Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ลักษณะทั่วไปของความรับผิดชอบของบุคคลในการกระทำของตนเอง - Coggle Diagram
ลักษณะทั่วไปของความรับผิดชอบของบุคคลในการกระทำของตนเอง
11.1.1 ความหมายของการกระทำ
คำว่า "ผู้ใด" มีความหมายเบื้องต้นแรกว่า เป็นการกระทำละเมิดได้นั้น ต้องเป็นการกระทำโดยมนุษย์เท่านั้น เมื่อคำว่า "ผู้ใด" หมายถึงมนุษย์แล้ว จึงรวมถึงบุคคลทุกชนิด ดังนั้นจะเห็นได้ตามมาตรา 429 ว่า "บุคคลใดแม้ไร้ความสามารถเพราะเหตุเป็นผู้เยาว์หรือวิกลจริตก็ยังต้องรับผิดในสิ่งที่ตนทำละเมิด..."
นักศึกษาจึงต้องวิเคราะห์ต่อว่า ผู้กระทำนั้นตั้งใจประมาทเลินเล่อหรือไม่ ตามมาตรา 420 ผู้ที่กระทำความผิดจะต้อง้ป็นมนุษย์อันอยู่ในความหมายของคำว่า "ผู้ใด" ในตอนแรกบุคคลทั่วไปอาจเข้าใจว่าความเคลื่อนไหวร่างกายของบุคคลซึ่งนั้นไม่ถูกต้อง
เด็กไร้เดียงสา
การเคลื่อนไหวของบุคคนในเวลาหลับ
ความเคลื่อนไหวของบุคคลในเวลาที่ไม่รู้สึกตัว
อาการผวาสะดุ้งของบุคคลโดยสัญชาตญาณ
ผู้เยาว์และผู้วิกลจริต
ตามมาตรา 429 ว่า "บุคคลใดแม้ไร้ความสามารถเพราะเหตุเป็นผู้เยาว์หรือวิกลจริตก็ยังต้องรับผิดในสิ่งที่ตนทำละเมิด..." ในเรื่องนี้ก็เป็นไปตามหลักการที่กล่าวมาแล้วว่า จะถือว่ามีความผิดหรือไม่ก็แล้วแต่ข้อเท็จจริงที่ว่ามีความดคลื่อนไหวโดยรู้สำนึกในความเคลื่อนไหวของตนเอง ก็ย่อมไม่ถือว่ามีการกระทำ เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็ถือว่าผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลที่ว่านั้นได้กระละเมิดอันจะต้องรับผิดชอบตามมาตรา 420,429
การงดเว้นการไม่กระทำ
1.หน้าที่ตามกฎหมาย
Ex.สามีภรรยามีหน้าที่ต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกัน (มาตรา 1461)
Ex.บิดามารดาจำเป็นต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรที่บรรลุนิติภาวะแล้ว แต่ทุพพลภาพและหาเลี้ยงตัวเองไม่ได้ (มาตรา 1564)
2.หน้าที่ตามสัญญา หรือหน้าที่ตามกฎหมาย เพราะสัญญาที่ใช้บังคับกันได้ย่อมเป็นกฎหมายระหว่างคู่สัญญา
Ex.สัญญาจ้างแพทย์รักษาโรค
หน้าที่เกิดจากความสัมพันธ์ทางข้อเท็จจริงที่มีอยู่ระหว่างผู้งดเว้นผู้เสียหาย
Ex.แพทย์ประจำโรงพยาบาลระหว่างเดินทางกลับบ้าน เห็นมีผู้ป่วยจึงเข้าไปรักษาอันมิใช่หน้าที่ตามกฎหมายหรือตามสัญญา หากงดเว้นไม่ทำหน้าที่ต่อไปตลอด ก็ย่อมเป็นการงดเว้น
11.1.2 การกระทำผิดโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ
1.จงใจ หมายถึง รู้สำนึกถึงผลเสียที่จะเกิดขึ้นจากการกระทำของตนเอง ที่ว่ารู้สำนึกถึงผลเสียหายยั้นต้องทำความเข้าใจให้ดีว่าเป็นคนละเรื่องกับสำนึกในความเคลื่อนไหวอันเป็นหลักเกณฑ์ของการกระทำ
Ex.นาย ก. ต่อยนาน ข. โดยคิดให้นาย ข. แค่ปากปตกเท่านั้น บังเอิญ นาย ข. ล้มศรีษะฟาดกับพื้นถนน ทำให้ศรีษะแตกและสลบไป ดังนั้นนาย ก. ทำร้ายนาย ข. โดยจงใจ
2.ประมาทเลินเล่อ หมายถึง ไม่จงใจ แต่ไม่ระมัดระวัง
Ex.ผู้เยาว์เป็นผู้รับฝากทรัพย์ไว้โดยค่าฝาก ผู้เยาว์ก็จำต้องใช้ความระวัดระวังเพื่อดูแลทรัพย์นั้นเหมือนเช่นวิญญูชนพึงประพฤติ
11.1.3 การกระทำโดยผิดกฎหมาย
ความรับผิดฐานะละเมิดไม่จำเป็นต้องมีกฎหมายบัญญัติโดยชัดเจนว่ามีการกระทำความผิดกฎหมาย ฏล่าวโดยสรุปว่า ถ้ากระทำโดยไม่มีสิทธิหรือข้อแก้ตัวตามกฎหมายให้ทำได้แล้ว ก็ถือว่าเป็นการกระทำโดยผิดกฎหมาย
1.การใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น
Ex.เจ้าหน้าที่ตำรวจจับผู้ต้องหาว่าเป็นผู้กระทำความผิด แต่ได้ไปจับตอนที่กำลังอยู่ในวงการสังคมทั้งที่สามารถจับกุมที่อื่นได้
ความยินยอมไม่ทำให้เป็นละเมิด
2.การกระทำฝ่าฝืนบทบังคัยบแห่งกฎหมาย
มาตรา 422 บัญญัติว่า “ถ้าความเสียหายเกิดแต่การฝ่าฝืนบท บังคับแห่งกฎหมายใดอันมีที่ประสงค์ เพื่อจะปกป้องบุคคลอื่น ๆ ผู้ใดท าการฝ่าฝืนเช่นนั้นท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้นั้นเป็นผู้ ผิด”
11.1.4 การกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น
1.มีความเสียหายต่อสิทธิ
Ex. ค. ใช้ไม้ขว้างไปที่บ้านของ ง. ถูกระเบื้องที่มุงหลังคาบ้าน ง. แต่ไม่แตกสำหรับบางคนอาจไม่เป็นถึงการชดใช้แต่ทางกฎหมายเห็นครวชดใช้
2.ลักษณะแห่งสิทธิ
“ สิทธิ” หมายถึง “ อำนาจที่กฎหมายให้แก่บุคคลในอันที่จะมีเจตนาจำนง” เช่น ในกรณีบุคคลใดมีกรรมสิทธิ์เหนือทรัพย์บุคคลนั้นย่อมมีอำนาจที่จะมี เจตจำนงที่จะครอบครองให้สอยหรือจำหน่ายทรัพย์นั้น โดยเราจะใช้อำนาจนั้นหรือไม่ก็ได้ หรือจะใช้อำนาจดังกล่าวแต่เพียงบางประการก็ได้แล้วแต่เจตจำนงของเรา
3.ความเสียหายที่คำนวณเป็นเงินได้และไม่อาจคำนวณเป็นเงินได้
Ex.เมื่อถูกทำร้ายร่างการ ต้องได้รับค่ารักษาพยาบาลและค่าต่างๆตามกฎหมายกำหนด
11.1.5 ความเสียหายนั้นเป็นผลมาจากการกระทำของผู้กระทำความเสียหาย
1.ทฤษฎีความเท่ากันแห่งเหตุหรือทฤษฎีเงื่อนไข ทฤษฎีนี้ถือว่า ถ้าไม่มีการกระทำของจำเลยผลก็จะไม่เกิดขึ้น
เช่นนี้ต้องถือว่าผลที่เกิดขึ้นนั้น เกิดจากการกระทำของจำเลย
Ex.นายแดงคุยโทรศัพท์ขณะขับรถยนต์ทำให้รถไปชนเสาไฟฟ้าอย่างแรง เสาไฟฟ้า
จึงล้มทับหลังคาบ้านนายเขียวช่นนี้ในการวินิจฉัยความผิด เห็นได้ว่าการขับรถของนายแดงโดยปราศจากความระมัดระวัง
เป็นผลโดยตรงให้บ้านนายเขียวเสียหาย
2.ทฤษฎีมูลเหตุเหมาะสม ถือว่าในบรรดาเหตุทั้งหลายก่อให้เกิดซึ่งผลนั้น ในแง่ความรับผิดชอบของผู้กรทำการใดๆแล้ว เฉพาะแต่เหตุที่ตามปกติย่อมก่อให้ดกิดผลเช่นว่านั้นที่ผู้กระทำจะต้องรับผิดชอบ
นายแดงคุยโทรศัพท์ขณะขับรถยนต์ทำให้รถไปชนเสาไฟฟ้าอย่างแรง เสาไฟฟ้า จึงล้มทับหลังคาบ้านนายเขียวช่นนี้ในการวินิจฉัยความผิด เห็นได้ว่าการขับรถของนายแดงโดยปราศจากความระมัดระวัง เป็นผลโดยตรงให้บ้านนายเขียวเสียหาย เห็นได้ว่าการขับรถ ของนายแดงโดยปราศจากความระมัดระวังเป็นผลโดยตรงที่ไม่ขาดตอน (ผลเกิดขึ้นต่อเนื่อง ไม่มีช่วงว่างมาคั่นระหว่างการกระทำและผล)ทำให้บ้านนายเขียวเสียหายนายแดงจึงต้อง รับผิดในการกระทำละเมิดของตนตามทฤษฎีเงื่อนไข เพราะถ้านายแดงไม่ขับรถชนเสาไฟฟ้า กิ่งไม้ก็จะไม่หล่นทำให้บ้านนายเขียวเสียหาย