Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรับผิดกระทำละเมิดด้วยตนเอง, การงดเว้นไม่กระทำ แยกได้ดังนี้ - Coggle…
ความรับผิดกระทำละเมิดด้วยตนเอง
คำว่า "การกระทำ" หมายถึง
ความเคลื่อนไหวในอิริยาบทโดยรู้สำนึกในความเคลื่อนไหว ตัวอย่างเช่น นายAหยิบจานขึ้นมาแล้วนำจานไปวางไว้ที่ซิงค์
การจะทำละเมิดได้ต้องเป็นมนุษย์ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมหรือนิติบุคคล สัตว์หามิทำได้
กระทำโดยจงใจ
คำว่า "จงใจ" คือ การรู้สำนึกถึงผลเสียหายที่จะเกิดจากการกระทำของตน ตัวอย่างเช่น นักเรียนคนหนึ่งเครียดจากการเรียนจนทำให้ตนยกโต๊ะที่อยู่ชั้น 4 ทุ้มลงไปในชั้น 1 โต๊ะที่ตกลงมานั้นตกใส่หัวนักเรียนคนอื่น ซึ่งนักเรียนคนที่โยนโต๊ะลงมาคาดหมายว่าผลเสียหายจะเกิด
เว้นแต่การกระทำนั้นทำโดยผิดหลงหรือพลั่งพลาดหรือเข้าใจโดยสุจริต คือ การเข้าใจผิดในข้อเท็จจริงจึงไม่ถือว่าเป็นการจงใจ
คำว่า "สุจริต" หมายถึง มิได้รู้สึกว่าจะเกิดผลเสียหายแก่บุคคลอื่นนั้นเอง ตัวอย่างเช่น รองเท้าของ A และ B ถอดไว้ข้างๆกัน A หลงใส่รองเท้าของ B ไปโดยคิดว่าเป็นรองเท้าของตนดังนี้ A มิได้กระทำไปโดยจงใจ
การที่รู้สำนึกในผลเสียหายจากการกระทำของตนเท่านั้นก็เป็นการจงใจแล้วฉะนั้นจึงไม่ต้องคำนึงถึงผลเสียหายที่จะเกิดขึ้นซึ่งอาจมากน้อยกว่าที่คาดคิดไว้ก็ได้
กระทำโดยประมาทเลินเล่อ
ประมาทเลินเล่อ หมายถึง บุคคลที่ทำละเมิดมิได้ตั้งใจหรือมุ่งหมายให้เขาเสียหายแต่ทำไปโดยขาดความระมัดระังบุคคลในภาวะเช่นนั้นต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์
อัตวิสัย --> พิจารณาจากตัวคนทำละเมิดโดยตรงว่ากระทำโดยไม่รอบคอบไม่เชี่ยวชาญ สะเพร่า ตัวอย่างเช่น อาจารย์สอนวิชาพลศึกษาสั่งลงโทษนักเรียนของเขาให้ทำท่าสก็อตจัมพ์ 500 ครั้ง โดยที่ตนรู้อยู่แล้วว่านักเรียนเป็นโรคหัวใจและทำให้เหนื่อยง่ายจึงเป็นการลงโทษที่เกินกว่าเหตุ ทำให้นักเรียนคนนั้นถึงแก่ความตาย
*การกระทำของอาจารย์เป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
ภาวะวิสัย
จากไม่เคารพกฎหมาย กฎเกณฑ์ ข้อบังคับคำสั่งหรือระเบียบ
จากภาวะวิสัยสิ่งแวดล้อม
ตัวอย่างเช่น นาย ก. ขับรถเร็วเกินกว่ากฎหมายกำหนด เมื่อนาย ก. ขับไปชน นาง ข. แม้ นาย ก. อ้างว่าตนขับรถด้วยความระมัดระวังแล้วไม่ประมาทก็ถือว่าประมาทเลินเล่อเพราะตนได้ขับรถเร็วเกินกว่ากฎหมายกำหนด
ความแตกต่างระหว่างจงใจกับประมาทเลินเล่อ
จงใจ = เป็นเรื่องภายในจิตใจของผู้กระทำความผิด
ประมาทเลินเล่อ = สภาวะแวดล้อมเป็นหลัก
การกระทำโดยผิดกฎหมาย
การกระทำนั้นก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ที่กฎหมายให้ความสำคัญ (การกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายจะไม่เป็นการละเมิด)
ประโยชน์ที่กฎหมายให้ความสำคัญ
มีกฎหมายกำหนดชัดแจ้งว่าเป็นความผิด เช่น กฎหมายอาญา กฎหมายแพ่ง
ไม่มีกำหนดไว้โดยชัดแจ้งแต่ทำให้เสียหายแก่สิทธิเด็ดขาดอย่างหนึ่งอย่างใดตามมาตรา 420
การใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น
มาตรา421 สิทธิที่ทำให้บุคคลอื่นเสียหาย
ผู้กระทำต้องมีสิทธื ถ้าไม่มีสิทธิ กระทำผิดกฎหมายย่อมเป็นละเมิด ตามมาตรา 420
สิทธิของผู้กระทำต้องเป็นสิทธิที่กฎหมายรับรองโดยเฉพาะ สิทธิเหนือทรัพย์ สิทธืในหนี้
สิทธิในหนี้ คือ การเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้
สิทธืเหนือทรัพย์ เช่น Ipad ปากกา โน๊ตบุ๊ค สามารถจำหน่ายจ่ายโอน ขัดขวางไม่ให้ผู้อื่นมาแย่งไป
ตัวอย่างเช่น นายมี่ สร้างบ้านบนที่ดินของตนและทำกำแพงล้อมรอบบ้าน ก็เป็นกรณีที่นายมี่ มีสิทธืที่จะทำได้ แต่ถ้าหาก นายมี่ สร้างกำแพงสูงเกินไปเพื่อแกล้งนายยี่ เพื่อนบ้าน เพื่อไม่ให้บ้านของนายยี่ ได้รับแดดรับลมถือเป็นการใช้สิทธืโดยไม่ชอบตาม มาตรา 421
ผู้กระทำใช้สิทธินั้นโดยกลั่นแกล้งให้บุคคลอื่นเสียหาย
การกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น
มีความเสียหายต่อสิทธิ หมายถึง การที่บุคคลหนึ่งทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึง"สิทธิ" ตัวอย่างเช่น นายสินต่อยหน้านายโจ๊ก
ลักษณะแห่งสิทธิ
คำว่า "สิทธิ" คือ สิทธิได้แก่ประโยชน์อันบุคคลมีอยู่ตัวอย่างเช่น ถ้าเราไปเข้าแถวเพื่อที่จะต่อคิวซื้ออาหาร เรามีประโยชน์ที่จะได้โอกาสที่จะซื้ออาหารก่อนคนหลังๆ
ความเสียหายที่คำนวณเป็นตัวเงินได้ ยกตัวอย่างเช่น นายเอ ทำร้ายร่างกาย นายบี นายบี ต้องเสียค่าเดินทางเพื่อไปรักษาตัวที่โรงพยาบาล และ ก็ต้องเสียค่ารักษาพยาบาลอีก แบบนี้สามารถคำนวณเป็นตัวเงินได้
ความเสียหายที่ไม่อาจคำนวณเป็นตัวเงินได้ ยกตัวอย่างเช่น นายบี โดนนายเอ ทำร้ายร่างกายและเมื่อรักษาหายแล้วบาดแผลยังมีรอยแผลเป็นที่ใหญ่อยู่ แบบนี้ไม่อาจคำนวณเป็นตัวเงินได้
ความเสียหายนั้นเป็นผลมาจากการกระทำของผู้เสียหาย
ตามกฎหมายไทยมีคามเห็นว่าควรใช้ทฤษฎีความเท่ากันแห่งเหตุหรือทฤษฎีเงื่อนไขบังคับ แต่ศาลอาจให้จำเลยรับผิดทั้งหมดหรือแต่เพียงบางส่วนหรือยกเว้นความรับผิดเสียเลยก็ได้
ทฤษฎีความเท่ากันแห่งเหตุหรือทฤษฎีเงื่อนไข ตัวอย่างเช่น นายศรีทำร้ายร่างกาย นายสัก โดยต่อยที่หน้าอก โดยไม่รู้ว่า นายสักมีโรคประจำตัว ซึ่งถ้าหากถูกกระทบกระเทือนอย่างแรง นายสัก อาจตายได้ นายสักถึงแก่ความตาย ดังนี้ ความตายของ นายสักเป็นผลมาจากการกระทำของ นายศรี แม้ นายศรี จะไม่รู้ว่า นายสัก เป็นโรคดังว่านั้น คิดแต่เพียงว่า นายสัก อาจได้รับบาดเจ็บเพียงเท่านั้น แต่ นายศรี ก็ต้องรับผิดในความตายของนายสัก
การงดเว้นไม่กระทำ แยกได้ดังนี้
หน้าที่ตามกฎหมาย เช่น การที่บิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์หรือบุตรที่บรรลุนิติภาวะแล้วทุพพลภาพและหาเลี้ยงตัวเองมิได้ตามมาตรา 1564 การงดเว้นไม่กระทำในสิ่งที่กฎหมายมิได้บัญญติให้กระทำหรือตนไม่มีหน้าที่หาเป็นละเมิดไม่
หน้าที่ตามสัญญา หมายถึง หน้าที่ตามกฎหมาย เนื่องจาก สัญญาที่ใช้บังคับกันได้ย่อมเป็นกฎหมายระหว่างคู่สัญญา ตัวอย่างเช่น มีสัญญาจ้างนักร้องมาร้องเพลงแต่นักร้องไม่ปฏิบัติตามหน้าที่อันเกิดจากสัญญา คือ ไม่ยอมมาร้องเพลงเป็นผลให้เกิดความเสียหายแก่ตัวเขาย่อมเป็นการงดเว้น จึงผิดทั้งสัญญาและละเมิด