Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
วัตถุแห่งหนี้, นางสาวปิยะพร โสภากุ 64012310309 - Coggle Diagram
วัตถุแห่งหนี้
-
-
หนี้งดกระทำการ
-
ทำสัญญาเช่าที่ดินเขาสร้างอาคารพาณิชย์เพื่อทำการค้าขาย เจ้าของที่ดินตกลงห้ามสร้างอาคารสูงเกิน2 ชั้น ผู้เช่าฝ่าฝืนดังนั้นจะต้องรื้อถอน ตามมาตรา 213 วรรค 3
-
-
หน้าที่ในการชำระหนี้
-
กำหนดเวลาชำระหนี้
๑)หนี้ที่มิได้กำหนดเวลาชำระหนี้กฎหมายได้กำหนดหลักเกณฑ์ไว้ในมาตรา ๒๐๓ วรรคแรก ว่า “ถ้าเวลาอันจะพึงชำระหนี้นั้นมิได้กำหนดลงไว้ หรือจะอนุมานจากพฤติการณ์ทั้งปวงก็ ไม่ได้ไซร้ ท่านว่าเจ้าหนี้ย่อมจะเรียกให้ชำระหนี้ได้โดยพลัน และฝ่ายลูกหนี้ก็ย่อมจะชำระหนี้ของตนได้โดยพลันดุจกัน”หนี้นี้จะต้องไม่มีกําหนดเวลาทั้งโดยปริยายที่อนุมานจากพฤติการณ์ได้การอนุมานจากพฤติการณ์ต้องดูเป็นกรณีๆไป ผลของหนี้ที่ไม่มีกำหนดเวลาชำระหนี้เมื่อกรณีการชำระหนี้ที่ไม่มีกำหนดเวลาไว้ชัดแจ้ง และจะอนุมานจากพฤติการณ์ ทั้งปวงก็ไม่อาจทราบความประสงค์ของคู่กรณีเช่นนี้ กรณีจึงจะบังคับตามมาตรา ๒๐๓ วรรคแรก คือ เจ้าหนี้มีสิทธิจะเรียกให้ชำระหนี้ได้โดยพลัน และลูกหนี้ก็ย่อมจะชำระหนี้ ของตนได้โดยพลันดุจกันคือเจ้าหนี้ก็มี สิทธิจะเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ และถ้าลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ลูกหนี้ก็จะผิดนัดทันทีและถ้าลูกหนี้ชำระหนี้แล้ว เจ้าหนี้ปฏิเสธ ไม่ยอมรับชำระโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้แล้ว เจ้าหนี้ก็ตกเป็นผู้ผิดนัดเช่นกัน จึงอาจ กล่าวได้ว่าหนี้ที่ไม่มีกำหนดเวลาชำระนั้น กฎหมายถือว่าต้องชำระหนี้ทันทีข้อพิจารณาพิเศษกรณีกู้ยืมเงินทีรไม่มีกำหนดเวลา ชำระว่าจะบังคับ มาตรา ๒๐๓หรือ ตามมาตรา ๖๕๒กรณีการกู้ยืมเงินโดยไม่มีกำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ในสัญญานั้น เมื่อไม่อาจอนุมานจากพฤติการณ์ได้ก็ย่อมเป็นหนี้ที่ไม่มีกำหนดเวลาตามมาตรา ๒๐๓ วรรคแรก นั่นเอง แต่ผลของการกู้ยืมที่ไม่มีกำหนดชำระนั้นจะบังคับตามมาตรา ๒๐๓ วรรคแรก นี้ได้หรือไม่ในเมื่อมีบทบัญญัติพิเศษเรื่องสัญญากู้ยืมในมาตรา ๖๕๒ ว่า “ถ้าในสัญญา ไม่มีกำหนดเวลาให้คืนทรัพย์สินซึ่งยืมไป ผู้ให้ยืมจะบอกกล่าวแก่ผู้ยืมให้คืนทรัพย์สิน ภายในเวลาอันควรซึ่งกำหนดให้ในคำบอกกล่าวนั้นก็ได้”แต่ได้มีคําพิพากษาฎีกาที่ ๘๗๓/๒๕๑๘ วินิจฉัยว่า การกู้ยืมเงินไม่มีกำหนดเวลาชำระคืน ผู้กู้จะเรียกให้ชำระหนี้โดยพลันโดยไม่จำต้องบอกกล่าวก่อนฟ้องและต่อมาก็มีคำพิพากษาฎีกา ที่ ๑๙๖๒/๒๕๒๕ วินิจฉัยว่า โจทก์ผู้ให้กู้มีสิทธิเรียกให้ชำระหนี้ได้โดยพลันตามมาตรา ๒๐๓ วรรคแรก โดยท่านศาสตราจารย์จิตติ ติงศภัทิย์ผู้เขียนเห็นว่า อำนาจฟ้องคดี กับสิทธิการเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ น่าจะต้องพิจารณา แยกกัน คือ อำนาจฟ้องคดีเพื่อบังคับชำระหนี้นั้น ในทางสารบัญญัติ ก็มีในมาตรา ๒๑๓ ว่า “ถ้าลูกหนี้ละเลยเสียไม่ชำระหนี้ของตน เจ้าหนี้จะร้องขอต่อศาลให้สั่งบังคับชำระหนี้ก็ได้....” และในทางวิธีสบัญญัติก็กำหนดเรื่องอำนาจฟ้องไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๕๕ ก็คือ จะต้องถูกโต้แย้งสิทธิเสียก่อน ดังนั้น เมื่อยังไม่ได้เรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้เลย จะถือว่าลูกหนี้ละเลยเสีย ก็น่าจะไม่ตรงนัก และก็ไม่น่าจะถือว่าถูกโต้แย้งสิทธิด้วย ส่วนเรื่องสิทธิ ที่จะเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ ก็ต้องเป็นไปตามสัญญายืมตามบทบัญญัติมาตรา ๖๕๒ เว้นแต่จะมี ข้อตกลงยกเว้นมาตรานี้ไว้ มิฉะนั้นก็เท่ากับบทบัญญัติมาตรา ๖๕๒ จะไม่มีผลใช้บังคับได้เลย
๒) หนี้ที่มีกำหนดเวลาชำระหนี้ที่มีกำหนดเวลาชำระหนี้นี้ อาจเป็นหนี้ที่กำหนด เวลาชำระไว้โดยชัดแจ้ง เช่น กำหนดตามวันแห่งปฏิทิน หรือกำหนดตามข้อเท็จจริง เช่น ยืมเสื้อครุยเพื่อไปรับปริญญาจะส่งคืนเมื่อรับปริญญาเสร็จ ก็ถือเป็นการกำหนด โดยชัดแจ้งคือมีการตกลงกันระหว่างคู่กรณีที่ก่อหนี้ขึ้นก็ได้ หรืออาจจะกำหนดชัดแจ้งดังนั้น การพิจารณาถึงกำหนดเวลาชำระหนี้จึงจะแยกพิจารณาเป็น ๒ กรณี คือ กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้แต่เป็นที่สงสัย กับกำหนดเวลาชำระหนี้ไว้กรณีที่ไม่สงสัย
(๑) กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้แต่เป็นที่สงสัย กรณีนี้มาตรา ๒๐๓ วรรคสองบัญญัติว่า “ถ้าได้กำหนดเวลาไว้ แต่หากกรณีเป็นที่สงสัย ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อน ว่าเจ้าหนี้จะเรียกให้ชำระหนี้ก่อนถึงเวลานั้นหาได้ไม่ แต่ฝ่ายลูกหนี้จะชำระหนี้ก่อนกำหนดนั้นก็ได้”หรือกำหนดอื่นอันเป็นเวลาที่จะพึงชำระหนี้ได้ กำหนดกันไว้แล้วไม่อาจเป็นที่สงสัยได้ ข้อที่เกิดเป็นกรณีอันสงสัยก็คือ เจ้าหนี้จะเรียกให้ชำระหนี้ ก่อนกำหนดนั้นได้หรือไม่ หรืออีกนัยหนึ่งเกิดสงสัยกันขึ้นว่าประโยชน์แห่งเวลาได้แก่ฝ่ายเจ้าหนี้ ไม่ใช่แก่ฝ่ายลูกหนี้เงื่อนเวลาเริ่มต้นหรือเงื่อนเวลาสิ้นสุดนั้น ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่ากำหนดไว้เพื่อ ประโยชน์แก่ฝ่ายลูกหนี้ เว้นแต่จะปรากฏโดยเนื้อความแห่งตราสารหรือโดยพฤติการณ์แห่ง กรณีว่าได้ตั้งใจจะให้เป็นประโยชน์แก่ฝ่ายเจ้าหนี้หรือแก่คู่กรณีทั้งสองฝ่ายด้วยกัน”แต่หากแปลความว่า กำหนดเวลาไว้แต่เป็นที่ สงสัยนั้นหมายถึงการสงสัยในกำหนดเวลาชำระหนี้แล้ว บทบัญญัติมาตรา ๒๐๓ วรรคสอง ก็จะไม่ซ้ำกับบทบัญญัติมาตรา ๑๙๒
(๒) กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ไม่เป็นที่สงสัย กำหนดเวลาชำระหนี้ที่ลูกหนี้ และเจ้าหนี้ตกลงกำหนดกันไว้นั้นเมื่อไม่เป็นที่สงสัยก็ยังอาจแบ่งออกได้เป็น ๒ อย่าง ซึ่งมีผลบังคับในทางกฎหมายแตกต่างกันคือ
๑. กำหนดเวลาชำระหนี้ตามวันแห่งปฏิทินตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๐๔ วรรคสอง ว่า “ถ้าได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ตามวันแห่งปฏิทิน...” เช่น กำหนดชำระหนี้ในวันที่ ๑๐สิงหาคม กำหนดชำระหนี้ในวันสงกรานต์ เป็นต้น แม้กฎหมายจะใช้คำที่มีความหมาย แคบว่าวันแห่งปฏิทิน แต่นักกฎหมายส่วนใหญ่ เห็นว่าต้องหมายความกว้างถึงการกำหนดตาม เวลาแห่งปฏิทิน คืออาจเป็นวัน เป็นเดือน หรือเป็นปีปฏิทินก็ได้ “กรณีที่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าก่อนการชำระหนี้ ซึ่งได้ กำหนดเวลาลงไว้อาจคำนวณนับได้โดยปฏิทินนับแต่วันที่ได้บอกกล่าว” ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๐๔ วรรคสอง การกำหนดชำระหนี้ในกรณีนี้เป็นกรณีที่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าก่อนชำระหนี้ เช่น ตกลงซื้อโคกันจำนวน ๓๐ ตัว กำหนดการส่งมอบโคโดยกำหนดว่า ถ้าผู้ชายพร้อมจะส่งมอบ ต้องแจ้งให้ผู้ซื้อทราบล่วงหน้า ๓๐ วัน ดังนั้นกำหนดเวลาชำระหนี้จะถึงกำหนดก็ต้องมีการแจ้งคือ บอกกล่าวล่วงหน้าก่อนและเริ่มนับเวลา ๓๐ วัน นับแต่บอกกล่าว เป็นต้น
๒. กำหนดเวลาชำระหนี้มิใช่ตามวันแห่งปฏิทิน การกำหนดเวลาชำระหนี้แบบ นี้นั้น กฎหมายได้กล่าวถึงไว้ในมาตรา ๒๐๔ วรรคแรก ว่า “ถ้าหนี้ถึงกำหนดชำระแล้ว และภายหลังแต่นั้นเจ้าหนี้ได้ให้คำเตือนลูกหนี้แล้ว ลูกหนี้ยังไม่ชำระหนี้ไซร้ ลูกหนี้ได้ ชื่อว่าผิดนัดเพราะเขาเตือนแล้ว” เมื่อเทียบกับมาตรา ๒๐๔ วรรคสอง ที่ให้คำว่า “ถ้าได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ตามวันแห่งปฏิทิน” จึงต้องแปลความ “กำหนดเวลาชำระหนี้” ตาม มาตรา ๒๐๔ วรรคแรกว่าเป็นกำหนดเวลาที่มิใช่ตามวรรคสอง นั่นก็คือต้องแปลว่าเป็นกำหนด เวลาชำระหนี้ที่มิใช่ตามวันแห่งปฏิทินนั่นเอง เช่น ยืมเงินไปและกำหนดว่าจะใช้คืนเมื่อขาย ข้าวได้แล้ว หรือยืมเรือไปใช้กำหนดจะส่งคืนเมื่อสิ้นฤดูน้ำ เป็นต้น
การผิดนัดไม่ชำระหนี้
๑) การผิดนัด
การผิดนัดนั้นเป็นผลในทางกฎหมายที่มีความสำคัญต่อลูกหนี้และเจ้าหนี้ ทำให้ลูกหนี้มีความรับผิดบางอย่างเพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกัน ก็ก่อให้เกิดสิทธิบางอย่างแก่เจ้าหนี้เช่นกันอาจแยกพิจารณาได้เป็น ๒ กรณี คือ
(๑) ลูกหนี้ผิดนัดโดยต้องเตือนก่อน
เมื่อมีกำหนดเวลาชำระหนี้แล้ว ลูกหนี้ก็ต้องชำระหนี้ตามกำหนดนั้น แต่การที่ลูกหนี้ยังไม่ชำระหนี้นั้นในหนี้บางประเภทนั้น กฎหมายกำหนดให้เจ้าหนี้ต้องเตือนลูกหนี้ก่อนลูกหนี้จึงจะผิดนัดหนี้ประเภทที่เจ้าหนี้ต้องเตือนก่อนลูกหนี้จึงจะ มีความรับผิดบางอย่างเพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกัน ก็ก่อให้เกิดสิทธิบางอย่างแก่เจ้าหนี้เช่นกัน อาจแยกพิจารณาได้เป็น๒กรณีคือ
๑. หนี้ที่มีกำหนดเวลาชำระมิใช่ตามวันแห่งปฏิทิน ในมาตรา ๒๐๔ วรรคแรก บัญญัติว่า “ถ้าหนี้ถึงกำหนดชำระแล้ว และภายหลังแต่นั้นเจ้าหนี้ได้ให้คำเตือนลูกหนี้แล้ว ลูกหนี้ยังไม่ชำระหนี้ไซร้ ลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดเพราะเขาเตือนแล้ว” เช่น กำหนดชำระหนี้เมื่อเกี่ยวข้าวเสร็จ เมื่อสิ้นฤดูน้ำหลาก ไม่อาจกำหนดวันที่แน่นอนชัดเจนได้ ดังนั้น เมื่อหนี้ถึง กำหนดชำระแล้ว กฎหมายจึงได้กำหนดให้เจ้าหนี้ต้องให้คำเตือนลูกหนี้ก่อนเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระ ตามที่เจ้าหนี้เดือนลูกหนี้จึงจะผิดนัด ดังนั้นแม้หนี้จะถึงกำหนดชำระแล้ว และลูกหนี้ก็ยังไม่ชำระหนี้ ถ้าหากเจ้าหนี้ยังไม่เตือนแล้วลูกหนี้ก็ยังไม่ผิดนัด การเตือนให้ลูกหนี้ชำระหนี้นั้น ต้องเป็นการเตือนเมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระแล้ว ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ ลูกหนี้จึงจะผิดนัดเพราะว่าเขาเตือนแล้ว แต่ถ้าหากหนี้ยังไม่ถึงกำหนดชำระ แม้เจ้าหนี้จะเตือนให้ลูกหนี้ชำระหนี้ และลูกหนี้ไม่ชำระ ลูกหนี้ก็ยังไม่ผิดนัดเพราะหนี้ยังไม่ถึงกำหนดการเตือนนั้นกฎหมายไม่ได้กำหนดแบบของการเตือนไว้ ดังนั้นการเตือนนั้นจะทำ เป็นหนังสือหรือการเตือนด้วยวาจาก็ได้และแม้จะตั้งตัวแทนด้วยวาจาให้ไปเตือนก็ได้
๒. หนี้ที่ไม่มีกำหนดเวลาชำระตามมาตรา ๒๐๓กำหนดให้ เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้โดยพลัน และลูกหนี้ก็มีสิทธิจะชำระหนี้ของตน ได้โดยพลันดุจกันนั้นแม้จะมองได้ว่าแสดงว่ากฎหมายให้ถือเอาว่าหนี้ประเภทนี้ถึงกำหนด ทันทีที่นับแต่ก่อหนี้ดังนั้นหากไม่มีการเตือนให้ชำระหนี้จากเจ้าหนี้ลูกหนี้ก็ยังไม่มีหน้าที่ชำระหนี้และยังไม่ผิดนัด จึงถือได้ว่าหนี้ประเภทนี้ลูกหนี้ผิดนัดด้วย การเตือนของเจ้าหนี้ด้วยเช่นกัน
-
๒)ผลของการผิดนัดของลูกหนี้
เมื่อนี่ถึงกำหนดชำระแล้วลูกหนี้มีหน้าที่ชำระหนี้ตามมาตรา ๒๐๓ และมาตรา ๒๐๔ แล้วหากลูกหนี้ไม่อาจอ้างเหตุยกเว้นความรับผิดตามมาตรา ๒๐๕ ได้หรือเป็นกรณีหนี้ละเมิดลูกหนี้ก็ต้องผิดนัดตามมาตรา ๒๐๖ เมื่อลูกหนี้ผิดนัดแล้วก็มีผลตามมาจากการผิดนัดชำระหนี้นอกจากเจ้าหน้าที่ที่ต้องชำระหนี้ที่มีอยู่เดิมโดยผลของการผิดนัดที่สำคัญคือ
(๑) ลูกหนี้ต้องรับผิดในความเสียหายอันเกิดแต่การผิดนัด
การที่ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ตามกำหนดและตกเป็นผู้ผิดนัดนั้น ก็ถือว่าเป็นการที่ ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ให้ต้องตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้ด้วย ดังนั้นเมื่อการชำระหนี้ล้าช้าเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าหนี้ เจ้าหนี้ก็อาจเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนได้ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๑๕ ว่า “เมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ให้ต้องตามความ ประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้ไซร้ เจ้าหนี้จะเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การนั้นก็ได้”บทบัญญัตินี้เป็นบทบัญญัติที่วางหลักให้เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกเอาค่าสินไหม ทดแทนอันเกิดแต่การไม่ชำระหนี้ให้ต้องตามความประสงค์แห่งมูลหนี้ทุกอย่าง ไม่ได้ มุ่งหมายแต่เฉพาะการชำระหนี้ล่าช้าเท่านั้น แต่การชำระหนี้ล่าช้าก็เป็นการชำระหนี้ไม่ ต้องตามความประสงค์แห่งมูลหนี้อย่างหนึ่งด้วย
(๒) เจ้าหนี้อาจไม่รับชำระหนี้ ชาวะ ปกติ หากจะมีการเรียกค่าสินไหมทดแทนการชาระหนี้ ก็เป็นคนละส่วนกับการเรียกค่าสิน ไหมทดแทนที่เกิดจากการผิดนัดนี้ เวลาในการชำระหนี้นั้น แม้จะเป็นส่วนหนึ่งของการชำระหนี้ที่ลูกหนี้จะต้องชำระให้ ถูกต้องในเรื่องของเวลาซึ่งเป็นความประสงค์แห่งมูลหนี้อย่างหนึ่งดังได้กล่าวแล้ว แต่เวลา ในการชำระหนี้นั้นปกติแล้วก็ไม่ใช่สาระสำคัญถึงขนาดที่จะทำให้เจ้าหนี้มีสิทธิจะปฏิเสธ ไม่รับชำระหนี้ได้เสมอไป แม้แต่ในเรื่องการผิดนัดในบางกรณี แม้ลูกหนี้จะไม่ชำระหนี้ ตามเวลาที่กำหนดก็ยังหาได้ทำให้ลูกหนี้ผิดนัดเสมอไป ต้องให้เจ้าหนี้เดือนก่อนจึงจะผิดนัด ตาม มาตรา ๒๐๔ วรรคแรก แต่ในบางกรณีเวลาก็เป็นสาระสำคัญทั้งในแง่ของสัญญาก็มีได้เช่นในมาตรา ๓๘๘ ที่ให้สิทธิแก่เจ้าหนี้ที่จะเลิกสัญญาได้ ในทางการชำระหนี้ก็เช่นกัน การชำระหนี้บางอย่าง กำหนดเวลาชำระหนี้ก็เป็นสาระสำคัญ ถึงขนาดที่หากเลยกำหนดเวลานั้นไป แล้วการชำระหนี้ก็ ตกเป็นไร้ประโยชน์แก่เจ้าหนี้ เช่น ตกลงเช่าห้องริมแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อดูกระบวนเสด็จพยุหยาตรา ทางชลมารค หากมาส่งมอบห้องเช่าล่าช้าไป จนกระบวนเสด็จผ่านไปหมดแล้วก็ย่อมไม่สำเร็จ ประโยชน์แก่เจ้าหนี้แล้วนอกจากกำหนดเวลาชำระหนี้จะเป็นสาระสำคัญมาแต่แรกด้วยการตกลง หรือโดยสภาพ ดังกล่าวมาก่อนนี้แล้ว แต่แม้เวลาชำระหนี้จะไม่เป็นสาระสำคัญมาแต่ แรก เจ้าหนี้ก็อาจบอกกล่าวให้เวลาชำระหนี้เป็นสาระสำคัญได้ดังบัญญัติในมาตรา ๓๘๗ ว่า “ถ้าคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งไม่ชำระหนี้ อีกฝ่ายหนึ่งจะกำหนดระยะเวลาพอสมควร แล้ว บอกกล่าวให้ฝ่ายนั้นชำระหนี้ภายในระยะเวลานั้นก็ได้ ถ้าและฝ่ายนั้นไม่ชำระหนี้ภายใน ระยะเวลาที่กำหนดให้ไซร้ อีกฝ่ายหนึ่งจะเลิกทำสัญญาเสียก็ได้
ลูกหนี้ต้องรับผิดในความเสียหายอันเกิดระหว่างผิดนัดเพิ่มขึ้น บัญญัติไว้ในมาตรา 217 ลูกหนี้จึงจะไม่ต้องรับผิด ความเสียหายในเรื่องนี้เกิดจาก2สาเหตุ คือความประมาทเลินเล่อ และเกิดจากอุบัติเหตุ การบัญยัติในมาตรานี้จึงเป็นเฉพาะกรณีที่หากเกิดขึ้นในระหว่างลูกหนี้ยังไม่ผิดนัดแล้วลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดเลยแต่เมื่อมาเกิดขึ้นในระหว่างผิดนัดแล้วลูกหนี้ต้องรับผิดเพิ่มขึ้นกว่ากรณีก่อนผิดนัดเท่านั้น
-
-
-