Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรับผิดกระทำละเมิดด้วยตนเอง - Coggle Diagram
ความรับผิดกระทำละเมิดด้วยตนเอง
มาตรา 420 วางหลักว่า “ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิดจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น
การกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ
ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตร่างกาย อนามัย เสรีภาพ ทรัพย์สินหรือสิทธิ
กระทำโดยรู้สำนึกและเกิดผล
อุทาหรณ์1053/2521 จำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเชื่อว่าร้านค้าของโจทก์เป็นของลูกหนี้ตามคำพิพากษาจึงยืนยันให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ในร้าน โจทก์นำสืบไม่ได้ว่าจงใจทำให้โจทก์เสียหายไม่เป้นละเมิด
ประมาทเลินเล่อ=การกระทำมิใช่โดยเจตนา แต่ปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่
ความระมัดระวังที่ว่าต่างกับระมัดระวังในความรับผิดทางอาญา
อุทาหรณ์ 608/2521 จำเลยครอบครองใช้ประโยชน์ท่าเรือ คนกรูกันจะลงเรือสะพานไม้ที่ทดลองไปสู่โป๊ะหักทำให้คว่ำ จึงถือว่าความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ไม่ระมัดระวังดูแลให้สะพานท่าเทียบเรืออยู่ในสภาพแข็งแรงมั่นคง ปล่อยให้สะพานไม้ที่ทอดไปสู่โป๊ะที่หัก จำเลยต้องรับผิดในผลโดยตรงที่คนตกน้ำตายเพียงแต่ร้องห้ามมิให้คนกรูกันไปลงเรือไม่เป็นการใช้ความระมัดระวังอันเพียงพอ
ละเมิดคือ
การกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อต่อบุคคลภายนอกโดยผิดกฎหมายเป็นเหตุให้เขา (ผู้ถูกกระทำ)เสียหายแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดีทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดีกฎหมายถือว่าผู้นั้นทำละเมิดจะต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการละเมิดนั้น (ป.พ.พ.ม. 420)
ละเมิดเป็นบ่อเกิดแห่งหนี้ชนิดหนึ่งในกฎหมาย ซึ่งนักกฎหมายจะเริ่มทำความเข้าใจความหมายของละเมิดก็จากการเรียนเริ่มต้นที่มาตรา 420 ของ ป.พ.พ.
มาตรา 420 วางหลักว่า “ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิดจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น
1.3 การกระทำโดยผิดกฎหมาย
คือการที่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยชัดแจ้งกรณีที่เห็นได้ชัดคือกฎหมายอาญาบัญญัติว่าการกระทำอันใดเป็นการผิดดังนั้น ย่อมเป็นการกระทำผิดกฎหมายอย่างไม่มีปัญหา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 และประมวลกฎหมายแพ่งมาตรา 362
เว้นแต่กระทำโดยมีสิทธิตามกฎหมาย เช่น บิดามารดาสั่งสอนบุตร ครูบาอาจารย์ทำโทษลูกศิษย์ตามสมควร เป็นต้น
การกระทำฝ่าฝืนบทบังคับแห่งกฎหมาย มาตรา 422 ถ้าความเสียหายเกิดแต่การฝ่าฝืนบทบังคับแห่งกฎหมายใดอันมีที่ประสงค์เพื่อปกป้องคนอื่นๆนั้นสันนิษฐานไว้ก่อนว่านั้นเป็นผู้ผิดเว้นแต่จะพิสูจน์ได้
การใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะเกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น เมื่อมีสิทธิ์แล้วมิได้หมายความว่าจะใช้สิทธิ์อย่างไรก็ได้ตามใจชอบ การใช้สิทธิอาจถือว่าเป็นการอันชอบด้วยกฎหมายได้ ตามมาตรา 421
ความหมายของการกระทำ
องค์ประกอบ ผู้ใด+การเคลื่อนไหว+กระทำแบบรู้สำนึก
การกระทำ การเคลื่อนไหวร่างกายหรือไม่เคลื่อนไหวร่างกายโดยรู้สำนึก กล่าวคือ อยู่ภายใต้บังคับของจิตใจ
1.4 การกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น
การกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น จะต้องมีความเสียหายที่เกิดขึ้นเมื่อยังไม่เกิดความเสียหายก็ยัไม่เป็นการละเมิด แยกพิจารณา ได้ 3 กรณี
1.มีความเสียต่อสิทธิ เช่น ค.ใช้มือที่สะอาดตบศรีษะ ข. ไม่มีอะไรเปรอะเปื้อนร่างกาย ข.
3.ความเสียหายที่คำนวณเป็นตัวเงินได้และ ไม่อาจคำนวณเป็นตัวเงินได้
2.ลักษณะแห่งสิทธิ
1.5 ความเสียหายนั้นเป็นผลมาจากการกระทำ ของผู้ทำความเสียหาย
ความเสียหายนั้นเป็นผลมาจากการกระทำของผู้ทำความเสียหาย แบ่งได้ 2 ทฤษฎี ดังนี้
ทฤษฎีความเท่ากันแห่งเหตุหรือทฤษฎีเงื่อนไข
ตัวอย่าง ก.ทำร้ายร่างกายข. โดยแตะที่ท้องเบาๆแต่ปรากฏว่า ข.มีโรคประจำตัวซึ่งถ้าหากถูกกระทบกระเทือนอย่างแรง ข.อาจถึงตายได้ แต่ก.ก็ไม่ทราบมาก่อน ข.ถึงแก่ความตาย ดังนี้ความตายของข.เป็นผลมาจากการกระทำของก. แม้ ก.จะไม่รู้ว่าข.เป็นโรคดังว่านั้น ก.ต้องรับผิดในความตายของข.
2.ทฤษฎีมูลเหตุเหมาะสม
ในตัวอย่างที่กล่าวมา ทฤษฎีเหมาะสม ก.รับผิดแค่ทำให้ข.ได้รับบาดเจ็บ แต่ไม่ต้องรับผิดฐานทำให้ ข.ตาย