Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรับผิดกระทำละเมิดด้วยตนเอง, นางสาว ฐิติรัตน์ งามศิริ 64012310043 …
ความรับผิดกระทำละเมิดด้วยตนเอง
ลักษณะทั่วไปของความรับผิดของบุคคลในการกระทำของตนเอง
ความหมายของการกระทำ
ความเคลื่อนไหวของบุคคลในเวลาหลับ ไม่ถือว่าเป็นการกระทำ เพราะแม้ว่าจะมีความเคลื่อนไหวในอิริยาบถ แต่ก็ถือไม่ได้ว่าบุคคลที่หลับรู้สำนึกในความเคลื่อนไหวในอิริยาบถของตน
การกระทำหมายถึงความเคลื่อนไหวในอิริยาบถโดยรู้สำนึกในความเคลื่อนไหวนั้น
ความเคลื่อนไหวของผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริต จะถือว่าเป็นการกระทำไม่ได้เสมอไป ถ้าผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริตรู้สำนึกในความเคลื่อนไหวในอิริยาบถของตน ก็เป็นการกระทำ ถ้าไม่รู้สำนึกก็ไม่เป็น
การงดเว้นไม่กระทำ ไม่เป็นการกระทำเสมอไป ที่จะถือว่าเป็นการกระทำต้องเป็นการงดเว้นไม่กระทำการที่มีหน้าที่ต้องกระทำ หน้าที่นี้อาจเกิดจากกฎหมายก็ได้ หรือเกิดจากสัญญาหรือความสัมพันธ์ทางข้อเท็จจริงที่มีอยู่ระหว่างผู้งดเว้นกับผู้เสียหายก็ได้ หรือเป็นผลมาจากฐานะทางข้อเท็จจริงซึ่งผู้งดเว้นได้ก่อขึ้นก็ได้
การกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ
ก. เห็นร่มของ ข. วางไว้บนโต๊ะทำงานของตน คิดว่าเป็นร่มของตนที่หายไปแล้วและได้คืนมาแล้ว เพราะมีลักษณะเหมือนกันทุกอย่าง จึงหยิบเอาไปเป็นของตน ดังนี้ ก. ได้กระทำต่อ ข. โดยจงใจหรือไม่
จงใจหมายถึงความรู้สำนึกว่าจะเกิดผลเสียหายแก่บุคคลอื่นจากการกระทำของตน ฉะนั้นความเข้าใจผิดในข้อเท็จจริงจะถือว่าเป็นจงใจหาได้ไม่
ที่ ก. คิดว่าร่มของ ข. เป็นของตน จึงมีความเข้าใจผิดในข้อเท็จจริง ก. มิได้กระทำต่อ ข. โดยจงใจ หรือประมาทเลินเล่อ
แมวของ จ. เข้ามาลักอาหารกินในครัว จ. เห็นเข้า จึงเอาไม้ไล่ตีบังเอิญไม้พลาดไปถูกศีรษะของ ส. เพื่อนบ้านของ จ. ที่มาหาและโผล่เข้ามาทางประตูครัวพอดี โดยที่ จ. ไม่ทันเห็น ดังนี้ จ. กระทำต่อ ส. โดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อหรือไม่
ก. มิได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อข่อ ข. แต่เป็นความเสียหายที่เกิดแต่เหตุสุดวิสัย
การกระทำโดยผิดกฎหมาย
“โดยผิดกฎหมาย” ตามมาตรา 420 นั้น เข้าใจว่า
คำว่า “โดยผิดกฎหมาย” ตามมาตรา 420 มีความหมายแต่เพียงว่า “มิชอบด้วยกฎหมาย” ดังเช่นที่บัญญัติไว้ในมาตรา 421 เท่านั้น ถ้าได้กระทำโดยไม่มีสิทธิหรือข้อแก้ตัวตามกฎหมายให้ทำแล้ว ก็ถือว่าเป็นการกระทำโดยผิดกฎหมาย
มาตรา 420 ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิด จำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น
มาตรา 421 การใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดเสียหายแก่บุคคลอื่นนั้น ท่านว่าเป็นการอันมิชอบด้วยกฎหมาย
การใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น
หมายถึงกรณีที่ผู้ทำความเสียหายมีสิทธิตามกฎหมายเสียก่อน มิใช่กระทำโดยไม่มีสิทธิหรือทำเกินไปกว่าสิทธิที่มีอยู่ตามกฎหมายแล้ว ซึ่งต้องพิจารณากันตามมาตรา 420 อันเป็นหลักทั่วไป ข้อสำคัญอยู่ที่ว่าสิทธินั้นมีอยู่แล้ว แต่การใช้หรือวิธีใช้นั้นดำเนินไม่ถูกต้อง ตามวิธีการที่เหมาะสมหรือผิดกาลเทศะ จึงเกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น และต้องเป็นการกระทำที่มุ่งต่อผลคือความเสียหายแก่ผู้อื่นแต่ถ่ายเดียว ไม่ใช่โดยประสงค์ต่อผลอันเป็นธรรมดาแห่งการใช้สิทธิ
มาตรา 421 เป็นบทขยายของคำว่า “โดยผิดกฎหมาย” ในมาตรา 420 ฉะนั้น หลักเกณฑ์ประการอื่นที่จะก่อให้เกิดความรับผิดตามมาตรา 420 นั้นยังคงต้องพิจารณาให้ครบถ้วน กล่าวคือ ต้องมีการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อให้คนอื่นเสียหายอยู่ด้วย
ไม่มีบัญญัติไว้ในลักษณะละเมิด เพียงแต่บัญญัติเป็นหลักเกณฑ์ที่จะถือว่าเป็นการกระทำละเมิดหรือความรับผิดเพื่อละเมิดเท่านั้น ที่ว่า “ความยินยอมไม่ทำให้เป็นละเมิด” นั้นเป็นหลักกฎหมายทั่วไป มีความหมายที่บุคคลซึ่งยอมต่อการกระทำอย่างหนึ่ง หรือบุคคลที่เข้าเสี่ยงภัยยอมรับความเสียหาย จะฟ้องคดีเกี่ยวกับการกระทำหรือความเสียนั้นมิได้ และความยินยอมทำให้ผู้กระทำความเสียหายไม่ต้องรับผิดสำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้น และถือว่าไม่มีการละเมิดเกิดขึ้นเลยทีเดียว
ก. เป็นหนี้เงินกู้ ข. อยู่จำนวน 10,000 บาท ขณะที่ ก. กำลังพูดคุยกับนางสาว ค. ซึ่งเป็นคู่รักกันอยู่ตามลำพัง ข. เห็นนึกหมั่นไส้ต้องการจะแกล้ง ก. ให้ขายหน้า จึงพูดทวงหนี้ต่อหน้านางสาว ค.
ข. เป็นเจ้าหนี้เงินกู้ของ ก. จึงมีสิทธิทวงถามจาก ก. ได้ แต่การที่ไปทวงถามต่อหน้านางสาว ค. ย่อมเป็นการใช้สิทธิที่มีแต่จะให้ความเสียหายแก่ ก. ลูกหนี้ของตน
ความยินยอมไม่ทำให้เป็นละเมิด
ไม่มีบัญญัติไว้ในลักษณะละเมิด เพียงแต่บัญญัติเป็นหลักเกณฑ์ที่จะถือว่าเป็นการกระทำละเมิดหรือความรับผิดเพื่อละเมิดเท่านั้น ที่ว่า “ความยินยอมไม่ทำให้เป็นละเมิด” นั้นเป็นหลักกฎหมายทั่วไป มีความหมายที่บุคคลซึ่งยอมต่อการกระทำอย่างหนึ่ง หรือบุคคลที่เข้าเสี่ยงภัยยอมรับความเสียหาย จะฟ้องคดีเกี่ยวกับการกระทำหรือความเสียนั้นมิได้ และความยินยอมทำให้ผู้กระทำความเสียหายไม่ต้องรับผิดสำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้น และถือว่าไม่มีการละเมิดเกิดขึ้นเลยทีเดียว
ก. ยอมให้ ข. ชกต่อยที่บริเวณใบหน้า เพื่อแสดงความแข็งแรงของ ก. ปรากฏว่าฟันของ ก. หักหลุดออกมา 1 ซี่ ก. จะเรียกค่าเสียหายจาก ข. อ้างว่าไม่รู้ว่าการให้ ข. ชก ฟันจะหลุดออกมา จะเรียกค่าเสียหายได้หรือไม่
ก. ยอมให้ ข. ชกต่อยแล้ว เป็นความยินยอมของ ก. ก. จะอ้างว่าไม่รู้ว่าการให้ ข. ชกต่อย จะทำให้ฟันหักหลุดออกมาไม่ได้ การที่ ข. ชก ก. ไม่เป็นละเมิด
ค. ยอมให้ ง. ใช้ไม้เรียวเฆี่ยน 3 ที แต่ ง. หาไม้ไม่ได้ จึงเตะ ค. 3 ที ค. ได้รับบาดเจ็บดังนี้ ค. จะเรียกค่าเสียหายจาก ง. ได้หรือไม่
ค. ยอมให้ ง. เอาไม้เรียวเฆี่ยน จึงเป็นความยินยอมของ ค. แต่ ง. กับเตะ ค. ซึ่ง ค. ไม่ได้ยินยอม จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อ ค. ค. ย่อมเรียกค่าเสียหายจาก ง. ได้
การกระทำการฝ่าฝืนกฎหมายใดจนเกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น จะสันนิษฐานไว้ก่อนว่า ผู้กระทำการฝ่าฝืนเป็นผู้กระทำผิดเสมอไปหรือไม่
จะสันนิษฐานว่าผู้กระทำการฝ่าฝืนกระทำผิด ไม่เสมอไป ที่ถือว่ากระทำการฝ่าฝืนกฎหมายใดจนเกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น จะสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้กระทำการฝ่าฝืนเป็นผู้ผิดนั้น จะต้องเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายอันมีที่ประสงค์เพื่อปกป้องบุคคลอื่นๆ เท่านั้น
ตามบทบัญญัติมาตรา 422 นั้น รวมถึงหลักเกณฑ์ที่ว่าความเสียหายเป็นผลเนื่องจากการกระทำฝ่าฝืนกฎหมายนั้นด้วยหรือไม่
ไม่รวมถึง หลักเกณฑ์ที่ว่าความเสียหายเป็นผลเนื่องจากการกระทำฝ่าฝืนกฎหมายด้วย หลักเกณฑ์ประการอื่นคือได้มีความเสียหายเป็นผลเนื่องจากการกระทำการฝ่าฝืนกฎหมายนั้น ยังต้องพิสูจน์ให้ได้ความต่อไป
การกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น
ที่เรียกว่า “สิทธินั้น” เข้าใจว่า
ในบทบัญญัติมาตรา 420 มีความจำเป็นต้องบัญญัติคำว่า “ชีวิต ร่างกาย อนามัย เสรีภาพ ทรัพย์สิน” ไว้อย่างไร หรือไม่ เพราะเหตุใด
ไม่มีความจำเป็นต้องบัญญัติ เพราะสิ่งเหล่านี้ย่อมอยู่ในความหมายของคำว่า “สิทธิ” อย่างหนึ่งอย่างใด ดังที่ได้บัญญัติในมาตรา 420
มาตรา 420 ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิด จำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น
ที่ว่า “ทำต่อบุคคล” นั้น หมายความว่าทำต่อสิทธิของบุคคลนั่นเอง
ก. จองตั๋วไปดูภาพยนตร์ ณ โรงภาพยนตร์แห่งหนึ่ง แต่ยังไม่ทันเข้าไปนั่ง ณ ที่จองไว้ ข. ก็เข้าไปนั่งที่ ก. จองไว้เสียก่อน โดย ก. ไม่อนุญาต โดยที่ ข. ก็รู้ว่าเป็นที่นั่งที่ ก. จองไว้แล้วดังนี้ ข. กระทำละเมิดต่อ ก. หรือไม่
การที่ ก. จองตั๋วเข้าดูภาพยนตร์ เป็นการได้สิทธิในที่นั่งที่จองไว้ การที่ ข. เข้าไปนั่ง โดย ก. ไม่อนุญาต และรู้ว่าเป็นที่ของ ก. จองไว้ เป็นการที่ ข. กระทำละเมิดต่อ ก.
ความเสียหายนั้นเป็นผลมาจากการกระทำของผู้ทำความเสียหาย
เด็กชาย ก. เล่นเตะลูกฟูตบอลในสนามหญ้าหน้าบ้าน บังเอิญลูกฟูตบอลไปถูกกระจกหน้าต่างบ้านของ ข. แล้วกระดอนไปถูกหน้าต่างบ้านของ ค. ซึ่งอยู่ใกล้เคียงกันเสียหายโดยประมาทเลินเล่อ โดยที่เด็กชาย ก. ก็ไม่คาดเห็นว่าจะเป็นดังนี้ เด็กชาย ก. ต้องรับผิดต่อ ข. และ ค. หรือไม่
เด็กชาย ก. ต้องรับผิดต่อ ข. และ ค. เพราะความเสียหายเป็นผลโดยตรงจากการที่เด็กชาย ก. เตะลูกฟุตบอล แม้ตนจะไม่คาดเห็นว่าจะเป็นเช่นนั้น
ส. ขโมยรถยนต์เก๋งของ บ. ที่จอดอยู่หน้าที่ทำการของ บ. ไป ปรากฏว่าที่ท้ายรถซึ่งที่เก็บของมีเครื่องรับโทรทัศน์สีของ บ. เก็บไว้ด้วย ซึ่งขณะที่เอารถไป ส. ไม่คิดว่าจะมีเครื่องรับโทรทัศน์ และระหว่างที่เอารถไปนั้น ส. ไม่เคยเปิดท้ายรถดู บ. จึงไม่มีเครื่องรับโทรทัศน์ดู ต้องไปเช่าของผู้อื่นใช้ ดังนี้ ส. ต้องรับผิดต่อ บ. ที่ไปเช่าเครื่องรับโทรทัศน์ดูหรือไม่
ส. ต้องรับผิดต่อ บ. แม้จะไม่รู้ว่าเครื่องรับโทรทัศน์ของ บ. อยู่ท้ายรถ
หมิ่นประมาททางแพ่ง
หมิ่นประมาททางแพ่งคือการกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลาย ซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนต่อความเป็นจริงอันก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น
การวินิจฉัยความรับผิดเพื่อละเมิดในทางแพ่ง ต้องเป็นไปตามกฎหมายส่วนแพ่งไม่จำเป็นต้องพิเคราะห์ถึงการที่ผู้กระทำผิดต้องคำพิพากษาลงโทษทางอาญาหรือไม่
การร่วมกันทำละเมิดเป็นเรื่องที่บุคคลหลายคนร่วมกันกระทำผิด จะต้องมีการกระทำร่วมกันโดยมีเจตนาหรือความมุ่งหมายร่วมกันหรือการยุยงส่งเสริมหรือช่วยเหลือในการทำละเมิด
หมิ่นประมาททางแพ่ง
ก. กล่าวหาว่า ข. ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานกินสินบน ค. ก็นำความที่ ก. กล่าวหานั้นเที่ยวพูดแก่บุคคลทั่วไปว่า ข. กินสินบน โดยบอกว่ารู้จาก ก. อีกทีหนึ่ง เท็จจริงอย่างไรอยู่ที่ ก. ทั้งๆที่ ค. ก็รู้ว่าตามที่กล่าวหานั้น ไม่เป็นความจริงแต่ประการใด ดังนี้ ค. ต้องรับผิดต่อ ข. หรือไม่
การไขข่าว คือการพูดข่าวจากคนอื่น ซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนต่อความเป็นจริงก็เป็นละเมิดได้ ข้อความที่ ค. ไขข่าวว่า ข. กินสินบน ทั้งๆ ที่รู้ว่าตามที่กล่าวหานั้นไม่เป็นความจริง ย่อมเป็นสิ่งเสียหายแก่ชื่อเสียงหรือเกียรติคุณของ ค. จึงต้องรับผิดต่อ ข. ด้วย
การพิพากษาคดี
ในคดีอาญาเรื่องหนึ่ง ก. ฟ้อง ข. ว่า ข. บุกรุกเข้ามาในที่ดินของ ก. ศาลพิพากษายกฟ้องอ้างว่า ข. ไม่มีเจตนาบุกรุก คดีถึงที่สุด ดังนี้ ก. จะฟ้อง ข. เป็นคดีแพ่งว่า ข. บุกรุกเข้าไปในที่ดินของ ก. อันเป็นการกระทำละเมิดโดยประมาทเลินเล่อและเรียกค่าเสียหาย จะได้หรือไม่
ตามมาตรา 424 ดังนั้น ก. จึงฟ้อง ข. เพื่อเรียกค่าเสียหายในมูลละเมิดได้
การร่วมกันทำละเมิด
ร่วมกันกระทำละเมิด หมายความว่า
การร่วมกันทำละเมิดจะต้องมีเจตนาหรือความมุ่งหมายร่วมกัน และมีการกระทำร่วมกันเพื่อความมุ่งหมายร่วมกันนั้น
ก. เข้าไปลักทรัพย์ในบ้านของ ข. ได้มาหลายสิ่ง ค. ทราบดังนั้น ก็เข้าไปลักบ้าง ขณะกำลังเก็บทรัพย์อยู่ในบ้านของ ข. ง. เพื่อนกันผ่านมาพอดีก็ช่วยกันรับทรัพย์จาก ค. ออกจากประตูบ้านได้ทรัพย์ออกมาหลายสิ่งด้วยกัน ดังนี้ ก. ค. และ ง. ต้องร่วมกันรับผิดต่อ ข. หรือไม่
ก. ค. ต่างคนต่างกระทำละเมิดต่อ ข. มิได้กระทำละเมิดร่วมกัน จึงไม่ต้องร่วมกันรับผิดต่อ ข. ส่วน ค. ง. ร่วมกันกระทำละเมิดต่อ ข. จึงต้องร่วมกันรับผิดต่อ ข.
ก. ขับรถจักรยานยนต์ชน ข. โดยประมาทเลินเล่อ ข. นอนเจ็บอยู่กลางถนน ขณะนั้นพอดี ค. ขับรถยนต์ผ่านมาและเฉี่ยวถูก ข. ซึ่งนอนเจ็บอยู่โดยประมาทเลินเล่อ ค. สลบไป ดังนี้ ก. ค. ต้องร่วมกันรับผิดต่อ ข. หรือไม่
ก. ค. ต่างกระทำละเมิดต่อ ข. ไม่ได้ร่วมกันกระทำละเมิด จึงไม่ต้องร่วมกันรับผิดต่อ ข.
นางสาว ฐิติรัตน์ งามศิริ 64012310043
เลขที่27