Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรับผิดกระทำละเมิดด้วยตนเอง - Coggle Diagram
ความรับผิดกระทำละเมิดด้วยตนเอง
ลักษณะทั่วไปของความผิดของบุคคลในการกระทำของตนเอง
ม.420
.มาตรา 420 วางหลักว่า "ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหาย ถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดีอนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดีท่านว่าผู้นั้นทำละเมิด"
การกระทำ หมายถึง การเคลื่อนไหวร่างกายโดยรู้สำนึก และรวมถึงการงดเว้นที่จะกระทำหรือละเว้นไม่กระทำการนั้นด้วย
ตัวอย่าง ดำ ไม่ชอบแดงเลยเอาไม้ไปตีแดง โดยในขณะที่กระทำดำมีสติครบถ้วน เพียงเท่านี้ก็ถือเป็นการกระทำแล้ว
จงใจ หมายถึง รู้สำนึกถึงความเคลื่อนไหว และผลของความเสียหายที่เกิดจากการกระทำของตน
ตัวอย่าง ปิงไม่ชอบน่านเพราะว่าน่านมาแย่งแฟนของตน ตกเย็นปิงและน่านได้เล่นฟุตบอลด้วยกัน ปิงเลยคิดจะเตะฟุตบอลไปใส่น่าน และขณะเดียวกันปิงก็ได้เตะฟุดบอลไปถูกหน้าน่านได้รับบาดเจ็บ การกระทำของปิงนั้นถือเป็นการกระทำโดยจงใจ
ประมาทเลินเล่อ หมายถึง การกระทำที่ผู้กระทำนั้นไม่ได้จงใจที่จะกระทำ แต่ไม่ใช้ความระมัดระวังตามสมควรที่จะใช้
ตัวอย่าง ฟ้าขับรถมาด้วยความเร็วโดยไม่ได้รู้ว่าทางข้างหน้านั้นเป็นทางก่อสร้างซึ่งมีหลุมขนาดใหญ่ เมื่อใกล้ถึงทางก่อสร้างฟ้าสังเกตเห็นป้ายเตือนว่ามีหลุมขนาดใหญ่ ฟ้าจึงรีบหักหลบหลุมนั้นไปอย่างรวดเร็ว จึงทำให้ไปชนเขียวซึ่งขับรถมาด้วยความเร็วตามที่กฎหมายกำหนด การกระทำของฟ้าถือเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อซึ่งมิได้ใช้ความระมัดระวังตามวิสัยและพฤติการณ์
การกระทำผิดกฎหมาย มีความหมายว่า มิชอบด้วยกฏหมาย ตามมาตรา 421 กล่าวคือ ถ้ากฎหมายไม่ให้สิทธิหรือให้ข้อแก้ตัวตามที่กฎหมายให้ทำได้แล้วก็ถือว่าการกระทำนั้นเป็นการกระทำผิดกฎหมาย
1.การใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น
มาตรา 421 วางหลักว่า "การใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นนั้น ท่านว่าเป็นการอันมิชอบด้วยกฏหมาย กล่าวคือ บุคคลต้องทำการโดยสุจริต ถึงแม้กฎหมายจะได้ให้สิทธิในการกระทำของบุคคลนั้น แต่ถ้าได้ใช้สิทธิทำให้ผู้อื่นเกิดความเสียหายถือว่าเป็นการอันมิชอบด้วยกฏหมาย"
ตัวอย่าง เอเป็นเจ้าหนี้ของซี ซึ่งซีติดหนี้เออยู่ 50000บาท โดยซีกำลังจะบวชในวันที่ 10 เมื่อถึงวันงานเอได้เข้าไปทวงหนี้ซีต่อหน้าแขกในงาน ตามข้อเท็จจริงเอซึ่งเป็นเจ้าหนี้สามารถทวงก่อนวันที่ซีจะบวชก็ได้ ดังนั้น การกระทำขอเอถือเป็นการกระทำอันมิชอบด้วยกฏหมายตามมาตรา 421
หลักความยินยอมไม่ทำให้เป็นละเมิด
กล่าวคือ บุคคลซึ่งยอมต่อการกระทำหรือยอมรับความเสียหาย จะฟ้องคดีเกี่ยวกับการกระทำหรือความเสียหายนั้นไม่ได้ ซึ่งปัจจุบันได้มี พรบ. ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540 ได้จำกัดว่าความตกลงหรือความยินยอมของผู้เสียหาย สำหรับการกระทำที่ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลและทำอันดีของประชาชนจะอ้างเป็นเหตุยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดเพื่อละเมิดไม่ได้
หลักเกณฑ์การให้ความยินยอม
1.ผู้ให้ความยินยอมต้องเป็นผู้ถูกกระทำหรือเป็นผู้มีอำนาจให้ยินยอมแทน เช่น ผู้อนุบาลให้ความยินยอมแทน คนไร้ความสามารถ เป็นต้น
2.การให้ความยินยอมต้องให้ก่อนหรือขณะกระทำความผิด
3.การให้ความยินยอมต้องให้แก่ผู้กระทำโดยตรง ในบางกรณีอาจให้โดยเจาะจงหรือไม่ก็ได้เช่นการยินยอมให้แพทย์ทำการผ่าตัดโดยไม่เจาะจงระบุแพทย์ผู้กระทำ
4.การให้ความยินยอมต้องให้โดยสมัครใจปราศจากการกลฉ้อฉลหลอกลวง ข่มขู่หรือสำคัญผิด
5.การให้ความยินยอมเมื่อผู้กระทำเข้าใจในผลของความยินยอม
6.การให้ยินยอมต้องมีขอบเขตจำกัด ถ้าผู้กระทำนอกเหนือความยินยอมต้องรับผิดฐานละเมิด
7.การให้ความยินยอมอ่านให้โดยตรงหรือปริยายก็ได้
8.ความยินยอมอาจถอนได้ก่อนมีการกระทำ
ตัวอย่าง ม่อนกับต่อตกลงกันว่าจะกินยาพิษฆ่าตัวตาย เมื่อถึงเวลาต่อไม่ได้กินยามีแต่เพียงม่อนที่กินยา ตาพี่สาวของต่อได้รู้ถึงข้อตกลงระหว่างม่อนกับต่อ จึงจะฟ้องเรียกค่าเสียหายกับม่อน เช่นนี้ตาไม่สามารถฟ้องเรียกค่าเสียหายจากม่อนได้ เพราะการกระทำดังกล่าวนั้นเป็นความยินยอมทั้งสองฝ่ายทั้งม่อนและต่อ
2.การกระทำฝ่าฝืนบทบังคับแห่งกฎหมาย
มาตรา 422 วางหลักว่า "ถ้าความเสียหายเกิดแก่การฝ่าฝืนบทบังคับแห่งกฎหมายอันมีที่ประสงค์เพื่อปกป้องบุคคลอื่นๆ ผู้ใดทำการฝ่าฝืนเช่นนั้น ท่านให้สันนิษฐานไว้ว่าผู้นั้นเป็นผู้ผิด"
ตัวอย่าง ปูขับรถด้วยความเร็วสูงกว่าที่กฎหมายกำหนดและชนเข้ากับป้ายซ่อมถนน ถือเป็นการประมาทเลินเล่อ
การกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น
1.มีความเสียหายต่อสิทธิ
ตามมาตรา 420 วางหลักว่า ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหาย ถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี
ความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นย่อมหมายความรวมถึงความเสียหายแก่สิทธิ์ของบุคคลทั้งสิ้นมิได้จำกัดเพียงเพราะการเสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย อนามัย เสรีภาพ และทรัพย์สิน
2.ลักษณะแห่งสิทธิ
โดยทั่วไปสิทธิคือประโยชน์ที่บุคคลมีอยู่และบุคคลอื่น มีหน้าที่ต้องเคารพ แต่ตามมาตรา 420 ที่กล่าวถึงชีวิต อนามัย เสรีภาพ ทรัพย์สิน สิ่งที่กล่าวมาข้างต้นนั้นถือเป็นวัตถุแห่งสิทธิ
ตัวอย่างเช่น สิทธิที่จะใช้ทางสาธารณะ สิทธิของผู้เช่าซื้อ สิทธิในการเรียนหนังสือ สิทธิในการเลือกตั้ง เป็นต้น
3.ความเสียหายที่คำนวณเป็นตัวเงินได้และไม่อาจคำนวณเป็นตัวเงินได้
ตัวอย่าง ดำวิ่งชนกระจกของบ้านขาวแตก ถือเป็นความเสียหายอันคำนวณเป็นตัวเงินได้ แต่ถ้าดำวิ่งชนกระจกของบ้านขาวแต่กระจกไม่แตก ถือเป็นความเสียหายอันคำนวณเป็นตัวเงินไม่ได้
ความเสียหายนั้นเป็นผลมาจากการกระทำของผู้ทำความเสียหาย
1.ทฤษฎีความเท่ากันแห่งเหตุหรือทฤษฎีเงื่อนไข
ถ้าไม่มีการกระทำ ผลไม่เกิด
เหตุทุกๆเหตุมีน้ำหนักเท่ากัน
ข้อเสียของทฤษฎีนี้คือ ทำให้ผู้ทำละเมิดต้องรับผิดโดยไม่มีขอบเขต ต้องรับผิดไปตลอดถึงความเสียหายที่ไม่ไม่อาจคาดหมายได้
ตัวอย่าง มดตบหัวปราง แต่ปรากฏว่า ปรางเป็นโรคกระหม่อมบาง ทำให้บางเกิดเลือดคลั่งในสมอง กลายเป็นเจ้าหญิงนิทรา และในเวลาต่อมาปรางได้ถึงแก่ความตาย ดังนั้นผลของการกระทำของมดที่ได้กระทำต่อปราง แม้มดจะไม่รู้ว่าปางเป็นโรคกระหม่อมบางแต่มดก็ต้องรับผิดในความตายของปราง
2.ทฤษฎีมูลเหตุเหมาะสม
ผู้กระทำจะต้องรับผิด เฉพาะผลของเหตุทีเกิดตามปกติ
ข้อเสีย มีหลักตรงกับหลักวินิจฉัยความผิดหรือประมาทเลินเล่อของผู้กระทำซึ่งต้องวินิจฉัยตามพฤติการณ์
ตัวอย่าง มดตบหัวปราง แต่ปรากฏว่า ปรางเป็นโรคกระหม่อมบาง ทำให้บางเกิดเลือดคลั่งในสมอง กลายเป็นเจ้าหญิงนิทรา และในเวลาต่อมาปรางได้ถึงแก่ความตาย ดังนั้น เมื่อพิจารณาตามทฤษฎีมูลเหตุเหมาะสม มดต้องรับผิดเฉพาะในกรณีที่ทำให้ปรางได้รับบาดเจ็บเท่านั้น ไม่ต้องรับผิดในความตายของปราง
ละเมิดโดยการหมิ่นประมาท การพิพากษาคดี และการร่วมกันทำละเมิด
ละเมิดโดยการหมิ่นประมาท
มาตรา 423 วางหลักว่า "ผู้ใดกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนต่อความจริง เป็นที่เสียหายแก่ชื่อเสียงหรือเกียรติคุณของบุคคลอื่นก็ดี หรือเป็นที่เสียหายแก่ทางทำมาหาได้หรือทางเจริญของเขาโดยประการอื่นก็ดี ท่านว่าผู้นั้นจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่เขา เพื่อความเสียหายอย่างใด ๆ อันเกิดแต่การนั้น แม้ทั้งเมื่อตนมิได้รู้ว่าข้อความนั้นไม่จริง แต่หากควรจะรู้ได้
ผู้ใดส่งข่าวสารอันตนมิได้รู้ว่าเป็นความไม่จริง หากว่าตนเองหรือผู้รับข่าวสารนั้นมีทางได้เสียโดยชอบในการนั้นด้วยแล้ว ท่านว่าเพียงที่ส่งข่าวสารเช่นนั้น หาทำให้ผู้นั้นต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนไม่"
หลักเกณฑ์การหมิ่นประมาททางแพ่ง
1.การกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลาย หมายถึง การแสดงข้อความให้บุคคลที่สามได้ทราบ
2.ข้อความที่กล่าวหรือไขข่าวนั้นต้องเป็นข้อความที่ฝ่าฝืนความจริง หมายถึง การกล่าวสิ่งที่ไม่เป็นความจริง
3.ผู้กล่าวต้องรู้หรือควรจะรู้ว่าข้อความนั้นไม่เป็นความจริง
4.ข้อความที่กล่าวหรือไขข่าวนั้นต้องเป็นที่เสียหายแก่ชื่อเสียงหรือเกียรติคุณ หรือเป็นที่เสียหายแก่ทางทำมาหาได้หรือทางเจริญของบุคคลอื่
ตัวอย่าง เอกับบี เป็นสามีภริยากัน เอเอาเรื่องของนายซี ว่ารับสินบนใต้โต๊ะไปบอกกับบี ซึ่ง แม้ตามข้อเท็จจริงซี จะไม่ได้รับสินบนใต้โต๊ะ ก็ไม่ถือว่าเอได้กระทำละเมิดเพราะไม่มีบุคคลที่สาม
การพิพากษาคดี
มาตรา 424 วางหลักว่า "ในการพิพากษาคดีข้อความรับผิดเพื่อละเมิดและกำหนดค่าสินไหมทดแทนนั้น ท่านว่าศาลไม่จำต้องดำเนินตามตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายลักษณะอาญาอันว่าด้วยการที่จะต้องรับโทษ และไม่จำต้องพิเคราะห์ถึงการที่ผู้กระทำผิดต้องคำพิพากษาลงโทษทางอาญาหรือไม่"
ตามมาตรานี้ ถ้าเป็นข้อเท็จจริงเดียวกัน จะต้องพิพากษาทั้งในส่วนของคดีแพ่งและในส่วนของคดีอาญา
ตัวอย่าง ฟ้าขับรถด้วยความประมาทไปชนรถของเหลือง เมื่อพิพากษาในส่วนคดีแพ่งแล้วฟ้ามีความผิดฐานละเมิดตามมาตรา 420 เพราะฟ้าขับรถด้วยความประมาท และเมื่อพิพากษาในส่วนของคดีอาญา การที่ฟ้าขับรถไปชนรถของเหลืองนั้น ไม่ถือว่ามีความผิด เพราะไม่มีความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์โดยประมาท ฟ้าจึงไม่ต้องรับผิดในทางอาญา
การร่วมกันทำละเมิด
มาตรา 432 วางหลักว่า "ถ้าบุคคลหลายคนก่อให้เกิดเสียหายแก่บุคคลอื่นโดยร่วมกันทำละเมิด ท่านว่าบุคคลเหล่านั้นจะต้องร่วมกันรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายนั้น ความข้อนี้ท่านให้ใช้ตลอดถึงกรณีที่ไม่สามารถสืบรู้ตัวได้แน่ว่าในจำพวกที่ทำละเมิดร่วมกันนั้นคนไหนเป็นผู้ก่อให้เกิดเสียหายนั้นด้วย
อนึ่ง บุคคลผู้ยุยงส่งเสริมหรือช่วยเหลือในการทำละเมิด ท่านก็ให้ถือว่าเป็นผู้กระทำละเมิดร่วมกันด้วย
ในระหว่างบุคคลทั้งหลายซึ่งต้องรับผิดร่วมกันใช้ค่าสินไหมทดแทนนั้น ท่านว่าต่างต้องรับผิดเป็นส่วนเท่าๆ กัน เว้นแต่โดยพฤติการณ์ ศาลจะวินิจฉัยเป็นประการอื่น"
ในมาตรานี้จะเป็นเรื่องที่บุคคลหลายคนร่วมกันทำละเมิด แต่ถ้าเป็นในกรณีที่ต่างคนต่างทำจะสามารถแยกพิจารณาได้ ดังนี้
1.ลักษณะการร่วมกันทำละเมิด
การร่วมกันทำละเมิดต้องมีเจตนา ความมุ่งหมายหรือ การกระทำร่วมกัน
ตัวอย่าง เจนคบคิดกับนกจะฆ่าปลา โดยตกลงกันว่าจะใช้ยาพิษ โดยจะใส่ในน้ำดื่มแล้วให้นกดื่ม ถือว่าเจนกับนกมีเจตนาร่วมกันแต่ยังไม่ได้มีการกระทำร่วมกัน
2.ความรับผิดระหว่างผู้ร่วมกันทำละเมิด
บุคคลทุกคนที่เป็นผู้ร่วมกระทำความผิดต้องรับผิดร่วมกันในผลแห่งละเมิดนั้นเต็มจำนวนความเสียหาย