Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ลักษณะทั่วไปของละเมิด, มาตรา 420 บัญญัติว่า “ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำ…
ลักษณะทั่วไปของละเมิด
-
การกระทําละเมิดร่วม
มาตรา 432 บัญญัติว่า “ถ้าบุคคลหลายคนก่อให้เกิดเสียหายแก่บุคคลอื่นโดยร่วมกัน ทำละเมิด ท่านว่าบุคคลเหล่านั้นจะต้องร่วมกันรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหาย นั้น ความข้อนี้ท่านให้ใช้ตลอดถึงกรณีที่ไม่สามารถสืบรู้ตัวได้แน่ว่าในจำนวนที่ทำละเมิด ร่วมกันนั้น คนไหนเป็นผู้ก่อให้เกิดเสียหายนั้นด้วย
- บุคคลหลายคนกระทำร่วมกัน หมายถึงเป็นการจงใจกระทำร่วมกัน และกรณีที่ไม่ สามารถสืบรู้ตัวได้แน่ว่าในจำพวกที่ทำละเมิดร่วมกันนั้น ใครเป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหาย เช่น นาย ก. นาย ข. และนาย ค. สมคบกันจะไปทำร้ายนายแดง บุคคลทั้งสามไปหานายแดงที่ บ้าน เมื่อเห็นนายแดงเดินมาจึงเข้าไปรุมทำร้ายร่างกายนายแดง โดยนาย ก. ต่อยไปที่หน้า นายแดง 1 ครั้ง นาย ข. เตะหน้าของนายแดง 1 ครั้ง และนาย ค. ใช้ศอกตีไปที่หน้านายแดง 1 ครั้ง จนเป็นเหตุให้นายแดงได้รับอันตรายสาหัส กรณีนี้ทั้งนาย ก. นาย ข. และนาย ค. ถือว่า เป็นบุคคลที่ร่วมกันก่อให้เกิดความเสียหายแก่นายแดง จึงต้องร่วมกันรับผิดตามมาตรา 432 วรรคแรก
2 ก่อให้เกิดความเสียหาย ซึ่งเป็นความเสียหายที่ผู้กระทำทำให้ผู้อื่นเสียหายโดย จงใจหรือประมาทเลินเล่อโดยผิดกฎหมาย และเป็นความเสียหายแก่สิทธิเด็ดขาดหรือเสียหาย สาม ป.พ.พ. มาตรา 423, 433, 436 และ 437
ข้อสังเกต กรณีที่บุคคลหลายคนได้ร่วมมือร่วมใจทำละเมิดต่อบุคคลหนึ่ง แต่ผลของ การกระทำได้พลาดไปถูกบุคคลอื่นได้รับความเสียหาย บุคคลเหล่านั้นก็ยังคงต้องรับผิดต่อ บุคคลซึ่งได้รับผลร้ายจากการกระทำโดยพลาดดังกล่าวในวรรคสอง กฎหมายบัญญัติถึงผู้ยุยงส่งเสริมหรือช่วยเหลือในการทำละเมิดว่าต้อง รับผิดร่วมกันด้วย ปัญหาคือ ถ้าเป็นตัวการ ผู้ใช้ หรือผู้สนับสนุน ผลของการรับผิดจะเป็น ประการใด เพราะหลักในทางอาญา กฎหมายบัญญัติให้ตัวการรับผิดเท่ากับผู้กระทำ ส่วนผู้ใช้ หรือผู้สนับสนุน กฎหมายบัญญัติให้รับผิด 1 ใน 3 หรือ 2 ใน 3 แต่ตาม ป.พ.พ. ในเรื่องละเมิด กฎหมายมิได้บัญญัติให้รับผิด 1 ใน 3 หรือ 2 ใน 3 ปัญหาในทำนองนี้กฎหมายให้ถือว่ารับผิด ร่วมกันและเท่าๆ กัน เว้นแต่โดยพฤติการณ์ศาลจะวินิจฉัยเป็นประการอื่น
ส่วนวรรคท้าย เป็นบทบัญญัติสำหรับแยกความรับผิดระหว่างผู้ทำละเมิดด้วยกัน มิใช่ เป็นเรื่องรับผิดต่อเจ้าหนี้ เพราะวรรคแรกบัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้วว่าร่วมกันรับผิดหรือร่วมกัน ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน อันมีความหมายว่าแต่ละคนจะต้องชำระหนี้โดยสิ้นเชิง (มาตรา 291)
-
-
-
-
-
มาตรา 420 บัญญัติว่า “ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำต่อบุคคลอื่นโดยผิด กฎหมาย ให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือ สิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิด จำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น
ความตามมาตรานี้ถือได้ว่าเป็นหัวใจของกฎหมายลักษณะละเมิด กล่าวคือ ถ้าเป็น การกระทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียหายโดยไม่มีอำนาจที่จะกระทำได้แล้ว เมื่อเขาได้รับความ เสียหาย หน้าที่ทางแพ่งในเรื่องละเมิดก็คือการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ซึ่งกฎหมายของบาง ประเทศได้แยกการกระทำที่เป็นละเมิดเอาไว้ต่างหากจากกัน เช่น การละเมิดต่อชีวิต ละเมิด ต่อร่างกาย ละเมิดต่ออนามัย ละเมิดต่อเสรีภาพ ฯลฯ แต่ในบางประเทศก็ได้บัญญัติไว้รวมๆ กัน เช่น กฎหมายแพ่งของไทยได้นำเอาการละเมิดต่อชีวิต ร่างกาย อนามัย เสรีภาพ ทรัพย์สิน หรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใด มารวมกันไว้
อย่างไรก็ตาม ตามมาตรา 420 การกระทำละเมิดคือการกระทำให้สิทธิของบุคคลอื่น ได้รับความเสียหาย คำว่า “สิทธิ” ในที่นี้คือประโยชน์ที่กฎหมายรับรองและคุ้มครองให้ เช่น สิทธิในชีวิต ร่างกาย มีกฎหมายรับรองและคุ้มครองเอาไว้ว่าใครทำร้ายหรือฆ่าผู้หนึ่งผู้ใดตาย การกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดและมีโทษ หรือที่กฎหมายรับรองและคุ้มครองในทรัพย์สิน ถ้า ใครเอาไปหรือทำลายทรัพย์สินของบุคคลอื่นโดยปราศจากอำนาจ การกระทำเช่นนั้นก็ถือได้ว่า เป็นการกระทำโดยละเมิด เมื่อเป็นละเมิดก็ต้องใช้ทรัพย์คืน แต่ถ้าคืนไม่ได้ก็ต้องใช้ราคา ซึ่งเรียกว่าเป็นส่วนหนึ่งของค่าสินไหมทดแทนนั่นเอง
ความหมายของการกระทำ โดยหลักก็คือการเคลื่อนไหวของร่างกายที่อยู่ภายในบังคับ ของจิตใจ เช่น การยกมือ ยกแขน หรืออาจจะทำโดยทางวาจาก็ได้ ซึ่งหากพิจารณาประกอบ กับบทบัญญัติมาตรา 59 แห่งประมวลกฎหมายอาญาแล้ว จะเห็นได้ว่าการกระทำโดยเจตนา ตามมาตรา 59 นั้น ผู้กระทำจะต้องรู้สำนึกในการกระทำ หมายความว่าอยู่ในสามัญสำนึกของ จิตใจ แต่ถ้าไม่รู้สำนึกก็ไม่ถือว่าเป็นการกระทำ เช่น คนละเมอหรือคนที่เป็นลมบ้าหมู หาก ละเมอเดินไปเหยียบเขาหรือเป็นลมชักล้มทับคนอยู่ข้างเคียง กรณีนี้ไม่ถือว่าเป็นการกระทำ เพราะไม่ใช่เรื่องที่อยู่ภายในอำนาจแห่งจิตใจหรือไม่รู้สำนึกนั่นเอง
และความหมายของการกระทำนั้น ตามมาตรา 59 วรรคท้าย ยังให้หมายความรวมถึง การให้เกิดผลอันหนึ่งอันใดขึ้นโดยงดเว้นการที่จักต้องกระทำเพื่อป้องกันผลนั้นด้วย อย่างไรก็ ตาม การกระทำตามความของวรรคท้ายแห่งมาตรา 59 นี้ มิได้หมายความว่าหากมีการงดเว้น แล้วจะเป็นความผิดเสมอไป กฎหมายใช้คำว่า "งดเว้นการที่จักต้องกระทำเพื่อป้องกันผล หมายความว่าจะเป็นละเมิดได้หรือไม่ ต้องดูว่าบุคคลนั้นมีหน้าที่จักต้องกระทำเพื่อป้องกันผล นั้นหรือไม่ ถ้าหากเขามีหน้าที่ป้องกันผลนั้นแล้วแต่ได้งดเว้นเสียไม่ยอมกระทำ เป็นเหตุให้เกิด ความเสียหายขึ้น ผลนั้นก็เป็นละเมิดได้ แต่ในทางกลับกัน หากบุคคลนั้นไม่มีหน้าที่หรือไม่มี กฎหมายบัญญัติว่าเขามีหน้าที่จักต้องกระทำเพื่อป้องกันผลเช่นนั้นแล้ว ถึงแม้จะเกิดความเสียหายขึ้นก็ไม่เป็นละเมิด