Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 1หน้าที่ในการชำระหนี้ - Coggle Diagram
บทที่ 1หน้าที่ในการชำระหนี้
1.1หน้าที่ชำระหนี้ให้ถูกต้อง
คือ การที่ลูกหนี้ชำระหนี้ให้ต้องตามความประสงค์ของเจ้าหนี้หรือตามประสงค์ของมูลหนี้นั้น ยกตัวอย่างถ้าวัตถุแห่งหนี้เป็นม้าลูกหนี้ก็ต้องส่งมอบม้าจะเป็นอย่างอื่นไปมิได้ เพราะถ้าไม่ชำระหนี้ต้องตามประสงค์นั้นไซร้ เจ้าหนี้สามารถเรชียกค่าสินไหมทดแทนได้ตา มาตรา115
1)วัตถุแห่งหนี้
คือการที่ลูกหนี้ปฏิบัติการชำระหนี้ มี 3 อย่าง
3.หนี้ส่งมอบทรัพย์
-หนี้ส่งมอบทรัพย์สิน หมายถึงหนี้ที่ลูกหนี้มีหน้างที่ส่งมอบทรัพย์สินแก่เจ้าหนี้ เช่น สัญญาซื้อขายก๋วยเตี๋ยว ฝ่ายผู้ซื้อก็มีหน้าที่ต้องส่งมอบทัพย์
สินคือราคาก๋วยเตี๋ญวแก่คนขาย เป็นต้น
-กล่าวคือตัวของหนี้ส่งมอบทรัพย์ในความเป็นจริงแล้วไม่ใช่วัตถุแห่งหนี้ แต่เป็นแค่องค์ประกอบอันหนึ่งที่ทำให้การปฏิบัติการชำระหนี้นั้นสมบูรณ์
-อากับกริยาของการส่งมอบทรัพย์ เรียกว่าการปฏิบัติการชำระหนี้
-การส่งมอบทรัพย์ คือการที่เอาทัพย์มาอยู่ภายใต้การครอบครองของเจ้า
หนี้
-การส่งภายใต้การครอบครอง นั้นจะขึ้นอยู่กับลักษณ์ของทรัพย์ เช่นกรรมสิทธิ ก็เรื่องหนึ่ง การส่งมอบทรัพย์ก็ถือเป็นอีกเรื่องหนึ่ง
2.หนี้งดเว้นกระทำการ
-คือหนี้ที่ลูกหนี้ต้องไม่กระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง ตามที่ตกลงกันไว้ ตามมาตรา 213 วรรคสาม ยกตัวอย่างเช่นสัญญาตกลงว่่าจะไม่สร้าตึกเกินสามชั้น หรือทำสัญญาเช่่าหอพักตกลงกันว่าไม่ให้มีการจัดงานเลี้ยงหรือกินเหล้าในหอ
-ข้อสังเกตุ หนี้งดเว้นกระทำการ เป็ฯลลักษณะหน้าที่โดยเฉพาะเจาะจง ไม่ใช่หน้าที่โดยทั่วไป
-หนี้ที่ขัดต่อความสงบจะเป็นโฆษตามนิติกรรม มาตรา 150 เช่นจ้างไม่ให้เลืกตั้ง สัญญาห้ามเลี้ยงดูบิดามารดา เว้นแต่มีเรื่องจจำกัดของเวลาสถานที่
1.หนี้กระทำการ
-เป็นหนี้ที่ลูกหนี้จะต้องไปทำการงานอย่างใดอย่างหนึ่งหลายอย่างแก่เจ้าหนี้ เช่นไปวาดรูปให้ตามสัญญาจ้างทำของหรือทำตามสัญญาจ้างแรงงาน เช่นการขุดดิน ทำบัญชี เป็นต้น
-หนึ้กระทำการลูกหนี้ไม่จำเป็นต้องชำระหนี้ด้วยตนเองก็ได้ เช่นสัญญาจ้างสร้างบ้าน ลูกหนี้ไม่จำเป็นต้องลงมืสร้างด้วยตนเองก็ได้เพพียงแต่ต้องไปจ้างหรือหาช่างมาทำในตรงส่วนที่ต้องรับผิดชอบให้แล้วเร็จ
-ในกรรีที่ลูกหนี้ไม่ต้องชำระหนี้โดยตนเองก็ได้ เว้นแต่ เป็นหนี้ที่เป็นความเฉพาะตัวหรือคุณสมบัติเฉพาะตัวของลูกหนี้เป็นสำคัญ เช่น จ้างลูกหนี้มาร้องเพลง เป็นการจ้างจิตกรมาวาดภาพ เป็นต้น และในกรณีที่ลูกหนี้ชำระหนี้ไม่ได้จะกลายเป็นหนี้พ้นวิสัย ตามมาตรา281 และมาตรา 219
2) วัตถุแห่งหนี้กับวัตถุประสงค์แห่งนิติกรรม
-วัตถุประสงค์ของนิติกรรมนั้น อยู่ในมูลฐานก่อนก่อหนี้คือเป็นที่มาแห่งหนี้ประการหนึ่ง
-วัตถุประสงค์ของนิติกรรมนั้นมีฌฉพาะในนิตกรรมเท่านั้น
-วัตถุประสงค์ของนิติกรรมนั้นมีได้ไม่จำกัด
3) ทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งหนี้
-ทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งหนี้ ซึ่งมีบัญญัติไว้ตามมาตรา 195 คือแท้จริงแล้วทรัพย์ที่ส่งมบนี้เป็นวัตถุที่ใช้ส่งมอบ คือหนี้ในกรณีหนี้นี้วัตถุแห่งหนี้คือการส่งมอบทรัพย์สิน ทรัพย์สินจึงเป็นวัตถุแห่งการชำระหนี้ ในกรณรมาตรา195 วรรคแรก เป็นกรณทรัพย์ที่จะต้องส่งมอบระบุไว้เพียงประเภท ยกตัวอย่างเช่น จะต้องส่งข้าวสาร 10กิโลกรัม ปํญหาคือควรจะส่งคุณภาพอย่าไร ดังนั้นกฎหมายจึงใชมาตรา 195 วรรคแรกเป็ฯตัวกำหนดในกรณีที่จะต้องสทรัพย์ประเภทนี้
-มีการแบ่งแยกพิจารณาเกี่ยวกับทรัพย์ไว้ 2 ส่วนคือ
1.ทรัพย์ที่จะส่งมอบเป็นทรัพย์สินทั่วไป
ทรัพย์สินทั่วไปนี้อาจเป็นได้ทั้งสังหาริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์ และจะเป็นทรัพย์เฉพาะสิ่งหรือไม่ก็ได้
-ยกตัวอย่างในกรณรีที่ทรพย์ ที่จะต้อง ส่งมอบเป็นทรัพย์เฉพาะสิ่ง ตามาตรา 195 ววรคสอง คือทรัพย์ที่รู้แน่นอนอยู่แล้ว่าเป็นทรัพย์ชิ้นใด เช่นซื้อมาชื่อแมว ซื้อรถบ้ายทะเบียนที่แน่นอนเป็นต้น
2.ทรัพย์ที่ส่งมอบเป็นเงินตรา
2.2กรณเงินได้แสดงไว้เป็นเงินต่างประเทศ มีบทบัญญัติว่า ถ้าหนี้แสดงไว้เป็นเงินต่างประเทศ จะส่งเงินใช้เป็นไทยก็ได้ การเปลี่ยนเงิน ให้คิดตามอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ณ เวลาและสถานที่ใช้เงินตามาตรา 196
2.3กรณีเงินตราที่จะส่งใช้เป็นอันยกเลิกไม่ใช้แล้ว ทางแกคือตามมาตรา 197
4) กรณีวัตถุแห่งหนี้ซึ่งเลือกที่จะชำระได้
1.สิธิในการเลือก การเลือกชำระหนี้นั้นกฎหมายกำหนดไว้ในมาตรา 198 และมาตรา 201 ซึ่งจะเเยกสิทธิการเลือกได้ 4 กรณี
2.วิธีการเลือก
กฎหมายกำหนดไว้ 2 กรณี คือ 2.1 กรณีฝ่ายลูกหนี้หรือเจ้าหนี้เป็นผู้มีสิทธิเลือก ตามาตรา 199 วรรคแรก 2.2กรณบุคคลภายนอกเป็นผู้มีสิทธิเลือก ตามาตรา 201 วรรคแรก
3.ระยะเวลาในการเลือก
มีบัญญัติไว้ตามาตรา 200 และอาจแยกได้ 2 กรณีคือ
3.1มีกำหนดระยะเวลาให้เลือก ซึ่งอาจกำหนดไว้ในนิติกรรมที่ก่อหนี้นั้น
3.2กรณีมิได้กำหนดให้เลือก ยกตัวอย่างเช่น บุุคคลภายนอกไม่เลือกมีข้อตกลงกันให้เจ้าหนี้เป็นผู้เลือก สิทธในการเลือกก็จะตกมาเจ้าหนี้ และเมื่อถึงขั้นตอนลูกหนี้ก็จะกำหนดเวลาให้เจ้าหนี้เลือกตามาตรา 200 วรรคสอง
4.ผลของการเลือก
การเลือกนั้นเป็นการแสดงเจตนาที่มีผลในทางกฎหมาย ดังนั้นการจะเกิดผลของการเลือกต้องหมายถึงการเลือกนั้นมีผลแล้วตามหลักการเเสดงเจตนา มตรา 168 และมาตรา 169 และในส่วนผลของการเลือกนั้นมีบัญญัติไว้ในมาตรา 199 วรรคสอง
5.กรณีการชำระหนี้บางอย่างเป็นการพ้นวิสัย
คือกรณีการเลือกกชำระหนี้ แต่การชำระหนี้บางอย่างกลับเป็นพ้นวิสัย ตามมาตรา 202
1.2 กำหนดเวลาชำระหนี้ แบ่งได้เป็น 2กรณี
1.หนี้ที่ไม่ได้กำหนดเวลาชำระหนี้
ตามาตรา 203 วรรคแรก หมายถึงหนี้ที่ไม่ได้กำหนดเวลาชำระไว้โดยชัดเเจ้ง และไม่สามารถอนุมานได้ ยกตัวอย่างเช่นกู้ยืมเงินไปโดยมิได้กำหนดวันชำระคืน ผลคือเจ้าหนี้มีสิทธิเรียกใก้ชำระหนี้โดยพลัน
2.หนี้ที่มีกำหนดเวลาชำระ
เป็นหนี้ที่กำหนดเวลาไว้โดยชัดแจ้ง เช่นกำหนดเวลาตามปฎิทินตามาตรา 204 วรรคสอง หรือกำหนดตามข้อเท็จจริง เช่นยืมเสื้อครุยเพื่อไปรับปริญญาจะส่งคืนเมื่อรับเสร็จ และในกรณกำหนดเวลามืใช่วันตามแห่งปฎิทิน กฎหมายได้กล่าวถึงไว้ในมาตรา 204 วรรคแรก
1.3การผิดนัดไม่ชำระหนี้
เช่นารยืกระบืมเขาไปไปไถนาโดยตกลงว่าจะส่งคืนิ้นฤดูทำนา แต่ไม่ส่งคืน
1) การผิดนัด(ลูกหนี้
)
กล่าวคือการผิดนัดนั้นผลในทางกฎหมาย ทำให้ลูกหนี้มีความรับผิดเพิ่มมากขึ้น และส่งผมให้เกิดสิทธบางอย่างแก่เจ้าหนี้ อาจแยกพิจารณาได้เป็น 2กรณี
*(1) ลูกหนี้ผิดนัดโดยต้องเตือนก่อน
คือในบางกรณีกฎหมายยังไม่ถือว่าลูกหนี้ผิดนัด เพราะหนี้บางประเภทกฎหมายกำหนดให้มีการเตือนก่อนโดยแบ่งได้เป็น 2กรณีคือ
1หนี้ที่กำหนดเวลาชำระหนี้มิใช่วันตามวันแห่งปฏิทิน ตามมตรา 204 วรรคแรก เช่นการยืมกระบือไปใช้ไถนาตกลงกันว่าไถเสณ็จจะส่งคืน แต่ต่อมา กระบือกลับโดนโจรลักไปทั้งที่ไถนายังไม่เสร็จ แม้ผู้จะไม่ยอมส่งคืน ก็ไม่ถือว่าผิดนัด
2.หนี้ที่ไม่มีกำหนดเวลาชำระคืนตามมาตรา 203 เป็นหนี้ที่ไม่มีกำหนดเวลาชำระและจะอนุมาไม่ได้ด้วย
(2) ลูกหนี้ผิดนัดโดยเจ้าหนี้ไม่ตักเตือน
หนี้กลุ่มนี้มี 2 ประเภท คือ
1.หนี้ที่มีกำหนดเวลาตามวันแห่งปฏิทิน ตามาตรา 204 วรรคสอง เช่นกำหนดเวลาชำระในวันที่ 10 สิงหาคม กำหนดชำระในวันสงกรานต์ เช่นนี้วันที่กำหนดไว้นั้นมีความหมายแน่นอนชัดเจนตรงกัน
2.หนั้ละเมิด เป็นหนี้ที่เกืดจากการล่วงสิทธืของผู้อื่น มิได้เกิดจากนิติกรรมสัญญา ซึ่งหนี้ละเมิดหนี้มีบัญญติไว้ในมาตรา 206
(3) กำหนดชำระหนี้กับการผิดนัด
การกำหนดชำระหนี้และการผิดนัดนั้นไม่เหมือนกัน กล่าวคือ
1.กำหนดเวลาชำระหนี้นั้นเป็นกำหนดที่ลูกหนี้จะต้องชำระหนี้ แต่กาผิดนัดนั้นเป็นผลของการไม่ชำระหนี้ตามกำหนด
2.กำหนดเวลาชำระหนี้เป็นกำหนดเวลาที่เจ้าหนี้สามารถเรียกลูกหนี้ชำระหนี้ได้
3.การผิดนัดนั้น แม้ถึงเวลากำหนดชำระหนี้ และมีเงื่อนไขอื่นทำให้ลูกหนี้ผิดนัด เช่น การเตือนของเจ้าหนี้ หากการที่ไม่ชำระหนี้นั้นเกิดจากมาตรา 205 ก็ถือว่าลูกหนี้ยังไม่ผิดนัด
(4) กรณีที่ไม่ถือว่าลูกหนี้ผิดนัด
1.เหตุที่เกิดจากเจ้าหนี้ เช่นกรที่เจ้าหนี้ผิดนัดตมาตรา 207
2.เหตุเกิดจากบุคคลภายนอก เพราะเป็นเหตุเกิดจาบุคคลภายนอกที่ลูกหนี้มิอาจคุมได้ เช่น เช่นรังวัดแบ่งแยกให้ไม่ทัน
3.เกิดจากภัยธรรมชาติ เช่นน้ำท่วมทำให้รังวัดวัดที่ให้ไม่ทัน
2) ผลของการผิดนัดของลูกหนี้
(1) ลูกหนี้ต้องรับผิดในความเสียหายอันเกิดแต่การผิดนัด
กรณีลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ตมากำหนดทำให้ตกเป็นผู้ผิดนัดและเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าหนี้ เจ้าหนี้อาจเรียกค่าสินไหมทดแทนตามาตรา 215 เช่นมีการจ้างสร้างบ้าน 1 เดือน แต่สร้ามิเสร็จเกิดการล่าช้า และเจ้าหนี้ต้องไปเช่าบ้านอยู่ลูกหนี้ต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่เจ้าหนี้
(2) เจ้าหนี้อาจไม่รับชำระหนี้
ตามาตรา 388คือการให้สิทธิแกเจ้าหนี้ที่จะเลิกสัญญาได้ เช่นการชำระหนี้ที่ไร้ประโยชน์แก่เจ้าหนี้เช่นการซื้อบัตรไปชมการแสดง แต่มาส่งมอบไม่ทัน ทำให้เจ้าหนี้ไม่ได้ดูการแสดง เจ้าหนี้อาจปัดการชำระหนี้นั้นหรือตกลงเช่าชุดไปงานเจ้าสาวแต่มาส่งมอบไม่ทันมาส่งหลังวันงานผ่านไปแล้ว ซึงเป็นการไม่เกิดประโยชน์แก่เจ้าหนี้ จึงมีการให้สิทธิแก่เจ้าหนี้ในการปฏิเสธไม่รับชำระหนี้ตามมตรา 216
(3) ลูกหนี้ต้องรับผิดในความเสียหายอันเกิดระหว่างผิดนัดเพิ่มขึ้น
นอกจากความเสียหายที่เกิดขึ้นโดยตรงที่ลูกหนี้จะต้องรับผิดแล้วนั้น เมือลูกหนี้ผิดนัดอาจต้องรับผิดในความประมาทเลินเล่อ และการชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยเพราะอุบัติเหตุอันเกิดขึ้นระหว่างผิดนัด ดังที่บัญญติไว้ในมาตรา 217