Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรับผิดกระทำละเมิดด้วยตนเอง - Coggle Diagram
ความรับผิดกระทำละเมิดด้วยตนเอง
หลักความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
ความเป็นมา
ในการปฏิบัติหน้าที่ราชการตามภารกิจของหน่วยงานนั้น เจ้าหน้าที่ของรัฐอาจก่อให้เกิดความเสียหายขึ้น ทั้งกับเจ้าหน้าที่ด้วยกันเองหรือกับหน่วยงานของรัฐ หรือแม้แต่กับบุคคลภายนอก ซึ่งก่อนมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่พ.ศ. ๒๕๓๙ เจ้าหน้าที่ผู้ทําละเมิดจะต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในความเสียหายที่เกิดขึ้นเต็มจํานวนความเสียหายเสมือนหนึ่งว่าเจ้าหน้าที่นั้นได้กระทําในฐานะส่วนตัวและหากความ
เสียหายนั้น เกิดจากการกระทําของเจ้าหน้าที่หลายคน เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องทุกคนก็จะต้องร่วมกันรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม โดยเจ้าหน้าที่ทุกคนที่เกี่ยวข้องต้องร่วมกันชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในความเสียหายนั้นจนเต็มจํานวนความเสียหาย กล่าวคือ ถ้าเจ้าหนี้หรือผู้เสียหายไม่สามารถเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่คนหนึ่งหรือหลายคนชดใช้ค่าสินไหมทดแทนได้เจ้าหนี้หรือผู้เสียหายมีสิทธิ
เรียกร้องให้เจ้าหน้าที่คนใดคนหนึ่งหรือหลายคนรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจนเต็มจํานวน
อยู่นั่นเอง การกําหนดให้เจ้าหน้าที่ต้องรับผิดในความเสียหายอันเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวกลายเป็นอุปสรรคอย่างสําคัญในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ ด้วยเกรงว่าการกระทําของตน อาจก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นและตนต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งหมด ซึ่งไม่เป็นธรรมต่อเจ้าหน้าที่ และการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐไม่กล้าตัดสินใจกระทําการตามหน้าที่นี้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อประสิทธิภาพในการจัดทําบริการสาธารณะของหน่วยงานของรัฐเป็นอย่างมาก ในที่สุด
ผลเสียก็จะตกแก่ประชาชน
จากความเป็นมาและสภาพปัญหาดังกล่าว ต่อมา จึงมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ โดยมีเจตนารมณ์ปรากฏตามเหตุผลท้ายพระราชบัญญัติกล่าวคือ “การที่เจ้าหน้าที่ดําเนินกิจการต่าง ๆ ของหน่วยงานของรัฐนั้น
หาได้เป็นไปเพื่อประโยชน์อันเป็นการเฉพาะตัวไม่การปล่อยให้ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าทีในกรณีที่ปฏิบัติงานในหน้าที่และเกิดความเสียหายแก่เอกชนเป็นไปตามหลักกฎหมายเอกชน
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จึงเป็นการไม่เหมาะสม ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดว่า เจ้าหน้าที่จะต้องรับผิดในการกระทําต่าง ๆ เป็นการเฉพาะตัวเสมอไป เมื่อการที่ทําไปทําให้หน่วยงานของรัฐ
ต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกเพียงใด ก็จะมีการฟ้องไล่เบี้ยเอาจากเจ้าหน้าที่เต็มจํานวนนั้น
ทั้งที่บางกรณีเกิดขึ้นโดยความไม่ตั้งใจหรือความผิดพลาดเล็กน้อยในการปฏิบัติหน้าที่ นอกจากนั้น
ยังมีการนําหลักเรื่องลูกหนี้ร่วมในระบบกฎหมายแพ่งมาใช้บังคับ ให้เจ้าหน้าที่ต้องร่วมรับผิดในการกระทําของเจ้าหน้าที่ผู้อื่นด้วย ซึ่งระบบนั้นมุ่งหมายแต่จะได้รับเงินครบโดยไม่คํานึงถึง
ความเป็นธรรมที่จะมีต่อแต่ละคน กรณีเป็นการก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่เจ้าหน้าที่และยังเป็นการบั่นทอนกําลังขวัญในการทํางานของเจ้าหน้าที่ด้วย จนบางครั้งกลายเป็นปัญหาในการบริหาร
เพราะเจ้าหน้าที่ไม่กล้าตัดสินใจดําเนินงานเท่าที่ควร เพราะเกรงความรับผิดชอบที่จะเกิดแก่ตนอนึ่ง การให้คุณให้โทษแก่เจ้าหน้าที่เพื่อควบคุมการทํางานของเจ้าหน้าที่ยังมีวิธีการในการ
บริหารงานบุคคลและการดําเนินการทางวินัยกํากับดูแลอีกส่วนหนึ่งอันเป็นหลักประกันิให้เจ้าหน้าที่ทําการใด ๆ โดยไม่รอบคอบอยู่แล้ว ดังนั้น จึงสมควรกําหนดให้เจ้าหน้าที่ต้องรับผิด
ทางละเมิดในการปฏิบัติงานในหน้าที่เฉพาะเมื่อเป็นการจงใจกระทําเพื่อการเฉพาะตัว หรือจงใจให้เกิดความเสียหายหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเท่านั้น และให้แบ่งแยกความรับผิด
ของแต่ละคนมิให้นําหลักลูกหนี้ร่วมมาใช้บังคับ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของรัฐ …………...” กรณีจึงสามารถสรุปสาระสําคัญหรือเจตนารมณ์
ในการตราพระราชบัญญัติดังกล่าวได้ดังน
(๑) แยกการกระทําละเมิดของเจ้าหน้าที่ออกเป็น ๒ ประเภท คือ กรณี
เจ้าหน้าที่กระทําละเมิดต่อบุคคลภายนอก และกรณีเจ้าหน้าที่กระทําละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐ
(๒) กรณีเจ้าหน้าที่กระทําละเมิดต่อบุคคลภายนอก
(๒.๑) แยกความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติหน้าที่
ออกจากการกระทําละเมิดที่มิใช่เป็นการปฏิบัติหน้าที่ โดยหากเป็นการกระทําละเมิดของเจ้าหน้าที่ที่มิใช่เป็นการปฏิบัติหน้าที่ เจ้าหน้าที่ผู้นั้นจะต้องรับผิดเป็นการส่วนตัว แต่หากเป็นการกระทํา
ของเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติหน้าที่ กฎหมายกําหนดให้หน่วยงานของรัฐชดใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายที่เกิดขึ้นให้แก่ผู้ได้รับความเสียหายไปก่อน
(๒.๒) กําหนดหลักเกณฑ์ในการที่หน่วยงานของรัฐจะใช้สิทธิไล่เบี้ย
ให้เจ้าหน้าที่ชดใช้เงินคืนให้แก่หน่วยงานของรัฐภายหลังจากที่หน่วยงานของรัฐได้ชดใช้ค่าสินไหม
ทดแทนความเสียหายที่เกิดขึ้นให้แก่ผู้ได้รับความเสียหายไปก่อน โดยหน่วยงานของรัฐจะใช้สิทธิ
ไล่เบี้ยโดยเรียกให้เจ้าหน้าที่ผู้กระทําละเมิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนคืนให้แก่หน่วยงานของรัฐได้เฉพาะเป็นการกระทําโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเท่านั้น ส่วนหน่วยงานของรัฐ
จะใช้สิทธิไล่เบี้ยได้มากน้อยเพียงใดนั้น ก็จะต้องคํานึงถึงข้อเท็จจริงเป็นกรณีๆ ไป โดยหน่วยงานของรัฐไม่จําต้องเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่ชดใช้จนเต็มจํานวนความเสียหาย
(๒.๓) กําหนดหลักเกณฑ์ในการใช้สิทธิไล่เบี้ยกรณีการกระทํา
ละเมิดเกิดขึ้นจากการกระทําของเจ้าหน้าที่หลายคน มิให้นําหลักความรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้โดยเจ้าหน้าที่แต่ละคนจะรับผิดเพียงใดนั้นให้ขึ้นอยู่กับ
ข้อเท็จจริงเป็นกรณีไป โดยหน่วยงานของรัฐไม่จําต้องได้รับชดใช้จนเต็มจํานวนความเสียหาย
๓) กรณีเจ้าหน้าที่กระทําละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐ กําหนดหลักเกณฑ์
ในการที่หน่วยงานของรัฐจะเรียกให้เจ้าหน้าที่ผู้กระทําละเมิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่หน่วยงานของรัฐได้แต่เฉพาะกรณีที่เจ้าหน้าที่ผู้นั้นกระทําโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเท่านั้น
และในกรณีที่เจ้าหน้าที่กระทําละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐแห่งอื่น เมื่อหน่วยงานของรัฐที่ผู้นั้นสังกัดอยู่ได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่หน่วยงานของรัฐที่ถูกกระทําละเมิดแล้ว หน่วยงานของรัฐที่ผู้นั้น
สังกัดจะใช้สิทธิไล่เบี้ยได้มากน้อยเพียงใดนั้นต้องคํานึงถึงข้อเท็จจริงเป็นกรณีๆ ไป โดยหน่วยงาน
ของรัฐไม่จําต้องเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่ชดใช้จนเต็มจํานวนความเสียหาย
๒. ความหมายของการกระทําละเมิด สําหรับความหมายของการกระทําละเมิดนั้น มีนักกฎหมายได้ให้ความหมายเอาไว้
เป็นจํานวนมาก
๓. องค์ประกอบของการกระทําละเมิดของเจ้าหน้าที่
องค์ประกอบของการกระทําอันเป็นละเมิดของเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติ
ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ มาตรา ๕๙ มีอยู่ ๓ ประการ
๓.๑ ประการที่หนึ่ง ต้องมีการกระทําละเมิดเกิดขึ้น การพิจารณาว่า
การกระทําใดเป็นการกระทําโดยละเมิดหรือไม่นั้น จะต้องพิจารณาตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยละเมิด มาตรา ๔๒๐ “ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ
ทําต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดีแก่ร่างกายก็ดีอนามัยก็ดีเสรีภาพก็ดีทรัพย์สิน หรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดีท่านว่าผู้นั้นทําละเมิดจําต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการ
นั้น” สามารถแยกองคประกอบความผิดได้
ดังนั้น บุคคลทุกประเภทที่ทํางานให้แก่หน่วยงานของรัฐ ไม่ว่าจะเป็น
ลูกจ้างประจํา ลูกจ้างชั่วคราว กรรมการ อนุกรรมการ คณะทํางาน หรือบุคคลที่กฎหมายกําหนดให้เป็นเจ้าหน้าที่ เช่น บุคคลที่ต้องช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายต่าง ๆ ล้วนแล้วแต่เป็นเจ้าหน้าที่
ของรัฐภายใต้บังคับแห่งกฎหมายนี้ทั้งสิ้น
๔. ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐตามพระราชบัญญัติความรับผิด
ทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ แบ่งออกเป็น ๒ ส่วน ได้แก่
๔.๑ กรณีการกระทําละเมิดมิใช่การกระทําในการปฏิบัติหน้าที่ เป็นกรณีที่
เจ้าหน้าที่กระทําละเมิดต่อบุคคลอื่นหรือต่อหน่วยงานของรัฐที่ไม่ใช่การปฏิบัติหน้าที่ เจ้าหน้าที่จะต้องรับผิดในการกระทําละเมิดเป็นการส่วนตัว ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่ง
และพาณิชย์ว่าด้วยละเมิด (พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ฯ มาตรา ๖๑๘) เช่น เจ้าหน้าที่บริหารงานการเงินและบัญชีระดับ ๒ สังกัดองค์การบริหารส่วนตําบลถ้ําทะลุ
จังหวัดยะลา ได้เขียนเช็คเบิกเงินเกินกว่าจํานวนเงินในฎีกาที่ตั้งเบิก แล้วนําไปเบิกเงินจากธนาคารและการที่เจ้าหน้าที่ผู้นั้น รับเงินที่ราษฎรนํามาชําระภาษีและค่าธรรมเนียมแล้ว ไม่นําเงินเข้าบัญชี
เงินฝากขององค์การบริหารส่วนตําบลถ้ําทะลุแล้วเบียดบังเงินดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ส่วนตนการกระทําดังกล่าวทั้งสองกรณีเป็นการกระทําโดยทุจริตเพื่อให้ตนเองได้ประโยชน์จึงเป็นการ
กระทําผิดทางอาญาตามมาตรา ๑๔๗ แห่งประมวลกฎหมายอาญา การกระทําของเจ้าหน้าทดังกล่าว จึงมิใช่การปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิด
ของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ แม้ว่าเจ้าหน้าที่ผู้นั้นจะมีตําแหน่งเป็นเจ้าหน้าที่บริหารการเงินและการ
บัญชีก็ตาม (ความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่องเสร็จที่ ๘๕๐/๒๕๔๒)
๔.๒ กรณีการกระทําละเมิดในการปฏิบัติหน้าที
๔.๒.๑ เจ้าหน้าที่จะต้องรับผิดในการละเมิดนั้นเฉพาะกรณีที่ได้
กระทําการด้วยความจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง หากเจ้าหน้าที่มิได้กระทําละเมิดโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงแล้ว เจ้าหน้าที่ผู้นั้นไม่ต้องรับผิดในการละเมิดดังกล่าว
หน่วยงานของรัฐจะใช้สิทธิไล่เบี้ยหรือเรียกให้เจ้าหน้าที่ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนไม่ได้
๔.๒.๒ การกําหนดสัดส่วนความรับผิด เมื่อหน่วยงานของรัฐ
พิจารณาแล้วเห็นว่า ความเสียหายเกิดจากการกระทําละเมิดของเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติหน้าที่
และเจ้าหน้าที่กระทําไปโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง โดยเจ้าหน้าที่จะต้องรับผิด
และถูกไล่เบี้ยหรือเรียกให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ทั้งนี้ให้คํานึงถึงระดับความร้ายแรงแห่งการกระทําและความเป็นธรรมในแต่ละกรณีเป็นเกณฑ์โดยมิต้องให้ชดใช้เต็มจํานวน
ของความเสียหายก็ได้ถ้าการละเมิดเกิดจากความผิดหรือความบกพร่องของหน่วยงานของรัฐ หรือระบบการดําเนินงานส่วนรวม หรือหากเห็นว่าความเสียหายดังกล่าว หน่วยงานของรัฐ
มีส่วนบกพร่องอยู่ด้วยแล้ว ในการกําหนดความเสียหายที่เจ้าหน้าที่ผู้กระทําละเมิดจะต้องรับผิดชดใช้นั้น หน่วยงานของรัฐที่เสียหายจะต้องกําหนดโดยคํานึงถึงความผิดหรือความบกพร่อง
ของหน่วยงานของรัฐดังกล่าว และนํามาหักออกจากความรับผิดของเจ้าหน้าที่ด้วย (พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ฯ มาตรา ๘ วรรคสองและวรรคสาม)
๕. ขั้นตอนการใช้สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน
๕.๑ กรณีบุคคลภายนอกได้รับความเสียหาย บุคคลที่ได้รับความเสียหาย
จากการกระทําละเมิดของเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติหน้าที่ย่อมได้รับการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ ซึ่งกําหนดให้หน่วยงาน
ของรัฐมีภาระหน้าที่เยียวยาความเสียหายจากการกระทําละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าทโดยหน่วยงานของรัฐจะเป็นผู้รับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นกับบุคคลภายนอก และผู้เสียหาย
มีสิทธิที่จะเรียกให้หน่วยงานของรัฐดังกล่าวชดใช้ได้ใน ๒ วิธีคือ
๕.๑.๑ การฟ้องคดีต่อศาล กล่าวคือ ถ้าผู้เสียหายเห็นว่า
การกระทําละเมิดของเจ้าหน้าที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติหน้าที่และผู้เสียหายต้องการใช้สิทธิทางศาลเพื่อให้ได้รับการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ผู้เสียหายสามารถฟ้องหน่วยงานของรัฐที่เจ้าหน้าที่ผู้กระทํา
ละเมิดนั้นสังกัดอยู่ให้เป็นผู้รับผิดในมูลละเมิดที่เกิดขึ้น แต่จะฟ้องเจ้าหน้าที่ผู้กระทําให้รับผิดเป็นส่วนตัวไม่ได้แต่หากการกระทําละเมิดของเจ้าหน้าที่มิใช่การปฏิบัติหน้าที่ ผู้เสียหายต้องฟ้อง
เจ้าหน้าที่ที่กระทําละเมิดโดยตรง จะฟ้องหน่วยงานของรัฐให้รับผิดไม่ได้(พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ฯ มาตรา ๖)
๕.๑.๒ การร้องขอให้หน่วยงานของรัฐชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
กล่าวคือ นอกจากสิทธิที่ผู้เสียหายจะนําคดีฟ้องร้องต่อศาลแล้ว ผู้เสียหายอาจใช้สิทธิร้องขอให้
หน่วยงานของรัฐชดใช้ค่าสินไหมทดแทนได้โดยตรง (พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ฯ
มาตรา ๑๑) เมื่อหน่วยงานของรัฐได้รับเรื่องแล้วจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีการ ดังนี
(๑) ผู้เสียหาย ทายาท หรือผู้จัดการมรดกของผู้เสียหาย
แล้วแต่กรณีสามารถยื่นคําขอต่อหน่วยงานของรัฐเพื่อขอให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนสําหรับความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ตนได้โดยผู้ยื่นคําขอต้องเขียนรายละเอียดลงใน “แบบคําขอให้หน่วยงาน
ของรัฐชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจากการกระทําละเมิดของเจ้าหน้าที่” ให้ถูกต้องครบถ้วนพร้อมเอกสารหลักฐานประกอบการพิจารณาต่อหน่วยงานของรัฐได้โดยตรงหรือยื่นผ่านไปรษณีย์
ลงทะเบียนก็ได้
(๒) หน่วยงานของรัฐได้รับคําขอแล้วให้ออกใบรับคําขอให้แก่ผู้ยื่น
คําขอ เพื่อเป็นหลักฐานว่าผู้เสียหายได้ยื่นคําขอ ณ วัน เดือน ปีใด ทั้งนี้ตามแบบ “ใบรับคําขอ”
ที่กระทรวงการคลังกําหนด
(๓) หน่วยงานของรัฐจะต้องรีบดําเนินการพิจารณาคําขอ
ของผู้เสียหายโดยเร็ว ซึ่งขั้นตอนและวิธีพิจารณาคําขอของผู้เสียหาย เป็นไปตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
พ.ศ. ๒๕๓๙ ซึ่งจะต้องพิจารณาทุกขั้นตอนให้แล้วเสร็จอย่างช้าภายใน ๑๘๐ วัน นับแต่รับคําขอจากผู้เสียหาย แต่ถ้าไม่อาจพิจารณาให้เสร็จตามเวลาดังกล่าว ให้หน่วยงานของรัฐรายงานปัญหา
และอุปสรรคให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดหรือกํากับหรือควบคุมดูแลหน่วยงานของรัฐแห่งนั้นทราบเพื่อขออนุมัติขยายระยะเวลาพิจารณาออกไปได้โดยรัฐมนตรีดังกล่าวจะอนุมัติให้ขยายระยะเวลา
อีกได้ไม่เกิน ๑๘๐ วัน (พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ฯ มาตรา ๑๑ วรรคสอง)
(๔) ออกคําสั่งแจ้งผลการพิจารณา เมื่อหน่วยงานของรัฐที่ได้รับ
คําขอและดําเนินการพิจารณาคําขอตามหลักเกณฑ์ของระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีฯ แล้วต้องจัดทําคําสั่งแจ้งให้ผู้เสียหายที่มีคําขอทราบด้วย ซึ่งคําสั่งแจ้งผลการพิจารณาดังกล่าวต้องปฏิบัติ
ตามแบบการจัดทําคําสั่งทางปกครอง
(๕) กรณีที่ผู้เสียหายไม่พอใจในผลการพิจารณา ผู้เสียหายมีสิทธิ
ฟ้องคดีต่อศาลปกครองได้โดยตรง (พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ฯ มาตรา ๑๑
ประกอบกับมาตรา ๑๔)
๖. การเรียกให้เจ้าหน้าที่ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ในกรณีที่ปรากฏว่าเจ้าหน้าที่กระทําละเมิดโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ
อย่างร้ายแรง หน่วยงานของรัฐจะต้องเรียกให้เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนที่หน่วยงานของรัฐได้จ่ายแก่ผู้เสียหายไปแล้ว (กรณีเจ้าหน้าที่กระทําละเมิดต่อบุคคลอื่น) หรือเรียก
ให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่หน่วยงานของรัฐ (กรณีเจ้าหน้าที่กระทําละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐ) ได้๒ วิธีคือ การใช้มาตรการบังคับทางปกครองและการฟ้องคดีต่อศาล
๖.๑ การใช้มาตรการบังคับทางปกครอง ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐ
และหรือกระทรวงการคลังเห็นว่าเจ้าหน้าที่ผู้กระทําละเมิดพึงต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนอันเนื่องมาจากการกระทําละเมิดโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง หน่วยงาน
ของรัฐอาจมีคําสั่งให้เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องชําระเงินให้แก่ทางราชการเพื่อชดใช้ความเสียหายที่เกิดขึ้นได้คําสั่งดังกล่าวจึงเป็น “คําสั่งทางปกครองที่กําหนดให้ชําระเงิน” ตามมาตรา ๖๓/๗
แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙๒๙ ดังนั้น หากถึงกําหนดชําระเงินแล้วไม่มีการชําระโดยถูกต้องครบถ้วน เจ้าหน้าที่จะต้องมีหนังสือเตือนให้ผู้นั้นชําระภายใน
ระยะเวลาที่กําหนด แต่ต้องไม่น้อยกว่า ๗ วัน ถ้าไม่มีการปฏิบัติตามคําเตือน เจ้าหน้าที่อาจใชมาตรการบังคับทางปกครองโดยยึดหรืออายัดทรัพย์สินของเจ้าหน้าที่ผู้นั้นและขายทอดตลาดเพื่อนํามาชําระเงินให้ครบถ้วน ส่วนขั้นตอนและวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการยึด การอายัด และการขาย
ทอดตลาดทรัพย์สินให้เป็นตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ หมวด ๒/๑ การบังคับทางปกครอง (แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง (ฉบับที่ ๓)
พ.ศ. ๒๕๖๒๓๐) ส่วนเจ้าหน้าที่ผู้มีอํานาจออกคําสั่งใช้มาตรการบังคับทางปกครอง สําหรับคําสั่งทางปกครองที่กําหนดให้ชําระเงินได้แก่เจ้าหน้าที่ตามที่กําหนดไว้ในกฎกระทรวงกําหนดเจ้าหน้าที่
ผู้ออกคําสั่งใช้มาตรการบังคับทางปกครองและการแต่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับทางปกครองพ.ศ. ๒๕๖๒ สําหรับกรณีของสํานักงานเลขาธิการวุฒิสภา คือ เลขาธิการวุฒิสภา ในฐานะผู้บริหาร
หน่วยงานอื่นของรัฐ ตามข้อ ๑ (๕) ประกอบกับข้อ ๒๓๑ ของกฎกระทรวงดังกล่าว
๖.๒. การฟ้องคดีต่อศาล ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐเรียกให้เจ้าหน้าที่
รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ทางราชการแล้ว แต่เจ้าหน้าที่นั้นไม่ยอมชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ทางราชการ และหน่วยงานของรัฐไม่ประสงค์ที่จะใช้มาตรการบังคับทางปกครองดังกล่าวข้างต้น
หน่วยงานของรัฐก็อาจฟ้องเจ้าหน้าที่ผู้นั้นต่อศาลเพื่อไล่เบี้ยหรือเรียกให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
แก่หน่วยงานของรัฐได้ซึ่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙
ได้กําหนดอายุความในการไล่เบี้ยและใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลเพื่อเรียกให้เจ้าหน้าที่ผู้กระทําละเมิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนไว้ในมาตรา ๙ และมาตรา ๑๐๓๒ เป็นการเฉพาะแตกต่างจากอายุความ
ละเมิดทั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย
ตัวอย่างประกอบ
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นผู้ครอบครองรถยนต์กระบะบรรทุก ๑ คันโดยเช่าซื้อมาจากบริษัทสยามกลการ จำกัด จำเลยทั้งสองร่วมกันนำรถยนต์ดังกล่าวไปจากโจทก์โดยไม่มีอำนาจแล้วบังอาจทำให้เสียหายเป็นเงิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท โจทก์ใช้รถยนต์บรรทุกสินค้าไปขายมีกำไรสุทธิวันละ ๓๕๐ บาท ต้องขาดประโยชน์เป็นเวลา๑ ปี เป็นเงิน ๑๒๖,๐๐๐ บาท ให้จำเลยทั้งสองชำระเงิน ๒๒๖,๐๐๐ บาทแก่โจทก์
จำเลยทั้งสองให้การว่า โจทก์กับนายเสลา สามี เป็นลูกหนี้จำเลยที่ ๑ แล้วตกลงมอบรถยนต์ดังกล่าวให้ไว้เป็นประกันการชำระหนี้ จำเลยที่ ๑ ใช้สิทธิยึดหน่วงไว้ ต่อมาจำเลยที่ ๑ ไปทวงหนี้ โจทก์ขอผัดผ่อนและจะนำรถยนต์หลบหนี จำเลยที่ ๑ จึงถอดยางและหม้อแบตเตอรี่ออก วันต่อมาทหารพรานแจ้งข้อหานายเสลา มีรถยนต์ผิดกฎหมายไว้ในครอบครองและนำรถยนต์ไปมอบให้พนักงานสอบสวน โจทก์ติดค้างค่าเช่าซื้อ บริษัทจึงยึดรถยนต์กลับไป จำเลยที่ ๒ ไม่ได้ร่วมกระทำกับจำเลยที่ ๑ ขณะเกิดเหตุโจทก์กับสามีไม่มีทุนทำการค้า ขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าเสียหายให้โจทก์วันละ ๑๕๐ บาท นับแต่วันทำละเมิดคือวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๔ ถึงวันที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๕
จำเลยทั้งสองอุทธรณ์ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยร่วมกันใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์วันละ๑๕๐ บาท เป็นเวลา ๖ เดือนนับแต่วันทำละเมิด
โจทก์และจำเลยทั้งสองฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า การกระทำละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา ๔๒๐ นั้น เป็นการจงใจ หรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายแก่ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใด ก็ถือได้ว่ากระทำละเมิดแล้ว โจทก์หาจำต้องเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่ถูกละเมิดเสมอไปไม่ เมื่อโจทก์มีสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อในอันที่จะใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินที่ตนเช่าซื้อมา ก็ย่อมมีสิทธิฟ้องผู้ที่มาละเมิดสิทธิของตนได้ แม้ภายหลังผู้ให้เช่าซื้อจะยึดทรัพย์สินคืนไป ก็ไม่ทำให้ผลการละเมิดที่กระทำไว้ก่อนระงับตามไปด้วย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองได้
ที่จำเลยฎีกาว่าหลังจากจำเลยทั้งสองยึดรถยนต์ไว้ จำเลยถูกพนักงานอัยการฟ้องในข้อหาลักทรัพย์รถยนต์แต่ศาลพิพากษายกฟ้อง ต้องถือว่าจำเลยกระทำโดยสุจริต ไม่เป็นการกระทำผิดกฎหมาย จึงไม่เป็นการละเมิดนั้น เห็นว่า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๔๒๔ บัญญัติถึงปัญหานี้ไว้โดยเฉพาะว่าในการพิพากษาคดีข้อความรับผิดเพื่อละเมิด และกำหนดค่าสินไหมทดแทนนั้น ศาลไม่จำต้องดำเนินตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายลักษณะอาญาอันว่าด้วยการที่จะต้องรับโทษ และไม่จำต้องพิเคราะห์ถึงการที่ผู้กระทำต้องคำพิพากษาลงโทษทางอาญาหรือไม่ ฉะนั้นการที่ศาลเคยพิพากษาในคดีอาญาว่าจำเลยไม่มีเจตนาลักทรัพย์และยกฟ้องโจทก์ ก็ไม่จำต้องฟังว่าจำเลยทั้งสองไม่ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ เพราะจำเลยอาจจะกระทำผิดกฎหมายอย่างอื่นเช่น กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งที่บัญญัติถึงอำนาจหน้าที่ในการยึดทรัพย์ของลูกหนี้ไว้แล้วก็ได้ จึงต้องฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยทั้งสองกระทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่
เดิมสามีโจทก์เป็นลูกหนี้จำเลยที่ ๑ เนื่องจากซื้อสินค้าเชื่อแล้วชำระหนี้ด้วยเช็ค แต่ถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน สามีโจทก์ถูกพนักงานอัยการฟ้องตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค ผลที่สุดจำเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นผู้เสียหายกับสามีโจทก์ยอมความกัน สามีโจทก์ตกลงผ่อนชำระหนี้ให้ โดยมีนายยี่หุบ บ่อทองคำ นำโฉนดที่ดินมาประกันหนี้ไว้ ศาลจึงสั่งจำหน่ายคดี ปรากฏตามคดีหมายเลขแดงที่ ๓๗๕/๒๕๒๔ ของศาลจังหวัดพัทลุง เมื่อโจทก์ผิดนัด จำเลยที่ ๑ ชอบที่จะฟ้องคดีต่อศาล บังคับให้สามีโจทก์และนายประกันชำระหนี้ จำเลยที่ ๑ ไม่มีสิทธิยึดหน่วงรถยนต์ดังกล่าวซึ่งอยู่ในความครอบครองของโจทก์ ดังที่อ้างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๒๔๑ และการยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเป็นอำนาจของศาล และของเจ้าพนักงานบังคับคดีโดยเฉพาะ จำเลยที่ ๑ กับพวกรวมทั้งทหารพรานหามีอำนาจที่จะกระทำการดังกล่าวได้ไม่ ทั้งทหารพรานไม่มีอำนาจตามกฎหมายที่จะยึดรถยนต์ไม่มีทะเบียน อ้างว่าเป็นรถยนต์ผิดกฎหมายนำส่งพนักงานสอบสวน ดังที่จำเลยที่ ๑ ให้การต่อสู้และนำสืบหากกระทำไปย่อมเป็นการกระทำที่ไม่ชอบ เห็นว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองจงใจกระทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมาย เป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์โดยตรง