต่อความจริง
การกล่าว หมายถึงการเปล่งเสียงออกมาเป็นคำพูด ฟังเเล้วได้ความว่าเป็นคำพูด
ไขข่าว คือการเเดงออกทางการกระทำไม่ว่าจะเป็นการเเสดงออกมาเป็นภาพ ภาพวาด ภาพสไลด์โทรทัศน์ วิดีโอ หรือเป็นโทรเลข เป็นตัวเลข ตัวอักษร
ทำให้เเพร่หลาย
หมายถึงการกระทำต่อบุคคลที่สาม คำว่า เเพร่หลาย ไม่ได้หมายความว่า เป็นเรื่องที่กระจัดกระจายรู้ไปถึงคนจำนวนมาก เช่น นายเเดงใส่ร้ายนายดำให้นายเขียวฟัง กรฯีนี้นายเขียวเป็นบุคคลที่สามเเล้ว
เป็นที่เสียหายเเก่ชื่อเสียง เกรียรติคุณ ทางทำมาหากิน เเละทางเจริญของบุคคลอื่น
ชื่อเสียงเกียรติคุณหมายถึงคุณค่าความนิยมของบุคคลนั้นในสังคม ส่วนใหญ่คนที่มีชื่อเสียงย่อมมีเกียรติคุณ มักจะเป็นคนที่ประกอบคุณงามความดีในสังคม
ทางเจริญ ส่วนใหญ่มุ่งเน้นไปทางธุรกิจการค้า การประกอบอาชีพ การประกอบวิชาชีพต่างๆ เช่น บริษัทนี้ใกล้จะล้มละลายเเล้ว ซึ่งการกล่าวเช่นนี้ ทำให้คนที่มาติดต่อค้าขายด้วยเกิดความไม่ไว้วางใจ
ตัวอย่าง
ฎีกาที่ 4008/2526 การที่หนังสือพิมพ์เสนอข่าวหมิ่นประมาทโจทก์ว่า โจทก์ประพฤติตนอย่างคนไร้ศีลธรรม โจทก์มีส่วนพัวพันเป็นผู้จ้างวานฆ่าผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ มีนิสัยชอบใช้อำนาจบาตรใหญ่นั้น หาใช่การแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตติชมด้วยความเป็นธรรมอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำไม่ เมื่อข้อความนั้นไม่เป็นความจริงย่อมเป็นการละเมิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 423 และการกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนต่อความเป็นจริงนั้น กฎหมายมิได้บัญญัติว่าต้องทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ แม้ผู้กล่าวหรือไขข่าวมิได้รู้ถึงข้อความนั้นไม่เป็นจริงแต่หากควรรู้ได้ก็ต้องรับผิด